ผู้เรียนเป็นสำคัญ


เมื่อสักสิบปีที่แล้ว ไม่เคยเชื่อเลยว่า การสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จะเกิดขึ้นได้ ตามพระราชบัญญัติการศึกษา ด้วยเหตุผล    

  • วัฒนธรรรมไทยเรา เป็นวัฒนธรรมแห่งการเชื่อฟัง ผู้ใหญ่มักถูกเสมอ เด็กไม่กล้าแสดงความคิดเห็น แม้บางครั้งจะไม่เห็นด้วย  
  • ระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ยังเน้นเนื้อหาสาระ ไม่เน้นวิธี หรือกระบวนการค้นคว้าหาความรู้  

(หล่นหรือไม่ : 13 กรกฎาคม 2553) 

ช่วงเวลานั้น จึงมักเสนอความเห็นแย้งใครบ่อยๆต่อเรื่องนี้ว่า การสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญคงยากจะเกิดขึ้นในบ้านเมืองเรา ขณะผู้รู้หลายคนอธิบายว่า เราคงหวังผลวันนี้ วันพรุ่งนี้ไม่ได้ แต่อีก 20-30 ปีข้างหน้า การเรียนการสอนในโรงเรียนน่าจะเปลี่ยนแปลง 

พูดอย่างนี้มิใช่ไม่เห็นด้วยกับการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามที่กล่าว ตรงข้าม กับเห็นด้วยอย่างยิ่ง แต่เมื่อมองอุปสรรคที่มีอยู่อย่างชัดแจ้งแล้ว แทบจะไม่มีความหวังเอาเสียเลย    

ขณะเดียวกัน ตนเองเริ่มเปลี่ยนวิธีการสอนอย่างจริงจัง เท่าที่จะเป็นไปได้หรือเหมาะสม อะไรพอจะให้นักเรียนได้ทำเอง คิดเอง วิเคราะห์ วางแผน ลงมือเรียนรู้ด้วยตนเอง จะกระทำโดยไม่รีรอ    

(ปัดอย่างไรเหรียญจึงจะลงขวด : 22 มิถุนายน 2553)  

ทุกวันนี้ จากการสังเกต และติดตามข่าวคราวมาโดยตลอด เข้าใจว่า สังคมตระหนักในเรื่องนี้มากขึ้น ขณะที่ครูก็เปลี่ยนมาใช้วิธีสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมากกว่าแต่ก่อนอย่างเห็นได้ชัด  

แต่เรื่องสำคัญเรื่องหนึ่ง ซึ่งแปลกแต่จริง และนับวันยิ่งสงสัย เพราะหน่วยงานทางการศึกษาต่างๆ รวมถึงกระทรวงศึกษาธิการเอง กลับทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม ไม่ว่าจะนำผลการสอบโอเน็ตไปใช้ตัดสินคุณภาพการจัดการศึกษา ทำให้หลายโรงเรียนติวโอเน็ต ติวอื่นๆ ทั้ง GATและ PAT ติวเตอร์แชแนล ติวเตอร์ออนทัวร์ ก็เป็นกรณีเดียวกัน หลักการติวไม่ต่างอะไรกับการสอนของโรงเรียนกวดวิชา ซึ่งผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด  

(ขาดตรงไหน : 13 กรกฎาคม 2553)  

อีกทางหนึ่งเราบ่นกันว่า เด็กเรา คิดไม่เป็น วิเคราะห์ไม่เป็น แต่ทางหนึ่งเรากลับไปสนับสนุนวิธีการจัดการเรียนการสอนที่ทำให้คิดไม่เป็นอย่างออกหน้าออกตา โดยเฉพาะหน่วยงานซึ่งรับผิดชอบ

ประสบการณ์ที่มีอยู่บ้าง การเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ยังไม่สอดคล้องกับระบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยในปัจจุบันจริงๆ เพราะครูไม่สามารถยัดเยียดเนื้อหาวิชาครั้งละมากๆให้กับนักเรียนได้ แต่เป็นความยั่งยืน เป็นผลในระยะยาวของชาติบ้านเมือง ที่สำคัญจะสร้างเด็กที่คิดได้ วิเคราะห์เป็น อย่างที่ใครก็ไม่อาจปฏิเสธได้   

ค่อนข้างสับสนต่อเรื่องนี้ แต่ที่แน่ๆ ถ้าครูสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ นักเรียนจะเรียนอย่างมีความสุข    

หมายเลขบันทึก: 381280เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2010 22:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

สวัสดีครับ อาจารย์ ธนิตย์

ไม่ได้เข้ามาทักทายและเยี่ยมเยียนกันนานครับ

อาจารย์สบายดีไหมครับ ทั้งบันทึกและภาพถ่ายยังคงงดงามเหมือนเดิมครับ

ขอบคุณครับ

ก่อนฝันดีค่ะคุณครูธนิตย์

เห็นบรรยากาศการเรียนรู้ นักเรียนยิ้มแย้มอย่างมีความสุข น่าภาคภูมินะคะ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ อ.ธนิตย์

วันก่อนยังคุยกับ พี่เกียรติศักดิ์เลยครับว่า อ.ธนิตย์ หายไป

อยากให้คนเขียน Blog ดีๆ เขียนนานๆครับ

จะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันต่อไป

ผมจะไปเเถบพิษณุโลกอีกไม่นานนี้ครับ

คิดว่ามีโอกาสอยากไปสนทนากับ อ.ธนิตย์บ้างครับ

สวัสดีค่ะ

       ความตั้งใจสนใจเรียนของเด็กก็สำคัญ   ในช่วงอายุวัยของเด็ก ก่อนอายุ 15 ปี เด็กๆส่วนใหญ่จะตั้งใจเรียน พร้อมเพรียงกัน มีส่วนน้อยที่ไม่ตั้งใจ ไม่ปฏิบัติตามที่ครูสอน  แต่พออายุช่วง 15- 18 หรือ ม.3-ม.6  วัยเปลี่ยนมากทีเดียวค่ะไม่ว่าการเรียน การคบเพื่อน  ต่อต้านครูที่ตัวเองไม่ชอบและด่าครูเลยก็มี  แต่ครูไม่ทราบ หากทราบก็เกลียดเด็กไปเลย  ความตั้งใจเรียนก็น้อยลง จะมีก็เด็กที่เรียนดี ครูสนใจ เอาใจใส่ เพื่อชื่อเสียงของ รร. ก็มี  ฯ และกดดัน ด่า ว่า   มองข้าม เด็ก ที่นิสัยไม่ค่อยดี ไม่ตั้งใจเรียน ซึ่งเป็นช่วงวัยที่เด็ก กล้าทำอะไรแล้ว และก็เป็นผลเสียของรร.ได้เช่นกัน ก็มีกฏระเบียบจำหน่ายออก

        คำพูด ของครู  คำสอน การสอนเด็กเข้าใจหรือไม่ ซึ่งเดี๋ยวนี้เด็กจำนวนไม่น้อยก็ไม่สนที่ครูสอนในชั้น เพราะการเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัย เรียนพิเศษได้ และสอนเข้าใจมากกว่าครูที่รร.สอน ก็มี นักเรียนบอกผู้ปกครอง ครูเก่งมาก แต่สอนเด็กๆไม่รู้เรื่อง  ซึ่งเป็นคำพูดของเด็กที่เรียนเก่งด้วยนะคะ    แล้วครูก็แปลกไม่มีการปรับปรุงการสอนให้เด็กเข้าใจ  ก็ไม่ทราบครู แบบ นี้เก่งแบบไหน สอนกี่สิบปีก็สอนเหมือนเดิม หากครูส่วนใหญ่มีแนวคิดการสอน เหมือนคุณครูธนิตย์ มากๆเด็กไทยคงมีปัญหาน้อยลง  แต่ก็มีน้อยนะคะ ครูก็มีปัญหาชีวิตส่วนตัวเหมือนกัน การสอน และใจ อาจไม่เต็ม 100 นะคะ

สวัสดีค่ะ

  • หายไปนานเลยนะคะ  สงสัยงานยุ่ง แฟนคลับเลยไม่ได้อ่านบันทึกดีๆ ซะนาน
  • มีเรียนรู้ และดูภาพเด็กๆ ทดลอง ค้นคว้าหาคำตอบกันค่ะ

*** กำลังจะออกตามหาอ.ธนิตย์อยู่แล้วนะ....(พอดีหาเจอ)...งานยุ่งแน่ๆเลย...ใช่ไหม

*** จะแวะมาบอกว่า ภาพหอนาฬิกาที่ส่งมาให้มีค่ามาก.. เพราะเมื่อเร็วๆนี้พี่ไปเชียงใหม่...โหย...กว่าจะเก็บภาพได้....ได้มาแค่นี้...อีกภาพฝากมาให้..คิดถึงน้องเติน (ฟางยืมสถานที่....โพสต์มาอวดกัน... )

*** คืนนี้...นอนหลับฝันดีจ้ะ

    

สวัสดีค่ะ

  • ในที่สุดก็กลับมาเขียนเรื่องราวดีๆให้ชมอีก
  • หนนี้หายไปนานนะคะ
  • กลับมาหนนี้แนวการเขียนยังเข้มข้นเหมือนเดิม
  • สำหรับการสอนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนั้น
  • จะเป็นการฝึกให้เด็กร้จักการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเป็น
  • รู้จักสร้างทางเลือกหลากหลาย
  • สุดท้ายเขาก็จะเลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง
  • ซี่งเป็นสิ่งที่เยี่ยมจริงๆค่ะ.

หายไปนานนะคะ..แต่ก็กลับมาสมราคาค่ะ...ได้อ่านบันทึกที่ได้ให้ข้อคิดมุมมองการศึกษาในภาพความเป็นจริงที่ยอดเยี่ยม   เห็นด้วยนะคะที่ว่า...เด็กเรา คิดไม่เป็น วิเคราะห์ไม่เป็น แต่ทางหนึ่งเรากลับไปสนับสนุนวิธีการจัดการเรียนการสอนที่ทำให้คิดไม่เป็นอย่างออกหน้าออกตา การเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ยังไม่สอดคล้องกับระบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยในปัจจุบันจริงๆ

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาเยี่ยมเยียนกันค่ะ อาจารย์สบายดีนะค่ะ
  • ขอบคุณบันทึกดี ๆ ที่มีคุณค่ามากมายค่ะ

                            

สวัสดีค่ะพี่ธนิตย์

* หนูเข้าไปขอบคุณ คุณคาปูชิโน ที่ไปเยี่ยมไข้แล้วให้กำลังใจหนูช่วงที่ไม่สบาย เห็นพี่ธนิตย์ เลยตามมาค่ะ ทำให้ได้มีโอกาสอ่านบันทึกดีๆ ของพี่ธนิตย์  ดีใจที่ได้เห็นพี่ใน Blog  จะได้อ่านบันทึกอีกๆ อีกครั้ง หลังจากที่ไม่ได้อ่านนาน.....นนนนนนน มาก....

* ประเด็นในบันทึกผู้เรียนเป็นสำคัญ  หนูยังเชื่อมั่นว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนั้นจะทำให้เด็กได้คิด วิเคราะห์ และแก้ปัญหาได้ ตลอดจนเกิดองค์ความรู้ใหม่ได้ เพราะการที่เด็กได้ลงมือทำจริงๆ เขาจะมีความเข้าใจ ที่ลึกซึ้งขึ้น  ความรู้ความเข้ามี่ที่เกิดกับเขาจะคงทนและยั่งยืน... เพียงแต่ต้องใช้เวลา และครูต้องอดทนค่ะ  หนูก็จัดกิจกรรมแบบนี้  เด็กๆ ก็ไม่เห็นโง่นะ....

* แต่มันก็จริงค่ะ ว่าวิธีการคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัย การสอบ O-net A-net มันสวนทางกับการจัดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  เพราะกิจกรรมการเรียนแบบนี้ ต้องค่อยๆ ให้เด็กเรียนรู้ไปทีละขั้น ซึ่งมันไม่ทันใจ  การประเมินคุณภาพการศึกษาก็ดันมาวัดกันตรงผลการสอบเข้ามหาลัย และ ผล O-net A-net โดยเฉพาะ สมศ. เฮ่อ... สงสารเด็กไทยเน๊าพี่เน๊าะ.... หนูไม่ชอบเลย... อาจเป็นเพราะเราอยู่โรงเรียนขนาดกลางๆ  อยู่ใกล้ชิดกับเด็กๆ  เลยจัดกิจกรรมแบบ child center ได้มั้ง....ฮา   สงสัยโรงเรียนใหญ่ๆ  สอนแบบบรรยาย อัดๆๆๆ ความรู้ เพื่อสอบ  ฮา.... (หนูปากเสียจนได้...)

* ไม่รู้แหละ.... หนูว่าเด็กเรียนแบบ child center เข้าเรรียนอย่างมีความสุขนะ.... ไม่เชื่อพี่ถามลูกศิษย์ของหนูดูก็ได้.. จริงๆ ไม่ได้โม้...

* พี่ธนิตย์สบายดีนะคะ... ต้องขอชมว่า ภาพเด็กนักเรียนที่พี่ถ่ายมาใส่ไว้ในบันทึกนี้สวยมากค่ะ  ชัด แจ่มแจ๋ม..... เจ๋งมากๆ  ฝีมือขั้นเทพจริงๆ  หนูไม่ได้แกล้งยอนะ... จริงๆ ค่ะ  ไม่รู้จะยอไปทำไม่ เพราะขอขนมกินก็ไม่ได้อยู่ดีเน๊าะ... สวยมากๆๆๆๆ ค่ะ

* ด้วยความเคารพและระลึกถึงค่ะ

 

อยู่ในโรงพยาบาล

ปัจจุบันก็ให้เน้นคนไข้หรือผู้รับบริการเป็นสำคัญค่ะ

อาจารย์ครับ

บันทึี่กนี้ของอาจารย์โดนใจผมมาก ๆ

เมืองไทยเป็นแบบนี้จริง คิดแล้วกลุ้มครับ...

แวะเวียนไปพิษณุโลกแล้วหลายคร้ังแต่ก็ไม่ได้แวะไปหาครับ

ระยะหลังไม่ค่อยได้เข้ามาในนี้ และทราบว่าอาจารย์ก็ไม่ค่อยได้เข้ามาเหมือนกัน

แวะมาทักทายด้วยความระลึกถึงครับ

สวัสดีค่ะ

กลับมาเขียนบล็อกแล้ว  หวังว่าคงสบายดีกันทุกคนนะคะ  เรื่องความสำคัญของการสอนให้ผู้เรียนมีความสุข ไม่ได้หมายความว่าผู้เรียนจะต้องหัวเราะตลอดเวลา

แต่ควรให้ผู้เรียนมีความอบอุ่นและอยากที่จะเรียนรู้ต่างหากนะคะ  เคยอ่านงานวิจัยฯ ว่า "ได้ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนแล้วเห็นว่านักเรียนสนุกสนานเพลิดเพลินกับการเรียน"

สองงอ (งง) ทั้งเพลิดทั้งเพลินจะมีสมาธิในการเรียนรู้ได้อย่างไรคะ

ครูธนิตเปรียบเทียบระดับโรงเรียนและระดับชาติได้ดีแท้ ทั้วยังไม่ท้อที่จะเน้นกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ขอบคุณในจุดยืนครูไทยที่มั่นคงในแนวทาง

ความสุขและความสนุกของเด็ก...ช่วยให้บรรกาศแห่งการเรียนรู้เจริญเติบโตและหยั่งรากลึกค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ธนิตย์ นานมากที่ไม่เห็นในเม้นท์ ดีใจค่ะที่ไปเยี่ยมบันทึก อาจารย์ค่ะเน้นเด็กเป็นสำคัญบรรลุแล้วอีกกี่ปีที่จะคุ้นเคยกับแบบทดสอบ O-net ของ สทศ. ที่มีหลายคำตอบ เน้น KAP ครบ อิอิ

มาเยี่ยมพี่ธนิตย์ค่ะ.... ตามครูตูมที่น่ารักมาห่างๆ  ฮา...

อยู่ในช่วงอบรมคอมพ์ให้กำนันผู้ใหญ่บ้าน วันนี้ท่านๆ เหล่านั้นกำลังทำแผ่นพับรณรงค์เรื่องการป้องกันลูกน้ำยุงลายค่ะ  ตั้งใจทำและแข่งกันใหญ่ว่าแผ่นพันของใครจะเจ๋งกว่ากัน  หนูเลยได้โอกาสแว๊บเข้าบล็อก... พี่ธนิตย์หายๆๆๆๆ  อีกแล้วเหรอคะ...เฮ่อ!.... หรือว่าแอบไปถ่ายภาพมาฝากพวกเราคะ  ว๊าว!... ดีค่ะดี  อยากเห็นภาพถ่ายฝีมือพี่ธนิตย์ค่ะ

เอาภาพกิจกรรมค่ายวิทย์วันสุดท้าย (เมื่อวาน) มาฝากค่ะ...

รักษาสุขภาพนะคะ..... อย่าทานอาหารมันนะคะ เดี๋ยวคลอเลตเตอรอลจะสูงค่ะ... ทานผัก ผลไม้เยอะๆ สุขภาพแข็งแรงค่ะ

ด้วยความเคารพและระลึกถึงค่ะ

 

สวัสดีค่ะ  อาจารย์

มีความรู้สึกเหมือนหลายๆคน

อยากอ่านบันทึกดีๆจากอาจารย์

ขอบคุณค่ะ

ผมไปฟังอาจารย์มหาวิทยาลัยท่านหนึ่ง ท่านบอกว่าการปฏิรูปการศึกษาไม่ต้องไปปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาอะไรมาก ขอเพียงให้เน้น  "การเรียนของเด็ก"  ท่านบอกต่อไปว่า การปฏิรูปการศึกษา  มัวแต่ไปวุ่นเรื่องอื่น ลงไปไม่ถึง "การเรียนของเด็ก"

การกำหนดนโยบายและกฏเกณฑ์ของระดับฝ่ายวางแผนมักจะเป็นเส้นขนานกับการสั่งให้ปฏิบัติเสมอๆ   ปรับเปลี่ยนไปตามกระแสคลื่นอุณภูมิของจิต  มากกว่าคลื่นความคิดจากสมองฯ(เซ็นเซ่อร์)  ระยะนี้จึงเข้าใจว่าทำไมข้าราชการครูจำนวนมากจึงยื่นขอลาออกก่อนวัยเกษียณฯ อิอิอิ!

                         
                                                        crystal ball
                                      

ขอเข้าชมด้วยนะคะ

กิจกรรมดีๆเน้นนักเรียนเป็นสำคัญดีมาก ที่เปิดโอกาสให้นัเรียนลงมืปฎิบัติจริงๆเน้ความจำที่คงทน

สวัสดีค่ะ

มาดูผู้เรียนเป็นสำคัญ....

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท