เมี้ยงมี ป่ายัง คนอยู่ : เรียนรู้การตัดแต่งกิ่งเมี่ยงที่ศรีนาป่าน


ดังนั้นหากชาวบ้านยังคงปลูกเมี้ยง และใช้เมี้ยงเป็นพืชเศรษฐกิจหล่อเลี้ยงตนเอง แน่นอนว่าป่าจะยังคงอยู่ นั่นหมายถึงความหลากหลายทางชีวภาพและความมั่นคงทางอาหารอื่นด้วย

 

            เมี้ยง เป็นพืชเศรษฐกิจตัวหนึ่งของชุมชนศรีนาป่าน ตำบลเรือง อำเภอเมืองน่าน ชาวบ้านนิยมนำใบมานึ่งและนำมาเป็นของขบเคี้ยว ที่เรียกกันว่า อมเมี้ยง เมี้ยงจึงเป็นพืชเศรษฐกิจชุมชนที่อยู่กับคนพื้นถิ่นมาชั่วหลายอายุคน แต่ในปัจจุบันคนรุ่นใหม่นิยมอมเมี้ยงกันน้อยลง เมี้ยงจึงมีการปลูกเมี้ยงกันน้อยลง ในจังหวัดน่าน แหล่งปลูกเมี้ยงใหญ่ๆ น่าจะมีที่ตำบลสกาด อำเภอปัว และตำบลเรือง อำเภอเมืองน่าน ส่วนที่อื่นๆ ก็มีอยู่บ้าง ด้วยความนิยมอมเมี้ยงที่ลดลง ประกอบกับรายได้จากการขายเมี้ยงลดลง ชาวบ้านจึงหันไปปลูกพืชเศรษฐกิจตัวอื่น เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง ยางพารา เป็นต้น

            มองในแง่ของเศรษฐกิจชุมชนและความมั่นคงทางด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะป่าไม้แล้ว นับว่าเมี้ยงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ป่าคงอยู่ได้ เพราะต้นเมี้ยงต้องอาศัยอยู่ต้นไม้ใหญ่ ไม่ต้องการสารเคมีใดๆ ดังนั้นหากชาวบ้านยังคงปลูกเมี้ยง และใช้เมี้ยงเป็นพืชเศรษฐกิจหล่อเลี้ยงตนเอง แน่นอนว่าป่าจะยังคงอยู่ นั่นหมายถึงความหลากหลายทางชีวภาพและความมั่นคงทางอาหารอื่นด้วย

            แต่ด้วยรายได้จากการขายเมี้ยงเพียงอย่างเดียวอาจไม่พอกับภาระใช้ค่าจ่าย ประกอบกับกลุ่มที่นิยมอมเมี้ยงก็ลดน้อยลงไปเรื่อยๆ การนำยอดเมี่ยงมาผลิตเป็นชาแทนจึงเป็นทางออกทางหนึ่งของชุมชน ด้วยเหตุนี้สำนักงานเกษตรจังหวัดน่านจึงได้เข้ามาหนุนเสริมชาวบ้านให้รู้จักการเปลี่ยนการขายใบเมี้ยงสำหรับใช้เป็นอมเมี้ยงมาเป็นการขายยอดเมี้ยงมาทำเป็นชาแทน โดนมีการอบรมให้ความรู้เรื่องชา การพาไปศึกษาดูงาน และชักชวนนายทุนลงตั้งโรงงานชาตำบลเรืองขึ้นในปี ๒๕๕๐ ที่ผ่านมา แต่ด้วยความเคยชินแต่การปลูกเมี้ยง ขายใบเมี้ยงเพื่อใช้เป็นอมเมี้ยงเท่านั้น ทำให้ขาดความรู้ ทักษะในการปลูกเมี้ยงเพื่อใช้เป็นชา มูลนิธิฮักเมืองน่าน จึงได้เข้าไปหนุนกระบวนการเรียนรู้ของชาวบ้านในการจัดการป่าชุมชนและป่าเมี้ยง ภายใต้โครงการสิ่งแวดล้อมศึกษา

            และในวันนี้ (๒-๓ กรกฎาคม ๒๕๕๑) ก็เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งของการหนุนเสริมชาวบ้าน นั่นคือ การเรียนรู้การตัดแต่งกิ่งเมี้ยง โดยเป็นกลุ่มสมาชิกผลิตชาบ้านศรีนาป่าน จำนวน ๓๐ คน โดยกิจกรรมวันแรกเป็นการให้ความรู้เรื่องการตัดแต่งกิ่งเมี้ยงเพื่อให้ออกยอดสำหรับเก็บเกี่ยวเป็นยอดชาขาย และได้มีการสาธิตการตัดแต่งกิ่งเมี้ยงจริง ส่วนวันที่สองเป็นการลงมือปฏิบัติตัดแต่งกิ่งเมี้ยงจริงในไร่ของสมาชิก แล้วนำมาสรุปเป็นความรู้ร่วมกัน เพื่อถอดเป็นชุดความรู้สำหรับชุมชนต่อไป

            ในการตัดแต่งกิ่งเมี้ยงของชาวบ้านที่ผ่านมานิยมใช้มีดพร้าตัดฟันต้น ทำให้ตอมีการแตก หัก และติดเชื้อรา บางต้นก็ทำให้ต้นเน่าตายได้         

          กระบวนการเรียนรู้ของชาวบ้านในการเปลี่ยนเมี้ยงให้เป็นชา เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเศรษฐกิจชุมชน ที่ยังคงอนุรักษ์หวงแหนป่าเมี้ยงไว้ให้คงอยู่กับชุมชนท่ามกลางการพัฒนาระบบเศรษฐกิจเชิงเดี่ยวที่ทำร้ายธรรมชาติและตัวเอง นั่นหมายถึงการอนุรักษ์ผืนป่า ชีวิต สายน้ำ วัฒนธรรม ภูมิปัญญา และลมหายใจของชาวบ้านผ่านเมี้ยงหรือชานั่นเอง

หมายเลขบันทึก: 193064เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2008 13:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ คุณพ่อน้องซอมพอ

... มาชื่นชม ยินดี กับกิจกรรมเพื่อคืนความหลากหลายทางชีวภาพค่ะ

... คิดถึง ดอยเสมอดาว ,  เมืองปัว น่าน

... ชอบ และหลงเสน่ห์ ดอกซอมพอ ค่ะ ...

... ขอบคุณค่ะ ...

 

เข้ามาชมสวนเมี่ยง(โอเล่ดอย)ด้วยครับ

เมืองน่านเป็นบ้านเกิดคุณพ่อครับแต่มาตั้งหลักแหล่งที่อุตรดิตถ์

ที่บ้านพี่ๆน้องๆทุกๆคนเคยลิ้มรสชาดเมี่ยงมาแล้วครับ เวลาอมแก้มจะตุงๆ บางคนบอกว่าอมโอเล่ดอยครับพ่อน้องซอมพอ

ที่น่านยังมีความงดงามของผืนป่า ธรรมชาติ และผู้คนอยู่ แม้จะเริ่มลดลงไปทุกขณะๆ แต่หากเราช่วยกันคนละไม้ละมือ คิดว่าคงยื้อไปอีกนานเท่านานครับ

ขอบคุณทุกความคิดเห็นครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท