เรียนรู้ไปกับนักเรียน


เมื่อสัปดาห์ก่อนสอน ม.1 เรื่องประสาทสัมผัสผิวกาย เป็นวิชาเพิ่มเติมของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ นัดกับนักเรียนก่อนแล้วครับว่า ให้นำเหรียญซึ่งใช้ในปัจจุบันมาให้มากแบบที่สุด วิธีการคือ นักเรียนแต่ละคนในกลุ่มปิดตาคลำเหรียญ แล้วทายเป็นเหรียญอะไร สมาชิกทุกคนในกลุ่มต้องทดสอบ พร้อมช่วยกันบันทึกผล รวมถึงวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาร้อยละจำนวนนักเรียนทายถูก 

จากนั้นนักเรียนทุกคนในกลุ่มไปทายต้นไม้ต่อ ด้วยการปิดตาคลำต้นไม้ต้นใดต้นหนึ่ง ซึ่งเพื่อนในกลุ่มเลือกและนำไป เมื่อเปิดตาต้องทายให้ถูก ต้นที่ไปสัมผัสเมื่อครู่นั้นเป็นต้นใด ตั้งเงื่อนไขกับนักเรียนว่า ทุกคนต้องถูกทดสอบ หากทายผิดให้เริ่มคลำ-สัมผัส แล้วทายใหม่ จนกว่าจะถูก  

ทั้งสองกิจกรรม การเรียนในปีผ่านๆมา นักเรียนจะใช้เวลาชั่วโมงเศษ แต่ครั้งนี้แค่ 30-40 นาทีก็เสร็จแล้ว โดยเฉพาะขั้นตอนทายต้นไม้ ปกติมีนักเรียนไม่มากนักที่จะทายถูกในการทดสอบครั้งแรก แต่วันนี้มีนักเรียนแค่คนเดียวที่ต้องทายมากกว่าหนึ่งครั้ง ขณะนักเรียนคนอื่นทั้งหมดทายถูกในครั้งแรกเอง สงสัยมากครับทำไมนักเรียนรุ่นนี้ทายเก่งกันนัก

 เวลาที่เหลือจึงซักไซ้ไล่เลียงนักเรียนเป็นการใหญ่ ว่าเพราะเหตุใด ตั้งสมมติฐานไว้ว่า โจทย์ที่เพื่อนกำหนดคงง่ายไป ผมหมายความว่า เพื่อนที่นำนักเรียนไปยังต้นไม้และนำออกมาเพื่อให้ทายนั้น อาจใช้ระยะใกล้เกินไป หรือระยะนั้นอาจไม่คดเคี้ยว ไม่ซับซ้อนพอ ทุกคนจึงทายถูกอย่างง่ายดาย  

ข้อมูลที่นักเรียนช่วยกันตอบจากการซักถาม ปรากฏว่า สมมติฐานครูน่าจะผิด เพราะคำตอบหลายกลุ่มบอก เส้นทางที่นำไปไม่ได้ใกล้อย่างที่ครูคิด บางกลุ่มจับตัวเพื่อนหมุน เพื่อให้หลงทิศก่อนจะเริ่มทดสอบด้วยซ้ำไป แต่ก็ยังสามารถทายถูกอยู่ดี  

จุดประสงค์การเรียนในวันนี้ ต้องการให้นักเรียนสัมผัส หรือกอดจูบลูบคลำต้นไม้ด้วยผิวกาย(ฮา) ฝึกใช้ประสาทสัมผัสโดยเฉพาะผิวกายในการสังเกตสิ่งต่างๆรอบตัว  

นักเรียนเกือบทุกคน(ยกเว้นคนเดียว) สามารถทายถูกในครั้งแรก อธิบายว่าที่ทายถูก ส่วนหนึ่งมาจากจดจำต้นไม้ได้ เพราะเดินผ่านต้นนั้นบ่อยๆอยู่แล้ว ข้อนี้ทึ่งครับ เพราะนักเรียนช่างสังเกตกว่าที่ครูคิด

 ส่วนหนึ่งจำเส้นทางที่เพื่อนนำไป ว่าเดินผ่านพื้นผิวลักษณะอย่างไรบ้าง หญ้าเปียก ดินแฉะ คอนกรีต เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการทายของตนเอง ส่วนหนึ่งเท่านั้นที่จำจากการสัมผัสต้นไม้เพียงอย่างเดียว ชื่นชมนักเรียนครับ ที่ไหวพริบปฏิภาณดี อีกทั้งส่วนใหญ่เลย ใช้ผิวกายสังเกตมากกว่าที่ครูหวังไว้เสียอีก

 แต่บางคนครับ บอกทายถูกเพราะเดาเอา แหม! คำตอบอย่างนี้กระตุกต่อมบ่นของครูดีจัง(ฮา)

บ่อยครั้งที่นักเรียนทำอะไรได้มากกว่าครูคิด ครั้งนี้เป็นอีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับสงสัยไม่หาย นักเรียนรุ่นนี้ต่างจากรุ่นก่อนๆอย่างไร ทำไมทายต้นไม้เก่งกันจังยังตอบตัวเองไม่ได้ครับ 

นี่กระมังที่ว่าจะได้เรียนรู้ไปพร้อมกับเด็กๆ ถ้าครูเป็นผู้สนับสนุนให้ได้เรียนรู้ แทนที่จะเป็นผู้สอนอย่างเดียวเหมือนการสอนในสมัยก่อนๆ 

หมายเลขบันทึก: 391982เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2010 21:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

สวัสดีค่ะ คุณครูธนิตย์

ตัวเล็กตัวน้อยหน้าเปื้อนยิ้มแบบนี้...บรรลุวัตถุประสงค์ค่ะ...เด็กๆเขาจะมีอะไรที่เกินคาดครูอยู่ได้บ่อยๆ ค่ะ และเห็นด้วยกับการเปลี่ยนบทบาทมาเป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้ในห้องเรียน....แม้ทำยากแต่ครูไทยก็ต้องทำให้ได้ค่ะ

*** บันทึกนี้ อ.ธนิตย์..ทำให้คิดถึงกิจกรรมลูกเสือ ตอนที่สอนอยู่ตากพิทยาคม เด็กๆสนุกสนานกับการได้ลูบคลำสิ่งของแล้วทาย กิจกรรมแบบนี้เป็นความรู้ที่ฝังลึก ถาวร คนสอนก็สนุกไปด้วย ทักษะชีวิตของเด็กคงมาจากสภาพแวดล้อมส่วนหนึ่ง เด็กจึงรู้จักต้นไม้มากเกินกว่าที่ครูคาดคิด

*** ตอนนี้พี่กำลังเรียนรู้วิธีบริบาลเป็ดน้อยกับลูกศิษย์ ม.3.7 คนหนึ่ง ซึ่งขาดเรียนทุกเดือนเพื่อภาระ"บริบาลเป็ดน้อย"ที่เขาได้รับมอบหมายจากครอบครัว จริงๆแล้วเราได้เรียนรู้เรื่องใหม่จากเด็กๆทุกปี    ปีที่แล้วก็มีเด็กที่เป้นผู้บริบาลไก่ชนและเป็นเจ้าของซุ้มไก่ชน แม้จะมีอายุเพียง 15 ปี

*** สงสัยต้องรีบง่วงแล้ว...มีเสียงเตือนให้นอน 

       *** รูปนี้ฝากให้น้องติ๋ม

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาเยี่ยมเยียนกัน ช่วงนี้ฝนตกทุกวันเลย... รักษาสุขภาพด้วยนะคะ
  • ด้วยความระลึกถึงค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

               

ดีจังเลยครับ ได้ปฏิบัติจริง นักเรียนจะได้สังเกต ตอนกิจกรรมลูกเสือเคยให้นักเรียนคลำตามเชือก หลงทางไปบ้างก็มี การเรียนการสอนที่เรียนรู้ไปพร้อมนักเรียนก็สนุกดีนะครับ กำลังจะบ่นว่าอาจารย์หายไป ฮ่าๆ

สวัสดีค่ะคุณครู เป็นการเรียนรู้ในบรรยากาศเปียมสุขมากๆ ค่ะ facilitating more teaching ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ธนิตย์มาเยี่ยมและอ่านการเรียนรู้ที่ใช้สัมผัสทั้งห้า น่าจดจำ ไม่มีเหตุผลการเดาก็เป็นสิ่งที่ตอบแล้วพ้นตัว อิอิ

สวัสดีค่ะพี่ธนิตย์

มาเยี่ยม ส่งความคิดถึงจร้า!...

ไม่ได้เข้ามา G22K  หลายวันมากๆ... ยุ่งๆ กับภาระงาน "ศูนย์ซ่อมคอมพิวเตอร์ ศูนย์ที่ 11 สพท.อต.1"  กำลังเร่งซ่อมคอมให้โรงเรียนต่างๆ หน้ามือเลยค่ะ  วันนี้แว๊บๆ เข้ามมาทักทายไว้ก่อนนะคะ

กิจกรรมแบบนี้แหละ ที่ครูควรจัดให้เด็กๆ  เขาจะเรียนอย่างมีความสุข และได้รับประสบการณ์จริง...

ไปก่อนนะคะ... รีบจัง

บ๊าบ..บาย...

 

 

 

 

  •   มาชมกิจกรรมสำหรับนักเรียน   เยี่ยมจริงๆค่ะ
  •   กิจกรรมแบบนี้นักเรียนจึงชอบเรียนวิทยาศาสตร์
  •   ยอดเยี่ยมค่ะ

                     แวะมาทักทายค่ะ

            

 

ชอบ ประทับใจกิจกรรมของครูมาตลอด

เป็นการเรียนรู้ที่ใช้ประสาทสัมผัสครบ ได้ความรู้ ได้ความรู้สึกใกล้ชิดธรรมชาติ เป็นการเรียนรู้ที่มีความสุขจริงๆ

สวัสดีค่ะ....ฝากความคิดถึงมายังสมาชิกทุกคนในครอบครัวคุณครูนะคะ

(พักนี้ห่างๆ G2K มาก เพราะภาระกิจส่วนตัวมันกระชับพื้นที่จนคอดกิ่ว)

  • สวัสดีครับ
  • เด็กๆ มีความจำดีอย่างน่าอัศจรรย์กว่าที่เราคิดครับ ลูกผม อยู่ป.1 จำชื่อคน อะไรเล็กๆน้อยที่ผ่านตา เช่น รถยนต์บางคันไม่มีป้ายทะเบียน รอยตำหนิอะไรที่เราเองไม่ได้สังเกตุ ได้มากอย่างน่าแปลกใจ
  • จึงไม่น่าแปลกใจหรอกครับที่นักเรียนจำได้ขนาดนั้น

สวัสดีครับทานอาจารย์

เป็นการเรียนรู้ที่มีชีวิตอย่างแท้จริง แล้วท่านเรียกว่าเรียนรู้ไปกับนักเรียน ยิ่งถือว่ายอดยิ่งครับ

ขอบคุณที่นำมาแชร์ครับ

สวัสดีครับอาจารย์

สอนสนุกมากครับ

อยากย้อนไปเป็นนักเรียนเรียนกับอาจารย์จังเลยครับ

มาอีกรอบนึง

ชวนไปเยี่ยม  เฌวา ครับ

ความแตกต่างของเด็กนักเรียนรุ่นต่อรุ่นมีให้เห็นประจำ  บางรุ่นเก่งในห้อง  บางรุ่นเก่งกิจกรรม  บางรุ่นเกเรมาก บางรุ่นเกเรน้อย...เฮ้อ ชีวิตครู  ก็ต้องรับทุกให้ได้ทุกรุ่นอยู่แล้ว

เห็นเด็กทำกิจกรรมแล้วก็มีความสุขไปด้วยค่ะ

มาทักทายพร้อม  ชนเผ่ากินคน

ดูไอ้ตัวที่นั่งร้องไห้แล้ว...สงสาร

สวัสดีค่ะอาจารย์ธนิตย์ ใช้หลักสูตร 51 แล้วคงฉลุยกว่าเดิมนะคะ ยังไงก็นำมาแบ่งปันให้น้องๆได้เรียนรู้บ้างค่ะ เดินทางไป รร. วิ่งรถ ระยะ 40 โล ทุกวัน ถ้าไม่ได้ไปกลับด้วยกันก็อาการหนักเลยค่ะ ถ้าไม่แวะตลาดจะกลับเส้นทางคันคลองที่ปลอดรถ หยุดรถปล่อยพวงมาลัยมาจับกล้องกดภาพบรรยากาศไป อิอิ ประสา สองเฒ่า เหอๆ

สวัสดีค่ะ....

มาแวะทักทายพร้อมกับคำทายค่ะ

 

ฉะเหลย......ภาพเคลื่อนไหว

ภาพเคลื่อนไหว   1. เก็บไว้ใช้เอง

คุณเป็นคนอดทนต่อความเจ็บปวดได้เป็นอย่างดี และเลือกที่จะเก็บสิ่งที่เป็นเครื่องเตือนความทรงจำอันเจ็บปวดไว้จนกว่าความเจ็บปวดนั้นจะจางหายไปตามกาลเวลา คุณซื่อสัตย์ต่อตนเองและยอมรับว่ามันเจ็บ คุณรู้ว่าคุณเข้มแข็งเพียงพอที่จะรับมือกับความเจ็บปวดและสวมมันไว้ เหมือนกับเหรียญตราเกียรติยศ แต่สิ่งที่คุณคิดว่า แสดงนิสัยอันแข็งแกร่งของคุณ อาจถูกมองว่าเป็นการแก้แค้นด้วยการไม่ปล่อยให้คนอื่นลืมว่าเขาหรือเธอเคยทำร้ายจิตใจของคุณมากเพียงใด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท