KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : (301) จัดการการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง


         เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง   ก็ย่อมมีการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา     การต่อต้านการเปลี่ยนแปลงเกิดจากความกลัวต่ออนาคตที่ไม่ชัดเจน   หรือไม่รู้ว่าเป็นอย่างไร   และอาจเกิดจากความกังวลหรือไม่พร้อมที่จะเรียนรู้ทักษะใหม่

         ต้องทำความรู้จักตัวปิดกั้นการเปลี่ยนแปลง   เพื่อจะได้ดำเนินการประยุกต์ใช้ KM ได้อย่างราบรื่นและได้ผล   ตัวอย่างตัวปิดกั้นได้แก่
 - คิดว่าเป็นการเพิ่มงาน
 - พนักงานขาดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน
 - ระบบ ให้รางวัลการหวงความรู้มากกว่าการแบ่งปันความรู้
 - พนักงานไม่ยินดีให้ระบุว่าเป็น "เซียนความรู้" (knowledge expert)
 - พนักงานไม่มองว่า KM เป็นกิจกรรมข้ามหน่วยงาน  ข้ามศาสตร์  ข้ามสาขา
 - ทัศนคติ NIH (not invented here) และ "เวลาเป็นเงินเป็นทอง" ซึ่งนำไปสู่ข้ออ้างว่า "ไม่มีเวลา"


ตัวอย่างเรื่องจริง
         บริษัทด้านทรัพยากรธรรมชาติได้ลงทุนอย่างหนักในระบบ ICT ที่ทันสมัย   ผู้บริหารระดับสูงหวังว่าระบบนี้จะให้ผลลัพธ์ออกมาเป็นความรู้   CKO ตกภาระหนักที่จะต้องทำความเข้าใจกับผู้บริหารระดับสูงว่า KM ที่ได้ผลขึ้นอยู่กับ 4 องค์ประกอบหลักคือ people, process, technology และ content  ที่ดำเนินการอย่างบูรณาการและเสริมแรงซึ่งกันและกัน   ไม่ใช่ดำเนินการเฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง

         ภาระสำคัญของการจัดการการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง   เป็นการสร้างสมดุลระหว่างโครงสร้างการทำงานแบบเดิมที่คนคุ้นเคย   คือแบบที่มีโครงสร้างสายการบังคับบัญชาชัดเจน   เป็นระบบบังคับบัญชาเป็นขั้นเป็นตอน (hierarchical)    กับโครงสร้างการทำงานแบบใหม่ที่ไม่เน้นสายการบังคับบัญชา   แต่เน้นการสร้างและแลกเปลี่ยนแนวคิดและวิธีทำงานแบบใหม่ ๆ ในระหว่างการทำงาน   โดยการจัดให้มีทีมข้ามสายงาน   การใช้ AAR ในทีมงาน เป็นต้น   แล้วรายงานผลการใช้โครงสร้างการทำงานแบบใหม่ต่อคณะกรรมการบริหาร   จะช่วยให้องค์กรค่อย ๆ ซึมซับวัฒนธรรมใหม่

         "ตัวช่วย" หลายตัวจะช่วยการจัดการการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง เช่น change management,  learning and development,  storytelling,  play theory

Ref. Standards Australia. Knowledge management - a guide. AS 5037 - 2005

วิจารณ์  พานิช
 27 มี.ค.50

หมายเลขบันทึก: 92116เขียนเมื่อ 24 เมษายน 2007 08:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 เมษายน 2012 23:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท