ฟังด้วยใจ...แล้วไงต่อ


                ได้ทำหน้าที่ผู้จัดการประชุมและเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง Transformative Coaching ระหว่างวันที่ 2-4 ธันวาคม 2552 ณ โรงแรมเดอะ รอยัล เจมส์ กอล์ฟ รีสอร์ท อำเภอพุทธมณทล จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นการประชุมที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริง นำโดยกระบวนกร 3 ท่าน คือ อาจารย์นายแพทย์วิธาน ฐานะวุฑฒ์ อาจารย์นายแพทย์วรวุฒิ โฆวัชระกุล และอาจารย์พัฒนา แสงเรียง ประเด็นที่จะ React คือ การฟังและทักษะการฟังอย่างลึกซึ้ง

 

การฟัง คือ การเปิดพื้นที่ว่างในตัวเรา เพื่อให้ความคิดภายนอกอื่นๆ เข้ามาอยู่ภายในตัวเราโดยทำตัว(กายกับใจ)ให้ว่างเพื่อรับชุดข้อมูลเข้ามาอยู่ภายใน ระดับการฟังโดยทั่วไปมี 4 ระดับ

 

1. การฟังแบบสนทนาธรรมดา ที่ทำตามกติกากำหนด เช่น สวัสดีครับไปไหนมา..สบายดีไหม..ทานข้าวหรือยัง.. ฯลฯ

2. การฟังแบบใช้เหตุผล ความคิด ซึ่งมีทั้งความคิดของเรา(มักจะถูก) กับความคิดของเขา(มักจะผิด) เริ่มมีการโต้เถียงกันโดยการคาดเดาจากประสบการณ์หรือสิ่งที่ได้เรียนรู้มาก่อน แก้ไขได้โดยการก้าวเข้าไปอยู่ในรองเท้าของเขา จะทำให้มองเห็นโลกอีกใบหนึ่งที่สามารถเปลี่ยนแปลงและยอมรับสิ่งนั้นโดยไม่มีการทำร้ายกัน ขณะเดียวกันก็ไม่เสียจุดยืนของตัวเอง เข้าใจความคิดที่เหมือนกันและยอมรับความคิดที่แตกต่าง เข้าใจถึงความรู้สึกของเขาในขณะนั้นจริงๆ ทำให้มองเห็นโลกทั้งสองใบที่แตกต่างกันแต่อยู่ในโลกใบเดียวกัน อย่างชัดเจน

3. การฟังด้วยหัวใจในระดับความรู้สึก ทำให้เข้าใจซึ่งกันและกัน รู้สึกได้ในสิ่งที่เขาเป็น ไม่ใช่วัตถุประสงค์ การเริ่มต้น หรือจุดจบของการฟัง หากแต่เป็นกระบวนการกระทำระหว่างการฟังเรื่องนั้นๆ

4. การฟังแบบปิ๊งแว้บ ที่อยู่ๆ จะเกิดความคิดใหม่ๆ ปิ๊งแว้บขึ้นมา มองและเห็นการเปลี่ยนแปลงภายในตนเอง ซึ่งเกิดจากกระบวนการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ ในชีวิตประจำวันของคนส่วน ใหญ่มีระดับการฟังแค่ระดับ 1 และ 2 แต่ถ้าเราฟังผู้อื่นมากขึ้นและช้าลง จะทำให้เข้าใจผู้อื่นได้โดยตีความจากคำพูดนั้น

 

การฟังผู้อื่นโดยใช้ “หัวใจฟัง” ฟังให้ช้าลงจะทำให้รับรู้ถึงความรู้สึกที่แตกต่าง เปรียบดังเช่นการเดินให้ช้าลงจะทำให้มองเห็นสิ่งรอบข้างสวยงามและชัดเจนมากขึ้น อย่างไรก็ดี หากเรามีความสุขเราจะมองไม่เห็นทุกข์ของคนอื่น ดังนั้นเราจึงต้องฝึกการรับรู้ว่าเขาต้องการสื่อสารอะไรให้เรารับรู้ ถ้าเราทุกข์จะทำให้เขาทุกข์ไปกับเราด้วยหรือไม่ การด่วนสรุปหรือรีบตัดสินโดยปราศจากข้อมูลสนับสนุนอาจทำให้การสรุปนั้นผิดได้

 

                ทักษะการฟังอย่างลึกซึ้ง เป็นเทคนิคการฟังผู้อื่นอย่างตั้งใจโดยไม่พูดแทรกขณะอีกฝ่ายหนึ่งกำลังพูด ทำให้ได้คำตอบที่ลึกซึ้งจากการฟังนั้น เห็นสีหน้า แววตา มีความสุขร่วมและเข้าใจในสิ่งที่กำลังพูดโดยไม่มีอคติหรือยึดติดกับกรอบความคิดของตนเอง ทำให้เกิดความเข้าใจความหมายจากการตีความคำพูดนั้น

 

สุเทพ ธุระพันธ์

3 ธันวาคม 2552

 

หมายเลขบันทึก: 317899เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2009 17:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • สวัสดีครับ
  • แวะมาเยี่ยม
  • สุนทรียสนทนา มีความสำคัญมากต่อการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ของคนเรา ดีมากเลยครับ

สวัสดีครับ คุณครูจักรกฤษณ์

@ ยินดีที่ได้รู้จักครับ

@ สุนทรียสนทนา หลายคนมักมองข้าม รวมทั้งตัวเองด้วย

@ นำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี

@ ขอบพระคุณครับ

สวัสดีครับ คุณnampeth(educator diabetes)

  • ขอบพระคุณที่อาจารย์ให้เกียรติแวะมาเยี่ยมครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท