KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : (329) ตัวช่วย (27) Play Theory


         Play Theory น่าจะตรงกับวัฒนธรรมไทยคือ "สนุก"   การสร้างบรรยากาศที่มีความสนุกสนานจากกิจกรรมการทำงานจะทำให้เกิดความร่วมมือ   เกิดความคิดใหม่ ๆ ได้ง่ายขึ้น

         บรรยากาศที่สนุกสนานช่วยให้แกนนำ KM และผู้นำองค์กร/หน่วยงาน สามารถเสาะหาเครื่องมือใหม่ ๆ,  สร้างปฏิสัมพันธ์ใหม่ ๆ  รวมทั้งหาทางสร้างกลไกความร่วมมือข้ามพรมแดนหน่วยงาน

การประยุกต์ใช้ Play Theory มี 3 ประการ
1. ตรวจสอบสภาพแวดล้อมเชิงกายภาพ   ว่าเหมาะสมต่อการส่งเสริมให้เกิดความคิดใหม่ ๆ เครื่องมือใหม่ ๆ ในสถานที่ทำงานอย่างไรบ้าง
2. เรียนรู้และปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง ผ่านปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันและร่วมกันสะท้อนความรู้สึก (reflect) ออกมา
3. เสาะหาสิ่งใหม่หรือสิ่งที่ไม่คุ้นเคย  ที่ช่วยทำให้ผลงานประจำของทีมดีขึ้น

         บรรยากาศที่สนุก ช่วยลดความแข็งตัวของโครงการทดลอง (pilot)  ช่วยทำให้เกิดบรรยากาศที่เป็นอิสระ  ผู้คนเปิดใจ  สะท้อนความคิดเกี่ยวกับการทดลองวิธีทำงานแบบใหม่ออกมาจากใจ   เกิดบรรยากาศที่ไม่เป็นทางการ  ลดความแข็งตัวของเครื่องมือวัดต่าง ๆ ที่ทำให้คนกลัวหรือวิตกกังวล เมื่อมีโครงการทดลองเกิดขึ้น

         บรรยากาศที่สนุก ทำให้เครื่องมือประเมินผลต่าง ๆ ถูกปรับลงมาให้ดูไม่น่ากลัว   มีการปรับเครื่องมือต่าง ๆ ให้เข้ากันกับวัฒนธรรมองค์กร

         Play Theory มีประโยชน์มากในกรณีที่องค์กรต้องการแสวงหานวัตกรรม   หรือต้องการทำงานภายใต้สภาพที่ซับซ้อน,  ไม่ชัดเจนและมีการเปลี่ยนแปลงแบบไม่ต่อเนื่อง (discontinuous change)  ความสนุกจะช่วยเปิดประตูให้องค์กรเข้าสู่ประสบการณ์ใหม่  วิธีคิดใหม่  และช่วยสร้างบรรยากาศแห่งความร่วมมือและบรรยากาศแห่งการแสวงหา

Ref. Standards Australia. Knowledge management - a guide. AS 5037 - 2005

วิจารณ์  พานิช
 5 เม.ย.50

หมายเลขบันทึก: 99361เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2007 11:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2012 14:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท