เทคนิคการใช้ไมค์ให้เกิดประสิทธิภาพ


  การเป็นนักพูด   ครู - อาจารย์  หรือนักแสดงไมโครโฟนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ดังนั้น นักแสดง นักพูด  จึงจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้วิธีการใช้ไมโครโฟน ให้ถูกต้องกับลักษณะ  ที่ผู้ผลิตได้ผลิตขึ้นมา เพื่อใช้งานแต่ละประเภทดังนี้ 

บูม ไมโครโฟน ( Boom Microphon )

      เป็นไมโครโฟนที่มีคันยื่นออกไป  มีไมโครโฟนยื่นอยู่ตรงปลายคันที่ยื่นนั้น  โดยมีเจ้าหน้าที่คอยหมุนตัวคันยื่น  ให้เคลื่อนไหวไปใกล้ผู้แสดง เพื่อรับเสียงให้ได้ดี วิธีใช้ที่ถูกต้องของไมค์ประเภทนี้คือ

     1. ต้องรอให้บูมไมโครโฟนหมุนตัวมาใกล้ตัวก่อนจึงค่อยพูด  (ในกรณีที่ฉากแสดงนั้น มีผู้ใช้บูมตัวเดียวกันหลายคน) ผู้แสดงต้องระวังไม่ควรยืนนิ่งรอไมโครโฟนนาน ๆ เพราะผู้ชมทางบ้านอาจไม่ทราบว่าท่านยืนเฉย ๆ อยู่หน้ากล้องเพื่อทำอะไรกัน ทางที่ดีควรจะยิ้ม เพื่อให้ผู้ชมรู้ว่าท่านพร้อมแล้ว แต่อุปกรณ์บางอย่างที่ท่านจะใช้ยังไม่พร้อมสำหรับท่าน นักแสดงที่ชำนาญบางคนอาจจะใช้วิธีพูดว่า "ไมโครโฟนที่รักกำลังมา"  หรือท่านอาจจะใช้วิธีอย่างใดก็ได้ เพื่อให้ผู้ชมไม่รู้สึกสะดุดอารมณ์

     2. เมือ่ท่านเห็นว่าบูมไมโครโฟนขัดข้อง เกิดขัดข้องไม่หมุนตัวมาหาท่าน อย่าเสียขวัญ จงทำใจให้เป็นปกติ ปล่อยหน้าที่การแก้ไขให้เป็นเรื่องของผู้ควบคุมไมโครโฟนที่รับผิดชอบในเรื่องนี้ อย่าพูดอะไรออกไปทั้งๆที่รู้ว่าเสียงที่ท่านพูดนั้นผู้ชมจะไม่ได้ยิน

     3. การเคลื่อนไหวร่างกาย เมื่อใช้บูมไมโครโฟนต้องช้า ๆ เพื่อเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่บูม ปรับทิศทางไมโครโฟนรับเสียงท่านให้ดี  จงอย่าพูดในขณะที่เคลื่อนไหวร่างกายเร็ว ๆ

   4. อย่าก้มหน้าพูดกับบูมไมโครโฟน ถ้าจำเป็นต้องพูดกับบุคคลที่อยู่ในระดับต่ำกว่า เช่นพูดกับเด็กหรือผู้ที่นั่งอยู่ ควรจะย่อตัวลงให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับผู้ที่ต้องพูดด้วย เพื่อโปรดโอกาสให้บูมลดระดับต่ำลงมา ซึ่งจะช่วยให้ระดับเสียงทั้งสองฝ่ายมีความชัดเจนเท่ากัน

   5. ในกรณีผู้พูดร่วมพูดกับท่านที่เดียวกัน มีเสียงพูดเบากว่าท่าน ท่านจะต้องลดระดับเสียงการพูดของท่านให้เบาลง เพื่อให้ระดับเสียงที่บูมไมโครโฟนจะรับได้เท่ากัน

   6. การพูด บูมไมโครโฟนใกล้กับผนังตึก หรือสิ่งก่อสร้างที่แน่นหนาจะทำให้เกิดเสียงสะท้อนหรือเสียงก้อง

   7. ต้องไม่เคลื่อนตัวของท่าน เข้ามาจนชิดตัวติดตั้งบูม เพราะจะทำให้ไมโครโฟนที่ติดห้อยอยู่ปลายบูมไม่สามารถรับเสียงของท่านได้ดี หรืออาจรับไม่ได้เลย

   8. เมื่อจะลุกขึ้นจากที่นั่ง ควรจะลุกช้า ๆ ไม่เช่นนั้นศีรษะของท่านอาจจะไปชนกับไมโครโฟน เพราะเจ้าหน้าที่ปรับบูมไม่ทัน

ไมโครโฟนมือถือ ( Hand MicroPhone )

     การถือไมโครโฟนพูด ผู้พูดควรจะต้องระมัดระวังดังต่อไปนี้

   1. ผู้พูดต้องมีความเข้าใจว่า ไมโครโฟนที่ใช้พูดนั้นมีความไวต่อการรับเสียง ดังนั้นจึงหยิบใช้ด้วยความนิ่มนวลเป็นพิเศษ อย่าให้มีเสียงดังก๊อกแก๊กสอดแทรกกับเสียงของท่าน และเมื่อใช้เสร็จแล้วต้องวางอย่างเบา ๆ ไม่ให้เสียงกระทบที่วาง ดังออกอากาศ  ถ้าหากไมค์นี้เกิดตกจากมือ จะต้องตรวจสภาพการทำงานของไมโครโฟนทันที ว่ายังใช้การได้หรือเปล่า

  2. เมื่อจำป็นจะต้องหยิบไมโครโฟนเดินไปไกลต้องพิจารณาดูว่าความยาวของสายไมโครโฟนนั้นยาวพอถึงที่ที่ท่านจะเดินไปหรือไม่การดึงสายต้องไม่ดึงจนตรึงมือ เมื่อเห็นว่าสายตึงไม่มาอย่าดึงต่อ

   3. การใช้ไมโครโฟนถือในห้องส่ง ไม่ควรจะพูดให้ติดริมฝีปากมากนัก เพราะมีเจ้าหน้าที่ควบคุมเสียงคอยแต่งเสียงให้ท่านอยู่แล้ว เว้นแต่ในกรณีที่สถานที่นั้นมีเสียงรบกวนมาก จึงจำเป็นจะต้องพูดติดริมฝีปาก

   4. เมื่อใช้ไมโครโฟนถือสัมภาษณ์บุคคล อย่าใช้วิธีการสลัดไมโครโฟนไปรับเสียงผู้ให้สัมภาษณ์จะสดุ้งตกใจกลัวไมค์จะถูกหน้าควรใช้วิธีถือไมค์ให้อยู่ใกล้ผู้ให้สัมภาษณ์  แล้วตัวผู้สัมภาษณ์พูดดังกว่าปกติพอที่ไมค์จะรับเสียงได้  ในกรณีที่มีผู้ให้สัมภาษณ์หลายคนแย่งกันสัมภาษณ์ ควรยื่นไมค์ของเราให้ใกล้ปากของผู้ให้สัมภาษณ์มากที่สุด  โดยไม่ต้องคำนึงถึงเสียงผู้ถาม เพราะสามารถเพิ่มเติมในห้องส่งของสถาณีได้ภายหลัง

   5. เมื่อต้องใช้ไมค์ถือเพื่ออ่านข้อความใดควรคำนวณระยะห่างของไมค์กับปากไว้ให้ดี เมื่อต้องหยุดอ่านแล้วกลับมาอ่านใหม่ ควรให้มีระยะเท่าเดิม เพื่อระดับเสียงจะได้อยู่ในระดับเดียวกันกับครั้งแรกที่อ่าน

  6. เมื่อจำเป็นต้องใช้มือทั้งสองข้าง ช่วยในการอธิบายประกอบคำพูดจงใช้แขนหนีบไมค์ (คอไมค์) ให้ส่วนที่รับเสียงสามารถรับเสียงได้ชัดเจนพอสมควร

   7. ในกรณีที่ต้องใช้ไมค์ถือหลายตัว ในสถานที่แห่งเดียวกัน ควรจะรู้ว่าไมค์แต่ละตัววางไว้ที่ไดบ้าง เมื่อหยิบไมค์อีกตัวขึ้นใช้ ควรวางตัวที่ใช้อยู่ก่อนเบา ๆ  อย่าให้เสียงวางกระทบพื้นดังออกอากาศ

ไมโครโฟนแบบตั้งโต๊ะ (Desk Microphone)

      ไมโครโฟนแบบตั้งโต๊ะนั้น ส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่จะจัดตั้งโดยวัดระดับเสียงไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้วว่าเหมาะสมกับไมค์ที่จะใช้อย่างไร ดังนั้นผู้พูดควรระวังดังนี้

   1. การใช้ไมโครโฟนในห้องส่งนั้น เจ้าที่ควบคุมจะพิจารณาความเหมาะสมไว้เป็นการล่วงหน้าแล้ว ดังนั้น ผู้พูดจึงไม่ควรไปจับไมค์เคลื่อนที่จากที่เจ้าหน้าที่วางไว้ เพราะจะทำให้คุณภาพการรับเสียงของไมค์ไม่ดีเท่าที่ควร

   2. เมื่อนั่งพูดไมโครโฟนตั้งโต๊ะ ระวังอย่าใช้มือเท้าเคาะโต๊ะ เพราะเสียงเคาะที่ท่านคิดว่าเพียงเบาๆ นั้น ไมจะรับเสียงออกไปขยายให้ดังรำคาญผู้ฟังอย่างมาก

   3. อย่าชะโงกตัวข้ามโต๊ะที่ตั้งไมโครโฟน เพื่อฟังคำถามผู้อื่น เพราะนอกจากจะทำให้เสียงไม่น่าฟังดังผ่านไมค์ออกไปแล้ว ท่าทางที่ท่านทำเช่นนั้นก็ไม่น่าดู

ไมโครโฟนแบบยืนพูด ( Stand Microphone)

     ไมโครโฟนแบบนี้มีขาตั้งสูงระดับตัวคน โดยมีตัวไมโครโฟนอยู่ส่วนบนขาตั้ง วิธีใช้ไมโครโฟนประเภทนี้

  1. ไม่ควรเอามือไปจับที่ตั้งไมค์ เพราะเสียงขยับเขยื่อนที่ตั้งไมค์จะดังออกอากาศไปด้วย

   2. ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ไมโครโฟน ได้ตั้งระดับความสูงที่เหมาะสมกับการพูดของท่านไว้แล้ว ท่านไม่ควรจะไปขยับที่ตั้งไมค์ให้สูงขึ้นหรือต่ำลง โดยไม่จำเป็น เพราะนอกจากจะทำให้เกิดเสียงรบกวนแล้ว ยังให้ทำให้คุณภาพของเสียงด้อยลงไปด้วย

ไมโครโฟนแบบห้อยคอ ( Lavallore Microphone)

     ไมโครโฟนแบบหอยคอหรือเหน็บที่ติดเสื้อ มักจะเป็นไมโครโฟนประเภทเล็ก กระทัดรัดเหมาะกับการใช้เฉพาะตัว ผู้ใช้ควรเข้าใจวิธีใช้ดังนี้

   1. สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องไม่ลืมเปิดสวิทต์ให้ไมค์ก่อนที่จะค้องคอหรือติดที่เสื้อ ผู้ที่มีความชำนาญในการใช้ไมค์ประเภทนี้ มักจะถือไมค์พูดตอนเริ่มใช้งาน แล้วจึงค่อยแขวนหรือเหน็บที่เสื้อภายหลัง

   2. ท่านที่ไม่ชำนาญใช้ไมค์ประเภทนี้ ควรให้เจ้าหน้าที่เป็นผู้จัดการห้อยหรือเหน็บไมค์ให้กับท่าน และตั้งระดับเสียงให้ท่านก่อนพูดจริง

   3. ต้องไม่ให้สายห้อยไมค์ กระชับแน่นคอเกินไป และระวังสายไมค์ที่ท่านจะต้องใช้ไว้ด้วย ท่านจะเคลื่อนตัวไปทางไหนต้องดึงสายไมค์มาเตรียมไว้ให้พร้อมก่อนที่จะลุกขึ้นเดิน ไม่เช่นนั้นสายไมค์จะดึงคอท่านจนหน้าเกลียด

  4. ถ้าจะนำไมค์ห้อยมาถือพูด ต้องไม่ถือไมค์กระชับแน่นอยู่ในฝ่ามือเพราะจะทำให้เกิดเสียงรบกวนขึ้นได้

   5. อย่าใช้ไมค์ที่ห้อย หรือเหน็บอยู่กับตัวท่านสัมภาษณ์ผู้อื่น เว้นไว้แต่ว่าท่านจะถอดออกมาถือเพื่อใช้งานดังกว่าว ถ้าไมค์ยังติดอยู่กับตัวท่านแล้วจะไม่สามารถรับเสียงจากผู้อื่นได้เลย

ไมโครโฟนไม่มีสายหรือ เอฟ.เอ็ม. ไมโครโฟน ( Wireless  of FM. Microphone)

       ไมโครโฟนแบบไม่มีสายติดตัวไมโครโฟน ต่อไปเข้าเครื่องขยายเสียง คงมีสายสั่น ๆ ยาว ๆ ประมาณ 1 ศอก ซึ่งทำหน้าที่เหมือนสายอากาศตัวไมค์  ปัจจุบันไม่ค่อยได้เห็นนัก เพราะความเจริญทางด้าน IC ช่วยให้กระทัดรัดขึ้นไม่เกะกะ  เนื่องจากภายในตัวไมโครโฟนประเภทนี้ มีเครื่องส่ง เอฟ. เอ็ม อยู่ด้วย ดังนั้น สถานีบางแห่งจึงเรียกไมค์แบบนี้ว่า เอฟ.เอ็ม ไมโครโฟน หรือเรียกว่าไวเลสส์ไมโครโฟน

      การใช้ไวเลสส์ไมโครโฟนมีสิ่งที่ควรระวังคืออย่าไปจับสายสั้น ๆยาวประมณ 1 ศอก ที่เปรียบเสมือนสายอากาศนั้น  เพราะจะทำให้การทำงานของไมค์ไม่ดีเท่าที่ควร ต้องปล่อยให้สายอากาศนั้นห้อยโดยไม่ต้องไปแตะต้องมัน ไมโครโฟนแบบนี้ที่ตอนนี้  เวลามีคอนเสริ ต์ดารา-นักร้องใช้ในการแสดงส่วนใหญ่จะมีสายอากาศเป็นโลหะสั้นๆประมาณ 4 นิ้ว ทำหน้าที่เป็นสายอากาศ  และมีประสิทธิภาพในการทำงานดีมาก

      ไวเลสส์ไมโครโฟน  เหมาะแก่การใช้งานประเภทที่จะต้องเคลื่อนไหวรวดเร็ว และเคลื่อไวในระยะไกล ๆ เกินความยาวดดยปกติของสายไมโครโฟนโดยทั่วไป  

ข้อควรระวัง

     ระยะห่างในการจับไมค์ไม่เกินหนึ่งคืบ  ไม่ควรจับไมค์ที่ส่วนบนจะเกิดอาการฟีดแบค์   ไมค์อย่าอยู่ด้านหน้าลำโพง  โดยที่วอยส์ตรงกับวอยส์ลำโพงพอดี ควรตั้งลำโพงให้ลำตัวผู้พูด จะไม่มีผลต่อระบบการกระจายเสียงที่ออกจากลำโพง  เร่งเสียงแหลมเกินครึ่ง เสียงจะบี้และมีเสียงฮัมมาก ควรเพิ่มเสียงทุ้มจะนุ่มกว่า

 

                        ธานี ภู่นพคุณ Tphunopakun @ hotmail.com

                                                       

คำสำคัญ (Tags): #rnm
หมายเลขบันทึก: 95561เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2007 11:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ขอบคุณค่ะที่สอนวิธีใช้ไมค์อย่างง่ายๆ แล้วอย่าลืมสอนอย่างไรให้ร้องเพลงเราะน่ะค่ะ

บอสครับ  ปิดเทอมที่ผ่านมาไปเที่ยวที่ไหนมาบ้าง

เอารูปสวย ๆ มาให้ดูบ้างนะครับ

จะหาซื้อไมค์ไวเรทไว้แสลงลิเกได้ที่ไหนและราคาเท่าไรค่ะช่วยแนะนำด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท