อัพเดตความรู้สู่ผู้อ่านอย่างฉับไวด้วย RSS Feed


Feed เป็นเหมือนช่องสำนักข่าวโทรทัศน์หนึ่งช่อง (Channel) ช่องข่าวแต่ละช่องก็จะมีอัพเดตข่าวด่วนหลายๆ ข่าว (Items) ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อข่าวและข่าวที่สรุปๆ นำมาเสนอให้ผู้ชมได้ชมกันโดยทันทีและสั้นกระทัดรัดอีกด้วย

RSS Feed คืออะไร?

อาการปกติที่ท่านจะพบเมื่อเขียนบล็อค คือความรู้สึกอยากเขียนอยู่เรื่อยๆ แต่การเขียนบล็อคที่ดีที่ทำให้บล็อคเป็นที่นิยมนั้น ส่วนหนึ่งมาจากการเขียนที่อ้างอิงไปยังบันทึกของผู้เขียนบล็อคท่านอื่นๆ และแสดงความคิดเห็นต่อบันทึกนั้นๆ ดังนั้น อาการอีกอย่างที่ท่านจะพบควบคู่กับความรู้สึกในการอยากเขียนบล็อค คือการอยากอ่านบล็อค แต่การอ่านบล็อค ถ้าให้เข้าเว็ปบล็อคทีละเว็ปทีละเว็ป ก็อาจทำให้ท่านรู้สึกขัดใจไม่ทันใจ และด้วยความเร็วของอินเตอร์เน็ตที่อาจจะสุดแสนช้า ก็จะยิ่งอาจจะทำให้หงุดหงิดมากยิ่งขึ้น

แต่โดยทั่วไปแล้ว มีเทคโนโลยีอย่างหนึ่งที่ควบคู่มากับบล็อค ซึ่งท่านที่อ่านและเขียนบล็อคควรจะต้องรู้จักกันไว้ คือ RSS ซึ่งย่อมาจาก Really Simple Syndication ซึ่งมีหลายเวอร์ชันด้วยกัน เช่น RSS 0.91, RSS 1.0, RSS 2.0, และ ATOM

RSS หรืออาจเรียกว่า Site feed หรือ Feed เฉยๆ ก็ได้ เป็นไฟล์ในรูปแบบที่คล้ายคลึงกับ HTML เรียกว่า XML ซึ่งรวบรวมเอาข้อมูลที่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไว้เป็นชุดๆ และเป็นลิงค์ที่คลิ้กเข้าไปดูเนื้อหาเต็มๆ ที่อยู่บนเว็ปได้ ลองเปรียบเทียบง่ายๆ ก็คือ Feed เป็นเหมือนช่องสำนักข่าวโทรทัศน์หนึ่งช่อง (Channel) เช่น ช่อง 9, ช่อง 7, ช่อง 5, ช่อง 3, หรือ ITV เป็นต้น ช่องข่าวแต่ละช่องก็จะมีข่าวด่วนอัพเดตหลายๆ ข่าว (Items) ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อข่าวและข่าวที่สรุปๆ นำมาเสนอให้ผู้ชมได้ชมกันโดยทันทีและสั้นกระทัดรัดอีกด้วย

ข้อมูลที่บรรจุอยู่ใน Feed มีหน้าตาเป็นอย่างที่แสดงไว้ด้านล่างนี้ ซึ่ง Feed อันนี้จะเป็น RSS เวอร์ชัน 2.0

<p>บล็อคเซิร์พเวอร์เกือบทุกที่จะสร้าง RSS ให้อัตโนมัติ และจะใส่ไว้ในหน้าเพจของบล็อคเป็นกราฟฟิกสีส้มเล็กๆ (เป็นส่วนใหญ่) มีตัวอักษรเขียนว่า XML หรือ RSS x.xx หรือ ATOM  แต่ถ้าไม่แสดงเป็นกราฟฟิกไว้ก็จะเป็นข้อความที่เป็นลิงค์เขียนว่า “Syndicate this site”</p><p>อ่าน Feed ได้อย่างไร?</p><p>ทีนี้ ลองนึกว่าถ้ามีคนช่วยนำข่าวอัพเดตจากทุกๆ ช่องมารวมกันไว้ทีเดียว ผู้ชมข่าวก็จะยิ่งชอบใจใหญ่ ซึ่งก็เปรียบเทียบย้อนไปเรื่องของ Feed ได้ว่า โดยทั่วไป ผู้คนจะอ่าน Feed โดยใช้ซอฟต์แวร์รวบรวม Feed หรือเรียกว่า Feed reader หรือ Feed aggregator หรือ RSS aggregator เช่น SharpReader, Newsgator, และ BlogExpress เป็นต้น หรือจะอ่านผ่านเว็ปไซต์ที่เป็น Feed aggregator ก็ได้ เช่น BlogLines (ท่านสามารถอ่านการใช้บริการ BlogLines ได้จาก จดหมายข่าว สคส. ฉบับที่ 11 เดือนมีนาคม - เมษายน 2548 เรื่อง “หัดอ่าน Blog ด้วย Bloglines” โดย อาจารย์กรกฎ เชาวะวณิช)</p><p>วิธีการใช้โปรแกรมหรือเว็ปไซต์ประเภทนี้ก็จะคล้ายคลึงกัน ซึ่งก็ไม่ยากอะไรเลย เริ่มต้นด้วยการสมัครรับ Feed จากเว็ปไซต์หรือเว็ปบล็อคที่มี Feed ไว้ให้ผู้อ่าน (เว็ปไซต์มากมายที่ยังไม่มี Feed ใส่ไว้บนเว็ป) ผู้อ่านสามารถสมัคร Feed ได้โดย copy ลิงค์ของ Feed นั้นๆ (กดเม้าส์ด้านขวาบนกราฟฟิกหรือข้อความลิงค์ เลือก “Copy Shortcut”) มาใส่ในโปรแกรม Feed Aggregator ที่ผู้อ่านเลือกใช้ ซึ่งก็ใส่ Feed ได้มากมายไม่จำกัดจำนวน เมื่อผู้อ่านต้องการอัพเดตข้อมูลใหม่ของ Feed ที่มีอยู่ ก็ให้กดเลือกปุ่มที่ส่วนใหญ่จะเขียนไว้ว่า “Synchronize feeds” เมื่ออ่าน Feed แต่ละอันเสร็จแล้วหรือดูคร่าวๆ แล้ว ก็อาจจะเลือกกดปุ่มที่เรียกว่า “Catch up feeds” เพื่อทำการบอกโปรแกรมนั้นๆ ว่า อ่านข่าวเหล่านี้เสร็จแล้วและให้ถือว่าเป็นข่าวเก่า เพื่อว่าเมื่ออัพเดต Feed ครั้งต่อไปจะได้ไม่ต้องแสดงว่าเป็นข่าวใหม่</p><p>ประโยชน์ของ Feed มีอะไรบ้าง?</p><p>เทคโนโลยี RSS มีประโยชน์มากสำหรับทั้งผู้อ่านและเจ้าของเว็ปไซต์หรือเว็ปบล็อคต่างๆ ในแง่ของผู้อ่านนั้น แทนที่จะต้องเข้าไปทีละเว็ปไซต์หรือเว็ปบล็อคเพื่ออ่านข้อมูลข่าวสาร การสมัครรับ Feed จะช่วยประหยัดเวลาและสะดวกในอ่านโดยใช้โปรแกรมหรือเว็ปไซต์ที่กล่าวมาข้างต้น และปลอดภัยคลายกังวลจากจดหมายข่าวขยะต่างๆ ที่อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ตู้จดหมายเต็มเป็นประจำและนำมาซึ่งไวรัสและหนอนคอมพิวเตอร์ เพราะด้วยการสมัครรับ Feed จากเว็ปไซต์หรือบล็อคที่ผู้อ่านสนใจ ผู้อ่านก็จะสามารถติดตามอ่านข่าวสารที่อัพเดตได้ทันท่วงที โดยไม่ต้องให้อีเมล์แอดเดรสเพื่อจำใจสมัครรับจดหมายข่าวกับทางเว็ปไซต์ที่อาจจะดูไม่น่าไว้วางใจ</p><p>ส่วนประโยชน์ในแง่มุมของเจ้าของเว็ปซึ่งเป็นผู้นำเสนอข้อมูลแก่ผู้อ่านนั้นชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการนำเอา RSS มาเป็นเครื่องมือทางการตลาดในการนำเสนอข้อมูลล่าสุดส่งถึง Desktop ของลูกค้าโดยความฉับไว โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องเพียงบทความหรือบันทึกที่อยู่บนบล็อคเท่านั้น ข้อมูลอื่นๆ เช่น ปฏิทินกิจกรรม ข่าวสารของบริษัท เอกสารแนะนำสินค้าใหม่ บทความที่น่าสนใจ เป็นต้น </p><p>นอกจากนี้ จากปรากฎการณ์อีเมล์ขยะ (Spam Email) หรือ (Junk Email) ที่มีมากขึ้นเป็นทวีคูณ ทำให้บริษัทที่ให้บริการฟรีอีเมล์ หรือบริษัทที่มีอีเมล์เซิร์ฟเวอร์ของตนเองจำเป็นต้องใช้โปรแกรมในการสกัดกั้นอีเมล์ขยะเหล่านี้ ซึ่งเซิร์ฟเวอร์จะสกัดเองอัตโนมัติหรือไม่ก็ให้ผู้ใช้เป็นผู้กำหนดการสกัดเองด้วย ด้วยเหตุนี้ อีเมล์ที่ส่งมาที่ผู้ใช้บ่อยๆ อาจจะเป็นรายวันหรือรายสัปดาห์ เช่น จดหมายข่าว (โดยเฉพาะที่มีการแนบเอกสารมากับอีเมล์นั้นๆ ด้วย) มักจะถูกเซิร์ฟเวอร์มองว่าเป็นอีเมล์ขยะ หรือผู้ใช้เองมักจะเพิกเฉยไม่อ่านไปเลยและเกิดเป็นพฤติกรรมที่ทำเป็นประจำ ซึ่งทำให้ผู้ใช้พลาดข่าวสารที่สำคัญของบริษัทผู้นำเสนอข้อมูลโดยสิ้นเชิง ดังนั้น จะเห็นได้ชัดว่า แนวโน้มการใช้ Feed แทนอีเมล์เพิ่มมากขึ้นและผู้อ่านมักจะอ่านข้อมูลบน Feed มากกว่าบนอีเมล์ เนื่องด้วยเหตุผลดังกล่าวมาข้างต้น</p><p>เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจากการประยุกต์ใช้ RSS เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งย่อมมีประโยชน์แก่ผู้ให้บริการข้อมูล ยกตัวอย่างเช่น เทคโนโลยี Podcast ในการส่งไฟล์เสียงไปยัง Desktop ของผู้ใช้ได้โดยง่าย แทนการแนบไฟล์ขนาดใหญ่ไปในอีเมล์ที่ส่งไปให้ผู้ใช้ ผู้ใช้เองก็เพียงแค่ทำการอัพเดต Feed นี้ที่สมัครไว้แล้วในโปรแกรม Feed reader แล้วก็รอให้โปรแกรมทำการดาวน์โหลดไฟล์มาให้ </p><p>เห็นประโยชน์ในทั้งสองด้านอย่างนี้แล้ว หลายๆ ท่านที่มีบล็อคหรือมีเว็ปไซต์ที่ยังไม่มีไฟล์ RSS คงคิดอยากสร้างมันขึ้นมาบ้างแล้ว จะได้นำเสนอข้อมูลที่มีอัพเดตให้ถึงผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็วและโอกาสที่ผู้อ่านจะอ่านข้อมูลเหล่านี้ก็จะมีมากขึ้นด้วยเพราะไม่ต้องคอยกังวลว่าอาจจะเป็นอีเมล์ขยะ แต่อย่างไรก็ตาม การสร้าง Feed แบบโค้ดเองด้วยมือก็อาจจะยากไปสำหรับมือใหม่เพราะต้องทำความรู้จักกับ XML บ้างพอสมควร </p><p>ฉบับหน้า ดิฉันจะแนะนำโปรแกรมที่ช่วยในการสร้าง Feed ชื่อว่า FeedSpring ซึ่งทางทีมงานพัฒนาขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2548</p>

คำสำคัญ (Tags): #rss#feed
หมายเลขบันทึก: 24เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2005 06:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ตุลาคม 2015 12:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ขอบคุณครับ ที่ได้นำความรู้ดี ๆ มาเผยแพร่กัน

เป็นไปได้ไหมคะที่อยากจะให้ gotoknow.org เป็น atom enabled blog  เนื่องจากตอนนี้หลายซอฟต์แวร์และเว็บไซต์สนับสนุน atom มากกว่า rss อย่างเช่น flickr.com  ทั้งนี้เนื่องจาก atom เป็นมาตรฐานที่มีองค์กร IETF ดูแลอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง ในขณะที่ rss จะไม่มีใครหรือองค์กรใดดูแลอีกต่อไป ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ http://www.intertwingly.net/wiki/pie/Rss20AndAtom10Compared

ตอนนี้ประสบปัญหากับการใช้คือต้องการจะเขียน blog ที่มีการดึงจากรูปที่ post ไว้ที่่ flickr.com เข้ามาที่ gotoknow.org โดยอัตโนมัติ แต่ flickr.com สนับสนุนเฉพาะ atom enabled blog ซึ่งวิธีการในการทำไม่ยากค่ะดังที่มีรายละเอียดที่ http://www.atomenabled.org/

ถ้าหากว่า อ. จันทวรรณสนใจและอยากให้ gotoknow.org เป็น atom enabled blog และอยากจะให้ดิฉันช่วยพัฒนาหรือทำอะไร  ดิฉันก็เต็มใจที่จะช่วยนะค่ะ  เพราะมีความรู้เรื่อง XML และ PHP ค่ะ

 

 

 

 

ขอบคุณ ดร.กานดา สำหรับคำแนะนำดีๆ และความช่วยเหลือที่พร้อมจะให้ อยากได้นักพัฒนาระบบแบบนี้ละค่ะ

ATOM ควรจะมีไว้แน่นอนค่ะ แต่ตอนนี้ยังต้องปรับปรุงและเพิ่มเติมระบบในส่วนสำคัญๆ อีกมากค่ะ เห็นทีต้องตั้งไว้ใน list ก่อนค่ะ จะเปิดเป็น ticket ไว้ที่ http://KnowledgeVolution.org ไว้ค่ะ

แต่เราพัฒนา KnowledgeVolution ด้วย Rails บน Ruby on Rails Framework ค่ะ อาจารย์ลองเข้าไปดูนะค่ะ http://rubyonrails.org

ขออนุญาตินำข้อมูลไปเผยแพร่ที่เว็บไซต์บ้างนะครับ

 

 

เครดิต  

( ดร. จันทวรรณ น้อยวัน
วจก. สงขลานครินทร์ )

 

นะครับ 

 

วิธีการดูหัวข้อล่าสุดจาก RSS Feed  ของ http://gotoknow.org จากเว็บเบราว์เซอร์ Firefox สามารถดูได้ที่ http://gotoknow.org/blog/krunapon/118676 ค่ะ
เข้ามาอ่าน เผื่อจะได้ความรู้เกี่ยวกับเว็บบล็อกบ้าง  ทดลองใช้ครับ

ขอบพระคุณ คะ รับ  เหนมา นาน แต่ เพิ่ง ทราบ กลไก

รอ อ่าน  คะ รับ  

อ่านแล้วรู้สึก รอยหยักในสมอง กระตุก ตุ๊บๆ แต่ยังไม่เข้าใจ สงสัย ต้องอ่าอีก ซัก 2 รอบ

ขอบคุณครับ ได้ความรู้มากๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท