ประวัติการฝังเข็ม


                            ประวัติความเป็นมาของการฝังเข็ม รักษาผู้ป่วย สามารถสืบเสาะกลับไปยังอดีตได้ตั้งแต่ครั้งสมัยยุคหินใหม่ [New stone age] ราว 8,000-3,000 ปีก่อนคศ.มีหลักฐานเชื่อได้ว่า มนุษย์รู้จักการฝังเข็มมาก่อนที่จะรู้จักการนำสมุนไพรมาใช้รักษาโรค มีการค้นพบเข็มหิน ที่ใช้ในการฝังเข็มในสุสานโบราณ แถบมองโกเลียใน และเมือง Hunan พบเข็มหิน3ชนิดที่มีความคม ต่างๆกัน ทั้งชนิดที่คมมากใช้ใน การเจาะเอาหนองออก จนถึงแบบไม่คม(ทู่)ซึ่งใช้ในการรักษาแบบ Gua Sha [Skin scraping] หลังจากนั้นก็มีการ ค้นพบเข็มที่ทำมา จากกระดูกและไม้ไผ่  เข็มโลหะถูกค้นพบในยุคทองสัมฤทธิ์ในระหว่างยุค Xia [2,205-1,766 ปีก่อนคศ.] และยุค Shang [1,766-1,122 ปีก่อนคศ.] ในยุคนั้นเข็มทำมาจากสัมฤทธิ์ หลังจากนั้นก็มีการนำเอาทองและเงินมาทำเป็นเข็ม หลังจากนั้นมาในราว 500 ปีก่อนคศ. มีการนำเอาหยกมาทำเป็นเข็ม และในราวช่วง 200 ปีก่อนคศ. เข็มเหล็กกล้าจึงเริ่มเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อจะได้เข้าใจถึงเหตุการณ์และพัฒนาการในแต่ละยุคสมัยที่ผ่านมาควรจะต้องเข้าใจถึงทฤษฏีการฝังเข็มบ้างจะได้ลำดับเหตุการณ์ได้  (อธิบายรูปภาพ)        

    

ทฤษฏีหลักๆในการฝังเข็มมีอยู่ 6-7 ทฤษฏี ได้แก่

<p style="background: white; margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">1.ทฤษฏี yin/yang</p> <p style="background: white; margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="background: white; margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">2.ทฤษฏีปัญจธาตุ [5 elements]</p> <p style="background: white; margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="background: white; margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">3.ทฤษฏีเส้นลมปราณ [Jingluo]</p> <p style="background: white; margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="background: white; margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">4.ทฤษฏีอวัยวะกลวง/ตัน ทั้ง12 [Zangfu] </p>   <p style="background: white; margin: 2pt" class="MsoNormal">5.ทฤษฏีชี่และเลือด [Qi & blood]</p>   <p style="background: white; margin: 2pt" class="MsoNormal">6.ทฤษฏีสาเหตุของโรค [Causes of diseases]</p>

 7.ทฤษฏีการแยกแยะโรค [Differentiation of syndromes]   

</span></span></span></font></span></span></span></span></font></span></span><p align="left">                             ในราวปีคศ. 200 จุดฝังเข็มทั้ง 349 จุดก็ได้ถูกบันทึกในตำราแล้ว ทางเดินของเส้นลมปราณก็ถูกบันทึกเช่นเดียวกัน รวมเวลากว่าจะพัฒนาเป็นความรู้ ทฤษฏีเส้นลมปราณ [รวมจุดฝังเข็มด้วย] ได้ใช้เวลาไป ประมาณ 8,000ปี  ในราว 206 ปีก่อนคศ.-ปีคศ. 24 มีการค้นพบตำราในสุสาน Ma Wan Dui ในเมือง Hunan ซึ่งได้กล่าวถึงเส้นลมปราณจำนวน 11 เส้น สำหรับใช้ในการทำ Moxibustion ในจำนวน 11 เส้น มี 7 เส้นที่สัมพันธ์กับอวัยวะภายใน ในตำราเล่มนี้กล่าวถึง เฉพาะเส้นลมปราณโดยไม่ได้เอ่ยถึงจุดฝังเข็มแต่อย่างใด จึงสนับสนุนแนวคิดที่ว่าความรู้ทางด้านเส้นลมปราณถูกพัฒนาขึ้นมาก่อนแล้ว จึงตามมาด้วยความรู้ด้านจุดฝังเข็ม           </p>           <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                อย่างไรก็ตามในช่วงท้ายของยุค  Warring states [476-221 ปีก่อนคศ] มีความชัดเจนว่าความรู้ทางด้านเส้นลมปราณ และจุดฝังเข็ม ได้ถูกรวมกันเข้ากับความรู้กายวิภาคศาสตร์ ทำให้เกิดเป็นความรู้ ที่เป็นระบบขึ้นมา </p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>

                 ในยุค Warring states [476-221 ปีก่อนคศ.] ในมุมมองทางด้าน การเมืองยุคนี้เป็นยุคที่เต็มไปด้วยความสับสนอลหม่าน สืบเนื่องมาจากการต่อสู้ แย่งชิงเพื่อต้องการแบ่งแยกรัฐ เป็นของตนเอง  แต่ในทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรมแล้ว จะเห็นว่ายุคนี้มีความเจริญรุ่งเรืองมาก มีการนำเอาโลหะมาใช้งาน มีการเปิดเหมือง มีการนำเอาปุ๋ยและ เครื่องมือใหม่ๆ มาใช้ในการเกษตร มีการขุดคลองทั้งเพื่อการขนส่งและ เพื่อการชลประทาน ทำให้เกิดการซื้อขาย สินค้าขึ้นในระหว่างเมืองต่างๆ รวม ทั้งความเจริญในด้านวรรณกรรมและ ตำราแพทย์ในยุคนี้ได้เกิดตำราทางการแพทย์ที่สำคัญขึ้นมา ได้แก่ Nei Jing, Nan Jing, Shen Nong Ben Cao [เฉพาะเล่มที่สามจะเป็นตำราทางด้าน เภสัชสมุนไพร เล่มแรก, The first herbal pharmacopoeia]  

                  ในราวปีคศ. 158-166  Zhang Zhong Jing ได้เขียนตำราแพทย์ทางด้าน สมุนไพร "Shang Han Lun" เฉพาะโรคทางด้านที่ถูกความเย็นมากระทำ นับว่าเป็นตำราทางด้านคลีนิค ที่พูดถึงเรื่องอาการ การวินิจฉัยและการรักษา ตำราเล่มนี้ยังสามารถใช้เป็นตำราพื้นฐาน ในปัจจุบันได้อยู่ 

                  ในราวปีคศ. 215-282  Huang Fu Mi ได้เขียนตำราเฉพาะทางด้านฝังเข็ม เจาะลึก [monograph] ในด้าน ทฤษฏีอวัยวะกลวง/ตัน ทั้ง12 [Zangfu] ทฤษฏีพลังชี่และเลือด ทฤษฏีเส้นลมปราณ [Jingluo] และจุดฝังเข็มต่างๆ  เป็นตำราที่กล่าวถึงจุดฝังเข็มถึง 349 จุด อธิบายถึงสรรพคุณของจุดต่างๆ ในการรักษาโรค   

                 ในยุคราชวงค์ Tang [ปีคศ. 618-907] เป็นยุคที่มีความเจริญมาก ยุคหนึ่ง ได้เกิดแพทย์จีนที่มีชื่อเสียง ขึ้น 2 ท่าน ชื่อ Sun Si Miao และ Wang Tao ได้เขียน ตำราที่กล่าวถึง จุดเจ็บ [Ah Shi] การใช้ moxibustion ในการป้องกัน โรค                        

                ในยุคราชวงค์ Song [ปีคศ. 960-1279] ได้เกิดแพทย์จีนที่มีชื่อเสียง ขึ้น  2 ท่าน ชื่อ Wang Wei Yi และ Wang Zhi Zhong  ท่านแรกสร้างหุ่น สัมฤทธิ์ขนาดเท่าคนจริงพร้อมจุดฝังเข็ม เพื่อใช้ในการสอบ ภายในหุ่นบรรจุน้ำ ส่วนจุดฝังเข็มเป็นรู เคลือบด้วยขี้ผึ้ง ท่านที่สองเขียนตำราชื่อ "Zhen Jin Zing Jiang" ที่รวบรวมประสพการณ์อดีตเข้า ด้วยกัน พร้อมความรู้ทางด้าน เทคนิคใหม่ๆ และการรักษาทางด้าน อายุรกรรม สูตินารีเวช เด็ก การผ่าตัด พร้อมกรณีศึกษาต่างๆ 

                ในยุคราชวงศ์ Yuan [ปีคศ. 1280-1368]  แพทย์จีน Hua Bo Ren ได้เขียนตำรากล่าวถึง Extra meridians ที่ระบุว่าทั้ง 12 เส้นลมปราณเกี่ยวข้อง กับอวัยวะภายใน ขณะที่ Ren และ Du mai ไม่สัมพันธ์  อาจกล่าวได้ว่ายุคนี้เป็น ยุคที่การฝังเข็มได้พัฒนาและเจริญ ถึงขีดสูงสุดหลังจากนี้ก็เริ่มเสื่อมถอยลงไป             

</font></span><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>              ในยุคราชวงศ์ Ming [ปีคศ. 1368-1644]  ได้เกิดแพทย์จีนที่มีชื่อเสียงขึ้น  2 ท่าน ชื่อ Yang Ji Zhou และ Li shi Zhen ท่านแรกเขียนตำรา 2 เล่มชื่อ "Zhen Jiu Da Cheng" และ "The compendium of acupuncture" ส่วนท่านหลังเขียนตำราสำคัญทาง สมุนไพรชื่อ "Ben Cao Gang Mu" เป็นตำราถึง 50 เล่ม อธิบายเกี่ยวกับสมุนไพร 1,500 ตัว และสูตรตำรับยาอีก 15,000 ตำรับ    </span></span></span></font></span></span><p align="justify"></p>

ในยุคราชวงศ์ Qing [ปีคศ.1644-1911] เป็นยุคเสื่อมของการแพทย์แผนจีน จากผลของลัทธิล่าอาณานิคม และการเข้ามาของการแพทย์ตะวันตก  ในปีคศ. 1822 ได้มีการสั่งยกเลิก การฝังเข็ม โดยมีเหตุผลข้อหนึ่งว่า การให้ผู้ป่วยถอดเสื้อผ้าฝังเข็ม เป็นการไม่เหมาะสม ทำให้มีผลกระทบกับวิชาชีพนี้มาก ภายหลังสงครามฝิ่น ในปีคศ. 1840 การแพทย์ตะวันตก ได้เข้ามาในประเทศ จีนอย่างมากมาย จึงทำให้มีผลต่อการแพทย์แผนจีน ให้ถูกบีบคั้นทั้งระบบ แพทย์จีนที่ยังหลงเหลืออยู่ จึงเป็นส่วนที่อยู่ในชนบท ไม่ใช่ในเมือง           <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">           ในยุคสาธารณรัฐ ระหว่างปีคศ. 1911-1949 พรรคก๊กมินตั๋ง มีความพยายามจะสั่งยกเลิกการฝังเข็ม ในปีคศ. 1930 แต่ได้รับการต่อต้านอย่างหนักจากแพทย์จีนจึงไม่สามารถยกเลิกได้ ภายหลังการปลดปล่อยในปีคศ.1949 เกิดการทวนกลับของกระแสการรักษาแผนจีน ซึ่งตรงกับความต้องการส่วนใหญ่ของ ประชาชนที่ให้การสนับสนุน ซึ่งในยุคนี้แพทย์ตะวันตกเองก็มีจำนวนน้อยลงมากเหลือเพียงไม่กี่พันคนทั้งประเทศ จากนั้นมาการแพทย์แผนจีนจึงได้กลับมามีบทบาทใหม่เทียบเคียงได้กับการแพทย์แผนตะวันตกอีกครั้ง  </p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>           <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ในระหว่างการปฏิวัติวัฒนธรรม ช่วงปีคศ. 1966-1976 มีการพัฒนาเทคนิคการรักษาฝังเข็มเพิ่มขึ้นจากเดิม เช่น </p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">1. การฝังเข็มหู [Ear acupuncture]</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">2. การฝังเข็มศรีษะ [Scalp acupuncture]</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">3. การใช้ด้ายผ่าตัดเย็บเข้าจุดฝังเข็ม [Cat gut surgery]</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">4.การฝังเข็มแบบเข็มค้างติดตัวผู้ป่วย [Needle embedding therapy]</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">5. การฉีดยาที่จุดฝังเข็ม [Point injection therapy]</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">6. การฝังเข็มแบบเข็มยาว [Long needle therapy]</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">7. การฝังเข็มให้ชาเพื่อผ่าตัด [Acupuncture anasthesia] </p>

 8. การฝังเข็มพร้อมไฟฟ้ากระตุ้น [Electrical acupuncture]   

            เหตุผลที่มีการประยุกต์วิธีต่างๆเข้ามาดังกล่าวเพราะจำนวนแพทย์ตะวันตกมีไม่เพียงพอ จึงทำให้แพทย์แผนจีนต้องประยุกต์วิธีต่างๆเข้ามาช่วยการรักษา ในปัจจุบันการรักษาบางแบบก็ได้ยกเลิก และไม่ได้ใช้รักษาผู้ป่วยแล้ว

             ในปัจจุบันประเทศจีน TCM ได้รับการปฏิบัติเทียบเท่าแพทย์ตะวันตก ในมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์แผนตะวันตก จะจัดเวลาการสอนให้ครอบคลุมแผนจีน 15% ของเวลาทั้งหมด และในมหาวิทยาลัยแพทย์จีนจะจัดเวลาการสอน ให้ครอบคลุมแผนตะวันตก  30% ของเวลาทั้งหมด ในมหาวิทยาลัยแพทย์ Nanjing หลักสูตรแพทย์จีนเพิ่มขึ้นจาก 5 ปีไปเป็น 6 ปี หลักสูตรเภสัชกรรมแผนจีน 4 ปี ในปัจจุบันการฝังเข็มนอกจากเปิดให้ บริการในรพ.แผนจีนแล้ว ยังเป็นที่ยอมรับและ เป็นส่วนหนึ่งของการรักษา ในรพ.ทั่วไปอีกด้วยตามนโยบายของประเทศที่ให้พึ่งตนเองสูงสุด สนใจรายละเอียดอื่นๆเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ศึกษาได้ที่ http://www.thaiyinyang.com </span></font></span></span></font></span></span></span></span></span></span></font></span></span>

หมายเลขบันทึก: 54285เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2006 11:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

 

ได้ความรู้ดีมากครับ จะมาติดตามอ่านต่อไปครับ

รูปภาพประกอบช่วยความเข้าใจได้มากเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท