การตัดพลังคนชายขอบด้วยการสังคมสงเคราะห์


“คน” ยังไม่เปลี่ยนไปมากนัก และอีกกรณีหนึ่งการสังคมสงเคราะห์ มักจะทำง่ายกว่า วัดประเมินผลออกมาได้ง่าย ๆ ด้วย ยิ่งใช้ KPI ด้วยแล้ว ยิ่งคิดง่าย ทำง่าย และประเมินง่าย คนชายขอบจึงยังอ่อนเปลี้ยเพลียแรงกันต่อไป

     หลายวันมาแล้วที่อาจารย์แหวว หรือ archanwell (หากไม่ผิดคน) ท่านได้เข้ามาฝากข้อคำถามไว้ว่า ท่านกำลังเตรียมไปบรรยายให้ข้าราชการกระทรวงพัฒนาสังคมฯ  โดยผู้จัดตั้งหัวข้อว่า "คนชายขอบ" ท่านแจ้วผมไว้ในข้อคำถามว่ามีหลายเรื่องอยากพูด เลยมาขอความเห็นจากผม ซึ่งเป็นคนที่เรียกตัวเองว่า "คนชายขอบ" ว่าน่าจะชวนคนจากกระทรวงพัฒนาสังคมฯ คุยกันในเรื่องอะไรดีในประเด็นดังกล่าว

     ผมได้ตอบท่านไปว่า ผมได้เคยเขียนไว้ ที่ “ชายขอบ” ตัวตนและความหมาย รวมไปถึง คห.ที่ผมพยายามตอบเพื่อเติมเต็มในความคิดตัวเอง ซึ่งสำหรับผมแล้วคำว่า "ชายขอบ" ผมมักจะเน้นที่ "โอกาส" หากแต่คนจากกระทรวงพัฒนาสังคมฯ เท่าที่ได้ทำงานร่วมกัน เขาแบ่ง "ชายขอบ" ตามแนวคิด "ผู้ด้อยโอกาส" อยู่แล้ว แต่มักจะเหมารวมเอาเป็นกลุ่มอายุ จะชัดมากที่สุดคือกลุ่มคนพิการ ที่ไม่แยกตามอายุ ซึ่งก็เข้าใจครับว่าเพื่อง่ายต่อการจัดการ และมีความชัดเจนในแง่การกำหนดนโยบาย

     แต่คน "ชายขอบ" ตามที่ผมให้ความหมายสำหรับตัวเองนั้น ย่อมไม่ผู้ยึดกับอายุ หรือเงื่อนไขใด ๆ ที่ตายตัว เป็นการผู้ยึดกับ "โอกาสที่ควรมี ควรได้ อย่างเท่าเทีมกัน" เสียมากกว่าครับ ผมได้ตอบท่านต่อไปอีกว่าหากผมมีโอกาสอย่างอาจารย์สิ่งแรกที่จะพูดคือ “การให้โอกาสแก่คนชายขอบ” โดยการเสริมแรงให้เขาได้พึ่งตนเองได้อย่างภาคภูมิใจในตนเอง “ไม่ใช่การสงเคราะห์เขา” อย่างที่ได้ทำ ๆ กันอยู่ เพราะการสงเคราะห์เป็นการทำร้ายให้เขาอ่อนเปลี้ยลงไปกว่าเดิมอีกในระยะยาว

     ผมยังยืนยันแนวคิดตนเอง โดยเชื่อมาอย่างเสมอ ๆ ว่า "การสงเคราะห์" คนชายขอบนั้น เป็นการตัดพลังของตัวเขาเอง แต่การสร้าง/เพิ่มพลังให้เขาคือ การส่งเสริมให้เขารวมกลุ่มกัน ช่วยเหลือกัน ใช้ภูมิปัญญาที่เขามามาเฉลี่ยแบ่งปันกัน ให้เขาได้ภาคภูมิใจในตนเอง เชื่อมั่นในตัวเขาเอง จนเขาพึ่งตนเองอย่างพอเพียงได้ ซึ่งจะได้ผลในระยะยาว แต่ในบางส่วนก็ยังจำเป็นใช่ว่าจะให้หมดไปเสียทีเดียวในทันทีครับ

     การตัดพลังคนชายขอบด้วยการสังคมสงเคราะห์ มีการดำเนินการในลักษณะนี้มาอย่างยาวนานแล้ว ทุกวันนี้หลาย ๆ หน่วยงานแม้จะพยายามปรับเปลี่ยนไปเป็นการสร้าง/เพิ่มพลังให้แทน เมื่ออ่านจากแผนยุทธศาสตร์ขององค์กร แต่การปฏิบัติก็ยังมักจะโน้มเอียงไปไปสู่การสังคมสงเคราะห์ อันนี้น่าจะเป็นเพราะ “คน” ยังไม่เปลี่ยนไปมากนัก และอีกกรณีหนึ่งการสังคมสงเคราะห์ มักจะทำง่ายกว่า วัดประเมินผลออกมาได้ง่าย ๆ ด้วย ยิ่งใช้ KPI ด้วยแล้ว ยิ่งคิดง่าย ทำง่าย และประเมินง่าย คนชายขอบจึงยังอ่อนเปลี้ยเพลียแรงกันต่อ ๆ ไป

     หมายเหตุ: หากอาจารย์แหววได้ไปบรรยายและ ลปรร.กันมาแล้ว ผมอยาก ลปรร.กับสิ่งที่เกิดขึ้นบ้างจังครับว่าเขามองกลับมาอย่างไรบ้างโดยเฉพาะประเด็น "การสังคมสงเคราะห์"

หมายเลขบันทึก: 47124เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2006 20:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
เข้าใจคำว่า ...คนชายขอบได้ลึกซึ้งขึ้นครับ...นึกว่าคนแถวชายแดน  ขอบคุณครับที่อธิบาย

คุณครูนง...แห่งเมืองคอน

     ดีเลยครับ ที่เข้าใจกัน ใคร ๆ ก็ถามผมว่าจริง ๆ เป็นคนที่ไหนแล้วมาอยู่เมืองลุง เขาเข้าใจว่าผมคงอยู่ชายแดนจึงได้ใช้ชื่อ "ชายขอบ" ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท