KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : (302) ผลจากการประยุกต์ใช้ KM ช่วงเริ่มต้น


วิธีวัดผลจากการใช้ KM มี 4 แนว
1. ตัวชี้วัดเชิงวัตถุหรือรูปธรรม   เช่น เอกสาร  ไฟล์เสียง  ไฟล์วิดีโอ  ไฟล์ภาพ  เว็บไซต์ ที่แสดงการสร้าง  การดูดซับ  การแลกเปลี่ยนและการใช้ความรู้
2. ตัวชี้วัดเชิงกิจกรรม  ได้แก่ กิจกรรม consulting, coaching, mentoring, facilitating และ training ที่ดีขึ้นกว่าเดิม
3. ตัวชี้วัดเชิงพฤติกรรมหรือวัฒนธรรม   เห็นการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
4. ตัวชี้วัดด้าน IC - Intellectual Capital   วัดโดย KPI และการเพิ่มสินทรัพย์ด้านความรู้

         เมื่อการใช้ KM พัฒนาไป   ส่วนผสมและะความเข้มข้นของตัวชี้วัดทั้ง 4 ด้านก็จะวิวัฒนาการไปด้วย

         ทีมแกนนำ KM อาจกำหนดเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์  ว่าในช่วงใดจะเน้นวัดผลแนวใดเป็นพิเศษ


ตัวอย่างเรื่องจริง
         บริษัทวิศวกรรมขนาดกลางเริ่มดำเนินการมาได้ 3 ปี   และได้เรียนใช้ KM      โครงสร้างใหม่ที่เกิดขึ้นคือ  เกิดปฏิสัมพันธ์แนวราบเพิ่มขึ้น   และลดการบังคับบัญชาเป็นชั้น ๆ ลงไป
         พนักงานใช้ "ตัวช่วย" ได้แก่ intranet, คลังเอกสาร และ CoP     เกิด shared vision,  เกิดความเข้าใจคุณค่าที่ยึดถือร่วมกันสำหรับประกอบการตัดสินใจ   ตัวบุคคลและทีมงานมีพฤติกรรมปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร
         ผู้บริหารระดับสูงและทีมแกนนำ KM ประเมินสถานภาพว่าเป็นตัวบ่งชี้ว่า KM ขององค์กรกำลังเดินไปถูกทาง

Ref. Standards Australia. Knowledge management - a guide. AS 5037 - 2005

วิจารณ์  พานิช
 27 มี.ค.50

หมายเลขบันทึก: 92395เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2007 13:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 16:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท