เกล็ดทรงจำ ความฝันของกูรู ใน NKM5 ลด ละ เลิก รร.กวดวิชา


ความฝัน และ เครือข่าย ของกูรู ร่วมเรียนรู้สร้างสานปัญญา

 เก็บเกล็ด เคล็ดวิชา การสร้างเครือข่าย การเรียนรู้ ระหว่าง กูรู ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช และ รศ.นพ.สุรพล วีระศิริ คุณเอื้อ จาก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ฝัน

ให้ "สร้างการเรียนรู้ให้กับ นักเรียน โดยไม่ต้องพึ่งพา โรงเรียน หรือ แหล่ง กวดวิชา"

 นำภาพมาฝาก

อนาคต คงจะมีเครือข่าย ระหว่าง สถาบันอุดมศึกษา โรงเรียนแกนนำ และ ทีมงานจากหลายภาคส่วน

 ที่มีจิตวิญญาญ ของ ครูเพื่อศิษย์ มาร่วม "สร้างเครือข่าย แลกเปลี่ยน เรียนรู้"

 หาแนวทาง "ลด ละ เลิก โรงเรียน หรือ สถาบัน กวด จับ วิชา"

 "มามือ ร่วมสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ ในโรงเรียนที่มีอยู่ในปัจจุบัน"

JJ2010 ฅนสานฝัน

หมายเลขบันทึก: 410009เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2010 09:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2013 09:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

เเวะมาเยี่ยมเยียน 

กิจกรรมดี ๆ สำหรับอนาคต ของชาติ ครับ

และฝากความห่วงใย ไปให้ผู้ปกครองของเด็กๆ ด้วยครับ

           

เกษตรกร "ห้ามขายที่ดินทำกิน" โดยเด็ดขาด 

 

"คนที่มีที่" ก็คือ "คนที่มีทาง" 

"คนไม่มีที่ ก็ไม่มีทาง"

เกษตรกรที่จนที่สุดก็คือ "คนไม่มีที่ดินทำกิน"

ปัญหาใหญ่อีกอย่างหนึ่ง ของการทำเกษตรด้วย "การเช่า ที่คนอื่นทำ"

ก็คือ "เกษตรกรไม่มีแรงจูงใจในการพัฒนาปรับปรุงพื้นที่ ผลผลิต และสร้างความยั่งยืนให้กับระบบการผลิต สิ่งแวดล้อม" ไม่มีความมั่นคง เป็นหลักประกัน ไม่รู้ว่าเมื่อไรจะถูกเวียนคืน

คนเช่า  : มุ่งหวัง สูบผลประโยชน์อย่างเต็มที่บนพื้นที่เช่า ต่อรอบการผลิต ไม่ว่าจะเป็น ปุ๋ยเคมี สารเคมี ยาเร่งทั้งหลาย เพื่อกำไรสูงสุด หลังหักค่าเช่า

ผู้ให้เช่า เจ้าของที่ : ก็ต้องการเก็บค่าเช่า โดยอิงค่าเสียโอกาสตามราคาตลาด มองตามมูลค่าที่ดิน ไม่ได้มีจิตวิญญาณ ของลูกพระแม่ธรณีบน ที่ยืน ผืนโฉนด

ระบบนาเช่า ที่เช่า:จึง นำมาซึ่ง สิ่งปนเปื่อน ความเสื่อมโทรม เป็นนิยายน้ำเน่าในท้องนา  เป็นระบบที่ทำลาย ความมั่นคงทางอาหาร คุณภาพชีวิต และสิ่งเเวดล้อม ครับ

  

สรุป : เก็บภาษีมรดก ให้ได้จริงๆ ซักที่เถิดครับ

  • เห็นด้วยครับ "เกษตรกร คงไม่ต่างกับ ครู ครับ"
  • วิงวอนให้ ครู มีจิตวิญญาณ เพื่อศิษย์ ไม่ต้องไปสอน กวด ไล่ จับ วิชา"
  • ใช้เวลา ในขั้นเรียน ให้เป็นประโยชน์
  • อย่า หวัง อามิสสินจ้าง เบี้ยใบ้รายทาง หากิน ไปวันวัน ครับ
  • เสาร์ อาทิตย์ ในเมืองขอนแก่น รถติด มากมาย
  •  เพราะ เด็กๆ ไปเรียน ไล่ จับ กวด วิชา
  • ที่สอน แบบตัวเป็นๆ หรือ บางแห่ง ดู VCD
  • แล้วก็ไปหา อาหาร กาย ใจ แถว ศูนย์การค้า
  • ผู้ปกครองก็ไปรอแถว ศูนย์การค้า
  • ดี คือ ไม่ต้องอาศัย ไฟฟ้า และ แอร์ ที่บ้าน
  • แต่ไปสนับสนุน ผู้ประกอบการ
  • เฮ

ขออนุญาตแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับท่านอาจารย์หมอ JJ  กับเกล็ดทรงจำของท่าน ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ที่ท่านได้กล่าวไว้อย่างดียิ่งว่า 

ให้ "สร้างการเรียนรู้ให้กับ นักเรียน โดยไม่ต้องพึ่งพา โรงเรียน หรือ แหล่ง กวดวิชา"

เมื่อได้อ่านประโยคนี้ก็ฉุกคิดขึ้นมาได้ทันทีว่า เมืองไทยน่าจะมีสถานที่ในการสอบหรือวัดความรู้ โดยไม่ต้องไปนั่งเรียน

ปัญหาปัจจุบันของคนทั้งหลายไม่ว่าจะอยู่ในระบบหรืออยู่นอกระบบ ข้าพจ้ามีความคิดเห็นว่า (ซึ่งอาจจะผิด) ทุกคนนั้นมีความรู้อยู่ในตัวกันอย่างมากมายอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ขาดสำหรับคนสมัยนี้ก็คือ ปริญญาบัตร เกียรติบัตร วุฒิบัตร ที่จะไปบอกกับคนอื่น ๆ ว่าเรา "มีความรู้"

เพราะคำพูดคนเดียวกัน แต่คนที่มี ดร. นำหน้า กับตาสีตาสา ทำให้คนที่หลงสมมติเกิดความเชื่อถือได้ต่างกัน

ระบบของบ้านเราการจะได้มาซึ่งปริญญาบัตร หรือบัตรอะไรต่าง ๆ ทั้งหลายก็จะต้องเข้าระบบโรงเรียน ไปศึกษาอย่างเป็น "ระบบ"

มั่นใจไหมว่าคนที่สอนอยู่ในระบบปัจจุบันมีความรู้จริง มีประสิทธิภาพพอที่จะประสิทธิ์ประศาสน์ปริญญาบัตรให้ใครตามความรู้ในระดับนั้น

หลาย ๆ คนจึงไปเรียน เข้าระบบการศึกษาเพื่อให้ได้ปริญญา

คนมีความรู้ได้ปริญญามาก็ช่วยให้ทำงานง่ายขึ้น แต่คนที่ไม่มีความรู้ไปได้ปริญญามาก็ทำให้สังคมลำบากขึ้น เพราะคัดกรองคนยาก

ดังนั้น ถ้าหากบ้านเรามีสถานที่ที่ใช้ในการวัดหรือสอบประมวลความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ

ให้คนที่มีความรู้จริง ความรู้จากทั้งทฤษฎีและประสบการณ์ ถึงแม้นว่าจะไม่ได้เข้าระบบโรงเรียนมาสอบเพื่อได้มาซึ่งปริญญาบัตร วุฒิบัตร เกียรติบัตรต่าง ๆ ซึ่งจะสามารถนำไปใช้ในการสมัครงานก็ดี หรือพิสูจน์กับคนที่ชอบอะไร ๆ แบบเป็นรูปธรรมก็ดี หรือบุคคลที่ต้องทนอยู่กับระบบ "กระดาษ" ก็ดี เพื่อที่จะได้เป็นหลัก เป็นฐาน

เพราะบางครั้ง การเรียนการสอนในปัจจุบัน ขออนุญาตพูดตามตรงว่า ถ้าเป็นการสอนนักศึกษาผู้ใหญ่ กศ.บป. หรือในระดับบัณฑิตศึกษา นักศึกษาบางคนมีความรู้ มีประสบการณ์ มีความสามารถมากกว่าอาจารย์เสียอีก

ทุกวันนี้คนที่มีความรู้มากกว่าไม่สามารถมาเป็นผู้สอนได้ เพราะไม่มีปริญญาบัตร

คนที่มีความรู้น้อยกว่าสามารถมาเป็นผู้สอนได้ เพราะมีปริญญาบัตรที่สูงกว่า

สภาวะการบริหารจัดการความรู้ในเมืองไทยถึงกลับตาลปัตร กลับจากหน้ามือเป็นหลังมือ

คนความรู้น้อยสอนคนความรู้มาก คนอ่านหนังสือ สอนคนปฏิบัติจริง

คนปฏิบัติจริง ปฏิบัติดีแล้ว ก็หลงไปเชื่อกับตัวหนังสือ ทิ้งการปฏิบัติ เปลี่ยนตัวเองเป็นนัก "ปริยัติ"

เหมือนกับครั้งหนึ่งที่เคยเกิดขึ้นกับวงการแพทย์แผนไทย ที่ให้ผู้เฒ่าผู้แก่ หมอตำแย หมอนวดพื้นฐานเข้าโรงเรียนเพื่อเรียนกับเด็กรุ่นหลานและสอบวุฒิบัตร เพื่อที่จะกลับมานวดรักษาคนได้เหมือนเดิม

ปัญหาเส้นสาย ปัญหายัดใต้โต๊ะก็มีกันมิใช่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาอาจารย์ที่เรียนหนังสือมาจะไปสอนปู่สอนย่าที่เขานวดรักษากันมาจนจะแก่ตายไป ก็เป็นปัญหาที่เรื้อรังอยู่จนถึงทุกวันนี้

ดังนั้น ถ้าหากมีใครสักคนลุกขึ้นมาทำข้อสอบกลางเพื่อวัดความรู้ในแต่ละแขนง

ใจกล้าลุกขึ้นมาตัดระบบโรงเรียนออกไปซะ

เพราะเรียนไปใช่ว่าจะมีประโยชน์เท่ากับโทษที่ได้รับ

 

มีความรู้แต่ไม่มีปริญญาก็ไม่มีประโยชน์ในระบบทุนนิยม

เมื่อสังคมต้องการวัดคนที่ปริญญาบัตร ความรู้ก็ไม่สามารถสู้เศษกระดาษ

เมื่อคนเคารพเศษกระดาษ ผู้ที่มีอำนาจต้องรู้จักมอบเศษกระดาษให้ถูกคน...

 

เรียน ท่านอาจารย์ ปภังกร

  • เห็นด้วยครับ และ
  • เราน่าจะมาสร้างเครือข่ายพัฒนา สร้างการเรียนรู้ โดย พึ่งเท่าที่ต้องพึ่ง
  • แต่ อย่าเปิดโอกาส ให้ บางคน ฉกฉวยโอกาส ทำให้ การศึกษา เมืองเรา เสียหายครับ

หรือยกตัวอย่างเช่น คนที่มีความรู้ มีความสามารถ มีประสบการณ์ทางด้านงานก่อสร้าง หรือที่เรียกว่าช่างซึ่งสร้างบ้านมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย ซึ่งในปัจจุบันด้วยระบบการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น อยู่ดี ๆ จะไปสร้างบ้านแบบเดิมก็ไม่ได้ ต้องไป "จ่ายเงิน (ใต้โต๊ะ)" เพื่อให้วิศวกรเซ็นต์รับรองแบบ เพื่อที่ยื่นขออนุญาตสร้าง

วิศวกรมีหน้าที่เซ็นต์แล้วก็รับเงิน คนเขียนแบบ คนคุมงาน ก็คือ "ช่าง" คนเดิม

เมื่อระบบสังคมเป็นแบบนี้ เด็กฉลาดที่เราหวังว่าจะพาชาติเจริญ ก็มุ่งหวังที่จะเข้าเรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อที่จะไปนั่งเซ็นต์แบบ

ใครเล่าจะไปขวนขวายหาความรู้จากกลางแดด สู้นั่งเซ็นต์แบบอยู่ในห้องแอร์ไม่ได้

เมื่อพูดเช่นนี้ ก็อาจจะคนแย้งว่า ช่างชาวบ้านทั้งหลายมีความรู้ไม่จริง

แต่ถ้าหากมองกันตามความเป็นจริงแล้ว ความคงทนถาวร ความเสียหายเมื่อเปรียบเทียบกันระหว่างบ้านในอดีต กับบ้านในปัจจุบัน คงเห็นได้ชัดว่าใคร "เจ๋ง" กว่ากัน

เรื่องนี้มันอยู่ที่ประสบการณ์ แล้วยิ่งในปัจจุบันมารยาสาไถยของบริษัทขายวัสดุก่อสร้างมากกว่าห้าร้อยเล่มเกวียน เกมส์ธุรกิจในปัจจุบันหยาบคายและสกปรก เห็นแต่ประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก

วิศวกรมองในกระดาษ แต่ผู้มีประสบการณ์นั้นมองความเป็นจริง

แต่สุดท้ายคนที่มองความจริงก็ต้องมาจ่ายเงินให้กับคนที่มองแต่ในกระดาษ ก็เพราะกฏหมายเขาประกาศออกมาอย่างนั้น

เมื่อก่อนเคยมี อบต. มาหาเรื่องหาราวบ่อย ว่าที่สร้าง ๆ กันอยู่นี่ขออนุญาตหรือยัง ใครเซ็นต์แบบให้ เฮ้อ ช่วยก็ไม่ช่วย แล้วยังมีหน้าจะมาหาใต้โต๊ะอีก

เด็กในปัจจุบันเขามองช่องทางออก มาเดินทางไหนสะดวก อยู่ทางไหนสบาย

ทนลำบากเรียนกวดวิชาหน่อย อนาคตก็สบาย

จริง ๆ น่าจะมีการจัดแข่งความรู้กันระหว่างปราชญ์ชุมชนกับคนที่เรียนจบปริญญา เพื่อที่ให้รู้กันโต้ง ๆ ไปเลยว่าใคร "เจ๋ง" กว่ากัน...

ต้องขอบพระคุณท่านอาจารย์หมอ JJ เป็นอย่างสูงที่เปิดโอกาสให้ข้าพเจ้าได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และต้องขออภัยเป็นอย่างสูงด้วยเช่นกัน ถ้าหากความคิดเห็นหรือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของข้าพเจ้าอาจจะตรงหรือรุนแรงมากเกินไป

จึงขอขอบพระคุณและขออภัยมาพร้อม ๆ กัน

ปภังกร วงศ์ชิดวรรณ

มายกสองมือ เห็นด้วยอย่างยิ่งยวดค่ะอาจารย์ ตอนนี้ไปที่ไหนๆ แม้เมืองเล็กๆ เลิกเรียน ปิดเทอม วันหยุด เห็นเด็กๆอยู่รร. กวดวิชากันหน้าสะลอน เลยงงๆ แท้จริงๆแล้ว เพราะขยันเรียนรู้ หรือพ่อแม่ไม่ค่อยมีเวลาให้ลูกๆ กันแน่ .. ต้องแก้ที่ไหนก่อนดีคะ อ. :)

เรียน ท่านอาจารย์ปภังกร และ ท่าน poo

  • พวกเราชาว Gotoknow และ พวกเราที่อยู่นอก Gotoknow
  • มาร่วมมือ ร่วมสร้างเครือข่าย "ครูเพื่อศิษย์ ลด ละ เลิก การไล่กวดวิชา"
  • วางหนทาง ให้ นักเรียน นิสิต นักศึกษา เรียนรู้ Learn How to Learn
  • ให้ เพลิน เดินร่วมกัน เป็น Team Learning วิ่ง ไปดัก วิชา ในอนาคต ดีกว่าครับ 

เดินร่วมกัน เป็น Team Learning วิ่ง ไปดัก วิชา ในอนาคต ดีกว่าครับ 

เป็นแนวคิดที่ยอดเยี่ยมมากครับ

ขออนุญาตต่อยอดแนวความคิดนี้สักเล็กน้อย กับโจทย์ที่เกิดขึ้นในใจว่าถ้าเราจะวิ่งไปดักอะไร เราต้องรู้ก่อนว่าเราต้องวิ่งนำใครบ้าง

ในความคิดเห็นของข้าพเจ้า (ซึ่งอาจจะผิด) บุคคลกลุ่มหนึ่งที่เรา (นักบริหารการศึกษา) ควรจะวิ่งแซงความคิดเขาให้ได้ก็คือ "นักธุรกิจ"

ถ้าหากเรายังเดินอ้อยอิ่งเดินตามนักธุรกิจอยู่ การกำหนดทิศทางความรู้ก็อยู่ในมือเขา

ซึ่งแน่นอนว่านักธุรกิจมี "ผลประโยชน์" เป็นทั้งแรงผลัก แรงดึง แรงดันที่ยิ่งใหญ่กว่านักบริหารการศึกษาซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในระบบ

การทำงานมากได้ผลตอบแทนมาก เป็นวัฏฏะชีวิตปกติของนักธุรกิจ

ดังนั้น หัวของเขาจะคิดหมุนวนอยู่ตลอดเวลา จะทำอย่างไรเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ที่เขาต้องการ

และผลประโยชน์ทางการศึกษาในยุค Generation Y เป็นชิ้นเนื้อก้อนใหญ่ที่ใคร ๆ ก็อยากได้

วัดได้จากอัตราการเกิดของสถาบันทางการศึกษาทั้งโรงเรียนและมหาวิทยาลัยที่มีมากมายเป็นดอกเห็ด ก็แสดงให้เห็นว่ายังมี Target ภายในประเทศอยู่อย่างเหลือเฟือที่จะดูดเงินเข้าระบบการศึกษาภาคเอกชนได้

ดังนั้น กลยุทธ์ทางการตลาดจะถูกนำมาใช้เป็นอย่างมากในธุรกิจการศึกษา โดยเฉพาะการอัด การป้อนความรู้เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็กที่มีสิทธิเรียกร้องในการเลือกว่าจะเรียนที่ไหน หรือไม่ อย่างไร...

โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนกวดวิชา ซึ่งแน่นอนว่าร้อยทั้งร้อยเป็นของเอกชน แต่สิ่งที่น่าแปลกก็คือครูหรืออาจารย์ในโรงเรียนกวดวิชาร้อยทั้งร้อยเช่นเดียวกันเป็นครูของโรงเรียนรัฐบาล

เพราะครูโรงเรียนรัฐบาลใหญ่ ๆ มีชื่อเสียง มีความรู้ มีความสามารถ มีโอกาสที่จะไปศึกษาต่อต่างประเทศ (โดยภาษีของรัฐ) มากกว่าครูของโรงเรียนเอกชนที่จะต้องจำกัดต้นทุน

ถ้าหากจะดักโรงเรียนกวดวิชาให้ได้ จักต้องดักที่ตัวครูตัวอาจารย์ให้ได้เป็นลำดับต้น

ถ้าครูสอนในโรงเรียนดี ก็ไม่มีใครอยากจะเสียเวลาที่จะพักผ่อน หรือเล่นกีฬาไปนั่งอยู่ในโรงเรียนกวดวิชา

เงินเปรียบเสมือนมีดเล่มหนึ่ง จะใช้ให้เป็นประโยชน์ก็ได้ หรือจะใช้ให้เกิดโทษอย่างโรงเรียนกวดวิชาก็ได้

ถ้าหากจะสู้กันด้วยเงินหรือค่าตอบแทน อย่างไรเราก็สู้เม็ดเงินจากภาคธุรกิจไม่ได้

แต่อย่างไรข้าพเจ้าก็ยังเชื่อว่า "ครูในระบบ" ที่พัฒนาตัวเองไปร่ำ ไปเรียน ไปศึกษาจากเงินภาษีของประชาชนก็ยังเป็นผู้มีจิตสำนึกที่จะเห็นผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตัว

ถ้าแก้ที่จิตสำนึกของครูให้สอนอย่างมีประสิทธิภาพภายในโรงเรียนเท่ากับที่มีประสิทธิภาพที่ตนเองไปสอนในโรงเรียนกวดวิชาก็น่าที่จะแก้ปัญหาลงไปได้มาก

เพราะถ้าหากจะไปแก้ที่ค่านิยมของเด็กที่นิยมในสาขาวิชาแพทยศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ หรือการเป็นนักเรียนนายร้อยของทั้ง ๓ เหล่าทัพแล้วให้กันกลับมาเรียน "เกษตรศาสตร์" เพื่อออกไปทำไร่ทำนา ก็คงจะยากหรือแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย

ลูกจำเป็นต้องมีพ่อแม่คอยเลี้ยงดูฉันใด เด็กนักเรียนไทยก็ต้องมีครูเป็นผู้พร่ำสอนอยู่ฉันนั้น

ถ้าเด็กมีครูดี ครูที่ดีก็จะนำทางไปในทางดี

ขออนุญาตแลกเปลี่ยนเรียนรู้ดังนี้ครับ...

เรียน ท่านอาจารย์ ปภังกร ที่เคารพ ยินดีครับ ท่าน อาจารย์ หมอวิจารณ์ ท่านแนะนำให้ พวกเราไปหาเอกสาร Education in 21th Century มาศึกษา ครับ

  • ในฐานะเป็นครูสอนคุณครูไทยในอนาคต..ขอร่วมถ่ายทอดอุดมการณ์
  • สร้างกระบวนการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ในโรงเรียนแก่ศิษย์ค่ะ

เรียน อาจารย์พิชชา "ครูไทย รวมใจ สร้างแรงบันดาลใจ ไม่คิดกำไร จากศิษย์ "ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท