รู้เครื่อง รู้ขั้นตอนการตรวจกับเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์


นักรังสีเทคนิคเป็นผู้ควบคุมเครื่องเอกซรย์ เพื่อช่วยในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคให้แก่ผู้ป่วย ดังนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจในเครื่องมือและขั้นตอนต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการตรวจ เพื่อให้ได้ผลการตรวจที่มีคุณภาพดี เป็นประโยชน์ต่อผู้รับบริการ

สวัสดีครับ

วันนี้ขอนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับนักศึกษารังสีเทคนิค ที่เข้ามาฝึกการตรวจสมองจากแบบจำลองด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์กับผม

นักรังสีเทคนิคเป็นผู้ควบคุมเครื่องเอกซรย์ เพื่อช่วยในการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรคให้แก่ผู้ป่วย ดังนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจในเครื่องมือและขั้นตอนต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการตรวจ เพื่อให้ได้ผลการตรวจที่มีคุณภาพดี เป็นประโยชน์ต่อผู้รับบริการ

ในการตรวจวินิจฉัยนี้ นักศึกษารังสีเทคนิค ควรเริ่มต้นจากการศึกษาเกี่ยวกับเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ใช้หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องว่า มี พารามิเตอร์ (Parameter) ที่เกี่ยวข้องอะไรบ้าง จากนั้นตามด้วยขั้นตอนการตรวจ (Protocol) ที่กำหนดไว้

ct 

ในภาพแสดงลำดับขั้นตอนการสแกนจากเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ Toshiba Ex vision ที่กำหนดไว้ในโปรแกรมการตรวจสมองผู้ป่วยประสบอุบัติเหตุที่สมอง

1. Scanoscopy = Topogram = Scout เป็นขั้นตอนการถ่ายภาพของบริเวณที่สนใจ ในที่นี้ คือ สมองด้านข้าง (Lateral view)

ct 

 

2. บริเวณหน้าจอภาพและแผงควบคุมการตรวจจะปรากฏลำดับขั้นตอนการตรวจ

ภาพบน แสดงลำดับที่กำหนดไว้ใน Protocol ที่หน้าจอภาพ

ภาพล่าง เป็นพารามิเตอร์ที่แผงควบคุมขณะใช้งาน

 

ct

3. ภาพแสดงรายละเอียดภายในของโปรแกรมที่เกี่ยวข้องการ Scanoscopy จะเห็นว่ากำหนดใช้ 50 mA เหตุผลที่เลือกใช้ mA ต่ำ เพื่อช่วยลดปริมาณรังสี ระยะการสแกน(การวาดภาพ) = 250 mm (คลุมสมองลงมาถึงปลายคาง) แต่ถ้าหากจะลดพื้นที่การตรวจลงน้อยกว่า 250 mm ก็จะช่วยลดปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยมีโอกาสได้รับลง (หลักการป้องกันอันตรายจากรังสีอย่างหนึ่ง)

 

ct

 

4. เมื่อการทำตรวจ Scanoscopy เรียบร้อยแล้ว

ภาพของกะโหลกศีรษะก็จะปรากฏขึ้น

ต่อจากนั้นจะเข้าขบวนการ Scan plan

เพื่อวางแผนการตรวจ

ในภาพจะเห็นว่ามีบางส่วนของรังสีครอบคลุมใต้ลงมาจากสมองถึงโพรงอากาศ (กรอบสี่เหลี่ยมและมีเส้นปะ)

ดังนั้นนักรังสีเทคนิคต้องแก้ไขใหม่ โดยเปลี่ยนตำแหน่งกรอบที่ปรากฏนั้นใหม่ เลือกให้คลุมพื้นที่การตรวจที่สนใจ และเอียงลำรังสีเอกซ์ หลบให้พ้นบริเวณลูกตาของผู้ป่วย เพื่อช่วยลดปริมาณรังสีบริเวณลูกตา

 

scout 

 

5. การเอียงลำรังสีใหม่ เลือกโดยให้เส้นตัวแทนลำรังสีขนานกับฐานกระโหลก ใกล้ต่อมใต้สมองในบริเวณฐานสมอง นิยมฉายรังสีลำแคบ ที่มีความหนา(Slice thickness)ลำรังสี  ประมาณ 5 mm. เพื่อต้องการศึกษารายละเอียดหรือตรวจหาความผิดปกติที่มีขนาดเล็กในสมองได้ดี ลดปัญหาภาพรบกวนที่เรียกว่า Beam Hardening Artifact

 

ct 

 

6. เมื่อวางแผนการตรวจแล้ว เริ่มเข้าขบวนการสแกน ดังพารามิเตอร์ที่แสดงข้างล่าง โดยเลือกเทคนิค Scan & View นักรังสีเทคนิคควรทราบพารามิเตอร์ต่างๆในนี้ เช่น

mA สูง ในสแกนเนื่องจากใช้รังสีลำแคบ ถ้าปริมาณรังสีที่ออกมีปริมาณน้อย คุณภาพของภาพจะไม่ดี

การกำหนดความหนาชั้นที่ตัด (Slice thickness) เลือกขนาดให้เหมาะสมกับอวัยวะที่ต้องการดู อวัยวะขนาดเล็ก ควรใช้ Slice thickness เล็ก เป็นต้น

 

ct

 

7.เข้าขบวนการสแกน เพื่อตรวจวินิจฉัยตาม Protocol ที่กำหนด จนได้ภาพสมองตามที่ต้องการ แต่เมื่อภาพ (Image data) มีข้อบกพร่องหรือต้องการเปลี่ยนแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่แสดงลักษณะเฉพาะของเนื้อเยื่อ (Algorithm) เราสามารถเข้าไปแก้ไขในข้อมูลดิบ (Raw data) และเลือกเปิด Window Width และ Window Level ให้เหมาะสม

 

ct

 

 

สรุป : นี่เป็นส่วนหนึ่งของรายละเอียดที่ต้องการนำเสนอ เพื่อให้นักศึกษารังสีเทคนิคและผู้สนใจรับทราบเกี่ยวกับการตรวจสมองด้วยเครื่อง Single slice spiral CT Scan รวมถึงคำศัพท์เฉพาะในวิชาชีพ ก็ไม่ควรจะลืม

 

ในการทำงานใดๆ หากผู้ที่ปฏิบัติงานมีความรู้ ความเข้าใจ ใส่ใจ ตั้งใจ มีสติ ร่วมกับการที่มีทักษะที่ดี ย่อมเป็นหนทางไปสู่การบริการที่มีคุณภาพ

 

การรู้จักเครื่องมือ

ทำให้เราสามารถให้เครื่องมือได้คล่องแคล้ว รวดเร็ว ถูกต้อง และสามารถใช้ได้เต็มประสิทธิภาพที่เครื่องมี

 

สามารถลดความผิดพลาด สามารถแก้ไขปัญหา ข้อบกพร่องที่อาจเกิดขึ้นจากเครื่องได้

 

การรู้จักขั้นตอนการตรวจ

ผู้รับบริการได้ประโยชน์ มีความมั่นใจ ปลอดภัย อุ่นใจ

ลดระยะเวลาการรอคอย

ประหยัดในหลายด้านที่เกี่ยวข้อง

 

ผมหวังว่า... นักรังสีเทคนิค จะเป็นนักรังสี(ที่มี)ทคนิค สามารถนำประสบการณ์ ความรู้ ทักษะที่มีอยู่ มีการพัฒนาตนเอง(อยู่เสมอ) แก้ข้อด้อย เสริมข้อเด่นของตนเอง เพื่อทำประโยชน์ให้แก่ของมวลชน ครอบครัว และตนเอง ต่อไป ครับ

หมายเลขบันทึก: 247693เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2009 11:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ได้รับความรู้ดีทีเดียวค่ะเพระบางอย่างก็เกือบจะลืมไปแล้ว อยากให้อาจารย์นำความรู้มาเล่าสู่กันฟังอย่างนี้เรื่อยๆ ตอนนี้มีปัญหาว่าอยากทำ CT.ให้เก่ง อ.ช่วยแนะนำ เทคนิคหน่อยนะคะ ขอบคูณล่วงหน้าค่ะ

เรียน อ.ต้อมที่เคารพ

อ่านแล้วได้ทบทวนความรู้เรื่องเทคนิคพื้นฐานการตรวจ CT Brain ดีมากค่ะ ขอบพระคุณมากนะคะ แล้วจะติดตามอ่านตอนต่อไปนะคะ..

เรียน ผศ.เพชรากร ครับ

           เทคนิคดีมากครับ ต้ิองขอนุญาตรับคำแนะนำตั้งแต่การถ่ายภาพหน้าจอที่คมชัด มาลงเล่าเรื่องให้ความรู้ครับ เพราะ การถ่ายรูปจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ที่จะได้ภาพคมชัดอ่านตัวหนังสือได้ทุกตัว ต้องเรียนรู้เทคนิคจากท่านอาจารย์อย่างมากเลยนะครับ จะอ่านบ่อย ๆ ครับ

ต้องขอบคุณอาจารย์ต้อมมากค่ะ

วิชาชีพนักรังสีต้องมีเทคนิค และเทคนิคต่างๆที่เราใช้สามารถที่จะบ่งบอก

ความเป็นวิชาชีพได้เป็นอย่างดี

ขอขอบคุณวิชาความรู้ที่อาจารย์มอบให้ค่ะ

สวัสดีครับ

ดีใจครับที่ข้อมูลที่นำเสนอเป็นประโยชน์ สำหรับทุกท่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท