สมรรถนะรังสีเทคนิคกับเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์


สมรรถนะรังสีเทคนิคข้อหนึ่งคือ ต้องสามารถใช้งานเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สำหรับการตรวจสมองผู้ป่วยได้

สวัสดีครับ

วันนี้ผมขอนำเสนอเรื่องการฝึกปฏิบัติงานเกี่ยวกับเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เนื่องจากการกำหนดสมรรถนะรังสีเทคนิคข้อหนึ่งในการประกอบวิชาชีพ คือ นักรังสีเทคนิคต้องมีความสามารถควบคุมและใช้งานเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สำหรับการตรวจสมองผู้ป่วยได้

ct

วันนี้ผมกำหนดให้นักศึกษาเข้าฝึก ตอนแรกให้ฝึกครั้งละ 3 คน โดยผมคอยให้คำแนะนำอยู่ข้างๆ ต่อมาฝึกเป็นรายบุคคล โดยฝึกการสแกนด้วย แบบจำลองศีรษะ ที่มีอยู่ในภาควิชารังสีวิทยา เพราะหากยังไม่มีความรู้ ความชำนาญ ก็ยังไม่สามารถให้การตรวจที่ถูกต้องกับผู้ป่วย ผู้รับบริการได้

ct 

นักศึกษาได้เรียนรู้เทคนิคการตรวจสมองด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ในห้องเรียนมาก่อนแล้ว ต่อมาได้ดูตามห้องตรวจอีกครั้ง แต่ยังไม่ได้ลงมือทำการตรวจเอง เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ม.ขอนแก่น มีอยู่ 2 รุ่น คือ

1. Single slice spiral CT Scan และ

2. Multidetectors CT Scan

ผมให้นักศึกษาฝึกทำการตรวจเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบง่ายๆก่อน คือ Single slice spiral CT Scan เนื่องจากจะได้ทราบแนวทางได้เรียนรู้แบบพื้นฐานก่อน

หลังจากนั้นเมื่อมีความชำนาญ ก็เปลี่ยนไปใช้แบบทันสมัย Multi detectors CT Scan

การเรียนรู้จากห้องเรียนทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้หลักการ ทฤษฎี แต่ไม่นาน... ก็อาจจะ... ลืม

การเรียนรู้จากการดูการแสดง การสาธิต ช่วยทำให้เข้า ได้เห็นภาพพจน์... นักศึกษาอาจเข้าใจ แต่... ไม่ได้ฝึกทักษะ

การให้ฝึกกับเครื่องมือ ได้ฝึกปฏิบัติ... นักศึกษาได้เรียนรู้ถูก รู้ผิด ได้ฝึกทักษะ ได้ฝึกแก้ไขข้อผิดพลาดจากการตรวจในแบบจำลอง

สำหรับนักศึกษาและผู้สนใจ ท่านใดอยากฝึกกิจกรรมแบบนี้ ก็สามารถมาติดต่อผมได้นะครับ

สำหรับฝึกการตรวจด้วยเครื่องมือทางรังสีวินิจฉัยชนิดอื่นๆสำหรับนักศึกษา ผมก็จะต้องตามไปสอดส่อง ดูแลนักศึกษาเป็นระยะๆ ต่อไป ครับ... โปรดติดตาม

หมายเลขบันทึก: 247265เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2009 14:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ ทฤษฎี เดี๋ยวก็ลืม ต้องได้ฝึกปฏิบัติจริง และCase ไหนต้องฉีดสารทึบรังสี หรือไม่ฉีด แม้กระทั้ง ผลLab ออกมา ค่า Cr.2.0mg/dl ฉีดสารทึบรังสีได้หรือไม่ เพราะรพช ไม่มีรังสีแพทย์ มีเฉพาะนักรังสีจึงควรศึกษาข้อมูลด้านนี้ด้วยครับ

เห็นด้วยอย่างยิ่งยวด...ครับ ได้แจ้งในตารางฝึกแล้วครับ

เรียน อ.ต้อมที่เคารพ

สมรรถนะข้อหนึ่งของนักรังสีคือสามารถตรวจ CT Brainได้ แต่สำหรับ รพ.ที่ไม่มีเครื่อง CT จะทำอย่างไรดีคะที่จะช่วยให้ได้ทบทวนทฤษฎี(นอกจากอ่านจากตำรา+อ่านจากblogของอาจารย์)และหากได้ฝึกปฏิบัติเพื่อทบทวนความจำด้วยก็จะดี(ปีละ 1 ครั้ง)แต่ว่าฝึกแล้วไม่ได้ใช้ก็ลืม..แต่ก็ดีกว่าลืมไปเลยซึ่งทำให้ขาดสมรรถนะข้อนี้ไปนะคะ...ขอบคุณค่ะ

ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณอาจารย์มากค่ะ ที่จัดให้มีการสอนแบบฝึกปฏิบัติจริงแบบนี้ ทำให้เพิ่มทักษะและจดจำได้ดีขึ้น สามารถเข้าใจได้ดีขึ้นเมื่อได้ลงมือทำจริง และ เมื่อได้ฝึกบ่อยๆ เริ่มจะสนุกและอยากเรียนรู้มากขึ้นค่ะ

ดีมากๆๆครับอาจารย์ เรียนทฤษฎีแล้ว ต้องมาทำจริงๆๆให้เกิดความจำ เข้าไปในส่วนลึกของความรู้สึกแห่งตัวตน 

 เวลาเห็นเครื่องมือจะได้ไม่ตกใจ สามารถตรวจคนไข้ได้ทันที          RTMDKKU.."ทำงานได้ทันที ทำได้ดีทุกประเภท" ครับผม..

เรียน ผศ.เพชรากร ครับ

การฝึกทำเป็นการเรียนที่ไม่ลืมจริง ๆ ครับ ได้รับความคุ้นเคย ได้ใช้ ได้ประยุกต์ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เรียนมา แล้วก็จะติดตัวไปตลอดเลยครับ เก็บรายละเอียดได้ดีกว่าการอ่านเพื่อสอบ ครับผม ขอบคุณมากครับได้อ่านเรื่องที่เป็นประโยชน์มาก

เรียน ทุกท่านที่แวะมาเยี่ยม

ขอบคุณ ครับ

หวังว่าการฝึกฝน การเป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตอย่างหนึ่ง

ทำมาก ได้มาก (สิ่งที่ดีๆ ความสุขใจ)

ฝึกมาก เรียนรู้มาก เห็นข้อผิดพลาด แก้ไข ปรับปรุง

ไม่ทำ ไม่รู้ ครับ

อยากทราบว่า Trauma case จะต้องถ่ายกี่ serie และอะไรบ้างอ่าค่ะ

อาจารย์ต้อมค่ะขอรบกวนเรื่องข้อมูลเกี่ยวกับสรรถนะของเจ้าหน้าที่รังสีการแพทย์และนักรังสีการแพทย์ว่ามีอะไรบ้างพอดีมีหนังสือมาจากกระทรวงให้ทำเรื่องปรับตำแหน่งเพื่อว่าโซจะได้ปรับตำแหน่งสักที

ขอขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

เรียน คุณสิริยานันท์

Trauma case สิ่งที่ควรทำ

1.Scan base of skull 5 mm mid+high brain 8-10 mm (with non contrst only)

2.Resonstruction -> bone ww 2000 wl 200-400 and soft tissue ww 100-200 wl 30-60

(ด้วยการใช้ Algirithm, filter, or Kernel)

เรียน คุณผกาทิพย์

มีครับ แล้วจะส่งไปให้ ครับ

เรียนอ.ต้อม

รบกวนขอข้อมูลเกี่ยวกับสมรรถนะของนักรังสีและจพง.รังสีด้วยค่ะที่รพ.อาจจะใชตัวนี้ในการประเมินเงินเดือนค่ะ

ขอบคุณพี่ต้อมล่วงหน้า

( พี่จิ๊บ;พี่โมท;พี่ฟี่และพี่อ็อดพี่บุญส่งและอีกหลายคนรอพี่ต้อมกะว่าจะเจอกันที่บางไทร)

อาจารย์ต้อมค่ะ ดิฉันรบกวนขอข้อมูลเกี่ยวกับสรรถนะของบุคลาการที่ปฏิบัติงานด้านรังสีน่ะค่ะว่ามีอะไรบ้าง พรุ่งนี้จังหวัดกาฬสินธุ์ นัดประชุมเรื่องการจัดทำ fuctional Competeccy ทั้ง เรื่อง ระดับ พฤติกรรมบ่งชี้ รวมถึง รูปแบบของการประเมิน ดิฉันรบกวนอาจารย์ ด้วยน่ะค่ะ เผื่ออาจารย์มีข้อมูลร่วมแชร์น่ะค่ะ ขอบพระคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท