โครงการจัดและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้พัฒนาข้าวน้ำลึก เพื่อปลูกในพื้นที่น้ำท่วม


พัฒนาข้าวน้ำลึก เพื่อปลูกในพื้นที่น้ำท่วม

โครงการจัดและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้พัฒนาข้าวน้ำลึก เพื่อปลูกในพื้นที่น้ำท่วม  วันที่  ๒๖  พฤศจิกายน  ๒๕๕๓ 

หลายปีที่ผ่านมา ปัญหาจากสภาวะโลกร้อนทำให้เกิดความแปรปรวนของสภาพอากาศ เกิดพายุฝนตกหนัก และอุทกภัยอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ สร้างความเสียหายให้แก่พื้นที่ทางการเกษตรเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะนาข้าว แต่ชาวนาก็ยังสามารถปลูกข้าวได้ ข้าวในนาสามารถยืดปล้องหนีน้ำ ชูใบและยอดเขียวสดใส เจริญงอกงามไม่เกิดความเสียหายแต่ประการใด จากประเด็นดังกล่าวนี้ได้เข้ามาเป็นเหตุผลหนึ่งที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้กรมการข้าว ดำเนินการศึกษาวิจัยอย่างจริงจัง เพื่อหาพันธุ์ข้าวที่สามารถปลูกในพื้นที่น้ำท่วมเพื่อนำมาปลูกในพื้นที่น้ำท่วมขังและท่วมถึงอันจะทำให้เกษตรกรสามารถทำนาได้และท้องนาไม่เสียหายในช่วงฤดูน้ำท่วมในแต่ละปี

                ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอภาชี  ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการนำพันธุ์ข้าวเหล่านี้มาปลูกในพื้นที่นาของตนเอง จึงได้จัดทำโครงการจัดและส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้พัฒนาข้าวน้ำลึก เพื่อปลูกในพื้นที่น้ำท่วม  ให้กับกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่  เพื่อให้บริการแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายให้เกิดการพัฒนา  เกษตรกรที่ทำนาในพื้นที่ที่มีแนวโน้มเกิดน้ำท่วม หรือน้ำอาจท่วมขังในช่วงฤดูน้ำหลากระหว่างการปลูกข้าว ก็เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งกับการนำพันธุ์ข้าวเหล่านี้มาปลูกในพื้นที่นาของตนเอง 

 

ในสมัยก่อน คนไทยปลูกข้าวเพื่อใช้บริโภคเองเป็นหลัก ชาวนาจะนำข้าวเปลือกที่เก็บเกี่ยวได้ไปตากแดดจนแห้งและเก็บไว้ในยุ้งฉาง เมื่อจะบริโภคจึงนำมาตำเป็นข้าวสารครั้งละจำนวนน้อยให้พอบริโภคในระยะเวลาสั้น ๆ ซึ่งเป็นที่มาของสำนวนที่ว่า “ตำข้าวสารกรอกหม้อ” หมายถึงทำอะไรโดยไม่เผื่อเหลือเผื่อขาด ต่อมาเมื่อมีการติดต่อกับชาวต่างชาติ การปลูกข้าวเพื่อยังชีพจึงได้พัฒนาเป็นสินค้าส่งออกไปต่างประเทศ

การทำนา หมายถึง การปลูกข้าวและการดูแลรักษาต้นข้าวในนา ตั้งแต่ปลูกไปจนถึงเก็บเกี่ยว การปลูกข้าวในแต่ละท้องถิ่นจะแตกต่างกันไปตามสภาพของดินฟ้าอากาศ และสังคมของท้องถิ่นนั้น ๆ ในแหล่งที่ต้องอาศัยน้ำจากฝนเพียงอย่างเดียว ก็ต้องกะระยะเวลาการปลูกข้าวให้เหมาะสมกับช่วงที่มีฝนตกสม่ำเสมอ และเก็บเกี่ยวในช่วงที่ฤดูฝนหมดพอดี เนื่องจากแต่ละท้องถิ่นมีสภาพดินฟ้าอากาศที่แตกต่างกัน

ที่เห็นเนี้ย  ยังสูงไม่เท่าไหร่ค่ะ  แค่ ๑๗๐ เซนติเมตร

             

        พันธุ์ข้าวขึ้นน้ำไวต่อช่วงแสง

 พันธุ์ข้าวที่ยาวถึง ๔ เมตรค่ะ

ดร.พัชนี  ชัยวัฒน์  ผอ.ศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าวพระนครศรีอยุธยา  เป็นวิทยากรเองเลยค่ะ

 

เคยเห็นเปล่าคะ  นี่ดอกอะไร  ผู้เขียนไม่เคยเห็นค่ะ

ดูกันชัดๆๆ

หมายเลขบันทึก: 411281เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2010 18:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 11:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

วันที่ทุกคนร่วมเดินทางไปด้วยกันได้พบเห็นต้นข้าวพันธุน้ำลึกต้องตะลึงกับความสูงของต้นข้าวที่สูงมากและได้รับความรู้เกี่ยวกับศัตตรูพืชหลายชนิดและอื่นๆอีกมากมายขอขอบคุณอาจารย์เต้ยมากค่ะ..จากพี่ตานักศึกษาก.ศ.น.ไผ่ล้อม

  • ขอบคุณนักศึกษา กศน.ตำบลไผ่ล้อมนะคะ
  • ที่ร่วมกิจกรรมไม่เคยขาด
  • ต้องให้โล่ห์ซะแล้ว
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท