การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Cooperative Learning)


รูปแบบจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ สามารถจัดได้อย่างหลากหลาย แต่ทุกแบบมีลักษณะร่วมกัน คือ แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มย่อยๆ ประมาณ 2-6 คน โดยสมาชิกทุกคนช่วยเหลือกัน มีการฝึกฝนการทำงานกลุ่ม กระบวนการกลุ่ม และการประเมินผลเป็นรายบุคคล

การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Cooperative Learning) 
หมายถึง กิจกรรมการเรียนการสอนที่แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มย่อยๆ ส่งเสริมให้นักเรียนทำงานร่วมกันโดยในกลุ่มประกอบด้วยสมาชิกที่มีความสามารถแตกต่างกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการช่วยเหลือพึ่งพาซึ่งกันและกัน และมีความรับผิดชอบร่วมกัน ทั้งในส่วนตนและส่วนรวม เพื่อให้ตนเองและสมาชิกทุกคนในกลุ่มประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือมีข้อดีหลายประการ อาทิ

  • ช่วยพัฒนาความเชื่อมั่นของนักเรียน
  • ช่วยพัฒนาความคิดของนักเรียน
  • ช่วยยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
  • ช่วยส่งเสริมบรรยากาศในการเรียน
  • ส่งเสริมทักษะการทำงานร่วมกัน
  • ทำให้นักเรียนมีวิสัยทัศน์หรือมุมมองกว้างขึ้น
  • ช่วยการปรับตัวในสังคมดีขึ้น

การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือมีรูปแบบอย่างหลากหลาย ดังต่อไปนี้

1.คิดและคุยกัน(Think Pairs Share) , เพื่อนเรียน(Partners) , ผลัดกันพูด(Say and Switch)

ทั้ง 3 รูปแบบเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่คล้ายคลึงกันให้นักเรียนจับคู่กันในการตอบคำถามอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นสถานการณ์หรือทำความเข้าใจเนื้อหาที่เป็นความคิดรวบยอดที่กำหนดให้

2.กิจกรรมโต๊ะกลม(Roundtable หรือ Roundrobin)

เป็นรูปแบบการสอนที่จัดกลุ่มนักเรียนที่มีจำนวนมากกว่า 2 คนขึ้นไป เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคน เขียนความคิดเห็นของตน บอกเล่าประสบการณ์ความรู้หรือสิ่งที่ตนกำลังศึกษาให้เพื่อนคนที่อยู่ถัดไปโดยเวียนไปทางด้านใดด้านหนึ่งสมาชิกทุกคนจะใช้เวลาเท่าๆกันหรือใกล้เคียง

3.คู่ตรวจสอบ(Pairs Check) , มุมสนทนา(Corners) , ร่วมกันคิด(Numbered Heads together)

เป็นรูปแบบการสอนที่คล้ายคลึงกัน คือ เป็นการจัดการเรียนการสอนที่แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มย่อยๆให้ช่วยกันตอบคำถาม แก้โจทย์ปัญหา หรือทำแบบฝึกหัดเมื่อสมาชิกทุกคนในกลุ่มย่อยสามารถตอบปัญหา หรือแก้โจทย์ได้แล้วให้แลกเปลี่ยนกันตรวจสอบคำตอบ โดยการจับคู่ตรวจสอบหรือจัดมุมสนทนา

4.การสัมภาษณ์แบบสามขั้นตอน(Three Step Interview)

รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบนี้มี 3 ขั้นตอน โดยครูกำหนดคำถามหรือประเด็นโจทย์ปัญหาให้นักเรียนตอบมีหลักการดังนี้

  • นักเรียนจับคู่กันคนที่ 1 เป็นผู้สัมภาษณ์โดยถามคำถามให้คนที่ 2 เป็นผู้ตอบ
  • นักเรียนสลับบทบาทกันจากผู้ถามเป็นผู้ตอบ และจากผู้ตอบเป็นผู้ถาม
  • นักเรียนในแต่ละกลุ่มย่อยผลัดกันเล่า สิ่งที่ตนรู้จากคู่ของตน ให้กลุ่มทราบ

5.การแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม(Team Games Tournament หรือ TGT) , การแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์(Student Team Achievement Division หรือ STAD)

เป็นรูปแบบการสอนที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนคล้ายคลึงกันซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

  • การนำเสนอบทเรียน(Class Presentation)
  • การจัดทีม(Team)
  • การแข่งขัน/การทดสอบ(TGT ใช้การแข่งขัน ส่วน STAD ใช้การทดสอบ)
  • การยอมรับความสำเร็จของทีม(Team Recognition)

6.ปริศนาความรู้(Jigsaw)

เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ทุกกลุ่มจะได้รับมอบหมายให้ทำกิจกรรมเดียวกันโดยครูผู้สอนแบ่งเนื้อหาของเรื่องที่จะเรียนออกเป็นหัวข้อย่อยเท่าจำนวนสมาชิกแต่ละกลุ่มและมอบหมายให้นักเรียนแต่ละคนในกลุ่มค้นคว้าคนละหัวข้อย่อยโดยนักเรียนแต่ละคนจะเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องที่ตนได้รับมอบหมายจากกลุ่มสมาชิกต่างกลุ่มที่ได้รับมอบหมายในหัวข้อเดียวกันจะร่วมกันศึกษาจากนั้นแต่ละคนจะกลับเข้ากลุ่มเดิมของตนเพื่ออธิบายหัวข้อที่ตนศึกษาให้เพื่อนร่วมกลุ่มฟัง

7.การสืบสอบเป็นกลุ่ม(Group Investigation)

เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นบรรยากาศการทำงานร่วมกันเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และการเรียนรู้ที่จะดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมประชาธิปไตยได้อย่างเหมาะสม กล่าวคือสมาชิกแต่ละคนในกลุ่มจะเลือกหัวข้อย่อยและเลือกวิธีการแสวงหาคำตอบในเรื่องนั้นๆด้วยตัวเองหลังจากนั้นสมาชิกแต่ละคนจะรายงานความก้าวหน้าและผลการทำงานให้กลุ่มตนเองทราบ

8.การเรียนรู้เป็นกลุ่มเพื่อช่วยเหลือเพื่อนเป็นรายบุคคล(Team Assisted Individualization หรือ TAI)

เป็นการเรียนการสอนที่ผสมผสานระหว่างการจัดการเรียนแบบร่วมมือและการเรียนการสอนแบบรายบุคคลเข้าด้วยกันเน้นการสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเองตามความสามารถส่งเสริมความร่วมมือภายในกลุ่มมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้และปฏิสัมพันธ์ทางสังคม

9.การเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสานการอ่านและการเขียน(Cooperative Integrated Reading and Composition หรือ CIRC)

เป็นรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีองค์ประกอบน่าสนใจ ได้แก่ การสร้างกลุ่มอ่าน การจัดกลุ่มย่อยกิจกรรมการอ่านพื้นฐาน การหาเพื่อนช่วยตรวจสอบ การทดสอบ การสอนอ่านการสอนเขียน เป็นต้น

รูปแบบจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือสามารถจัดได้อย่างหลากหลาย แต่ทุกแบบมีลักษณะร่วมกัน คือแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มย่อยๆประมาณ 2-6 คน โดยสมาชิกทุกคนช่วยเหลือกัน มีการฝึกฝนการทำงานกลุ่ม กระบวนการกลุ่ม และการประเมินผลเป็นรายบุคคล

นอกจากนี้ ยังพบว่าไม่มีรูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งสามารถใช้ได้กับบทเรียนได้ทุกลักษณะ ในการเรียนการสอนเนื้อหาในบทหนึ่งๆครูผู้สอนอาจจะต้องใช้รูปแบบมากกว่าหนึ่งรูปแบบมาผสมผสาน

หนังสืออ้างอิง

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. 2543. เอกสารชุดเทคนิคการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุดการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ. โรงพิมพ์การศาสนากรมศาสนา.กรุงเทพฯ.

หมายเลขบันทึก: 209790เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2008 20:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2020 08:04 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

มาอ่านแผนค่ะ  จะได้มีเรื่องเสวนากับครูวิทย์ที่โรงเรียน

ของพี่คิมเคยพบแบบนี้ค่ะ (วิจัยเล็กๆ)

1. ทำงานกลุ่ม ได้ความรัก ความเอื้ออาทร  แต่เด็กบริหารเวลาไม่เป็น

ทำให้เสร็จช้า

2. ทำงานเดี่ยว เสร็จเร็ว แต่ไม่เอื้ออาทร

สวัสดีค่ะ กระบวนการกลุ่มเป็นวิธีการสอนที่เยี่ยมมากค่ะ

ขอบคุณข้อคิดเห็นของครูคิมและครูสุนันทาครับ

สวัสดีค่ะ

นานละไม่ได้อ่านบันทึกของคุณครู

พี่คิมมีเอกสาร  "กระบวนการเรียนรู้  82 นวัตกรรม"

ของ ดร. ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์

ถ่ายเอกสารยับหมดแล้วค่ะ  เคยเห็นไหมคะ

ที่ศูนย์จุฬา ในมน. มีขายค่ะ

 

ขอบคุณครูคิมครับ

มีโอกาสจะลองไปหาดู..

ครูธนิตย์ มีตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง

ตรรกศาตร์ไหมคะ หรือเรื่องอื่น ๆ ในระดับม.ปลายก็ได้ค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

  • เรียนคุณranu sawapanongkul
  • แผนคณิตศาสตร์ไม่มีครับ..

ขอบคุณนะคะ อ.

ครูต้อยมาเรียนรูh เนื้อหาsนะลืมไปหมดแล้ว แต่สิ่งที่ได้คือความสบายตาที่อ.ใช้สีพื้นถนอมสายตา ครูต้อยอยากทำมั่งแต่ทำไม่เป็น

และชอบมากก็คือการนำวิธีการประเมินตามสภาพมาใช้ เพื่อการพัฒนาเด็กน้อน

ขอบคุณค่ะ

ตามครูต้อยเข้ามาจากอนุทิน

  • ขอบคุณมากครับ ผมเอาไปใช้ในการจัดอบรม หรือสอนนศ.ได้ด้วย

ขอคำแนะนำหนังสือที่เกี่ยวกับการเรียนแบบ Cooperative Learning ที่เยี่ยม นะค่ะ

ขอบคุณครับจะนำไปดัดแปลงให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่รับหน้าที่อยู่ครับ

นักเรียนมีความสุขมาก....คนเป็นครูเห็นแล้วสบายใจค่ะ

Thank you for your information. It is useful for the readers.

ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ นะคะ

กำัลงหาข้อมูลไปทำรานงานพอดีเลยค่ะ ^^"

ขอบคุณที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้มีประโยชน์มากคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท