ดนตรี...ลดปวดได้จริงๆ


music therapy in cancer pain

  

โครงการ การใช้ดนตรีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งที่มารับยาเคมีบำบัด

หอผู้ป่วยเคมีบำบัด 5จ  แผนกการพยาบาลบำบัดพิเศษ งานบริการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์ <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: center" class="MsoNormal" align="center"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: center" class="MsoNormal" align="center"></p>  <h1 style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: 54.75pt" class="MsoNormal"> ผู้รับผิดชอบโครงการ จุรีพร   อุ่นบุญเรือง   จันทราพร    ลุนลุด  และอุบล จ๋วงพานิช   </h1><h1 style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: 54.75pt" class="MsoNormal"></h1><p>ที่มาของปัญหา  ในปัจจุบันการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดได้ผลดี   ทำให้ภาวะปลอดโรคมากขึ้นและการพยากรณ์โรคค่อนข้างดี  ผู้ป่วยมีชีวิตยืนยาวขึ้น   แต่ต้องเผชิญกับ ปัญหาที่คุกคามผู้ป่วยที่สุดก็คือ  ความปวด ซึ่งมักเป็นความปวดที่รุนแรงเรื้อรัง ถึงแม้ว่าผู้ป่วยจะได้รับยาแก้ปวดแต่ความทุกข์ทรมานจากความปวดยังมีอยู่  จากปัญหานี้หอผู้ป่วย 5 . ได้จัดให้มีโครงการการใช้ดนตรี เพื่อลดอาการปวดในผู้ป่วยมะเร็งที่มารับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยลดความทุกข์ทรมานจากความปวด  ซึ่งเป็นการส่งเสริมประสิทธิภาพการพยาบาลอีกทางหนึ่ง </p><p>วัตถุประสงค์   ผู้ป่วยลดความทุกข์ทรมานจากอาการปวด</p><p>ระยะเวลาดำเนินการ   1 มกราคม  2548 ปัจจุบัน</p><p>ขั้นตอนการดำเนินการ        </p><p>1 ขั้นตอนในการสร้างแนวปฏิบัติโดยการนำหลักฐานเชิงประจักษ์มาใช้ ประกอบด้วย            </p><p>1.1) สำรวจปัญหาของผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด ปัญหาของผู้ป่วยโรคมะเร็งที่พบมากและคุกคามผู้ป่วยที่สุดในหอผู้ป่วย 5จ คือ  ความปวด พบว่า 2 ใน 3 ของผู้ป่วยมะเร็งทั้งหมด 25% ผู้ป่วยมะเร็งระยะต้นและกลาง 90% ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ซึ่งมักเป็นความปวดที่รุนแรงเรื้อรัง การใช้ดนตรีเป็นการบำบัดทางการพยาบาลอย่างหนึ่งที่สามารถลดอาการปวดในผู้ป่วยมะเร็งที่มารับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดและสามารถลดการใช้ยาลดปวดได้</p><p>1.2)  การทบทวนแนวปฏิบัติในการลดความปวดในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด  ปัญหาในการดูแลผู้ป่วยที่มีความปวด คือ พยาบาลจะให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษาและดูแลผู้ป่วยให้สุขสบายโดยการจัดท่าหรือการใช้เบ่งเบนความสนใจโดยใช้วิธีต่างๆ เช่น ให้อ่านหนังสือที่ชอบ  ดูทีวี ฟังเพลง เพื่อให้ผู้ป่วยบรรเทาความปวด ผู้ป่วยหลายคนยังมีปัญหาทุกข์ทรมานจากความปวด  ดังนั้นพยาบาลจึงร่วมกันหาแนวทางในการลดความปวดในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด  ดนตรีบำบัดเป็นทางเลือกที่น่าสนใจและคาดว่าจะสามารถใช้ได้ผล1.3) การสืบค้นงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  สืบค้นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการลดความปวดในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด โดยคำสำคัญที่ใช้ในการสืบค้น ได้แก่ Music therapy และ cancer pain คัดเลือกงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมงานวิจัยที่ค้นได้ Full Text จำนวนทั้งสิ้น 6 เรื่อง </p><p>1.4)  การวิเคราะห์และสังเคราะห์งานวิจัย  หลังจากสืบค้นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้ว  จึงนำงานวิจัยทั้ง 6 เรื่อง  มาประเมินคุณภาพงานวิจัยและการพิจารณาความเป็นไปได้ในการนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับหน่วยงาน  งานวิจัยทั้ง 6 เรื่อง  อยู่ในระดับ Level: 2 b ทั้งหมด    พบว่า ผู้ป่วยที่ได้ฟังดนตรีมีความปวดและความทุกข์ทรมานน้อยกว่า ผู้ป่วยที่ไม่ได้ฟังดนตรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ </p><p>1.5) สร้างเป็นแนวปฏิบัติการพยาบาล เพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งลดปวดได้ จัดทำซีดีคนตรีบำบัด 2 ชุดๆละ  4  เพลง  ชุดที่ 1: เพลงลาวดวงเดือน ลาวเจริญศรี ลาวกระทบไม้   เขมรไทรโยค และ ชุดที่ 2 : Classic Largo, Andante Cantabile เพลงลาวดวงเดือน และเขมรไทรโยค  แล้วนำมาตัดต่อและบันทึกลงในซีดี และประเมินความปวดโดยใช้ แบบวัดความปวด (Visual analog scale) คะแนน 1-10  </p><p>1.6) กระบวนการนำไปใช้กับผู้ป่วย  </p><p>ระยะแรก สร้างสัมพันธภาพ  </p><p>ระยะดำเนินการ   </p><p>ประเมินผู้ป่วยที่มีความปวดโดยใช้แบบประเมิน visual analog scale  </p><p>ให้ข้อมูลผู้ป่วย บอกถึงวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการใช้ดนตรีบำบัด </p><p>ให้ผู้ป่วยเลือกเวลาที่ต้องการฟังดนตรี โดยเลือกก่อนช่วงเวลาที่มีอาการปวด </p><p>แนะนำขั้นตอนการฟังดนตรี และประโยชน์ของการฟังดนตรี  </p><p>ก่อนฟังดนตรีแนะนำให้ผู้ป่วยทำธุระส่วนตัวให้เรียบร้อย  </p><p>ผู้ป่วยควรเริ่มฟังดนตรีเมื่อมีความปวดระดับปานกลาง </p><p>ไม่ควรฟังขณะปวดรุนแรง  </p><p>ระยะเวลาการฟังไม่เกิน 30 นาทีวันละ 1 ครั้ง จำนวน  3 ครั้ง โดยใช้หูฟัง  </p><p>สถานที่ควรเงียบ แสงสว่างไม่จ้าตา  ไม่มีเสียงรบกวน</p><p>ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่สุขสบาย  ผ่อนคลาย  </p><p>ต้องสอบถามความต้องการผู้ป่วยทุกครั้ง </p><p>1.7) การนำแนวปฏิบัติไปใช้และการประเมินประสิทธิผล  นำแนวปฏิบัติการพยาบาลที่สร้างขึ้นไปทดลองใช้กับผู้ป่วยมะเร็งที่มีความปวด จำนวน 11 คน พบว่าการใช้ดนตรีบำบัดสามารถลดปวดได้จริง  จัดประชุมนำเสนอโครงการดนตรีบำบัดให้แก่พยาบาลผู้ปฏิบัติทุกคน เพื่อให้มีความรู้และสามารถใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลได้ และนำโครงการดนตรีบำบัดมาใช้                </p><p>2  การนำแนวปฏิบัติการพยาบาลไปใช้ในการดำเนินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง  (CQI)โดยดำเนินการตาม   โครงการดนตรีบำบัดเพื่อลดปวดในผู้ป่วยมะเร็งที่มารับยาเคมีบำบัด  ดังนี้</p><p>วิธีดำเนินการฟังดนตรี            </p><p>ประเมินผู้ป่วยที่มีความปวดโดยใช้แบบประเมิน visual analog scaleให้ข้อมูลผู้ป่วย </p><p>บอกถึงวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการใช้ดนตรีบำบัด เพื่อให้ ผู้ป่วยเข้าใจ และให้ความร่วมมือ</p><p>ให้ผู้ป่วยเลือกเวลาที่ต้องการฟังดนตรี โดยให้สอดคล้องกับเวลาที่มีอาการปวด โดยเลือกช่วงเวลาที่มัก  มีอาการปวดเป็นประจำ            แนะนำขั้นตอนการฟังดนตรี และประโยชน์ของการฟังดนตรีจะสามารถลดปวด และผ่อนคลายได้โดยเพลงที่ใช้เป็นเพลงที่มีความแรงของจังหวะ 60-80 เมโทรโนม             </p><p>ก่อนฟังดนตรีแนะนำให้ผู้ป่วยทำธุระส่วนตัวให้เรียบร้อย            </p><p>ขณะฟังดนตรี</p><p>จัดสิ่งแวดล้อมให้เป็นสัดส่วน มีความสงบ โดยกั้นม่านให้ผู้ป่วยจัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่สุขสบาย นั่งหรือนอนก็ได้ตามชอบเปิดเพลงให้ผู้ป่วยฟัง แนะนำให้ผู้ป่วยทำใจให้สบายหลับตามุ่งความสนใจไปที่ดนตรี ปล่อยจิตใจให้ล่องลอยไปกับเสียงดนตรี ไม่ควรกังวลกับสิ่งแวดล้อม ถ้าผู้ป่วยง่วงก็สามารถนอนหลับในขณะที่ฟังดนตรีได้ไม่ควรรบกวนผู้ป่วยถ้าผู้ป่วยรู้สึกไม่สุขสบายสามารถขยับ หรือเปลี่ยนอิริยาบถได้หลังฟังดนตรีให้ผู้ป่วยนอนพักต่อ 4-5 นาที หลังจากนั้นค่อย ๆ ลืมตาวัด VAS และประเมินผลตามแบบประเมินทุกราย               </p><p>ผลลัพธ์การดำเนินการผลของดนตรีบำบัด  เพื่อลดปวด  (n=10Case) พ.ศ. 2548 ให้ผู้ป่วยฟังดนตรี 3 ครั้ง  </p><p>ผลการประเมิน ดนตรีบำบัด สามารถลดความปวดในผู้ป่วยมะเร็งได้ทั้ง 3 ครั้ง จึงสรุปว่าแนวปฏิบัติการพยาบาลที่สร้างขึ้นสามารถลดปวดในผู้ป่วยมะเร็งที่มีความปวดได้จริง</p><p>ข้อเสนอแนะ</p><p>พยาบาลและผู้ป่วยเสนอแนะอยากให้มีเพลงพื้นเมืองอีสานมาใช้ในโครงการ เพื่อให้มีเพลงหลากหลายยิ่งขึ้นควรมีการขยายผลไปใช้ปฏิบัติในหอผู้ป่วยอื่นๆได้เพื่อให้เกิดคุณภาพการดูแลที่ดีที่สุด (Best Practice) </p><p>ภาระงานพยาบาลมีมาก  บางครั้งไม่สามารถนำแนวปฏิบัติไปใช้กับผู้ป่วยที่มีความปวดได้ทุกคน/ผู้ป่วยจำหน่ายก่อนไม่ได้ฟังดนตรีครบ 3 ครั้ง </p><p>ดังนั้นกรณีผู้ป่วยปวดและต้องการใช้ดนตรีบำบัด พยาบาลสามารถนำดนตรีบำบัดให้กับผู้ป่วยได้เลย    </p><p>การพัฒนางานต่อเนื่อง (CQI)  ในปี พ.ศ. 2549  </p><p>หอผู้ป่วย 5จ ร่วมกับ นักศึกษาปริญญาโท  คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  มีโครงการร่วมกัน เพื่อพัฒนาดนตรีบำบัดมาใช้ในการลดปวด  โดยจัดทำดนตรีพื้นเมืองอีสาน ซึ่งเป็นศิลปวัฒนธรรมประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นเพลงที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นควบคู่กับชาวอีสานที่มีมาช้านาน  ฟังไม่น่าเบื่อ เข้าใจง่ายหลังจากที่มีการพัฒนาดนตรีซึ่งเป็นเพลงประเภทโปงลาง จำนวน 7 เพลง เวลา  31.40 นาที ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญวิชาดนตรีไทย  </p><p>นักศึกษาได้ทดลองใช้กับ ผู้ป่วยมะเร็งที่มีความปวด จำนวน 10 คน พบว่า ความปวดลดลง </p><p>หลังจากนั้นหอผู้ป่วย 5จ  ได้นวตกรรม แผ่นเพลงดนตรีบำบัด เพิ่มขึ้น รวมเป็น 3 ชุด และได้นำมาใช้อย่างต่อเนื่องใน ปี พ.ศ. 2549 จนถึงปัจจุบัน ผลการประเมินความปวด  </p><p>ผลของดนตรีบำบัดเพื่อลดปวด  (n=  26 Case)  กรกฎาคม พ.ศ. 2549 - พฤษภาคม 2550</p><p>ดนตรีบำบัด สามารถลดความปวดในผู้ป่วยมะเร็งได้ </p><p>ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ  ภาระงานพยาบาลมีมาก    ยังไม่สามารถนำแนวปฏิบัติไปใช้กับผู้ป่วยที่มีความปวดได้ทุกคน  ดังนั้นหอผู้ป่วย 5จ ได้ให้พยาบาลผู้ปฏิบัติงาน มีโอกาสทดลองใช้แนวปฏิบัติทุกคน โดยมีการให้ความรู้  ฝึกทักษะและมีพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำ  เพื่อนำแนวปฏิบัติมาใช้อย่างสม่ำเสมอ  </p><p>บทสรุป  </p><p style="margin: 0cm -4.95pt 0pt 0cm; text-align: justify" class="MsoNormal">การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่มารับยาเคมีบำบัด โดยการนำการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล  เพื่อลดปวดโดยใช้ดนตรีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็งที่มีความปวด ทำให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีความพร้อมในการดูแลตนเองขณะรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล และดูแลตนเองได้เมื่อกลับไปอยู่ที่บ้าน  เป็นการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยและสร้างองค์ความรู้ใหม่  เพื่อให้ได้การบริการที่ดีที่สุด (Best Practice)</p><p> บทเรียนรู้ที่สำคัญ</p><p>1.      ดนตรีบำบัดสามารถทำให้ลดปวดได้  </p><p>2.      ดนตรีที่หลากหลายและเพลงพื้นเมืองอีสาน สามารถทำให้ผู้ป่วยลดความปวดได้ เกิดความผ่อนคลายและพักผ่อนได้มากขึ้น </p><p>โอกาสหรือแผนการพัฒนางานต่อ</p><p>1.      จัดทำดนตรีบำบัดให้ผู้ป่วยฟังในกลุ่มผู้ป่วยวัยรุ่นที่เป็นมะเร็งกระดูกที่มีความปวด</p><p>2.       จัดทำดนตรีที่หลากหลายเพิ่มมากขึ้น เช่น ดนตรีลูกทุ่งบรรเลง 3.      จัดทำม้วนเทปหรือซีดีดนตรีบำบัด ให้ผู้ป่วยสามารถนำกลับไปฟังที่บ้านได้ </p><p>การเผยแพร่นวัตกรรม  </p><p>1.    เผยแพร่แผ่นดนตรีบำบัด ให้หน่วย Day Chemo ไว้ใช้</p><p>2.  ได้มีการเผยแพร่โดยการไปนำเสนอ ในที่ประชุมวิชาการคณะพยาบาลศาสตร์ ครั้งที่ 17 ณ. สถาบันจุฬาภรณ์   กรุงเทพฯ  วันที่ 1 สิงหาคม 2549</p><p>3. ได้รับเชิญเป็นวิทยากรอบรมทั้งภายในโรงพยาบาล และภายนอกโรงพยาบาล  รพ. หนองคาย 1 ครั้ง รพ. สุรินทร์ 2 ครั้ง </p><p>4.    เผยแพร่ผลงานผ่านWeb go to know ของคนทำงาน   เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านB2B http://gotoknow.org/blog/ubolAPN/87905  เรื่อง  ดนตรี....ลดปวดได้จริงหรือ ?  มีคนสนใจเข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และได้ให้คำปรึกษานักศึกษาต่างสถาบัน </p><p></p><p>คุณจุรีพร  พยาบาล กำลังฝึกนำเสนอผลงานค่ะ </p><p>วันที่ 11 กค. 2550 นำเสนอในเวทีจริงค่ะ</p><p></p><h4>รับรางวัลการนำเสนอผลงานค่ะ</h4><p></p><p>รับรางวัลที่1 ในการนำเสนอผลงานแบบ Oral presentation </p><p>กับท่านหัวหน้าพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์  พี่ชูศรี  คูชัยสิทธิ์ </p><p></p><p>ทีมงานพวกเราทุกคนแสดงความยินดีร่วมกันค่ะ </p><p>หลังได้รับรางวัลแห่งความภูมิใจ </p><p>น้องพยาบาลทุกคนมีส่วนร่วม ที่ทำให้งานนี้สำเร็จได้</p><p>พี่ในฐานะผู้ดูแล ขอชื่นชมทุกคนค่ะ</p><p></p><p>ทีมงานที่มานำเสนอผลงานวันนี้  ถ่ายภาพร่วมกัน</p>

หมายเลขบันทึก: 107358เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2007 19:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (29)
  • สวัสดีครับ
  • ผมมาราชการที่กรุงเทพฯ
  • นี่เป็นครั้งแรกที่เข้าร้านเน็ตฯ  เป็นครั้งแรกของชีวิต
  • ตื่นเต้นมาก   หันซ้าย, ขวา  มีแต่วัยรุ่นทั้งนั้นเลย
  • .....
  • เรื่องดนตรีบำบัดคนป่วย  เห็นโหมโรมกันมาพักใหญ่  (หรือเปล่าครับ)  แต่ก้เชื่อว่าจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการบำบัดทั้งทางกายและใจ
  • โดยนัยยะเหมือนกับ "รำผีฟ้า"   หรือเปล่าครับ ..

สวัสดีค่ะคุณแผ่นดิน

ยินดีมากค่ะ ที่เข้ามาเยี่ยมชมกิจการเป็นคนแรก

ดนตรีบำบัด....เป็นวิธีการพยาบาลอย่างหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งที่มีความปวด ลดความทุกข์ทรมานลงได้

พวกเราพยาบาล เลยคิดว่าดนตรีบำบัดเป็นการพยาบาลที่ช่วยเสริมให้ผู้ป่วยอีกวิธีหนึ่งค่ะ

น้องที่รับผิดชอบโครงการ  กำลังเตรียมนำเสนอผลงานที่ทำให้กับบุคลากร ในโรงพยาบาลฟังค่ะ

 

วันที่ 11 กรกฎาคม 2550

น้องที่รับผิดชอบโครงการฯ จะนำเสนอผลงานค่ะ

ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ที่เรานำมาใช้ สามารถลดปวดในผู้ป่วยมะเร็งที่มีความปวดได้

ซึ่งได้ผลดีเช่นเดียวกันค่ะ

สวัสดีค่ะพี่แก้ว

ขอมาทักทายด้วยคนค่ะ

  • ในฐานะที่เป็นหนึ่งในกรรมการโครงการดนตรีบำบัดของหอผู้ป่วย 5 จ จากที่ได้นำไปปฏิบัติดนตรีสามารถความปวดในผู้ป่วยได้จริงค่ะ
  • ผู้ป่วยบางคนที่ได้ฟังดนตรีที่ชอบ เช่น ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ผู้ป่วยจะชอบมากนอนฟังไปยิ้มไป มีเคาะมือ กระดิกเท้าเป็นจังหวะด้วยค่ะ
  • อยากส่งเสริมให้หน่วยงานอื่นนำไปใช้ด้วยค่ะ ไม่ใช่แค่เพื่อลดความปวด อาจใช้เพื่อให้เกิดความผ่อนคลายในขณะทำงานด้วยก็ได้

 

เคยได้นำไปใช้บ้างค่ะ  ได้ผลดีผู้ป่วยมีความผ่อนคลายและปวดลดลงจริงๆ  แต่ต้องใช้ในขณะท่มีระดับความปวดน้อยถึงปานกลางค่ะ

เป็นกำลังใจให้ค่ะในวันนำเสนอผลงาน สู้สู้

ได้เห็นรูปแบบการพัฒนางานแบบนี้ผมได้ประโยชน์ คิดว่าอาจจะยืมไปใช้บ้างนะครับ

สวัสดีค่ะคุณจันทราพร

ขอบคุณที่ทุกคนในตึก 5จ ทำสิ่งดีดีให้ผู้ป่วย

ขอบุญกุศลที่ทำมาตอบสนองพวกเราทุกคน

ขอให้บุญกันถ้วนหน้าทุกคนนะคะ

โดยเฉพาะคนที่รับผิดชอบด้วยค่ะ

สวัสดีคุณมีนา

ขอบคุณที่เข้ามาแลกเปลี่ยนสิ่งดีดี

ขอให้ทำสิ่งดีดีให้ผู้ป่วยต่อไปค่ะ

สวัสดีค่ะคุณโรจน์

เราสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ค่ะ

ดนตรีนอกจากลดปวด 

ยังสามารถผ่อนคลายได้ด้วยนะคะ

จุรีพร อุ่นบุญเรือง

สวัสดีค่ะ ชาวชมรม ดนตรีบำบัดทุกท่าน

 ดิฉัน จุรีพร ประธานโครงการขอขอบพระคุณมากน่ะค่ะสำหรับการ share ความรู้ และเข้ามาคุยกับเรา

ขณะนี้อยู่ในระหว่างการเตรียมตัวสำหรับการนำ

เสนอโครงการดนตรีบำบัดลดปวดในผู้ป่วยมะเร็งที่มารับยาเคมีบำบัด วันที่11 กค.50 ห้องประชุมพิสิฐฎ์

รอให้พี่แก้วตรวจสอบอีกทีก่อนนำเสนอค่ะ เพื่อความชัวร์ไว้ก่อน ยังไงก็มาให้กำลังใจคนน่ารักด้วยน่ะค่ะ

ขอบคุณค่ะ

             น้ำฝนค่ะ<จุรีพร>

สวัสดีค่ะคุณฝน

จะรอให้กำลังใจค่ะ

ผลการใช้ดนตรีบำบัดประเดือนมิถุนายนนี้ค่ะ จำนวนผู้ป่วยที่ทำทั้งหมด 4 ราย

ก่อนฟัง หลังฟัง
ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
6.25 3.30 2.5 2.89
จะเห็นได้ว่าดนตรีบำบัดสามารถลดความปวดได้อย่างมีนัยสำคัญค่ะ

สวัสดีค่ะคุณจันทราพร

ดีมากค่ะที่สรุปผลการนำดนตรีบำบัดไปใช้กับผู้ป่วย

ลงใน blogนี้

ถ้าเราสรุปผลว่า  จะเห็นได้ว่าดนตรีบำบัดสามารถลดความปวดได้อย่างมีนัยสำคัญค่ะ

จะต้องใช้ ทดสอบทางสถิติก่อนนะคะ

อาจใช้ t-test ก่อนและหลังฟังดนตรีก็ได้ค่ะ

วันที่ 10 กค 50

ทีมงานมาฝึกนำเสนอผลงานกัน

วันจริง คือ 11 กค 50 ขอให้โชคดีในการนำเสนอผลงานค่ะ

วันนี้คุณจุรีพร  อุ่นบุญเรือนและทีม

นำเสนอโครงการในงานพัฒนาคุณภาพ ของฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์

ผลการนำเสนอพบว่า ได้รับรางวัลที่ 1 ประเภทการนำเสนอแบบ oral presentation ค่ะ

ขอยินดีกับน้องและทีม

ที่จะต้องขอบคุณ อีกก็คือกลุ่มผู้ป่วยของเราและน้องพยาบาลทุกคน ที่มีส่วนร่วมในโครงการดนตรีบำบัดเพื่อลดปวดในผู้ป่วยมะเร็งทุกคนค่ะ

คุณจุรีพร อุ่นบุญเรือน

ผู้นำเสนอโครงการฯ วันนี้

รับรางวัลแทนพวกเราชาว 5จ ทุกคนค่ะ

จุรีพร อุ่นบุญเรือง
สวัสดีค่ะทุกท่าน ดิฉันประธานโครงการดนตรีบำบัดค่ะ รู้สึกดีใจและตื่นเต้นมาก เมื่อรู้ว่าได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 ขอขอบพระคุณพี่แก้วท่านหัวหน้าที่เก่งและใจดีต่ะตลอดจน เจ้าหน้าที่ทุกท่าน ผู้ป่วยทุกคน ยังไงก็ขอบคุณมากค่ะสำหรับสมาชิกที่เข้าคุยกับเราน่ะค่ะ รู้สึกดีใจจนบรรยายไม่ถูก < เหมือนการประกวดนางงามเลยค่ะ> พี่แก้วคอยให้กำลังใจและอยู่เคียงข้างตลอดเลยค่ะ

สวัสดีค่ะคุณจุรีพร

ยินดีด้วยค่ะ

ทีมเรา ประกอบด้วย คุณจุรีพร คุณจันทราพร มีโอกาสส่งผลงานไปนำเสนอ   ในที่ประชุมสมาคมฯพยาบาล สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ที่จังหวัดอุบล วันที่ 4 สิงหาคม 2550 ด้วยค่ะ

ผู้ที่ไปร่วมประชุมรอให้กำลังใจเรานะคะ

สวัสดีคะ ยินดีที่ได้รู้จักนะคะ

  ดิฉันใช้ดนตรีบำบัดในผู้ป่วยผ่าตัดช่องท้อง ดนตรีสามารถลดปวดได้และได้ผลดีอื่นๆอีกมากมาย แต่ปัญหาที่พบคือ การร่วมแรงร่วมใจของทีมงานในการนำดนตรีสู่การปฏิบัติ กว่าจะทำให้เกิดการยอมรับยากมากคะ  แต่ก็ดีใจที่ตัวเองสามารถใช้ดนตรีกับผู้ป่วยได้ ถึงจะมีทีมงานน้อย แต่ก็ดีกว่าไม่มีใช่ไหมคะ ยังไงจะขอคำแนะนำในการทำงานนะคะ  เพราะตัวเองชอบที่จะทำงานเกี่ยวกับดนตรี สิ่งสำคัญผลตอบรับจากผู้ป่วยทำให้มีกำลังใจทำงานต่อไปคะ

โอกาสหน้าจะแวะมาทักทายใหม่นะคะ

GPGrL

สวัสดีค่ะคุณปภัสสิริ ทันแก้ว

ดีใจที่มีคนที่ทำงานเรื่องเดียวกันมาแลกเปลี่ยนค่ะ

เพราะเราจะได้พัฒนางานนี้ให้ก้าวต่อไป

การนำโครงการดนตรีบำบัดมาใช้ ดิฉันเป็นผู้พัฒนานวตกรรม คือแผ่นดนตรีบำบัด

เมื่อจะนำโครงการมาใช้ในหน่วยงานเราก็จัดประชุมเพื่อนำเสนอโครงการฯก่อน โดยให้น้องพยาบาลในตึกเป็นผู้รับผิดชอบ

แต่ทุกคนต้องร่วมมือในการนำโครงการนี้ไปใช้กับผู้ป่วย  โดยดิฉันซึ่งเป็นหัวหน้าตึกจะจัดเวลาและมอบหมายงานให้พยาบาลแต่ละคนมีโอกาสได้ทำ

หัวหน้าโครงการและเลขาฯ มีหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลส่งดิฉันทุกเดือน

และมีพยาบาลบันทึกกิจกรรมที่พยาบาลต้องทำ

ถ้าพยาบาลคนไหนไม่ได้นำดนตรีบำบัดไปใช้กับผู้ป่วย ก็จะไม่ได้ถูกบันทึกจำนวนครั้งที่ทำกิจกรรม

ถึงเวลาให้ขั้นกรณีพิเศษ เราจะต้องนำสิ่งเหล่านี้มาประกอบการพิจารณาด้วย

ดังนั้นการบริหารจัดการโครงการฯ ต้องอาศัยความร่วมมือกับหัวหน้าฯและเพื่อนร่วมงานค่ะ

 

แวะมาร่วมยินดีกับคนเก่งครับ

เยี่ยม ครับ

ดนตรีบำบัดได้จริงๆ ครับ

ผมคนหนึ่ง ที่ชอบดนตรีมาก

ยินดี ด้วย นะครับ

ครูโย่ง

เห็นครูโย่งเป็นนักดนตรีคงมีความสุขนะคะ

สวัสดีครับ

มาชื่นชมกับความก้าวหน้าของพยาบาลไทย

ไทยสามารถเป็นผู้นำได้ในเรื่องนี้เพราะมีประเทศกำลังพัฒนาอีกมากมายที่ยังไปไม่ถึงไหน

อยู่ในยุทธศาสตร์ประเทศในด้านส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับต่างประเทศได้ครับ

P

ขอบคุณที่สนใจค่ะ

เคยติดตามโยคีน้อยไปอินเดีย ถ้ามีโอกาสก็คงอยากไปช่วยเหลือเมืองพุทธศาสนาค่ะ

ขอแสดงความชื่นชม พี่ๆ ที่มีความสามารถ มากๆ ครับ

ช่วยกันพัฒนา วิชาชีพเรา จะได้เข้มแข็งและ ไม่เป็นวิชาชีพที่ตาย หรือหยุดนิ่งอีกต่อไปครับ ประกาศให้ใครๆได้รู้ว่าพยาบาลมีความสามารถ และ ภาระงานที่มากและหนัก แต่ไม่เคยมีปากปีเสียงครับ

สวัสดีครับ

ชนิดของเครื่องดนตรี ประเภทของดนตรี และปัจจัยอื่นๆ เช่น ความดัง ค่อย จังหวะช้าเร็ว ให้ผลที่แตกต่างกันไหมครับ

คุณครู

ขอบคุณนะคะ  ที่มาให้กำลังใจ

ธ.วั ช ชั ย

จังหวะดนตรีมีความสำคัญ จังหวะจะต้องเท่ากับการเต้นของหัวใจ 60-80 ค่ะ จึงจะผ่อนคลาย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท