ประเมินคุณภาพสถานศึกษาโดยต้นสังกัด 12-14 ม.ค. 2554


กศน.อำเภออุทัย รับการประเมินคุณภาพสถานศึกษาโดยต้นสังกัด 

ปีงบประมาณ  พ.ศ. ๒๕๕๔

          ตามพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒)  พ.ศ. ๒๕๔๕  หมวดที่ ๖ มาตรา  ๔๘  กำหนดให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารสถานศึกษา  ที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง  มีระบบ มีการจัดทำรายงานการประเมินตนเองเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด  หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เปิดเผยต่อสาธารณชนและรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกต่อไป

          นายวสันต์   รัชชวงษ์  รองผู้อำนวยการ สำนักงาน กศน.จังหวัดพระนครศรีอยุธยาพร้อมด้วย  อาจารย์สมจิตร  ชี้แจง  และอาจารย์รานี  น้อยสกุล  ประเมินคุณภาพสถานศึกษาโดยต้นสังกัด

 

บรรยากาศการรับการประเมิน มาตรฐานที่  ๒

 อาจารย์รานี  น้อยสกุล

ผู้เขียนรับผิดชอบ มาตรฐานที่ ๒  คณะกรรมการประกอบด้วย

๑.  นางสาวฐิฎา  ทองเจริญ      ประธานกรรมการ

๒.  นางเกษสุริน  ศรีสุวรรณ     กรรมการ

๓.  นางบุษราคัม  เกิดชุ่ม         กรรมการ

๔.  นายสืบศักดิ์  ทรัพย์มูล       กรรมการ

๕.  นายอำนาจ   หมุดเมือง      กรรมการ

๕.  นายถาวร      อักษร           กรรมการ/เลขานุการ 

จากการรับฟังการประเมินมาตรฐานที่  ๒  อาจารย์ราณี  แนะนำให้ดำเนินการจัดทำเอกสารหลักฐานตามตัวบ่งชี้เพิ่มเติมดังนี้

ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๒ 

  • ให้ทำแบบสอบถามความต้องการจัดกิจกรรมการศึกษาของประชากรวัยแรงงาน

  • ให้มีสมุดลงทะเบียนสื่อ ตัวอย่างสื่อชนิดต่าง ๆ การลงทะเบียนการยืมสื่อ

  • ให้ทำแบบสอบถามความต้องการการพัฒนาสื่อของผู้เรียน

  • บันทึกการนิเทศให้แยกเป็นเรื่อง ๆว่าเกี่ยวกับเรื่องอะไร เริ่มตั้งแต่เมื่อไร ถึงเมื่อไร ระบุวัน-เวลาด้วย

  • แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนให้ระบุวันที่ และภาคเรียนด้วย พร้อมทำข้อมูลสรุป การติดตามผล ประเมินผลอย่างไร แล้วนำไปปรับปรุงอะไรบ้าง

ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๓

  • ให้ทำแบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน ระบุด้วยว่ามีนักศึกษาจำนวนเท่าไร คะแนนก่อนเรียน-หลังเรียน ต่างกันเท่าไร คิดเป็นร้อยละออกมา แล้วนำมาปรับปรุงการเรียนการสอนอย่างไร

  • ที่มาที่ไปของแผนจัดการเรียนรู้ให้เขียนคำนำจากการสรุปวิเคราะห์แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน ว่าสอดคล้องกันอย่างไรของแผนนี้

  • การใช้สื่อเทคโนโลยีจะมีวิธีการกำหนดแผนการใช้สื่ออย่างไร

ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๔

  • ให้จัดทำเอกสารต่าง ๆ และสรุป การทำศูนย์แนะนำให้คำปรึกษา เช่น ทำแบบเก็บข้อมูลการมาติดต่อคำปรึกษา แนะนำ และต้องมีเอกสารการติดตามผลหลังการให้คำปรึกษาแนะนำด้วย

  • เอกสารบันทึกการตกลงร่วมกันระหว่างครูกับผู้เรียน

  • แผนบูรณาการ

  • บันทึกพัฒนาผู้เรียนในระหว่างเรียน เช่น สมุดบันทึกความดี

  • เอกสารประสานภาคีเครือข่ายในการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๕

  • ให้ทำบันทึกว่าไปอบรมมาแล้ว นำมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างไรบ้าง

  • เอกสารต่าง ๆในการอบรมด้านคุณธรรม จริยธรรม

ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๖

  • ทำแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนต่อครูผู้สอน พร้อมสรุป ต้องได้ไม่น้อยกว่า    ร้อยละ ๘๐ = ดี

ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๗

  • ทำสรุปคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน เป็นร้อยละ

  • ทำแบบสอบถามผู้เรียนห่างไกลยาเสพติด พร้อมสรุปเป็นร้อยละ

  • ให้วัดความคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น ออกมาเป็น แบบสอบถาม พร้อมสรุปเป็นร้อยละ

  • ให้ลงทะเบียนการรับวุฒิ พร้อมบันทึกว่าเอาไปทำอะไร อย่างไร บ้านอยู่ที่ไหน เพื่อใช้ในการติดตามผล

 

               กิจกรรมวันที่  ๑๓  มกราคม  ๒๕๕๔  คณะผู้ประเมินลงพื้นที่ดูการจัดกิจกรรมสายสามัญ ที่ กศน.ตำบลบ้านหีบ และตำบลคานหาม  ดูการจัดกิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน การทำครีมสมุนไพรไล่ยุง และกิจกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ  การทำดอกไม้จากใบเตย

การพับดอกไม้จากใบเตย 

 

          ครีมสมุนไพรกันยุง

         

หมายเลขบันทึก: 420759เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2011 20:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 13:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • สวัสดียามเช้าค่ะ
  • อาจารย์ถาวร ทำดอกไม้ใบเตยเป็นหรือยังคะ
  • วันศุกร์ที่  ๒๑  มกราคม  ๒๕๕๔  เรียนเชิญร่วมทำบุญเลี้ยงเพลงพระที่ กศน.ตำบลบ้านหีบนะคะ
  • "สุขใดไหนจะเท่าล้วงกระเป๋าแล้วเจอตัง"
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท