ถอดบทเรียน “การเมืองภาคพลเมือง”


“การเมืองภาคพลเมือง” เป็น “กระบวนการของชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน”

          ในขณะที่การเมืองของประเทศ การเมืองของนักการเมือง กำลังเดินทางเข้าสู่ภาวะตีบตัน แบ่งคนออกเป็นซ้าย เป็นขวา เป็นขาวกับดำ ทุกฝ่ายอ้างความชอบธรรม อ้างประชาชน

          แต่จริงๆ แล้วการเมืองเป็นเรื่องของนักการเมืองเท่านั้นหรือ แล้ว การเมืองภาคพลเมือง ที่แท้จริงเป็นอย่างไร ?

          คำตอบน่าจะอยู่ที่ชุมชน นี่คือที่ไปที่มาของเวทีถอดบทเรียน การเมืองภาคพลเมือง หรือการเมืองภาคประชาชน  โดย ศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้าจังหวัดน่าน โดยเชื้อเชิญกลุ่มแกนนำ ๔ ตำบล (ต.น้ำเกี๋ยน, ต.เมืองจัง, ต.ถืมตอง, ต.กลางเวียง) มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงกระบวนการทำการเมืองภาคพลเมือง

 

โจทย์ที่ถกคิดร่วมกันคือ

@ คืออะไร ทำไม และอย่างไร ??? มีการสร้างการมีส่วนร่วมอย่างไร ?

@ แล้วต่างจากการเมืองแบบนักการเมือง ???

@ ข้อจำกัดของการเมืองภาคพลเมือง ???

@ จะสร้างสำนึกของการเมืองภาคพลเมืองได้อย่างไร ??? ขยายออกไปได้อย่างไร ???

 

จากบทเรียน ๔ ตำบล แสดงให้เห็นว่า

การเมืองภาคพลเมืองเป็น กระบวนการของชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน

 

หลักคิดการเมืองภาคพลเมือง

@ มีกำหนดเป้าหมายชัดเจน ไม่ว่าใครจะมาเป็นผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ เป้าหมายหรือวิสัยทัศน์ของชุมชนไม่เคยเปลี่ยนแปลง และยึดเอาของชุมชนที่ได้กำหนดร่วมกันเป็นที่ตั้ง

@ เน้นพัฒนา คน และการสร้าง สำนึก ที่ดี เป็นสำนึกของความรับผิดและรับชอบ

@ ใช้กระบวนการทาง ปัญญา นำ  มิใช่อำนาจหรือเงินตรา และเน้น การสร้าง และใช้ ทุนภายใน มิใช่หวังพึ่งพิงทุนภายนอกเท่านั้น

@ ถือสัจจะเป็นที่ตั้ง ควบคุมกันเอง

@ เอื้ออาทร แบ่งปัน เฉลี่ยทุก-เฉลี่ยสุข

@ เน้นความเป็นพี่-น้อง เครือญาติ ที่มองเห็นว่าทุกคนในชุมชนล้วนเป็นญาติพี่น้องกัน ไม่มีญาติคนนั้น เพื่อนพ้องน้องพี่คนนี้

@ คิดบวก เชิงสร้างสรรค์ มิใช่ทำลายกัน

@ เน้นกระบวนการมีส่วนร่วม พระเอกหมู่ คือทุกคนล้วนเป็นพระเอก ไม่ยึดติดคนใดคนหนึ่ง

@ ไม่แยกเขา-แยกเรา แต่เป็น เรา

@ ผู้นำไม่เกี่ยวข้องกับผู้รับเหมา ไม่มีธุรกิจการเมือง และถือ ผลประโยชน์ของชุมชนเป็นที่ตั้ง

 

กระบวนการเมืองภาคพลเมือง

@ การจัดตั้ง สภาชาวบ้าน หรือ สภาประชาชน เพื่อร่วมกันวางแผน พัฒนาและติดตามประเมินผลการพัฒนาท้องถิ่น

@ การจัดเวทีชาวบ้าน จากบ้าน-ตำบล (จากล่างขึ้นบน) ร่วมคิด คุย ค้น คุ้ย(ความดีงาม) วางแผน พัฒนา และติดตาม

@ สร้างกลุ่มกิจกรรม ดูแลช่วยเหลือกันและกันในชุมชน

@ ใช้แผนแม่บทชุมชนเป็นเครื่องมือกำหนดอนาคตของตนเอง เน้นการ ใช้ทุนชุมชน

@ กำหนดแนวปฏิบัติร่วมกัน ทั้งการใช้ มาตรการสังคม และ มาตรการเสริมแรงจูงใจ

@ เสริมสร้างและพัฒนาทักษะของผู้นำต่อเนื่อง สร้างผู้นำรุ่นใหม่เสริม

@ มีการสร้างและใช้สื่อท้องถิ่น เช่น วิทยุชุมชน ในการสื่อและสร้างความรู้ความเข้าใจของคนในชุมชน

@ มีการแสวงหาภาคีภายใน&นอก

@ การถอดบทเรียน สรุปการทำงานร่วมกัน เพื่อสะท้อนการทำงานและหาแนวทางพัฒนาร่วมกัน

 

กระบวนการคิดและวิถีการปฏิบัติของการเมืองภาคพลเมืองนี้เป็นโจทย์ใหญ่ของสังคมว่า จะสร้างและขยายสำนึกการเมืองภาคพลเมือง นี้ออกไปอย่างไร

หากช่วยกันได้ คำตอบนี้จะสร้างการเมืองใหม่ที่ภาคประชาชนมีส่วนร่วมแท้จริง

 

หมายเลขบันทึก: 204962เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2008 08:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 เมษายน 2012 00:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะคุณพ่อน้องซอมพอ

  • มีเรื่องดี ๆ มาเล่าสู่กันฟังอีกแล้วนะคะ
  • และขอนำไปใช้อีก 1 บทเรียน
  • ขอบคุณค่ะ

คำตอบอยู่ที่หมู่บ้าน

อยู่อย่างมีภูมิรู้และสติกำกับ

ถึงเวลาต้องช่วยกันสร้างการเมืองฐานรากที่จริงแท้แล้วครับ

*เหนื่อยกับนักการเมืองลักชาติ รวมนักราชการด้วย

*ให้กำลังใจสำหรับนักรักชาติครับ

*ขอให้เชื่อใน "กรรม" และ "คุณธรรม" ดีทั้งตนทั้งชาติ

ดีคับ

คึนน่านนารัก

พอดีอยากได้ข้อมูลเกียวกับแนวโน้มการปกครงท้องถิ่นนะครับ

ถ้ามีช่วยส่งมาที่

[email protected]

ขอบคุณ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท