สื่อมวลชนกับความรับผิดชอบต่อสังคม


         คืนวันศุกร์ที่ 11 พ.ค.50  ผมนั่งเครื่องบินกลับจากแฟรงค์ฟอร์ต  อ่านโฆษณาของ USA for Innovation ใน นสพ.บางกอกโพสต์   กล่าวหารัฐบาลไทยว่ากำลังทำให้คนไทยได้รับยาที่ด้อยคุณภาพ   โดยอ้างผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล  ว่ายารักษาเอดส์ที่ผลิตโดยองค์การเภสัชกรรมมีอัตราเชื้อดื้อยาสูงมาก

         อ่านแล้วเกิดความรู้สึกว่า นสพ. สมัยนี้เขารับลงโฆษณาใส่ร้ายรัฐบาลกันแบบนี้หรือ   ความรับผิดชอบของ นสพ.ต่อเรื่องผลประโยชน์ของประเทศอยู่ที่ไหน   สงสัยว่าอ้างอิงผลการวิจัยอย่างถูกต้องหรือไม่   ทางมหาวิทยาลัยมหิดลควรต้องรับผิดชอบออกมาชี้แจงให้ความรู้ที่ถูกต้องต่อสังคมหรือไม่

         นี่คืออีกรูปแบบหนึ่งของ CSR - Corporate Social Responsibility ใช่หรือไม่

         วันเสาร์ได้อ่าน นสพ.เดอะเนชั่น   จึงรู้ว่าเดอะเนชั่นก็ลงโฆษณาดังกล่าวเหมือนกัน   และโดนคนตำหนิเหมือนกัน

เขาแก้ตัวว่า
1. นี่เป็นการโฆษณา  ซึ่งกองบรรณาธิการ นสพ. ไม่ต้องรับผิดชอบความถูกต้อง
2. ฝ่ายรับโฆษณากับฝ่ายกองบรรณาธิการ นสพ.แยกกัน   ไม่ได้รับรู้ซึ่งกันและกัน   เนื้อความในโฆษณาไม่ได้สะท้อนความเห็นของกองบรรณาธิการ

         ผมเกิดคำถามต่อว่า  ถ้าเช่นนั้นผู้เสียหายจะฟ้อง นสพ. เรียกค่าเสียหายจากข้อความที่เป็นเท็จได้ไหม   กรณีเช่นนี้ประเทศไทยเสียหาย   รัฐบาลทำหน้าที่ฟ้องเรียกค่าเสียหายแทยคนไทยได้ไหม

         คืนวันศุกร์  ผมเดินไปดูร้านขายสินค้าปลอดภาษีที่สนามบินเจนีวา   ห่อบุหรี่มีข้อความ "Smoking is bad for your health" ตัวใหญ่กว่าที่บ้านเราเสียอีก

         เมื่อ นสพ. ลงโฆษณาที่ตนไม่มั่นใจในความถูกต้องของข้อความหรือข้อมูล   ควรลงคำเตือนตัวโต ๆ ไหม   ว่า "โปรดอ่านโดยใช้วิจารณญาณ"

         สังเกตว่าเวลานี้คนรักชาติรักประเทศน้อยลง   เพราะถูกชักจูงว่าในยุค globalization สังคมต้องเปิด   ผมสงสัยต่อว่าเปิดเพื่อใคร

วิจารณ์  พานิช
 15 พ.ค.50

คำสำคัญ (Tags): #csr#สื่อมวลชน
หมายเลขบันทึก: 96056เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2007 09:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 13:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ประโยคที่อาจารย์เขียนว่า "อ่านแล้วเกิดความรู้สึกว่า นสพ. สมัยนี้เขารับลงโฆษณาใส่ร้ายรัฐบาลกันแบบนี้หรือ" นี่ลึกซึ้งครับ ถ้าเป็นการเขียนเมื่อปีที่แล้วจะเป็นอีกเรื่องหนึ่งทันที โดยเฉพาะเมื่ออาจารย์กล่าวถึงหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์และเดอะเนชั่น

เพื่อผลประโยชน์ "ธุรกิจ" บางประเภททำได้ทุกอย่างครับ ไม่ว่าเมื่อถูกกระทบถึงผลประโยชน์ที่กำลังได้อยู่อย่างในอดีตหรือเพื่อผลประโยชน์ที่ได้มากขึ้นในปัจจุบัน

ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องการสังคม "เปิด" เพื่อปกป้องตัวเราเองและสังคมจาก "ธุรกิจ" เหล่านี้ครับ

ประเทศไทยคงจะน่าเป็นห่วงมากทีเดียว ถ้าหนังสือพิมพ์ที่คนไทยจะได้อ่าน หรือโทรทัศน์ที่คนไทยจะได้ดู มาจากกลุ่มคนจำนวนเพียงหยิบมือที่ควบคุมข่าวสารทุกอย่างไปหมด

แปลกที่ยุคก่อนหน้านี้ "ผู้ใหญ่" มีความรู้สึกว่าประเทศไทยถูกควบคุมสื่อ ในขณะที่ในยุคปัจจุบัน "เด็ก" มีความรู้สึกว่าประเทศไทยถูกควบคุมสื่อ

จากบันทึกนี้ ผมเชื่อว่าสิ่งที่อาจารย์ถามหาคือสื่อมวลชนที่จะวิเคราะห์วิจารณ์และถามคำถามไปยังหนังสือพิมพ์ทั้งสองฉบับว่าทำไมถึงลงโฆษณาเช่นนี้ ถ้าเราไม่มีสังคมที่ "เปิด" สื่อมวลชนที่อาจารย์ถามหาก็คงไม่มีโอกาสได้เกิด

ในอีกมุมหนึ่ง ถ้ายาของไทย "ไม่ดีจริง" แล้ว ถ้าหนังสือพิมพ์ทั้งสองฉบับไม่มีโอกาสได้ลงโฆษณานั้น เรื่องนี้ก็ไม่ดีอีกเหมือนกัน

ผมเชื่อว่าสิ่งที่เราต้องการในสังคมไทย (ไม่ว่า "ผู้ใหญ่" หรือ "เด็ก") คือสื่อที่หลากหลาย เพราะในสังคมที่สื่อกลุ่มเล็กๆ คุมความคิดของคนนั้น แม้ว่าบางครั้งสื่อจะทำสิ่งที่บางคนชอบใจ (ตอกไข่เสียจนรัฐบาลที่แล้วล้มไม่เป็นท่าและสร้างสังคมไทยเป็นสังคมที่ความถูกและความผิดไม่ต้องอาศัยการพิสูจน์) วันหนึ่งสื่อจะกลับมาแว้งกัดสิ่งที่บางคนนึกว่าถูกต้องได้เสมอ (นโยบายของรัฐบาลปัจจุบัน เป็นต้น)

สังคมไทยต้องเปิดครับ เปิดโอกาสเพื่อให้คนไทยได้มีความคิดเป็นของตัวเองบ้างครับ

อีกประเด็นหนึ่งครับ "อาจารย์ถามว่ารัฐบาลควรฟ้องสื่อได้หรือไม่"

ขอเรียนอาจารย์ว่า สื่อมวลชนไทยนั้นฟ้องไม่ได้ครับ ไม่ว่าท่านจะเสนออะไรให้ถือว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องหมด บางครั้งท่านจะแก้เกี้ยวน้ำขุ่นๆ พอเอาใจคนอ่านบ้างเท่านั้นเอง โถ... ขนาดตัดต่อรูปเพิ่มข่าวใส่ไข่ขนาดหนักยังทำอะไรท่านไม่ได้เลยครับ

ถ้ารัฐบาลฟ้องสื่อ สื่อจะเรียกว่าเป็นการลิดรอนเสรีภาพสื่อมวลชนทันที

รัฐบาลนี้ต้องดูตัวอย่างจากรัฐบาลที่แล้วครับ ไปแตะต้องสื่อมวลชนไทย ผมรับประกันว่ารัฐบาลปัจจุบัน (ซึ่งมีแผลเยอะอยู่แล้ว) พังไม่เป็นท่าทันที

ถ้าสำนวนนักเลงเขาบอกว่า "ให้รู้บ้างว่าประเทศนี้ใครใหญ่" ครับ

สวัสดีค่ะ Prof. Vicharn Panich

ขออนุญาต ลปรร นะคะ

เห็นด้วยค่ะอาจารย์ ว่าสื่อต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม แต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรถึงจะทำให้เขามีความรับผิดชอบขึ้นมาบ้าง...

ตอนนี้ปัญหาสังคมหลายๆ อย่างเกิดสื่อนั้นสื่อข้อมูลแบบผิดๆ ไม่รับผิดชอบกับสิ่งที่สื่อนี่แหละค่ะ 

กระแสสังคมทาง วัตถุนิยม ความสวย ความงาม การร้องเพลงเก่ง มีค่ามากกว่าการมีความพอเพียง และการมีจริยธรรม คุณธรรม...

อะไรหลายๆ อย่างถูกวัดจาก rating ของสื่อ แต่ไม่ได้ถูกวัดจากเนื้อหาและคุณค่าของคนหรือเรื่องนั้นๆ เลย... คนก็เลยหลงทางกันไปใหญ่ เพราะมองไปทางไหน ก็เห็นแต่สื่อที่ส่งข้อมูลให้เราแบบเดียวกันไปหมด...

 

อาจารย์ครับ

  • สวัสดีวันปี่ใหม่เมือง วันนี้เป็นวันพญาวัน ขอให้อาจารย์และครอบครัวสุขภาพดี ขออนุญาตนำแง่คิดและถ้อยคำไปบันทึก เพื่อต่อเรื่อง เปิดน่านเพื่อใคร จะมีการนำเสนอในกิจกรรม เมืองน่านในทศวรรษหน้า ด้วยความเคารพ ธนู ๑๕ เม.ย.๒๕๕๓
  • ขอส่งภาพเก่า ๆ ได้จากตู้หนังสือเมื่อวานนี้ บันทึกไว้คราวเมื่ออาจารย์และคณะไปเยือนจังหวัดน่านครับ
  • ขออภัยวันนี้เป็นวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๓ ขออนุญาตแก้ไขวันที่ในกระดานก่อนหน้าให้ถูกต้องครับ

"อาจารย์ถามว่ารัฐบาลควรฟ้องสื่อได้หรือไม่"

ขอเรียนอาจารย์ว่า สื่อมวลชนไทยนั้นฟ้องไม่ได้ครับ ไม่ว่าท่านจะเสนออะไรให้ถือว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องหมด บางครั้งท่านจะแก้เกี้ยวน้ำขุ่นๆ พอเอาใจคนอ่านบ้างเท่านั้นเอง โถ... ขนาดตัดต่อรูปเพิ่มข่าวใส่ไข่ขนาดหนักยังทำอะไรท่านไม่ได้เลยครับ

ถ้ารัฐบาลฟ้องสื่อ สื่อจะเรียกว่าเป็นการลิดรอนเสรีภาพสื่อมวลชนทันที

"อาจารย์ถามว่ารัฐบาลควรฟ้องสื่อได้หรือไม่"

ขอเรียนอาจารย์ว่า สื่อมวลชนไทยนั้นฟ้องไม่ได้ครับ ไม่ว่าท่านจะเสนออะไรให้ถือว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องหมด บางครั้งท่านจะแก้เกี้ยวน้ำขุ่นๆ พอเอาใจคนอ่านบ้างเท่านั้นเอง โถ... ขนาดตัดต่อรูปเพิ่มข่าวใส่ไข่ขนาดหนักยังทำอะไรท่านไม่ได้เลยครับ

ถ้ารัฐบาลฟ้องสื่อ สื่อจะเรียกว่าเป็นการลิดรอนเสรีภาพสื่อมวลชนทันที

  • เห็นด้วยค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท