แนะนำ Knowledge Captor: KC ศวพถ.


แก้อย่างอื่นไม่ได้เราก็แก้เอาโดยการสร้างสะพานเชื่อม ซึ่งมองว่าดีกว่าถมจนตัดขาด หรือดีกว่าอ้อมไปเสียไม่ข้ามผ่าน เชื่ออย่างนั้น

     หลายวันมานี้แทบไม่มีเวลากระดิกกระเดี้ยตัวได้ แต่มีภาระหนึ่งที่ต้องเตรียมการให้เรียบร้อยคือการจัดการเพื่อเตรียมให้ทีมงานซึ่งเป็นผู้ที่จะมาทำหน้าที่จับก้อนความรู้จากกิจกรรมการขับเคลื่อนงานของ ศวพถ. และที่ ศวพถ.มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย อย่าง สพช.ภาคใต้ ให้สามารถทำงานได้ และเขาทั้งสองคนที่จะแนะนำต่อไปนี้ก็จะเป็นผู้ที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ เหล่านั้นผ่านบันทึกใน G2K แห่งนี้ นัยว่าแทนผมที่ไม่ค่อยได้ทำหน้าที่นี้อีกเลย (น้อยมาก) ในช่วงเวลาที่ผ่านมาเป็นปี นับแต่เราทีมงานไตรภาคีฯ ได้รวมตัวกันและค่อย ๆ ขยายมาเป็น ศวพถ.อย่างในปัจจุบัน (รายละเอียดคงจะมีการเล่าไปเรื่อย ๆ ในแต่ละบันทึกของแต่ละคน)

     คนแรกเป็นคนที่เข้ามาก่อนสักประมาณ 9-10 เดือนที่ผ่านมา เจตนาเพื่อมาสั่งสมประสบการณ์ และเรียนรู้การทำงานสุขภาพชุมชนที่แท้จริง หลังจากจบการศึกษาวิทยาศาสตรบัญฑิต สาขาการสาธารณสุขชุมชน มรภ.สงขลา เป็นคนควนโดน จ.สตูล หลังจากที่เข้ามาแล้วก็ต้องมาตกในวังวนงานที่เป็นงานเลขานุการ ธุรการ และการเงินเสียมาก งานที่เป็น Knowledge Captor ดูจะน้อยไป และยังไม่ค่อยได้นำเสนอสู่สาธารณะมากนัก น้องเยาะ หรือ ฮอดีเยาะ หลีเยาว์ เขาจะเขียนบันทึกที่ ศวพถ. สำหรับหน้าประวัติดูได้จาก น้องเยาะ (ศวพถ.) สำหรับประเด็นการเขียนบันทึกก็จะเขียนสะท้อนในส่วนที่เป็นมุมของการเคลื่อนงานของ ศวพถ.เป็นหลัก รวมถึงการดูแล/ติดตามข่าวสารจาก Blog ต่าง ๆ ใน Planet CoP ศวพถ. แล้วนำมาบอกเล่า/แลกเปลี่ยนกับทีมงานที่ไม่สามารถเข้าถึงบันทึกต่าง ๆ นั้นได้เอง

  <table border="0"><tbody><tr>

     คนที่สองเป็นคนที่เพิ่งจะเข้ามาช่วยงานเมื่อต้นเดือนนี้เอง เจตนาเดียวกันกับคนแรกคือเพื่อมาสั่งสมประสบการณ์ และเรียนรู้การทำงานสุขภาพชุมชนที่แท้จริง หลังจากจบการศึกษาวิทยาศาสตรบัญฑิต สาขาการสาธารณสุขชุมชน มรภ.สงขลา เป็นคนนาทวี จ.สงขลา น้องไก่ หรือ จุฑามาศ มากเมือง (ที่เจ้าตัวบอกว่าหากจะเรียกว่ามากเรื่องก็ไม่โกรธ เพราะยังดีกว่าเรื่องมาก) เขาจะเขียนบันทึกที่ สพช.ภาคใต้ สำหรับหน้าประวัติดูได้จาก น้องไก่ (ศวพถ.) สำหรับประเด็นการเขียนบันทึกก็จะเขียนสะท้อนในส่วนที่เป็นมุมของการเคลื่อนงานของ สพช.ภาคใต้ เป็นหลัก รวมถึงการดูแล/ติดตามข่าวสารจาก Blog ต่าง ๆ ใน Planet CoP สพช.ภาคใต้ แล้วนำมาบอกเล่า/แลกเปลี่ยนกับทีมงานที่ไม่สามารถเข้าถึงบันทึกต่าง ๆ นั้นได้เอง

</tr></tbody></table><p>     ทั้งสองคน เป็นศิษย์ผมตอนที่เรียนในวิชาเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข แต่คนละรุ่นปีกัน เขาจึงเป็นุร่นพี่รุ่นน้องกัน ซึ่งเมื่อน้องไก่ซึ่งเป็นรุ่นน้องเข้ามาคงพอที่จะได้แบ่งเบางานของน้องเยาะไปได้ในบางส่วน หน้าที่ที่เป็น Knowledge Captor คงจะได้ทำได้เต็มที่ขึ้นทั้งสองคน เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของ ศวพถ.ที่จะมีขึ้นทุก 2 เดือน ในลักษณะการเข้าค่ายหมุนเวียนกันไปตั้งค่าย ณ บ้านแกนนำแต่ละคนที่เข้าคิวรอกันอยู่ ก็จะเป็นเวทีที่พวกเราโดยเฉพาะคนที่เข้าไม่ถึง G2K ได้ ได้เรียนรู้ผ่านตัวแทนของเราคือน้องเยาะและน้องไก่ต่อไป</p>

     น้องเยาะและน้องไก่คงจะทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมประสานความรู้ ความคิด ประสบการณ์ และอีกหลาย ๆ อย่าง อย่างกลับไปกลับมาทั้ง 2 ด้าน ซึ่งเราพบปัญหาของเรามานานแล้วในเรื่องการเข้าถึงเทคโนโลยี ของคนที่ทำงานเกาะติดกับชุมชนจริง ๆ มักจะมีเวลาไม่เพียงพอ ภาคประชาชนที่เป็นแกนนำร่วมกับเรา ศวพถ.ก็ยิ่งยากที่จะเข้าถึง แก้อย่างอื่นไม่ได้เราก็แก้เอาโดยการสร้างสะพานเชื่อม ซึ่งมองว่าดีกว่าถมจนตัดขาด หรือดีกว่าอ้อมไปเสียไม่ข้ามผ่าน เชื่ออย่างนั้น และเชื่อว่าทั้งสองคนจะได้ผลลัพธ์ที่เป็นผลพลอยได้ (Positive Impact) จากการทำอย่างนี้ ยังไงแล้วคงต้องฝากฝังเข้าสู่วงการด้วย หากใครมีอะไรจะแนะนำและให้ข้อคิดแก่น้อง ๆ ก็เรียนเชิญไปที่ Blog ตาม Link ข้างต้นนะครับ

หมายเลขบันทึก: 170944เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2008 23:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ผลพลอยได้ (Positive Impact)อาจจะเกินคาดก็ได้นะครับ อาจจะเป็นผลลัพธ์ในใจของใครบางคนไปเลย นับว่ายุทธศาสตร์สร้างสะพานเชื่อม ไม่เกิดอาการถมถนนจนตัดขาดจากกัน และไม่เกิดอาการเดินอ้อมเสียจนไม่ข้ามผ่าน

นายหัวลูกพี่ฉลาดล้ำลึกจริงๆ นับถือๆ....อย่างห่างหน้าจอไปนานนะขอรับ...เข้ามาติดตามอาการมั่งคิดถึงๆ

เข้าไปอ่านตามลิงก์แล้วครับ....รับมาเข้า โรงเรียนคุณอำนวย...

ติดตามอยู่นะคะน้องชาย

ยินดีด้วยกัยทีม ศวพถ. นะคะ

สวัสดีครับ ครูนงพี่บ่าวที่รักและนับถือ

     ขอบคุณพี่บ่าวมากครับ ยังไงก็ฝากน้อง ๆ ให้เขาได้ร่วมเรียนรู้ด้วยนะครับ

สวัสดีครับ พี่หนิง

     ขอบคุณนะครับ ยังไงก็เชิญไปพบปะ B2B กับน้อง ๆ เขาบ้างนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท