แพลนเน็ต (Planet) และ วงจรแพลนเน็ต ใช้รวบรวมบล็อกที่สนใจอ่าน


แพลนเน็ต หรือ Planet ก็คือ คำว่า หรือเดิมเรียกว่า ชุมชนบล็อก ของระบบเดิม แต่ใน KnowledgeVolution เราหันมาใช้คำที่ถูกต้องกว่า (http://en.wikipedia.org/wiki/Planet_aggregator

ซึ่งหมายถึง ระบบการรวบรวมบล็อกที่มีอยู่ในระบบเฉพาะที่สมาชิกแต่ละคนสนใจที่จะติดตามอ่านอยู่เป็นประจำ (Reading list) และเจ้าของบล็อกนั้นๆ จะสามารถติดตามได้ว่ามีสมาชิกท่านใดสมัครรับอ่านบล็อกของตนอยู่บ้าง หรือที่เรียกว่า วงจรแพลนเน็ต นั่นเอง


ผู้สร้างแพลนเน็ตสามารถนำบล็อกเข้าแพลนเน็ตได้ด้วยการไปที่บล็อกนั้น กดลิงค์ด้านล่างที่เขียนว่า นำบล็อกเข้าแพลนเน็ต แต่หากมีเจ้าของบล็อกอยากให้ผู้สร้างแพลนเน็ตนำบล็อกของตนเข้าแพลนเน็ตด้วย ก็ต้อง อีเมลติดต่อ ไปหาผู้สร้างแพลนเน็ตเองคะ

อันที่จริง ในเวอร์ชันนี้ ใครๆ ก็มีแพลนเน็ตได้ เหมือนเป็น Readling list คือ เลือกรับอ่านบล็อกที่ตนเองสนใจติดตาม

ทีมงานจะเพิ่มความสามารถของการเป็นชุมชนจริงๆ เข้าไปในอีกไม่นาน เช่น Ask-us ซึ่งจะคล้ายคลึงกับการเป็น Yahoo! Group หรือ webboard ของเฉพาะกลุ่ม เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 33928เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2006 12:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ตุลาคม 2015 12:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

"อันที่จริง ในเวอร์ชันนี้ ใครๆ ก็มีแพลนเน็ตได้ เหมือนเป็น Readling list คือ เลือกรับอ่านบล็อกที่ตนเองสนใจติดตาม " <<< เข้าใจเหตุผลแล้วครับ ก็ยังสงสัยอยู่ว่าทำไมต้องมีชื่อเจ้าของแพลนเนตข้างบนสุดด้วย

ขอบคุณมากครับPhotobucket - Video and Image Hosting

ทดลองใช้แล้วครับอาจารย์ แพนด้าแพลนเน็ต ครับ ขอบคุณ
          ผมได้ลองนำบล็อกที่สนใจเข้าร่วมในแพลนเน็ตของตนเองแล้ว ทำได้ง่ายรวดเร็วดีมาก แต่ผมยังไม่เข้าใจว่าจะนำแพลนเน็ตเชื่อมต่อกับแพลนเน็ตอื่น ๆ ได้อย่างไร ขอความกรุณาช่วยแนะนำให้ด้วยครับ
ขอบคุณนะคะ กำลังอยากรู้เลยว่ามันคืออะไรและต้องทำงัย เป็นพระคุณอย่างสูงค่ะ

เรียนผู้เข้าเรียนรู้ทุกท่าน

 ดิฉันนางพัทนัย  แก้วแพง  พยาบาลชำนาญการระดับ 8 เห็นความสำคัญของการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของตนเองด้วยท่าทางที่ถูกต้องและปลอดภัย  จึงสร้างบล็อคขึ้นเพื่อนำเสนอสิ่งที่น่าสนใจ

จะได้อะไร...ถ้าได้ทำอย่างนี้...……       จากประสบการณ์ในการสอนวิชาภาษาไทยมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน  เมื่อต้องปรับเปลี่ยนการจัดการเรียนรู้เพื่อให้รับกับการปฏิรูปการเรียนรู้    จะทำอย่างไร...ให้นักเรียนคิดว่า...ภาษาไทยไม่น่าเบื่อ...อยากทำงานเมื่อถึงชั่วโมงที่จะเรียน  จากการได้ทดลองเทคนิควิธีการสอนแบบต่างๆ อย่างหลากหลาย  แน่นอน...การเรียนผสมการเล่น การได้ใช้ความคิดอิสระ การวาดภาพ การระบายสี การได้มีโอกาสถ่ายทอดความคิดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมทั้งการได้รับการยอมรับจากกลุ่ม  ยอมเป็นสิ่งที่ทุกคนพอใจ...       ขั้นแรก..กำหนดให้วาดรูปทรงเรขาคณิต เช่นวงกลมจากเหรียญห้าบาท ลงในจุดกึ่งกลางของกระดาษ A 4   แล้วให้ต่อเติมเป็นภาพอะไรก็ได้ตามจินตนาการ ก็จะได้ภาพ คน สัตว์  สิ่งของ เป็นภาพต่างๆที่แต่ละคนต้องการจะสื่อสาร ระบายสี จัดตกแต่งภาพให้สมบูรณ์        ขั้นที่สอง  ให้เขียน บรรยาย  เล่าเรื่อง  แต่งเรื่อง ที่เกี่ยวกับภาพนั้นๆ  นำไปให้ผู้ปกครองอ่าน วิพากษ์วิจารณ์   แล้วนำคำพูดของผู้ปกครองมาเล่าให้ครูและเพื่อนๆฟัง         ขั้นสุดท้าย ให้ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนให้เพื่อนในแถว ในห้อง อ่าน แล้วให้แสดงความคิดเห็นว่า เรื่องอะไรที่นักเรียนชอบมากที่สุด  น่าอ่านมากที่สุด  ให้เจ้าของมานำเสนอ  และติดป้ายนิเทศให้นักเรียนโดยทั่วไปอ่าน       จากการกระทำเช่นนี้  พบว่า นักเรียนชั้น ม.๑  ได้ผ่านการวาดภาพประกอบการบรรยายมาตั้งแต่ระดับประถมศึกษา  ภาพที่นักเรียนวาดออกมาจะแสดงให้เห็นความสนใจ  ความถนัด ความสามารถด้านต่างๆ ของแต่ละคน  ทุกคนจะสนุกเพลิดเพลินกับความคิดและการกระทำของตนเอง เมื่อนำไปให้ผู้ปกครองได้ดูและอ่านก็จะพบจากคำพูดที่นักเรียนนำมาเล่าว่ามีบรรยากาศเป็นกันเอง สื่อสัมพันธ์ที่แสดงความใกล้ชิด  ส่วนบรรยากาศในการอ่านเรื่องของเพื่อนจะแสดงให้เห็นการแสดงความคิดเห็นทางวิชาการ ยอมรับผลงานที่ดี ที่น่าสนใจ และเจ้าของผลงานก็เกิดความภาคภูมิใจ          การกระทำเช่นที่เล่ามาคือการบูรณาการความรู้  นำไปสู่การดำรงชีวิต...ใช่หรือไม่     
ชุมพรเปิดแพลนเน็ตใหม่ เฉพาะด้านการเกษตร ชื่อ KM เกษตรชุมพร และสมาชิกชาวเกษตรเปิดบล็อกแล้ว แต่หาช่องทางการเข้ารวมแพลนเน็ตไม่ได้ ทำอย่างไรค่ะอาจารย์
ขอบคุณนะคะสำหรับความรู้ดีๆ ขอยืมไปบันทึกเก็บไว้อ่านหน่อยนะคะ ขอบคุณมากเลยคะ ต่อไปอาจารย์ขึ้นความรู้ดีๆอย่างนี้เยอะๆนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท