การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา


หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถบูรณาการในการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระวิชาต่าง ๆ ได้

การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา                                                                                      

ธนสาร  บัลลังก์ปัทมา เรียงเรียบ 

บทความ พิมพ์ครั้งแรก Thecityjournal 1-16 กันยายน 2550  

       เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ   ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักพิจารณา ๕ ส่วน๑.      กรอบแนวคิด ที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควร โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย๒.    คุณลักษณะ    เศรษฐกิจพอเพียงสามารถประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ทุกระดับ  โดยเน้นทางสายกลาง       และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน๓.    คำนิยาม ความพอเพียง (Sufficiency) จะต้องประกอบด้วย ๓ คุณลักษณะ ดังนี้

        ๑) ความพอประมาณ  หมายถึง  ความพอดี ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป

        ๒) ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจ อย่างมีเหตุผล

        ๓) การมีภูมิคุ้มกันในตัว หมายถึง    การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลง  

       ๔) เงื่อนไข ๒ เงื่อนไข คือ เงื่อนไขความรู้ และเงื่อนไขคุณธรรม (แนวคิด ๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข)       ๑) เงื่อนไขความรู้ คือ ความรู้เกี่ยวกับวิชาการ เพื่อนำมาประกอบการวางแผน       ๒) เงื่อนไขคุณธรรม    เพื่อเสริมสร้างให้มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์  

        ๕) แนวทางปฏิบัติ ผลที่คาดว่าจะได้รับ เพื่อการพัฒนาที่สมดุล   ทั้งด้านเศรษฐกิจ    สังคม สิ่งแวดล้อม และความรู้เทคโนโลยีกระบวนการสร้างความรู้ (Knowledge)  คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในเอกสารประกอบการอบรมเรื่องการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงสถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว) ได้ให้ข้อแนะนำในการจัดการเรียนรู้ ดังนี้

        ด้านเศรษฐกิจ   ๑. รู้จักควบคุมใช้จ่ายของตนเอง ใช้จ่ายอย่างมีเหตุผล, ใช้จ่ายพอประมาณ ใช้จ่ายอย่างประหยัด  ใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น ฯลฯ   ๒.รู้จักออมเงิน เรียนรู้ระบบการฝากเงิน เรียนรู้ระบบออมเงิน เรียนรู้ระบบสหกรณ์   ๓. รู้จักสร้างรายได้หรืออาชีพ สร้างรายได้หรืออาชีพสอดคล้องกับความต้องการ สอดคล้องกับสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทรัพยากรท้องถิ่น ฯลฯด้านสังคม        รู้จักช่วยเหลือสังคมหรือชุมชน ปลุกจิตสำนึกสาธารณะ   ปลูกฝังความสามัคคี      ความเสียสละ เผยแพร่องค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ

        ด้านสิ่งแวดล้อม       สร้างสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติ ปลุกจิตสำนึกรักสิ่งแวดล้อม ฟื้นฟูแหล่งเสื่อมโทรมในท้องถิ่น ดูแลสถานที่ท่องเที่ยวในท้องถิ่น ฯลฯ

       ด้านวัฒนธรรม      สืบสานวัฒนธรรมไทย สร้างจิตสำนึกรักษ์ไทย รักบ้านเกิด  ฟื้นฟูและอนุรักษ์อาหารท้องถิ่น ดนตรีไทยและเพลงไทย โบราณสถานและโบราณวัตถุ

      ด้านศาสนา       ส่งเสริมศาสนา ปลูกฝังจิตสำนึกความรักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ฯลฯ               

แนวการจัดการเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระ               

     ๑. ภาษาไทย  สามารถแนวแนวปรัชญามาฝึกเขียนเรียงความ, คัดลายมือพระราชดำรัสเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง               

     ๒. คณิตศาสตร์  ฝึกการค้าขาย ฝึกการทำบัญชีรายรับรายจ่ายต่าง ๆ บัญชีต้นทุน กำไร  การออมเงิน               

     ๓. วิทยาศาสตร์  สามารถจัดกิจกรรมเกี่ยวกับความพอเพียงในการใช้ทรัพยากร การสร้างสมดุลของธรรมชาติ           

     ๔. สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  การช่วยเหลือชุมชน  คุณธรรม ๘ ประการของกระทรวงศึกษาธิการ การสร้างจิตสำนึกในการรักษ์ท้องถิ่น               

     ๕. การงานอาชีพและเทคโนโลยี  การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น  การสร้างจิตสำนึกการใช้เทคโนโลยีอย่างประหยัด การประดิษฐ์สิ่งของ ของเล่นจากเศษวัสดุ นำไปจำหน่าย               

      ๖.ศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ การสร้างสรรค์งานศิลปะจากเศษวัสดุ               

      ๗. สุขศึกษาและพลศึกษา การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเองด้วยการออกกำลังกาย  การเล่นการละเล่นแบบไทย ๆ                

     ๘. ภาษาต่างประเทศ  การเรียนรู้คำศัพท์เกี่ยวกับความพอเพียง  การเขียนเรื่องการกล่าวสุนทรพจน์ (Public Speed) เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy)               

      การจัดการเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงยังสามารถจัดในลักษณะบูรณาการ หรือทำโครงงานในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ สอดแทรกแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงได้ด้วย      เช่น โครงงานค้าขายได้ความรู้สู่ความพอเพียง       โดยฝึกการค้าขายสินค้าและบันทึกรายรับรายจ่าย ต้นทุนกำไร และบูรณาการ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข  

       ปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ  ซึ่งนักเรียนควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง*************


หมายเลขบันทึก: 159148เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2008 13:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 สิงหาคม 2012 15:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

ต้องการอ่านบทความนี้แบบเต็มรูปแบบ ขอบพระคุณอย่างสูงคะ

ชอบคุณคับที่ช่วยในการเรียนของผม

ดีจีงเลย กำลังหางานอยู่พอดี

ขอบคุณนะค่ะ

ขอคุณที่ให้ความรู้

ขอบคุณมากครับ ถ้ามีพุทธปรัชญาด้วยจะดีมากครับ จะได้รู้ และเข้าใจได้ง่ายครับ

ขอบคุณที่ให้ความรู้ จะนำไปใช้นะคับ

ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นค่ะ จากการที่ได้ตระเวนจัดกิจกรรมกับสถานศึกษาพอเพียง เครือข่ายเรียนรู้สู่ความพอเพียงของมูลนิธิสยามกัมมาจล และโครงการของ ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุธ พอจะประมวลการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนนั้น คุณครูอาจพิจารณาเป็น 2 ระดับ ระดับแรกครูใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง(ความรู้ คุณธรรม ความพอประมาณ เหตุผล ภูมิคุ้มกัน) ในระดับวางแผนคือหาความรู้เกี่ยวกับ น.ร. หลักสูตร มาตรฐาน เนื้อหาที่จะสอน ที่สำคัญอย่าลืมกำหนดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ว่าต้องการให้เด็กเกิดอะไร และครูจะสร้างเงื่อนไขอะไรเพื่อเกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์นั้นๆ เพื่อสามารถจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน และควรตรวจสอบวางแผนการเรียนการสอนเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ต่างๆ สำหรับขั้นที่ 2 คือขั้นตอนที่คุณครูจะสอดแทรกวิธีการเรียนการสนอที่ให้นักเรียนบรรลุวัตถุประสงค์ ขอยกตัวอย่างบันทึกการออมของโรงเรียนโยธินบูรณะที่มูลนิธิสยามกัมมาจลและ อ.ปริศนา ตันติเจริญ ได้ออกแบบให้นักเรียนรู้ว่าเงินคืออะไร มีการสอดแทรกว่าเงินเป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยนเราควรใช้เงินให้เป็น ให้ความหมายการออมว่าการออมเป็นการสะสมทีละน้อยไลสามารถออมสิ่งดีๆได้มากมาย สอนให้รู้จักวางแผนการออม(ภูมิคุ้มกัน) 4 ขั้น รู้จักตน(วิเคราะห์รายรับ-รายจ่าย ความต้องการที่แท้จริง)ฝึกฝนให้ประหยัดคือคิดก่อนซื้อ ใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า รู้สิทธิผู้บริโภค ใช้หลักธรรมนำชีวิต (ความซื่อสัตย์ต่อตน ความข่มใจ) คิดเก็บออม(วางแผนการออม การใช้จ่าย) ให้น.ร.จดบันทึก และนำกลับมาตรวจสอบหาเหตุผลว่าทำได้หรือไม่เพราะอะไรจับกลุ่มคุยกันทุกๆเดือนและตั้งคำถามค่ะ เรายังมีตัวอย่างเรื่องบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงอีกใน www.scbfoundation.com ค่ะ หรือจะเข้าไปแลกเปลี่ยนใน www.okkid.net ในส่วนของเศรษฐกิจพอเพียงได้ค่ะคุณสุจินดามีตัวอย่างวิชาภาษาไทยและวิทยาศาสตร์ค่ะ

ศศินี

พยายามนำไปใช้แบ่งปันให้กับเด็กในโรงเรียนขอบคุณความรู้ที่ได้รับในวันนี้ ขอให้ทุกคนรับสิ่งดีๆต่อไป

โชคดีและมีความสบายใจ

ขอบคุณสำหรับความห็นครับ สำหรับแนวออกแบบหน่วยเศรษฐกิจพอเพียง สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา(อ.สุเทพ)ร่วมกับมูลนิธิสยามกัมมาจล และดร.ปรียานุช มีทำไว้เป็นแนว ลองสอบถามได้ที่ สวก สพฐ

อนาคิม [IP: 171.99.223.107] 06 กรกฎาคม 2555 16:56

2662011

ขอฝากด้วยนะคะ

(แฝงลิงค์โฆษณากาสิโน)

panna [IP: 171.4.26.175] 09 สิงหาคม 2555 20:19

2681433

ขอบคุณมาก (แฝงลิงค์) เรื่องจริงเตือนภัย นักฟุตบอล ท่องเที่ยวต่างแดน

ขอบคุณสำหรับ เศรษฐกิจพอเพียง บทความนี้มากๆ ครับ ได้ประโยชน์มาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท