สมรรถนะ..ในการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง


Completency for Cancer nurse

วันที่ 1 กันยายน 2550 นักศึกษาพยาบาล ระดับปริญญาเอกมาสัมภาษณ์ดิฉันเรื่องสมรรถนะหลักที่ควรมีในพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งควรมีอะไรบ้าง

ในโครงการวิจัยเรื่องการพัฒนาเครื่องมือประเมินสมรรถนะในการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งสำหรับพยาบาลทั่วไประดับวิชาชีพ”  Development of an Oncology Nursing Competency Scale for General Professional Nurses

นางสาวหรรษา เทียนทอง นักศึกษาปริญญาเอก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คุณหรรษา เทียนทอง ที่มาสัมภาษณ์

ฉันตอบพอสรุปได้ว่า  จากการที่พยาบาลในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ที่เป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ซึ่งมี Excellence Cancer Center

พยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยมะเร็งควรมีสมรรถนะ ดังนี้

 

สมรรถนะที่จำเป็นของพยาบาลในศูนย์ตติยภูมิเฉพาะทางมะเร็ง 

สมรรถนะพื้นฐานทั่วไป

  • มีความรู้ความเข้าใจในพื้นฐานกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาเป็นอย่างดี
  • สามารถบูรณาการความรู้เกี่ยวกับโรค  การรักษาพยาบาล เพื่อการประเมินผู้ป่วยแบบองค์รวมได้
  • สามารถบริหารโครงการการดูแลผู้ป่วยกลุ่มต่าง ๆ โดยการบูรณาการการบำบัดทางการพยาบาลและการรักษาของแพทย์  เพื่อประสิทธิภาพของการดูแลและความคุ้มค่าใช้จ่าย
  • มีความรู้ด้านภาษาอังกฤษและการวิจัย  สามารถนำมาใช้งานได้อย่างจริงจัง
  • มีการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหาและตัดสินใจ  โดยใช้หลักทางวิทยาศาสตร์
  • กำหนดเป็นผู้นำทีมในการพัฒนาระบบการดูแลที่มีประสิทธิภาพ กล้าแสดงความคิดเห็นและกล้าร่วมตัดสินใจ
  • มีทักษะในการศึกษาค้นคว้าทางวิชาชีพ  คิดอย่างเป็นระบบ  และมีเหตุผลเชิงจริยธรรม
  • พยาบาลต้องผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ป่วยมะเร็ง   

สมรรถนะเฉพาะสาขา

  • มีการพัฒนาความรู้ทักษะความสามารถในการพยาบาลเฉพาะด้านโรคมะเร็ง อย่างต่อเนื่องอยู่เสมอ
  • เรียนรู้และพัฒนาทักษะความสามารถในการใช้เทคโนโลยี  อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เป็นเครื่องมือพิเศษเฉพาะโรคมะเร็งตลอดเวลา
  • มีความรู้เกี่ยวกับแนวคิดและหลักการในการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง  เน้นที่คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งในทุกระยะของการดูแล

ถ้าท่านใดมีความเห็นเพิ่มเติม กรุณาเพิ่มเติมด้วยนะคะ 

 

 

หมายเลขบันทึก: 124184เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2007 08:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)
สมรรถนะพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง ในบทบาท APN จะกล่าวต่อไปค่ะ
สวัสดีค่ะพี่อุบล

                        ดีใจมากค่ะที่การสัมภาษณ์ในวันนั้นได้มีโอกาส post ขึ้นบน blog  ของพี่ หลังการสัมภาษณ์น้องพึ่งมีเวลาเปิดดู mail เพราะต้องทำ focus group ในวันจันทร์และอังคารต่อ หลังจากที่ได้สัมภาษณ์พี่ในวันนั้น มีความรู้สึกประทับใจเป็นอย่างมาก สิ่งแรกก็คงเป็นอัธยาสัยที่ง่ายๆ ไม่มีพิธีรีตองมาก ซึ่งทราบว่ามีงานยุ่งมากก็ยินดีให้สัมภาษณ์ในวันหยุดและเตรียมพร้อมมาเป็นอย่างดี ต่อมาก็รู้สึกทึ่งมากเมื่อทราบประวัติการทำงาน และสุดท้ายไม่แปลกใจเลยที่ตัวเองประทับใจมากในความเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้ป่วยมะเร็งอย่างแท้จริง การได้มีโอกาสรู้จักและสัมภาษณ์ในครั้งนั้นจึงเกิดประโยชน์กับตนเองและงานวิจัยที่กำลังทำอยู่เป็นอย่างยิ่ง

หรรษา

 - ต่อ -

ความคิดเห็นของพี่อุบลที่ได้แตกต่างจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิท่านอื่นๆ คือ ความชัดเจนระหว่างสมรรถนะของพยาบาลทั่วไปกับของAPN ตอนนี้แนวคิดเกี่ยวสมรรถนะของพยาบาลทั่วไปก็ได้ post ขึ้นแล้ว ต่อไปพี่คงมีความเห็นเรื่องสมรรถนะของพยาบาล APN คงมีผู้รอติดตามอ่านอยู่นะค่ะรวมทั้งน้องด้วย

หรรษา

ขอเล่าสู่กันฟังเรื่องงานวิจัยหน่อยนะค่ะ

ป็นที่ยอมรับว่าบทบาทของ APN มีความสำคัญที่สุดในการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง โดยเป็น leader ในด้านต่างๆทั้งการดูแลผู้ป่วย การประสานงาน การคิดวิเคราะห์ การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงและการทำวิจัยเกี่ยวกับการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง แต่อย่างไรก็ตามปัญหาหนึ่งที่เราพบในหน่วยงานต่างๆที่ให้การดูแลผู้ป่วยมะเร็งคือ เรามีจำนวน APN สาขานี้น้อยมากและบางคนไม่มีโอกาสได้ทำงานตรงกับความเชี่ยวชาญของตนเอง ดังนั้นงานส่วนใหญ่จึงอยู่ในมือของพยาบาลระดับทั่วไปซึ่งมีประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยแตกต่างกันออกไปทั้งลักษณะหน่วยงาน การให้บริการและระยะเวลาการทำงาน จากข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้พบว่าพยาบาลที่ให้การดูแลผู้ป่วยมะเร็งทั่วประเทศ มีเพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่ได้อบรมหลักสูตรเฉพาะทางมาโดยตรง ส่วนใหญ่การดูแลผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆในปัจจุบันมาจากประสบการณ์ขณะทำงาน in-service education หรือการประชุมวิชาการในระยะสั้นๆ  ข้อจำกัดตรงนี้ทำให้ผู้ทำหน้าที่ APN ต้องรับภาระเหนื่อยมากๆ                 ดังนั้นเราคงต้องเร่งพัฒนาพยาบาลของเราเหมือนอย่างที่พี่อุบลกำลังกระตุ้น ส่งเสริม วางแผนและดำเนินการพัฒนาน้องๆที่ทำงานร่วมกับพี่ให้มีศักยภาพเพียงพอที่จะให้การดูแลผู้ป่วยมะเร็ง แต่หากการพัฒนานั้นขาดทิศทางที่ชัดเจน ก็จะทำให้เป็นการลงทุนที่ต้องใช้เวลาและใช้พลังอย่างมาก ดังนั้นสมรรถนะในการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งทั้งของระดับพยาบาลทั่วไปและของพยาบาล APN จึงควรจะถูกกำหนดขึ้นให้สอดคล้องกับมาตรฐานการดูแล บริบทของการดูแลผู้ป่วยในเมืองไทยของเรา ด้วยขั้นตอนหรือวิธีการที่เชื่อถือได้ก็คือการทำวิจัย เพื่อใช้เป็นกรอบทิศทางที่ชัดเจนในการพัฒนาพยาบาลที่ให้การพยาบาลกับผู้ป่วยมะเร็ง                        และปัญหาที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่หลายๆหน่วยงานประสบอยู่ก็คือ ไม่รู้ว่าจะประเมินสมรรถนะอย่างไร ขาดเครื่องมือที่เชื่อถือได้ในการประเมิน แบบวัดความรู้เพียงอย่างเดียวไม่สามารถบอกสมรรถนะของคนคนนั้นได้ทั้งหมด หรือมีการสร้างแบบประเมินขึ้นมาใช้เฉพาะหน่วยงานซึ่งให้บริการผู้ป่วยที่แตกต่างกันออกไป ก็จะพบว่าอาจจะยังไม่ครอบคลุมประเด็นสำคัญๆของการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง                        ผลจากวิจัยในครั้งนี้จะทำให้ได้คำตอบว่า สมรรถนะในการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งสำหรับพยาบาลระดับทั่วไปประกอบด้วยสมรรถนะหลักๆด้านใดบ้างและได้เครื่องมือประเมินสมรรถนะที่มีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้ โดยจะต้องผ่านการทดสอบกับพยาบาลที่ให้การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งในหน่วยงานต่างๆทั่วประเทศ (ตามจำนวนที่สุ่มได้)

 

น้องก็หวังว่าการได้มีโอกาสไปข่อนแก่นและได้สัมภาษณ์พี่อุบลจะเป็นโอกาสสำคัญที่ทำให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาพยาบาลของเราให้มีศักยภาพจนเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางถึงความสำคัญของพยาบาลต่อคุณภาพการดูแลและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งในประเทศไทยต่อไปค่ะ  หรรษา (น้อย)

สวัสดีค่ะน้องหรรษา

พี่เขียน เรื่อง สมรรถนะของของพยาบาลผู้ปฏิบัติการขั้นสูง.. ที่ดูแลผู้ป่วยมะเร็ง

ลองดูที่นี่ค่ะ

http://gotoknow.org/blog/ubolapn/125772?page=1

การประเมินสมรรถนะของพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยมะเร็ง
  • ปัญหาที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่หลายๆหน่วยงานประสบอยู่ก็คือ
  • ไม่รู้ว่าจะประเมินสมรรถนะอย่างไร
  • ขาดเครื่องมือที่เชื่อถือได้ในการประเมิน
  • แบบวัดความรู้เพียงอย่างเดียว  ไม่สามารถบอกสมรรถนะของคนคนนั้นได้ทั้งหมด
  • มีการสร้างแบบประเมินขึ้นมาใช้เฉพาะหน่วยงานซึ่งให้บริการผู้ป่วยที่แตกต่างกันออกไป ก็จะพบว่าอาจจะยังไม่ครอบคลุมประเด็นสำคัญๆของการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง                       

ผลจากวิจัยในครั้งนี้

  • จะทำให้ได้คำตอบว่า   สมรรถนะในการพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งสำหรับพยาบาลระดับทั่วไป   ประกอบด้วยสมรรถนะหลักๆด้านใดบ้าง   และได้เครื่องมือประเมินสมรรถนะที่มีความเที่ยงตรงและเชื่อถือได้   โดยจะต้องผ่านการทดสอบกับพยาบาลที่ให้การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งในหน่วยงานต่างๆทั่วประเทศ

 เป็นงานวิจัยที่น่าสนใจมาก  พี่จะรอผลวิจัยนะคะ

จะได้มีเครื่องมือที่สามารถประเมินสมรรถนะพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งได้เหมาะสมค่ะ

สวัสดีค่ะพี่อุบล

จากการที่ได้ทำ focus group กับพยาบาลระดับทั่วไปที่มีประสบการณ์ได้ดูแลผู้ป่วยมะเร็ง โดยทำ 2 ครั้งครั้งละ 7-8 คน โดยเป็นพยาบาลที่มาจากแผนกต่างๆกันที่ดูแลผู้ป่วยมะเร็ง เช่น อายุรกรรม ศัลย์ นรีเวช ortho เป็นต้น

นอกจากจะได้มีการแสดงความคิดเห็นถึงสมรรถนะหลักด้านต่างๆในการให้การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็ง ซึ่งมีประเด็นย่อยๆหลากหลายแนวคิด เป็นข้อมูลที่มาจากผู้ปฎิบัติทั้งที่ปฎิบัติดีแล้วและควรปฎิบัติเพื่อคุณภาพการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง

ทำให้เกิดการเรียนรู้ว่า

  • พยาบาลที่ทำงานด้านนี้ควรได้รับการ train มาโดยเฉพาะ
  • หากไม่สามารถส่งทุกคนไป train ได้ การ oraintation ตั้งแต่เข้ามา พร้อมจัดพี่เลี้ยงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง
  •  พยาบาลที่จะเข้ามาทำงานด้านนี้ ควรมีใจรักเป็นพื้นฐาน เพื่อที่จะสามารถเข้าใจปัญหาผู้ป่วยได้อย่างแท้จริง
  • พยาบาลยิ่งมีประสบการณ์ ก็จะสามารถ deal กับปัญหาต่างๆของผู้ป่วยได้ดีและระยะเวลาที่ผ่านไปจะช่วยปรับบุคลิกภาพของผู้ให้บริการไปด้วย ให้มีความเอาใจใส่ในปัญหาและความต้องการของผู้ป่วย
  • การทำงานด้านมะเร็งในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยจะตั้งรับอย่างเดียวไม่พอ ต้องริเริ่มการพยาบาลเชิงรุก ถึงแม้ระบบบริการของโรงพยาบาลยังไม่เอื้อให้ก็ตาม เพื่อให้สามารถติดตามดูแลผู้ป่วยขณะดูแลตนเองที่บ้านด้วย

ข้อมูลที่ได้จากการสนทนากลุ่มก็จะนำไปประกอบกับข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆอีกประมาณ 10 ท่าน ก่อนนำมาสรุป หามีอะไรก้าวหน้าก็จะเขียนมาเล่าสู่กันนะคะ

หรรษา

 

สวัสดีค่ะ

การtrain พยาบาลที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์จะต้องมีการสอนทฤษฎี ประมาณ 5-10 วัน

สอนปฏิบัติ โดยมีพี่เลี้ยงสอน

การให้ IV การเลือกเส้นเลือด การให้ยาเคมีบำบัด การประคบเย็น ประคบร้อน การป้องกันการเกิด Extravasation ฯลฯ

จะประคบคู่เวรเช้า ประมาณ  1 เดือน ถ้ายังประเมินไม่ผ่านจะต้องประกบคู่ต่อ  และประกบคู่กับพี่ ในเวรบ่ายดึกอีก 1 เดือน แล้วประเมิน

เมื่อเริ่มทำงานได้แล้ว การขึ้นปฏิบัติงานทุกเวร จะต้องมีพี่ขึ้นเวรกับน้อง ประมาณ 1 ปี

สอนการให้ข้อมูล  การทำกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน ดนตรีบำบัด

โรงพยาบาลผมกำลังจะส่งพยาบาล train palliative care ผมจะส่งพยาบาลไปอบรมได้ที่ไหนครับได้ที่ไหนบ้างครับ

สวัสดีค่ะคุณหมอโรจน์

เห็นน้องพยาบาลที่ไปอบรม จะไปที่ มอ ค่ะ

แล้วจะถามน้องพยาบาลที่ train มาแล้วให้นะคะ

   ก่อนอื่นดิฉันต้องขออนุญาตแสดงความชื่นชม..กับพี่ๆ ที่มีความตั้งใจจะพัฒนาวิชาชีพ โดยเฉพาะในด้านการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง..

  ศาสตร์คู่กับศิลป์..ความรู้คู่คุณธรรม.. อยากขอเสริมให้พยาบาล (ไม่เฉพาะแต่ที่ดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง) ว่าควรเพิ่มสมรรถนะ -ความเข้าใจในเรื่องของกฎธรรมชาติ..และการดูแลผู้มารับบริการแบบองค์รวมให้มากๆ ค่ะ..

   ขอแบ่งปันความคิด..จากประสบการณ์ที่ตนเองได้เคยประสบมา (แม้อายุการทำงานจะน้อยกว่าพี่ๆ ) แต่อยากจะบอกว่า..ยิ่งความเจริญด้านเทคโนโลยีมีมากเท่าไร...คนเราก็มักจะห่างจากธรรมชาติมากขึ้นเท่านั้น..กล่าวคือ ไม่ค่อยยอมรับความจริงกัน..ซึ่งความจริงนี้แหละค่ะ ..ที่ตัวผู้ป่วยต้องการมากที่สุด..และเป็นสิ่งที่สหสาขาวิชาชีพมักจะลืมกัน..เพราะมัวแต่ตามใจญาติ..ว่าจะให้ทำอย่างไร.. จนลืมที่จะถามผู้ป่วยว่าต้องการ อย่างที่ญาติต้องการหรือไม่....เพาะบ่อยครั้งที่ความหวังดีของญาติ..กลายเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยไม่ต้องการ..อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มความทุกข์ทรมานให้กับผู้ป่วยอีกด้วยค่ะ...

เป็นความจริงค่ะ คุณฉัฐม์สุดา ธีระกุล ที่เราเห็นญาติเป็นคนที่คอยบอกเราว่า ห้ามบอก ห้ามอธิบายว่าผู้ป่วยเป็นอะไร แม้กระทั่งระยะสุดท้ายแล้ว ยังไม่ให้รู้

พี่เคยถามญาติว่า ถ้าท่านป่วย เราจะอยากทราบไหมว่า เราเป็นอะไร

แต่ด้วยความหวังดีของญาติ เราเป็นพยาบาลจะต้องให้ญาติยอมรับได้ก่อน

ทีมแพทย์ค่อยบอกผู้ป่วย ถ้าทุกคนพร้อม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท