วิถีไทลื้อ....บ้านดอนมูล


สำคัญชาวบ้านก็สามารถหาปลานอกเขตอนุรักษ์ได้มากขึ้น แม่น้ำจึงเป็นแหล่งความมั่นคงทางอาหาร เป็นซุปเปอร์มาร์เก็ตของชาวบ้าน ให้ได้กิน ได้ใช้ ยังประโยชน์แก่ตนเองและชุมชน

“ดอนมูล" หมายถึงพื้นที่สันดอนที่เกิดจากการทับถมของตะกอนดินโคลนหลังน้ำลดในช่วงฤดูแล้ง

หลายๆ หมู่บ้านที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำในพื้นที่สันดอน จึงมักตั้งชื่อของหมู่บ้านตามลักษณะภูมิประเทศว่า “บ้านดอนมูล" และเรามักพบว่ามีชื่อพ้องกันอยู่ในหลายพื้นที่หลายอำเภอ

เช่นเดียวกับ “บ้านดอนมูล" ตำบลศรีภูมิ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ที่เป็นชุมชนไทลื้อเก่าแก่ ที่มีเอกลักษณ์วัฒนธรรมของตนเองที่แตกต่างจากชนพื้นเมืองอื่นๆ

“ไทลื้อ" บ้านดอนมูลมีจากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่บอกว่าเป็นชาวไทลื้อที่อพยพมาจากเมืองล้า แคว้นสิบสองปันนา มลฑลยูนาน ประเทศจีน มาพร้อมๆ กับชุมชนไทลื้ออื่นๆ เช่น บ้านหนองบัว

ชาวบ้านดอนมูลได้นับถือเจ้าพ่อเมืองหล้าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของชาวไทลื้อ ที่ให้การดูแลปกปักรักษาลูกหลานชาวไทลื้อให้มีความเป็นอยู่ที่เป็นสุขและร่มเย็น ชาวบ้านดอนมูลจึงได้จัดตั้งอนุสาวรีย์เจ้าหลวงเมืองล้าไว้เป็นที่สักการบูชาของชาวบ้าน

อนุสาวรีย์เจ้าหลวงเมืองล้า

ชาวไทลื้อมีเอกลักษณ์ด้านภาษา ศิลปะ วัฒนธรรม และความเป็นอยู่ที่แผกต่างจากชนพื้นเมืองน่านทั่วไป

บ้านไทลื้อแบบดั้งเดิม จะบ้านไม้ทั้งหลัง ยกใต้ถุนสูง มุงหลังคาด้วยไม้แป้นเกล็ด และที่โดดเด่นคือ สล่า(ช่าง)ไทลื้อจะปลูกบ้านโดยไม่ใช้ตะปูหรือเหล็กยึด หากแต่จะใช้วิธีเจาะไม้สอดรับกันแทน

ในตัวบ้านจะมีส่วนที่เป็นห้องนอนที่มีสลี(ที่นอน)ที่อยู่กับพื้น หน้าต่างโล่ง มีราววางเสื้อผ้า ชานบ้าน ฮ้านหม้อน้ำดื่ม ห้องครัว และส่วนของยุ้งข้าวที่ยกสูงกว่าตัวบ้าน

การแต่งกาย ชาวไทลื้อนิยมจะทอผ้าและเย็บปักเสื้อผ้าไว้ใช้เอง มีลายผ้าไทลื้อที่สวยงามเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ผู้หญิงจะโพกผ้าขาวที่ศีรษะ นุ่งซิ่น เสื้อแขนยาวสีน้ำเงินเข้ม และใส่สไบเฉียง ส่วนผู้ชายจะนิยมใส่เสื้อสีเปิดหรือสีดำใส่กางเกงขาก๊วย

ชาวไทลื้อรุ่นใหม่ก็จะนิยมแต่งกายประยุกต์ ตัดรูปทรงเสื้อผ้าให้ทันสมัยมากขึ้น แต่ยังคงเอกลักษณ์ลายผ้าไทลื้อที่โดดเด่นไว้

วัดไทลื้อ ก็จะเอกลักษณ์เฉพาะตัวของสล่าไทลื้อ ซึ่งปัจจุบันในจังหวัดน่าน เหลือวัดทรงไทลื้ออยู่ไม่มากนัก

................................................

หมู่บ้านต้นแบบการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

บ้านดอนมูล นอกจากมีความเข้มแข็งด้านศิลปวัฒนธรรมของไทลื้อแล้ว

ชุมชนที่นี่ยังมีความเข้มแข็งในการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ทั้งด้านการอนุรักษ์ป่าชุมชน และการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ(วังปลา) ที่สำคัญได้พัฒนาชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แบบ Home Stay จนได้รับการรับรองมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย ของสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

การอนุรักษ์วังปลา

กำหนดเขตอนุรักษ์ ชาวบ้านได้ร่วมกันกำหนดเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำไว้บริเวณลำน้ำน่านที่ไหลผ่านหมู่บ้าน

กำหนดกติกาห้ามจับสัตว์น้ำ ในเขตอนุรักษ์ได้กำหนดกฎของหมู่บ้านห้ามจับสัตว์น้ำทุกชนิด ใครฝ่าฝืนมีกฎกติกาที่ปรับนำเงินเข้ากองทุนของหมู่บ้าน เพื่อให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของปลาและสัตว์น้ำ

จัดพิธีสืบชะตาแม่น้ำ เพื่อเป็นการต่ออายุให้แม่น้ำและสัตว์น้ำ เป็นกุศโลบายให้คนหันมาดูแลรักษาแม่น้ำและสัตว์น้ำ มีสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

ปล่อยปลา เป็นการให้ชีวิตใหม่ เป็นการเพิ่มพันธุ์ปลาในแหล่งอนุรักษ์

เพียงเท่านี้ปลาหลากหลายนานาพันธุ์ก็กลับมาสู่ลำน้ำ แม่น้ำก็มีความใสสะอาด ผู้คนก็มีสำนึกรักและหวงแหนธรรมชาติ (ดูรายละเอียดการอนุรักษ์วังปลาเพิ่มเติมที่นี่)

ที่สำคัญชาวบ้านก็สามารถหาปลานอกเขตอนุรักษ์ได้มากขึ้น แม่น้ำจึงเป็นแหล่งความมั่นคงทางอาหาร เป็นซุปเปอร์มาร์เก็ตของชาวบ้าน ให้ได้กิน ได้ใช้ ยังประโยชน์แก่ตนเองและชุมชน

..........................................
นี่คือวิถีคนลุ่มน้ำ ที่ผูกพันและเกื้อประโยชน์กันและกันระหว่างชีวิต ธรรมชาติ และวิถีทางวัฒนธรรม

..............................................................

<p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: right;" align="right"> บันทึกจากเวทีงานสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์ดิน น้ำ ป่าไม้ </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: right;" align="right"> และการจัดการชุมชนอย่างมีส่วนร่วม </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: right;" align="right"> วันที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๒ </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: right;" align="right"> ณ ลานริมน้ำบ้านดอนมูล ตำบลศรีภูมิ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 6pt; text-align: right;" align="right"> </p>

หมายเลขบันทึก: 256358เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2009 09:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2015 16:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • สวัสดีค่ะ
  • มาแวะชมภาพสวยๆ กับวัฒนธรรมไทลื้อที่ทรงคุณค่า
  • และการจัดการทรัพยากรสู่ความยั่งยืนอย่างแท้จริง
  • ขอบคุณค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท