คุณมีตัวตนบนอินเทอร์เน็ตแล้วหรือยัง


คนเรา "give show" มากกว่า "give information"

หัวใจสำคัญหนึ่งของเว็บ 2.0 คือ ผู้ใช้เป็นผู้สร้างเนื้อหาและมีความเป็นเจ้าของส่วนหนึ่งของเว็บไซต์ เราสามารถเห็นตัวอย่างการใช้งานจากเครื่องมืออย่าง blog, podcasts, videocasts, หรือแม้กระทั่ง wiki เนื่องจากผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเก่งคอมพิวเตอร์มากๆ แค่เปิดเครื่องเป็น ขยับเมาส์ และพิมพ์ดีดได้ ทุกคนก็สามารถสร้างเนื้อหาเหล่านั้นใส่ในอินเทอร์เน็ตได้แล้ว แต่... ทำไมความสำเร็จของเหตุการณ์นี้จึงไม่ค่อยได้เห็นได้โดยง่ายในประเทศไทย คำตอบอาจจะอ้างอิงจาก Michael Wesch ซึ่งได้เคยกล่าวไว้ว่า คนเรา "give show" มากกว่า "give information" ถ้าหากจะมองบริการของเว็บไซต์อย่าง Hi5 ก็จะเห็นคำอธิบายนี้ได้ชัดเจนขึ้น ผู้คนจำนวนมากเข้าใช้งานบริการนี้เพราะพวกเขารู้สึกว่าตัวเองสามารถควบคุมการแสดงออกของตัวตนให้ผู้อื่นได้รับรู้ในสิ่งที่เขาเป็น หรือสิ่งที่เขาอยากให้คนอื่นคิดว่าเขาเป็นได้

Hi5

Hi5 สามารถสร้างปรากฎการณ์ผู้ใช้ชาวไทยจำนวนมาก ทั้งๆ ที่บริการหลักมีแค่เพียงการตบแต่ง profile ของตน และการ make friend เท่านั้นเอง แต่คุณค่าของการสร้างเครือข่าย social network และ friend of a friend (foaf) ทำให้ชุมชน Hi5 มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ข้อดีสำหรับบริการนี้ก็คือ ผู้ใช้งาน ได้มีโอกาสเปิดเผยตัวตนของตัวเอง ได้เพื่อนคนหนึ่งจากการคบหาเพื่อนอีกคนหนึ่ง แม้ความกล้าแสดงออกของชาวเอเชียอย่างคนไทยจะไม่ได้มากมายอย่างชาวตะวันตก แต่ netizen ชาวไทยได้เริ่มปลูกฝั่งตัวเองให้กล้าที่จะแสดงออกทางความคิดและเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น บริการนี้สร้างความแตกต่างโดยการให้ผู้ใช้ใส่รูปภาพ ใส่รายละเอียดของตัวเอง ลงไปเพื่อแชร์สิ่งที่ตนเองออกอยากจะบอกให้คนอื่นได้รู้ ผมเคยถามน้องที่ใช้ Hi5 ว่ามันสนุกตรงไหน เค้าตอบว่า สนุกตรงที่ได้โชว์นี่แหละ บางคนมีเพื่อนเป็นหมื่นใน Hi5 เลยนะ

บนกระจกด้านหนึ่งภาพที่ได้เห็นคือ การที่ผู้คนได้ปลดปล่อยความเป็นตัวของตัวเองบนอินเทอร์เน็ต คนที่ให้ข้อมูลกับเว็บไซต์มากคือคนที่มีตัวตนอยู่จริงบนโลกมนุษย์ ในขณะที่คนที่ไม่กล้าใส่รูปหรือไม่บอกอะไรกับเว็บไซต์คือคนที่กำลังพยายามจะซ่อนตัวให้คนอื่นไม่สามารถเชื่อมโยงได้ว่าตัวละครบนเน็ตตัวนี้คือใครในโลกแห่งความเป็นจริง สาเหตุอาจจะเกิดจากความเชื่อที่สะสมกันมาเนิ่นนานที่ว่า "การบอกข้อมูลของเราบนอินเทอร์เน็ตเป็นสิ่งที่อันตราย เราไม่อาจปกป้องตัวเองจากภัยคุกคามที่มองไม่เห็นได้" หรืออีกสาเหตุหนึ่งผมเคยได้ยินมาว่า "ผู้ที่ปิดบังต้องการข้อมูลที่เป็นกลางจากผู้อื่น ไม่อยากให้ความเป็นตัวตนบนโลกมนุษย์ของตนเองส่งผลกระทบกับเสียงสะท้อนที่ได้รับบนอินเทอร์เน็ต" แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด เราก็ได้เห็นพฤติกรรมของคนมากมายที่ใช้นามปากกา ใช้นามแฝง ใส่รูป avartar เพื่อแทนตัวเองบนอินเทอร์เน็ต

หากจะพูดถึง bloger ที่เกิดขึ้นมากมาย หลายคนยังสนุกอยู่กับการเป็นบุคคลเร้นลับ ไม่ว่าจะเป็น คุณ conductor, และ peetai บางคนผมก็ไม่รู้จักและก็ไม่เห็นข้อมูลส่วนตัวใดๆ ใน blog ของเขา แต่พวกเขาเหล่านี้ก็มีผลงานเป็นที่ประทับใจให้ผู้คนในสังคมได้เห็นอย่างต่อเนื่องเสมอมา และก็มีอีกหลายคนที่สร้าง brand ของตัวเองจากนามปากกา อย่างเช่น คุณ iday, dominixz, redtor ที่สร้างสีสรรขยันอัพ blog ให้เราได้อ่านเป็นประจำ สุดท้ายก็มี blogger บางกลุ่มเหมือนกันที่ใช้ทั้งชื่อจริง นามสกุลจริง และรูปถ่ายจริงของตัวเองใน blog อย่างคุณ worawisut, nareemal และ pawoot เป็นต้น มีคนบอกผมว่าแบบสุดท้ายนี้น่าจะดูดีที่สุดเพราะมันคล้ายเป็น resume ส่วนตัวที่เราสามารถบ่งบอกผลงานของเราให้ผู้คนได้รับรู้ ที่แน่ๆ ไม่ว่าพวกเขาคือใครผมเชื่อว่า blogger เหล่านั้นได้ contribute สิ่งดีๆ ให้กับวงการอินเทอร์เน็ตไทยของเรา

โลกบนอินเทอร์เน็ตไม่ได้น่ากลัวลี้ลับจับตัวตนไม่ได้ หากต้องการจะทราบจริงๆ เราก็สามารถสืบได้ว่าใครคือผู้อยู่เหนือคีย์บอร์ดที่กำลังกดปุ่มสั่งการคอมพิวเตอร์อยู่ ล่าสุดกฎหมาย พรบ. ว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ก็ได้ออกมาบอกว่าผู้ให้บริการต้องเก็บการจราจรทางคอมพิวเตอร์หรือเก็บ log อย่างน้อย 90 วันเพื่อการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ หากเรามั่นใจว่าเรากำลังทำในสิ่งที่ดี เราก็ไม่ต้องกลัวอะไร การแสดงออกของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไทยจะกลายเป็นแรงขับดันให้เกิด "การปฏิวัติดิจิทัล" ที่ทุกคนมีตัวตนอยู่จริง มีสิทธิ์ มีเสียง และสามารถ give show ได้อย่างเต็มที่ในขอบเขตของประชาธิปไตย สังคมออนไลน์ที่ใสสะอาด สามารถตรวจสอบได้ อยู่ที่ผู้ใช้ อยู่ที่ผู้ให้บริการ หรืออยู่ที่กฎหมายกำหนด เรามีตัวตนบนอินเทอร์เน็ตแล้วหรือยัง แล้วคุณหละคิดอย่างไร How do u think?

 

หมายเลขบันทึก: 120633เขียนเมื่อ 19 สิงหาคม 2007 14:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

Hi หรือ social อื่นๆ เท่าที่สังเกตมาระยะใหญ่ๆ ผมมองว่าเป็นเพียงยอดเดิมของ "ได" เดิมที่มีมานานมากแล้ว พวกนี้เน้นนำเสนอว่า "คุณเป็นใคร" ไม่ใช่ "คุณจะให้อะไร" ก็ไม่น่าแปลกที่จะออกมาในรูปของการแสดงออก หรือแสร้งแสดงออกในตัวตน

ถ้าจะมองว่าเป็นแค่ไทยผมว่าอาจจะแคบไป ปรากฏการณ์แบบนี้เป็นทั่วโลก เป็นพฤติกรรมธรรมดาของ Homo sapiens sapiens แล้วมันก็เปลี่ยนไปตามเทคโนโลยี

เราพอจะนึกเรื่องสัดส่วนคนที่เขาบอกว่ามี 95-5 มั๊ยครับ ผู้ตาม-คนคิดต่าง

เราพอจะนึกเรื่องสัดส่วนคนที่เขาบอกว่ามี 95-5 มั๊ยครับ ผู้ตาม-คนคิดต่าง

 กินลึกถึงใจ

โฮ คุณ n-blue เด็กแนวมากเลยครับ นี่ถ้าผมไม่ใช่วัยรุ่นนี่อ่านไม่รู้เรื่องแน่ๆ เลย

หากจะมองว่ามันเป็นปรากฏการณ์ทั่วโลก ก็เห็นด้วยครับ แต่ที่ผมสนใจคือ แล้วถ้าคนไทยจะพัฒนา web application ให้คนไทยใช้ เราต้องการปัจจัยอะไรบ้างเพื่อสร้าง word of mouth ให้เกิดขึ้น จะทำอย่างไรให้คนใช้งานเหล่านั้นเป็น repeat customer

Hi5 ตอบโจทย์แรกในการทำให้ผู้คนได้ give show ก่อน และสร้าง buzz ขึ้นมา  แต่ผมไม่แน่ใจเรื่องการกลับมาใช้งานซ้ำ

เคยอ่านหลัก 90-9-1 ของ Jacob ไหมครับ คุณ mari เคยขึ้นไว้ ดีทีเดียว
1% ที่ participate และ contribute อย่างสม่ำเสมอให้กับเว็บไซต์ ทำให้เว็บไซต์เหล่านั้นสามารถขับเคลื่อนไปได้ด้วยตัวเองโดยธรรมชาติ

ขอบคุณมากครับ พูดถึงผมด้วย :) แต่ผมเข้าข่ายอันหลังแล้วนะครับ

ใช้ชื่อ นามสกุลจริง แล้วก็มีรูปด้วย อิอิ

:) ไม่ได้มีอะไรมากหรอกครับ
จริงๆ ตรงจุดนั้นต้องการจะสื่อว่า มีคนที่ใช้ชื่อตัวเองเป็นชื่อโดเมนเลย  ก็ชัดเจนดี
ส่วนในกลุ่มที่สองน่าจะประมาณว่าสร้างแบรนด์ใหม่ขึ้นมา อันนี้ก็น่าสนใจดีครับ
อย่าง Dominixz นี่ บอกจริงๆ ว่าไม่เคยจำชื่อจริงได้เลยนะ จำได้แต่แบรนด์ครับ

เป็นจริงดังว่ามา ไม่ผิดเพี้ยนแม้แต่นิดเดียวเลยครับ :-P

แต่ก็ไม่มีใครรู้ ตัวตนที่แท้จริงของคุณได้บโลกอินเทอร์เน็ต...

สวัสดีค่ะ

  เป็นคนหนึ่งที่แสดงตัวตนทางเน็ต ด้วยความจริงใจ และมีหลายสิ่งหลายอย่าง เกิดขึ้นในบันทึก เป็นสิ่งดีๆ สนับสนุน การแสดงตัวตนค่ะ รู้สึกปลอดโปร่ง เมื่อได้อ่านของเขาค่ะ

คุณ pamai อย่างที่ผมเขียนในบทความครับ ถ้าหากจะหาตัวจริงๆ ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้ครับ

สวัสดีครับคุณP ตันติราพันธ์
ยินดีครับ ขอให้สนุกกับการใช้อินเทอร์เน็ต และได้มิตรที่มีตัวตนบนอินเทอร์เน็ตเยอะๆ นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท