บล็อก VS เว็บบอร์ด เครื่องมือ KM ที่แตกต่าง


คุณหมอพิเชษฐ์เขียนบันทึกชื่อ เวทีเสมือน ดิฉันอ่านแล้วก็เห็นประเด็นบางประเด็นที่สำคัญเกี่ยวกับ Blog กับ Webboard หรือ Board กอปรกับที่ผ่านๆ มา มีหลายท่านไม่เข้าใจความแตกต่างของเทคโนโลยีสองตัวนี้

ดิฉันจึงได้พยายามนึกถึงข้อดีของบล็อกที่ดูจะเหนือกว่าเว็บบอร์ดในด้านของการจดบันทึกเรื่องเล่าเร้าพลัง (Storytelling) เพื่อการจัดการความรู้ ซึ่งอย่างที่แต่ละท่านก็ทราบกันอยู่แล้ว การจดบันทึก และ การทำ Storytelling ล้วนเป็นกระบวนการที่สำคัญของการจัดการความรู้ในเชิงปฏิบัติ ดังที่ท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ ได้เขียนไว้ในหนังสือ การจัดการความรู้ ฉบับนักปฏิบัติ

ในความคิดเห็นของดิฉันนั้น องค์กรควรมีทั้งบล็อกและเว็บบอร์ดคะ แต่ประสบการณ์ของดิฉันบอกว่า คนไทยส่วนใหญ่อาจจะชอบใช้บอร์ดมากกว่าบล็อก ถามว่าทำไม? ก็คงต้องมาดูที่วัตถุประสงค์ของเทคโนโลยีเหล่านี้คะ

บล็อกคือไดอารี่ แต่บอร์ดก็เหมือนกับสภากาแฟคะ ดังนั้นตามลักษณะวัฒนธรรมของคนไทยที่ชอบสนุกสนานพูดคุยเฮฮาปาร์ตี้นั้น บอร์ดจะน่าสนใจมากกว่าบล็อกคะ

แต่อย่างไรก็ตาม ในความคิดเห็นส่วนตัวของดิฉันนั้น สำหรับด้าน KM แล้ว บล็อกจะเหมาะกับการเป็นเครื่องมือด้าน IT ได้ดีกว่าบอร์ดคะ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ เช่น

  • บล็อกมีสภาวะเป็นเหมือนเว็บไซต์ของแต่ละคน มีความสามารถในการจัดการข้อมูลต่างๆ ได้อย่างเสรีโดยเจ้าของบล็อก ไม่ว่าจะเป็น สร้าง ลบ แก้ไข บันทึก ข้อคิดเห็น หรือ ไฟล์ข้อมูล และในอนาตตยังทำอะไรได้อีกเยอะคะ แต่สำหรับบอร์ดแล้ว ผู้ที่จัดการทุกอย่างได้ก็คือผู้ดูแลบอร์ดนั้นๆ เท่านั้น
  • บล็อกสามารถจัดกลุ่มความรู้หรือสร้างแก่นความรู้ของเรื่องเล่าเรื่องหนึ่งๆ ได้ดีโดยใช้ Keywords หรือ Tags แต่บอร์ดทำได้ยาก เพราะมีรูปแบบการจัดวางที่เน้นการสนทนามากกว่าเน้นการจัดกลุ่มความรู้
  • บล็อกสามารถแสดงถึงความรู้ในตัวตนของบุคคลแต่ละบุคคลได้อย่างต่อเนื่อง ดังเช่น เมฆความรู้ หรือ Tag cloud
  • บล็อกแสดงให้เห็นถึงตัวตนของผู้เขียนได้ดีกว่าบอร์ด ผู้อ่านที่อ่านบล็อกนั้นๆ อยู่เป็นประจำจะสามารถเข้าถึงและรับรู้ถึงนิสัยและทัศนคติมุมมองของเจ้าของบล็อกได้ดี ด้วยว่าการจัดวางข้อมูลในบล็อกเป็นลักษณะเหมือนไดอารี่นั่นเอง

ที่ยกมาก็เป็นเพียงตัวอย่างข้อดีบางข้อของบล็อก หากท่านใดที่ได้รับประสบการณ์ด้านการเขียนบล็อกและบอร์ด ก็อยากจะให้ช่วยกันแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมคะ

ปล. ในเวอร์ชันสองของ GotoKnow.org เจ้าของบล็อกจะมีบอร์ดของตนเองคะด้วยคะ เพื่อการถาม-ตอบระหว่างเจ้าของบล็อกและแฟนนักอ่านคะ

หมายเลขบันทึก: 13737เขียนเมื่อ 28 มกราคม 2006 15:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ตุลาคม 2015 12:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ผมชอบ บล็อก เพราะเป็นบันทึกของเราเอง    และถ้าต้องการศึกษาบันทึกของผู้อื่นก็ค้นหาง่าย    ผมชื่นชมพลังการค้นของ Gotoknow มาก

วิจารณ์ พานิช

Blog น่าจะ User Friendly มากกว่านะครับ เป็นอะไรที่ง่ายๆ ผมลองใช้แนะนำในงาน "KKU_INNOVATION 2006" คนที่เข้ามาเรียนรู้ ชอบใจครับ และ ที่เป็น Highlight คือ เป็น "บันทึก ส่วนตัว" ที่ฟังแล้วไม่ Serious ครับ

ขณะนี้ทีมงานใน "ศูนย์บริการวิชาการ" มีเกือบทุกฝ่ายแล้วครับ

ไม่ใช่ "JJ เขียนแต่ผู้เดียว" และ เรา "สร้างชุมชน Share กันครับ"

JJ

บล็อก ทำให้เกิดพลังแห่งการสร้างสรรค์ และได้กัลยาณมิตรเพิ่มขึ้น สำหรับเว็บบอร์ด ผมได้แต่เพียงเปิดเข้าไปอ่าน แต่ไม่ได้ไปร่วมแสดงความคิดเห็น วันนี้บล็อกกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผมไปแล้วครับ

จากความรู้สึกของผู้ใช้งานมาแล้วทั้งเว็บบอร์ดและบล็อก

บล็อกนี่คือการผสมผสานที่ละตัวระหว่างความเป็นส่วนตัวและการเป็นส่วนหนึ่งของระบบ ความเป็นส่วนตัว คือ การเลือกปรับแต่งตามความต้องการของผู้ใช้ได้ระดับหนึ่ง (ซึ่งดีกว่าเว็บบอร์ดซึ่งต้องพึงเว็บมาสเตอร์อัปเดท) ในขณะที่ผู้ใช้งานยังรับรู้ถุงสายสัมพันธ์ที่มองไม่เห็นที่ร้อยเป็นเครือข่าย CoP ตามแก่นตามประเด็น

context เป็นปัจจัยสำคัญมาก คือ เว็บบอร์ดนั้นกลุ่มลูกค้าผู้ใช้งานนั้น bonding น่าจะเป็นความสนุกสนานเพลิดเพลินหรือเป็นเรื่องทางสังคม ความที่เว็บบอร์ดเกิดก่อนจึงเป็นช่องทางโฆษณาบ้าง เป็นช่องที่ระบายอารมณ์บ้าง ผู้ใช้งานแบบต้องการสาระจึงเบื่อและถอยจากเว็บบอร์ด

บล็อก เกิดที่หลัง สนอง need และชดเชยความผิดหวังของผู้เคยใช้เว็บบอร์ดได้มาก สมาชิก gotoknow เกือบทั้งหมดมุ่งมั่นจริงจัง ถึงตอนนำเสนอก็มีชีวิตลีวา ไม่เจ๊าะแจ๊ะ

แต่ถ้าเวลาผ่านไปบุคคลิกของบล็อกก็น่าจะเปลี่ยนไปไม่มากก็น้อย เพราะเป็น collective ของบล็อกทั้งหมด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท