การเรียนรู้แบบร่วมมือ(Cooperative Learning) โดยวิธีนิทรรศการ(Exhibition)


การเรียนรู้แบบร่วมมือ(Cooperative Learning) เป็นกระบวนการเรียนรู้ ที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างทักษะของการอยู่ร่วมกันในสังคม และทักษะในด้านเนื้อหาวิชาการต่างๆ เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยจัดให้นักเรียนที่มีความสามารถต่างกัน เรียนและทำงานด้วยกันเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 2-4 คน โดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกันภายในกลุ่ม ผู้เรียนเก่งกว่าจะช่วยผู้เรียนอ่อนกว่า การยอมรับซึ่งกันและกัน การรู้จักแบ่งหน้าที่ ความรับผิดชอบ ความมีน้ำใจ รวมทั้ง ความเอื้ออาทรซึ่งมีให้กันสำหรับสมาชิกภายในกลุ่ม จะนำมาซึ่งความสำเร็จในการเรียนรู้ 


กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ มีรูปแบบอย่างหลากหลาย อาทิ Jigsaw , Team Game Tournament(TGT) , Student Team Achievement Division(STAD) , Team Assisted Individualization(TAI) , Learning Together(LT) , Group Investigation(GI) , Think Pair Share , Pair Check , Three Step Interview , Number Head Together , Roundrobin เป็นต้น 


จากประสบการณ์จัดกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือที่ผ่านมา ใคร่ขอนำเสนอเทคนิคการจัดการเรียนรู้ ซึ่งผู้เขียนได้นำหลายๆรูปแบบของการเรียนรู้มาผสมผสาน ทำให้นักเรียนมีความเอาใจใส่ และตั้งใจเรียนมากขึ้น รวมทั้งสนุกสนานกับการเรียน ผู้เขียนขอเรียกเองว่า การเรียนรู้ร่วมกัน โดยวิธีนิทรรศการ(Exhibition)


ขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยวิธีนิทรรศการ ประกอบด้วย

1. แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มประกอบด้วยผู้เรียนที่เก่ง ปานกลาง อ่อน คละกัน

2. แบ่งเรื่องที่จะศึกษาออกเป็นหัวข้อย่อยๆ

3. แต่ละกลุ่มเลือกหัวข้อย่อยเพื่อจะศึกษา หรืออาจสุ่มด้วยวิธีการจับฉลาก

4. สมาชิกในกลุ่มร่วมกันศึกษาหัวข้อย่อยที่เลือกได้ จากแหล่งข้อมูลต่างๆที่ผู้สอนจัดเตรียมไว้ อาทิ ใบความรู้  ใบงาน เอกสารประกอบการเรียน หนังสือเรียน ฯลฯ โดยแบ่งหน้าที่กันทำงาน ซึ่งอาจเป็นดังนี้

  • สมาชิกคนที่ 1 เขียนผังมโนมติ(Mind Mapping)
  • สมาชิกคนที่ 2 เขียนแผนภาพ เพื่อเป็นสื่อการเรียนรู้
  • สมาชิกคนที่ 3 สร้างแบบประเมินผลการเรียนรู้
  • สมาชิกคนที่ 4 ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล

5. ผู้เรียนแต่ละกลุ่มจัดนิทรรศการ โดยใช้ผังมโนมติ แผนภาพ ที่ได้จัดเตรียมไว้ เป็นอุปกรณ์ในการจัด

6. สมาชิกตัวแทนกลุ่มอย่างน้อย 1 คน สับเปลี่ยนกันประจำสถานที่ ที่จัดนิทรรศการของตนเอง เพื่อนำเสนอความรู้ให้กับเพื่อนสมาชิกกลุ่มอื่นๆ โดยใช้ผังมโนมติและแผนภาพ ประกอบการนำเสนอ หรือเป็นสื่อการเรียนรู้ จากนั้นประเมินผลการเรียนรู้เพื่อนสมาชิกกลุ่มอื่นๆทุกคน ซึ่งเข้าชมนิทรรศการ

7. สมาชิกทุกคนในกลุ่มแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เกี่ยวกับหัวข้อย่อยต่างๆที่ตนเองได้ไปศึกษามา


ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยวิธีนิทรรศการ ซึ่งผู้เขียนเคยใช้ในวิชาชีววิทยา เรื่อง ฮอร์โมน ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544

1. ขั้นนำ

- ทบทวนความรู้เดิมโดยการสนทนา ซักถาม นักเรียนในเรื่องตำแหน่งของต่อมใต้สมอง บทบาทของฮอร์โมนสำคัญที่สร้าง และความผิดปกติทางร่างกาย อันเนื่องมาจากขาดหรือได้รับฮอร์โมนมากเกิน

- ซักถามนักเรียนต่อไปในเรื่อง ตำแหน่งของต่อมไร้ท่ออื่นๆในร่างกาย และบทบาทของฮอร์โมนสำคัญที่สร้างจากต่อมไร้ท่อนั้นๆ

2. ขั้นสอน

- แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มๆละ 4 คน แต่ละกลุ่มประกอบด้วยนักเรียนที่เก่ง ปานกลาง และอ่อนคละกัน

    - ตัวแทนแต่ละกลุ่มจับฉลากเลือกเรื่องต่อไปนี้ เพื่อศึกษา กลุ่มละ 1 เรื่อง

  • ฮอร์โมนจากไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์
  • ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต
  • ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์และพาราไทรอยด์
  • ฮอร์โมนจากอวัยวะเพศและต่อมไพเนียล

    - นักเรียนในกลุ่มร่วมกันศึกษา เรื่องที่กลุ่มจับฉลากได้ จากหนังสือเรียน และเอกสารประกอบการเรียน โดยแบ่งหน้าที่กันทำงาน อาจเป็นดังนี้

  • นักเรียนคนที่ 1 เขียนผังมโนมติ
  • นักเรียนคนที่ 2 เขียนแผนภาพ เพื่อเป็นสื่อการเรียนรู้
  • นักเรียนคนที่ 3 สร้างแบบประเมินผลการเรียนรู้ จำนวน 10 ข้อ
  • นักเรียนคนที่ 4 ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล

    - นักเรียนแต่ละกลุ่มเลือกมุมใดมุมหนึ่งในห้องเรียนเป็นสถานที่จัดนิทรรศการ เพื่อให้ความรู้แก่เพื่อนนักเรียนทุกคน ในเรื่องที่กลุ่มตนเองได้ศึกษามา โดยการแปะติดผังมโนมติและสื่อการเรียนรู้ที่บอร์ดหรือที่ผนังห้อง

    - นักเรียนตัวแทนกลุ่มอย่างน้อย 1 คน สับเปลี่ยนกันประจำสถานที่ ที่จัดนิทรรศการของตนเอง เพื่อนำเสนอความรู้เรื่องที่กลุ่มตนเองศึกษา และประเมินผลการเรียนรู้ผู้เข้าชมนิทรรศการ พร้อมบันทึกผลคะแนนเป็นรายบุคคล

    - นักเรียนทุกคนแยกย้ายไปศึกษาเรื่องต่างๆจากกลุ่มอื่น จนครบทุกเรื่อง จากนั้นสมาชิกทุกคนในกลุ่มกลับมายังกลุ่มของตนเอง แล้วแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ในเรื่องที่ตนเองได้ไปศึกษามาจากกลุ่มอื่นๆ จนกระทั่งสมาชิกทุกคนในกลุ่มเข้าใจในทุกๆเรื่อง เป็นอย่างดี

    - ครูรวบรวมผลคะแนนรายบุคคลของแต่ละกลุ่ม หาค่าเฉลี่ยคะแนนของกลุ่ม กลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุด จะได้รางวัล หรือติดประกาศเชิดชูผลงานที่บอร์ด

3. ขั้นสรุป

    - ครูและนักเรียนสรุปสาระสำคัญ โดยใช้แผ่นโปร่งใสประกอบในเรื่อง

  • ฮอร์โมนจากไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์
  • ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต
  • ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์และพาราไทรอยด์
  • ฮอร์โมนจากอวัยวะเพศและต่อมไพเนียล

    - ให้คำชมเชยแก่นักเรียนทุกกลุ่ม ที่ร่วมมือร่วมใจ ในการช่วยเหลือให้ความรู้ซึ่งกันและกัน และร่วมมือกันทำกิจกรรมเป็นอย่างดี

หมายเลขบันทึก: 261585เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2009 23:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 ธันวาคม 2020 08:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

แวะมาชมการสอน

ดีจังเลยไม่ยุ่งยากมาก เด็กๆไม่ต้องงงกับวิธีการของครูมาก

ขอบคุณค่ะ

  • มาขอบคุณค่ะ
  • แต่มันเป็นลูกผสม 555+
  • เชิญอ.แวะเข้าไปขำ
  • หน้าตาบล็อกที่แก้ไขแล้วค่ะ

สวัสดีค่ะ

มาส่งกำลังใจ

และขอกำลังใจด้วยค่ะ

ช่วยไปตรวจกรุ๊ปเลือด

ทำสถิติชาวบล็อก ให้หน่อยนะคะ

ที่นี่ค่ะ

★.• •★ ทานอาหาร...ตามกรุ๊ปเลือด...เพื่อสุขภาพที่ดี★... •★

เทคนิคการสอนที่ทันสมัยชอบมากค่ะ

ขอบคุณสำหรับตัวอย่างดีๆ

ขอบคุณคุณปุ้ยเช่นกันครับ..ที่เข้ามาเยี่ยมชมและร่วมแสดงความคิดเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท