TQF และ ก้าวต่อไปของคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ระดับอุดมศึกษา


เรียนรู้เป็นผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน TQF คือ อะไร

     กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ(Thai Qualifications Framework for Higher Education, TQF:HEd)

เป็นกรอบที่แสดงระบบคุณวุฒิการศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศ ซึ่งประกอบด้วย

ระดับคุณวุฒิ

ความเชื่อมโยงต่อเนื่องจากคุณวุฒิระกับหนึ่งไปสู่ระดับที่สูงขึ้น

การแบ่งสายวิชา มาตรฐานผลการเรียนรู้ของแต่ละระดับคุณวุฒิซึ่งเพิ่มสูงขึ้นตามระดับของคุณวุฒิ

ปริมาณการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับเวลาที่ต้องใช้

ลักษณะของหลักสูตรในแต่ละระดับคุณวุฒิ การเปิดโอกาสในเทียบโอนผลการเรียนรู้จากประสบการณ์ ซึ่งเปนการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งระบบและกลไกที่ให้ความมั่นใจในประสิทธิผลการดำเนินงานตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของสถาบันอุดมศึกษาว่าสามารถผลิตบัณฑิตให้บรรลุคุณภาพตามมาตรฐานผลการเรียนรู้

 

หลักการสำคัญของ TQF

1.    เป็นเครื่องมือในการนำแนวนโยบายการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการวัดการศึกษาตามที่กำหนดใน พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติฯ ในส่วนที่เกี่ยวกับมาตรฐานการอุดมศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษาสู่การปฏิบัติในสถานศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม

2.    มุ่งเน้นที่ Learning Outcomes ซึ่งเป็นมาตรฐานขั้นต่ำเชิงคุณภาพเพื่อประกันคุณภาพบัณฑิต

3.    มุ่งประมวลกฎเกณฑ์และประกาศต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนเข้าไว้ด้วยกันและเชื่อมโยงให้เป็นเรื่องเดียวกัน

4.    เป็นเครื่องมือการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการสร้างความเข้าใจและความมั่นใจในกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้อง/มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น นักศึกษา ผู้ปกครอง ผู้ประกอบการ ชุมชน สังคมและสถาบันอื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศเกี่ยวกับคุณลักษณะของบัณฑิตที่คาดว่าจะพึงมี

5.    มุ่งให้คุณวุฒิหรือปริญญาของสถาบันใด ๆ ของประเทศไทยเป็นที่ยอมรับและเทียบเคียงกันได้ในสถาบันอุดมศึกษาที่ดีทั้งในและต่างประเทศ โดยเปิดโอกาสให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถจัดหลักสูตรตลอดจนกระบวนการเรียนการสอนได้อย่างหลากหลายโดยมั่นใจถึงคุณภาพของบัณฑิตซึ่งจะมีมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามที่มุ่งหวัง สามารถประกอบอาชีพได้อย่างมีความสุขและภาคภูมิใจเป็นที่พึงพอใจของนายจ้าง

6.    ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต

 

วัตถุประสงค์ของการดำเนินการ TQF

     นอกจากจะให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของ TQF ตามที่เสนอข้างต้นแล้ว มีวัตถุประสงค์อื่นที่สำคัญอีก ดังนี้

1.    เพื่อเป็นการประกันคุณภาพขั้นต่ำของบัณฑิตในแต่ละสาขา/สาขาวิชา หรือแต่ละคุณวุฒิ

2.    เพื่อให้แต่ละสาขา/สาขาวิชามีการกำกับดูแลคุณภาพการผลิตบัณฑิตกันเอง โดยบัณฑิตในสาขาสาขาวิชาเดียวกันของแต่ละสถาบันฯ มีคุณภาพไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในมาตรฐานคุณวุฒิระดับการศึกษาของสาขา/สาขาวิชานั้น ๆ

3.    เพื่อนำไปสู่การลดขั้นตอน/ระเบียบ (deregulations) ในการดำเนินการให้กับสถาบันอุดมศึกษาที่มีความเข้มแข้งและความพร้อมในการจัดการศึกษา

 ข้อมูลจาก สกอ (คลิก)  

JJ2009ฅนธรรมดา

หมายเลขบันทึก: 282269เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2009 09:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

มาเรียนรู้ TQF ด้วยคนค่ะ

ขยันถอดบทเรียนจริงๆ (ททท.) เลยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

 

 

เรียน ท่านชาดา ททท ทำทันที เพื่อจะได้มี Evidence Base ครับ

เรียนท่านพี่ใบบุญ เป็นอย่างไรครับ คณบดี ฅนรุ่นใหม่ไฟแรง

เรียนอาจารย์ที่เคารพ

ขอบคุณสำหรับความรู้ใหม่ ๆ ที่อาจารย์กรุณาแบ่งปันมาให้ ทำให้หนูมีกำลังใจในการที่จะคิด และทำอะไร ๆ ต่อเพื่อส่วนรวม สังคม และประเทศชาตินี้ต่อไปแม้จะเป็นเฟืองเล็ก ๆ ก็ตาม

และขอเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนการศึกษาไทยให้มีคุณภาพ เพื่อพัฒนาคน พัฒนาชาติไทยให้คงอยู่สืบไป

ไอลดา เจ๊ะหะ

เรียนท่านไอลดา

  • ถึงหัวใจ จะเล็ก ขอให้เสริมด้วยสายใยแห่งความรัก และ ความตั้งใจ
  • เขาลูกใหญ่ ก็ ขุด ทะลุได้ครับ
  • ให้กำลังใจ ทั่วไทย ด้วย G2K ครับท่าน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท