ธรรมหรรษา
รศ.ดร. พระมหา หรรษา นิธิบุณยากร

“การเขียนบทความทางวิชาการเนื่องในวันวิสาขบูชาโลก เรื่อง “การฟื้นตัวจากวิกฤติการณ์ของโลกตามทัศนะของชาวพุทธ”


          มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีบทบาทสำคัญในฐานะองค์กรทางพระพุทธศาสนา ที่ได้รับความเห็นชอบจากองค์การสหประชาชาติ รัฐบาลไทย และมหาเถรสมาคม ให้ดำเนินการจัดการประชุมสัมมนาทางวิชาการในระดับนานาชาติหลายครั้ง  ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๓ นี้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้รับมอบหมายจากรัฐบาลและมหาเถรสมาคมให้เป็นศูนย์กลางติดต่อประสานงานและดำเนินการจัดกิจกรรมนานาชาติเนื่องในวันวิสาขบูชาโลก เรื่อง “การฟื้นตัวจากวิกฤติการณ์ของโลกตามทัศนะของชาวพุทธ” ซึ่งมีผู้แทนส่วนราชการและองค์กรเอกชนร่วมดำเนินการ ระหว่างวันที่ ๒๓-๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งในงานวิสาขะในครั้งนี้คาดว่าจะผู้นำทางวิชาการและผู้นำศาสนาจากนิกายทั่วโลก ประมาณ ๓,๕๐๐ รูป/คน จาก ๘๐ ประเทศมาร่วมจัดงานเฉลิมฉลอง และร่วมงานสัมมนาทางวิชาการระดับนานาชาติ

          สืบเนื่องจากสถานการณ์โลกในปัจจุบันมนุษยชาติได้เผชิญกับวิกฤตการณ์หลายด้าน เช่น สิ่งแวดล้อม การศึกษา เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งวิกฤติการณ์ดังกล่าว เป็นที่ประจักษ์ว่า ประชาคมโลกได้ตระหนักรู้ และร่วมมือกันแสวงหาทางออกเพื่อแก้ไขวิกฤตการณ์ และพบว่า วิกฤตการณ์บางอย่างได้ฟื้นตัวในทิศทางเชิงบวกมากยิ่งขึ้น  จากสภาวการณ์ดังกล่าว  คณะกรรมการจัดงานวิสาขบูชานานาชาติ จึงเห็นความสำคัญที่จะสัมมนาระดับนานาชาติ และพิจารณารับบทความทางวิชาการ ภายใต้หัวข้อหลัก (Main Theme) เรื่อง “การฟื้นตัวจากวิกฤติการณ์ของโลกตามทัศนะของชาวพุทธ” (Global Recovery: The Buddhist Perspective) ซึ่งจะสนับสนุนการศึกษาวิจัยรอบด้าน และรับข้อเสนอจากนักวิชาการทั่วไปที่เกี่ยวกับหัวข้อย่อย (Sub-Theme) ดังต่อไปนี้:

๑.   การฟื้นตัวจากวิกฤติการณ์ของโลก โดยอาศัยการพัฒนาทางจิต

  (Global Recovery through Mental Well-being)

๒.   การฟื้นตัวจากวิกฤติการณ์ของโลก โดยอาศัยการศึกษาเชิงพุทธ
  (Global Recovery through Buddhist Education)

๓. การฟื้นตัวจากวิกฤติการณ์ของโลก โดยอาศัยการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ      
    (Global Recovery through Harmonious Co-existence)

๔. การฟื้นตัวจากวิกฤติการณ์ของโลก โดยอาศัยนิเวศวิทยาเชิงพุทธ
    (Global Recovery through Buddhist Ecology)

๕. การฟื้นตัวจากวิกฤติการณ์ของโลก โดยอาศัยพระพุทธศาสนาเพื่อสังคม
    (Global Recovery through Engaged Buddhism)

ในการจัดการประชุมหลายครั้งที่ผ่านมา ได้มีการประกาศเชิญชวนให้ผู้ทรงคุณวุฒิทั่วไปรวมทั้งคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย นำเสนอบทความทางวิชาการในการประชุม  อย่างไรก็ตามปรากฏว่ายังมีคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่เสนอบทความไม่มากนัก  ดังนั้น เพื่อเป็นการสนองตอบต่อปรัชญาของมหาวิทยาลัย ในการเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม และเพื่อให้เป็นไปตามตัวชี้วัดในการประกันคุณภาพการศึกษา จึงสมควรจัดให้มีกระบวนการในการพัฒนาคณาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยให้สามารถเขียนบทความทางวิชาการที่มีคุณภาพ และนำเสนอบทความทางวิชาการในการประชุมทางวิชาการทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ จึงสมควรให้มีการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) แก่คณาจารย์ของมหาวิทยาลัยขึ้นทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

หมายเลขบันทึก: 321441เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2009 14:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

นมัสการพระคุณเจ้า

  • ครูอ้อยมาอ่านด้วยความตั้งใจใฝ่เรียนรู้เจ้าค่ะ
  • กราบขอบพระคุณเจ้าค่ะ  ได้รับความรู้มากมายเลยเจ้าค่ะ

จะเข้ามาอ่านอีกนะเจ้าคะ

เจริญพร ครูอ้อย

อนุโมทนาขอบใจมากที่กรุณาแวะมาให้กำลังใจ ปีใหม่ขอให้มีความสุขมากๆ สุขภาพแข็งแรง

นมัสการครับ

เป็นเรื่องที่ดีมากเลยครับ จะพยายามฝึกเขียน ไม่รู้ว่าจะสำเร็จหรือไม่

ขอบคุณมากสำหรับคำแนะนำและเชิญชวนให้เขียนบความครับ

กราบขอบพระคุณมากครับ

ท่านดร. ฤทธิชัย

ไม่ต้องถ่อมต้วหรอก อาตมาเชื่อมืออาจารย์ว่าทำได้อยู่แล้ว จะรออ่านบทความของอาจารย์

  • ตามรอยพระคุณเจ้ามาติด ๆ วาว ๆ
  • เป็นแม่งานนี้ด้วยนะนี่...
  • คงต้องเติมพลังเอาไว้มาก ๆ นะครับ
  • เพราะงานนี้ดูจะทำเล้ก ๆ ไม่ได้ซะแล้วละ
  • ขอเป็นแรงเชียร์ ส่งมาให้เป็นกำลังใจก่อนนะครับผม...อิ อิ อิ
  • นมัสการพระคุณเจ้าธรรมะหรรษา

นมัสการพระคุณเจ้า ธรรมหรรษา

ผมยินดีร่วมเป็นกรรมการอำนวยการครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท