KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : (314) ตัวช่วย (15) Knowledge Auditing


         Knowledge Auditing ต่างจาก Information Auditing ตรงที่ KA เน้นที่ tacit knowledge   แต่ IA เน้นที่ explicit knowledge

         KA เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เข้าใจระบบนิเวศความรู้ขององค์กร     ช่วยให้เข้าใจโครงสร้าง,  การใช้,  การไหลเวียน,  สินทรัพย์ความรู้,  และทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับความรู้    นำไปสู่การประเมินความสอดคล้อง (alignment) ระหว่างกิจกรรมความรู้กับวัตถุประสงค์ขององค์กร

         KA เป็นกิจกรรมตรวจสอบการไหลเวียนของความรู้ฝังลึก,  ทักษะและความชำนาญของพนักงานและของผู้เกี่ยวข้อง,  ของวัฒนธรรมและความเป็นชุมชนภายในองค์กร   ไม่มีรูปแบบวิธีการตายตัวสำหรับทำ KA

         KA อาจประกอบด้วย การวิเคราะห์ความต้องการความรู้   การวิเคราะห์สารสนเทศ การสื่อสาร และขีดความสามารถ   โดยใช้วิธีการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ   ผลลัพธ์ที่ได้อาจเป็นความรู้ที่ใช้ในการปฏิบัติงานทั่วทั้งองค์กร   หรือเฉพาะบางหน่วยงานภายในองค์กรก็ได้   ผลของ KA อาจใช้เป็นเครื่องวัดผลการดำเนินการ KM ได้ด้วย


แนวทางดำเนินการ
         ต่อไปนี้คือตัวอย่างคำถามที่ใช้ทำ KA
People
      - วัฒนธรรมองค์กรในปัจจุบันให้รางวัลการแลกเปลี่ยนความรู้หรือการหวงความรู้
      - พนักงานมีความชำนาญในการใช้และสร้างความรู้หรือไม่
Process
      - ในเวลานี้องค์กรมีการจัดเก็บ จัดหมวดหมู่ และแลกเปลี่ยนความรู้อย่างไร
      - กระบวนการทำงานในปัจจุบันส่งเสริมการดูดซับความรู้แจ้งชัดไว้ในองค์กรหรือไม่
      - กระบวนการทำงาน เปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ฝังลึกหรือไม่ อย่างไร
      - มีกฎเกณฑ์กติกาใดที่มีผลต่อ KM เช่น ความเป็นส่วนตัว  อิสรภาพในการเข้าถึงข้อมูล - สารสนเทศ, ทรัพย์สินทางปัญญา,  กฎหมายเกี่ยวกับการจัดการสารสนเทศ  เป็นต้น
Technology
      - องค์กรมีระบบใดบ้างที่ช่วยสนับสนุน KM เช่น workflow, intranets, electronic, records & document management, ระบบสารสนเทศที่ใช้ง่าย เข้าถึงง่าย เป็นต้น
      - ความรู้แจ้งชัดอยู่ที่ไหน  จัดหมวดหมู่อย่างไร
Content
      - องค์กรต้องการความรู้อะไรบ้าง
      - ความรู้อะไรที่สำคัญยิ่งต่อผลการปฏิบัติงาน


ตัวอย่างภาคปฏิบัติ
         หน่วยงานเล็ก ๆ ที่อยู่ภายในกรม ๆ หนึ่ง  ต้องการทราบว่า จะหาวิธีค้นหาและแลกเปลี่ยนความรู้ระดับชำนาญการภายในหน่วยงาน, กับภายในกรมและกับวงการวิชาชีพภายนอกกรมได้อย่างไร

         เมื่อทำ KA พบว่าเทคโนโลยีที่ใช้ได้แก่ intranet, database, และ e-mail alert system  พนักงานใช้ระบบเหล่านี้ในการเข้าถึงสารสนเทศในงานประจำ

         KA ช่วยให้พบว่าจริง ๆ แล้วพนักงานยังคงคุ้นเคยกับการใช้วิธีการ low tech หรือ non - tech เท่านั้นในการแลกเปลี่ยนความรู้ คือการประชุม,  การประชุมปฏิบัติการและการพูดคุยกัน

         ดังนั้น องค์กรจึงหันมาส่งเสริมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มีค่าใช้จ่ายต่ำเหล่านี้  แต่มีพลังมากในการแลกเปลี่ยนความรู้ฝังลึก

Ref. Standards Australia. Knowledge management - a guide. AS 5037 - 2005

วิจารณ์  พานิช
 3 เม.ย.50

หมายเลขบันทึก: 95526เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2007 08:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 เมษายน 2012 21:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท