บทเรียนการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ จังหวัดน่าน


คนเมืองนอกมองว่า สัตว์ “มันสวยงาม มันน่ารัก” แต่คนไทยมองว่า “มันอร่อย”

 

บันทึกนี้เป็นบันทึกจากเวทีเสวนาการติดตามการดำเนินงานโครงการพื้นที่ชุ่มน้ำจังหวัดน่าน (โครงการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนในประเทศไทยและลุ่มน้ำโขง - Community Management of Wetlands in Thailand and the Mekong River Basin) เมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๑ ณ วัดอรัญญาวาส ต.ในเวียง อ.เมืองน่าน

 

          ความมุ่งหวังกับการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำที่น่าน

          ชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้องมีศักยภาพและความสามารถในการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ อย่างชาญฉลาดและยั่งยืน

 

          สิ่งที่ทำ (เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและเยาวชน)

          ๑. สำรวจข้อมูลด้านเศรษฐกิจ-สังคม รวมถึงข้อมูลสัตว์น้ำ พืชน้ำ อาหารป่า

          ๒. ตรวจวัดคุณภาพของน้ำ ทั้งลำน้ำหลักและน้ำสาขา รวมทั้งการตรวจวัดค่าออซิเจนในน้ำแบบง่ายๆ

          ๓. การสำรวจพืชน้ำ (ไก) โดยเยาวชน และการศึกษาดูงานแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารจาก ไก

          ๔. การจัดทำแผนที่และเขตแดนพื้นที่ป่าชุมชน

          - การเดินสำรวจเขตป่าชุมชน และติดป้ายเขตป่าชุมชน, จับพิกัด GPS และบันทึกค่าพิกัด

          - นำค่าพิกัดมาลงในโปรแกรม GIS เพื่อทำแผนที่ป่าชุมชน และคำนวณขนาดพื้นที่ป่าชุมชน

          - จัดทำแบบจำลอง ๓ มิติ ของตำบล (Model)

          ๕. กำหนดกฎ กติกา และคณะกรรมการดูแลป่าชุมชน (ส่วนใหญ่มีอยู่เดิมแล้ว เพยงแต่นำมาทบทวน ปรับปรุงให้เหมาะสม)

          ๖. จัดตั้งคณะกรรมการพื้นที่ชุ่มน้ำระดับจังหวัด มีการประชุมติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ และที่สำคัญได้มีมติรับรอง แผนที่ เขต กฎ กติกา และคณะกรรมการดูแลป่าชุมชนของชุมชน ที่ได้เสนอขึ้นจากพื้นที่

          ๗. การสื่อสารสร้างสำนึกในการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ ผ่านสื่อต่างๆ เช่น วิทยุชุมชน บทความ แผ่นพับ และเว็ปไซด์

 

         

 สิ่งที่ค้นพบใหม่

          ๑. แผนที่ป่าชุมชนที่มีพิกัดอ้างอิง พร้อมแบบจำลอง ๓ มิติ ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของชุมชนเอง

          ๒. การรับรอง แผนที่ เขต กฎ กติกา และคณะกรรมการดูแลป่าชุมชนของชุมชน โดยจังหวัด

          ๓. เยาวชนเกิดการเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับสัตว์น้ำ พืชน้ำ

 

          คำแนะนำและก้าวต่อไป

          ๑. การขยายพื้นที่จากเดิมที่ดำเนินการใน ๒ ตำบล

          ๒. เน้นความเข้มข้นของงานด้านพื้นที่ชุ่มน้ำและแม่น้ำน่าน

          ๓. การประสานงาน/งานเชิงสถาบัน เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างรัฐกับชุมชน

 

ข้อคิดจากคุณแอนดรู มิธเธอร์แมน Consultant Review โครงการพื้นที่ชุ่มน้ำ

          @ การดำเนินงานโครงการภายใต้ทรัพยากรและเวลาที่จำกัด ควรเน้น ตัวอย่างเล็กๆ แต่เข้มข้น ให้มองเห็นชัดเจน แล้วจึงค่อยขยาย

          @ ควรให้สื่อมืออาชีพมาทำเป็นสารคดี เพื่อประโยชน์ต่อคนภายนอก และคนภายในพื้นที่เอง

          @ การสร้างสำนึก พ่อแม่ห่วงใครที่สุด คำตอบคือ ห่วงลูก เพราะฉะนั้นการสร้างสำนึกให้พ่อแม่ต้องชี้ให้เห็นผลที่จะเกิดกับลูกหลาน

@ คนเมืองนอกมองว่า สัตว์ มันสวยงาม มันน่ารัก แต่คนไทยมองว่า มันอร่อย

@ ตัวชี้วัดของสิ่งแวดล้อมง่ายๆ คือ น้ำแห้ง ปลาหาย อาหารป่าหาย ซึ่งถ้าเราฟื้นฟูมันก็จะกลับมา

 

ข้อคิดจาก นพ.ชาตรี  เจริญศิริ ศูนย์ประสานงานประชาคมจังหวัดน่าน

          @ มีคำกล่าวว่า มนุษย์สร้างโลกได้ ถ้าเราปรารถนาให้โลกเป็นแบบไหน นั่นคือฐานคิดเป็นสิ่งสำคัญ

          @ อย่าคาดหวังกับคณะกรรมการจังหวัดที่มีขนาดใหญ่ เทอะทะ

          @ ข้อค้นพบจากโครงการ สามารถนำไปใช้ใน อปท. ตามสิทธิชุมชน และพรบ.องคกรชุมชน

          @ อย่าวางใจในคุณภาพของน้ำที่ได้ว่าอยู่ในเกณฑ์ดี เพราะคุณภาพน้ำในหน้าแล้งแย่มากๆ การให้เยาวชนสำรวจสารเคมีในครัวเรือนที่มีผลกระทบต่อคุณภาพน้ำ จะเป็นทางหนึ่งที่ช่วยให้เห็นแนวโน้มสถานการณ์ปัญหา

          @ ควรดูเรื่องนโยบายรัฐที่อยู่เหนือสิทธิชุมชนด้วย เช่น การสัมปทานดูดทราย รวมถึงเส้นแบ่งระหว่างความสะดวกกับธรรมชาติด้วย

 

ข้อคิดจากพ่อทองผล  มหาวงศนันท์  แกนนำชาวบ้าน

          @ เราสามารถดูพื้นที่เปรียบเทียบผลกระทบจากน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่อนุรักษ์ป่าไว้กับพื้นที่ที่มีการทำลายป่ารุนแรงได้

 

ข้อคิดอื่นๆ

          @ ควรผลักดันทั้งนโยบายของจังหวัดและนโยบายของท้องถิ่นไปพร้อมๆ กัน

          @ ควรนำเรื่องราวดีดีเหล่านี้ไปสื่อสารผ่านสื่อชุมชนให้มากขึ้น เหมือนกับที่เขาโฆษณาให้เราทำลายสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา (ขายปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า)

 

          หวังว่าหลังจากนี้หลายฝ่ายจะช่วยกันอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างจริงจังต่อไป

............................................

ขอบคุณภาพดีดี

จากคุณทนงศักดิ์  ธรรมะ โครงการพื้นที่ชุ่มน้ำจังหวัดน่าน 

หมายเลขบันทึก: 209416เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2008 14:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:34 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท