ชมสารคดีเสด็จประพาสต้น : รัชกาลที่ ๕ ประพาสมณฑลฝ่ายเหนือ (อุตรดิตถ์)


ชมคลิปรายการสารคดีเสด็จประพาสต้น ตอนที่ ๔๖ : ประพาสมณฑลฝ่ายเหนือ (อุตรดิตถ์) (๑๕ ก. ย. ๕๒) ช่อง TPBS

 

http://gotoknow.org/file/tevaprapas/Chulalongkorn.jpg
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕

สด็จประพาสต้น ตอนที่ 46 : ประพาสมณฑลฝ่ายเหนือ (อุตรดิตถ์) (วันอังคารที่ 15 ก. ย. 52)

       ปี พุทธศักราช 2444 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินทางเรือมาทางลำน้ำน่านเข้าสู่เมืองอุตรดิตถ์ เมืองท่าแห่งทิศเหนือ บ้านเกิดของพระยาพิชัยดาบหัก....!!
 
   
      ที่นี่เป็นเมืองเก่าแก่ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีเมืองพิชัยและเมืองสวางคบุรีเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ เป็นเมืองหน้าด่านของกรุงศรีอยุธยา ปัจจุบันอุตรดิตถ์ตั้งอยู่ทางใต้สุดของภาคเหนือและทางเหนือสุดของภาคกลาง ดังคำที่เรียกขานว่า จังหวัดเหนือล่างกลางบน

      เมืองอุตรดิตถ์ อยู่ในเขตรอยต่อระหว่างภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน ในอดีตเมืองนี้เคยเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้าและเป็นชุมชนการค้าที่สำคัญในแถบภาคเหนือตอนล่าง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเห็นว่า ดินแดนนี้คงเจริญต่อไปในภายหน้า ระหว่างการเสด็จประพาสหัวเมืองเหนือ ปี พุทธศักราช 2444 พระองค์จึงมีรับสั่งให้ย้ายที่ว่าการเมืองมาอยู่ที่บริเวณตำบลบางโพธิ์ท่าอิฐ ซึ่งก็คือตัวเมืองอุตรดิตถ์ในปัจจุบันนั่นเอง

      ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน อุตรดิตถ์ถือเป็นอีกเมืองหนึ่งที่ยังคงรักษาคุณค่าแห่งเมืองประวัติศาสตร์ โบราณสถาน รวมถึงวิถีชีวิตของชาวเมืองไว้ได้แทบจะไม่แตกต่างจากเมื่อคราวที่พระองค์ได้เสด็จประพาสเมื่อร้อยปีที่ผ่านมา

เมืองอุตรดิตถ์

      เมืองพิชัย และเมืองสวางคบุรี เป็นเมืองหน้าด่านในภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน และส่วนหนึ่งติดหลวงพระบาง
โดยในอดีต อุตรดิตถ์ เป็นเมืองเล็กๆ ของเมืองพิชัย ซึ่งในครั้งนั้น เมืองพิชัยมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์มากกว่า

      ต่อมา ร.5 เมื่อเสด็จประพาสเมืองพิชัย ทรงเห็นว่าเศรษฐกิจมีการเจริยเติบโตมากที่เมืองอุตรดิตถ์ จึงโปรดให้ย้ายที่ว่าการเมือง
พิชัยและศาลเมืองพิชัย ไปอยู่ที่ตำบลท่าอิฐ หรือเมืองอุตรดิตถ์ในปัจจุบัน

      การคมนาคมสมัยนั้นอาศัยทางเรือเป็นหลัก มีท่าเทียบเรืออยู่ถึง 3 ท่าคือ ท่าเซา ท่าอิฐ และท่าโพธิ ซึ่งท่าโพธิ สามารถติดต่อการค้ากับเมืองหลวงพระบาง  ซึ่งได้ตกอยู่ในอาณัติของฝรั่งเศสไปแล้ว (พื้นที่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง) ส่วนท่าอิฐ สามารถติดต่อกับพ่อค้าจากพิษณุโลก ที่มาจากปากน้ำโพ และเรื่อยมาจากแม่น้ำเจ้าพระยาส่วนล่างได้

ช่องภูดู่

      ช่องภูดู่ ตำบลม่วงเจ็ดต้น อำเภอบ้านโคกเป็นช่องทางติดต่อกับ ปากลาย แขวงชัยยะบุรี ของ สปปล. ซึ่งปัจจุบันเป็นช่องทางผ่านแดนชั่วคราว สามารถไปมาหาสู่กันได้
และเชื่อว่าในอนาคต จะเป็นเส้นทางท่องเที่ยวสำคัญสู่ประเทศอินโดจีน และประเทศจีน รวมทั้งเป็นช่องทางการค้าขายด้วย
เนื่องจากมีทรัพยากรด้านป่าไม้ แร่ธาตุ รวมทั้งเหล็กน้ำพี้ที่ขึ้นชื่อสำหรับการตีดาบ

ตรอนตรีสินธ์

      เมืองตรอน หรืออำเภอตรอน เป็นเมืองที่ ร.5 เสด็จทอดพระเนตรการตีดาบจากเหล็กน้ำพี้ ซึ่งมีคุณสมบัติแข็ง-เหนียวเป็นพิเศษ อ่อนนอกแข็งใน และถือว่า
เหล็กน้ำพี้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิอย่างหนึ่ง มีบ่อเหล็กที่อำเภอทองแสนขัน อำเภอตรอนมีความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากมีลำน้ำไหล
ผ่านและรวมกันถึง 3 สายคือ ลำน้ำพี้ ลำน้ำตรอน และลำน้ำน่าน จนเรียกอีกชื่อว่า ตรอนตรีสินธ์

เมืองลับแล

      เมืองลับแล หรืออำเภอลับแล มีความอุดมสมบูรณ์เช่นเดียวกับเมืองตรอน ร.5 เสด็จทอดพระเนตรความอุดมสมบูรณของพืชพรรณต่างๆ และได้เปรียบเทียบกับเกาะชวาไว้ว่า "..มีความอุดมสมบูรณ์เพราะมีลำน้ำผ่านหลายสาย ต้นข้าวอ้วน ล่ำ สมบูรณ์กว่าที่เกาะชวามาก ต้นไม้ทุกต้นในลับแลมีผลทุกต้นทั้งสิ้น.." และที่เมืองลับแลมีการใช้ภูมิปัญญาในการกักเก็บน้ำตามลำน้ำต่างๆด้วยวิธีสร้างฝายน้ำล้นเพื่อกักน้ำไว้ใช้ และประวิงเวลาให้น้ำไหลผ่านไปช้าๆ ร.5 ทรงชมว่า "..ฉลาดทำมาก.."

วัดพระแท่นศิลาอาสน์

      วัดพระแท่นศิลาอาสน์ อำเภอลับแล เป็นพุทธเจดีย์ที่เชื่อว่า มีพระพุทธเจ้า 5 พระองค์มาประทับตรัสรู้และคอยโปรดสัตว์หลังใหญ่กว่าพระแท่นดงรัง ที่กาญจนบุรี ปี พ.ศ. 2383 พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เสด็จมานมัสการพระแท่นศิลาอาสน์แห่งนนี้ และ ใน ปี พ.ศ. 2483 จังหวัดอุตรดิตถ์ได้นำภาพพระแทนศิลาอาสน์เป็นตราของจังหวัด

วัดพระฝางสวางคบุรีมณีนาถ

      วัดพระฝางสวางคบุรีมณีนาถเป็นวัดเดิมที่เจ้าพระฝาง หนึ่งในผู้ชุมนุมกอบกู้อิสรภาพจากพม่าสัยกรุงศรีอยุธยาแตกในคั้งที่ 2 จำพรรษาอยู่ที่นี่ โดยนุ่งห่มจีวรแดง วัดนี้มีพระพุทธรูปงดงามมากชือ "พระฝาง" ซึ่ง ร.5 ได้อัญเชิญกลับไปพระนครในปี พ.ศ. 2444 เพื่อประดิษฐานไว้ที่วัดเบญจมบพิตรด้วย และในปี พ.ศ. 2451 ได้มีพระราชหตถเลขาถึง กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ให้จำลองพระฝางเพื่อส่งคืนไปยังวัดพระฝาง แต่ก็ไม่ได้ดำเนินการต่อ เนื่องจาก ร.5 เสด็จสวรรคต แต่ในปี พ.ศ. 2549 ของรัชกาลปัจจุบัน ได้มีการจัดหล่อ "พระฝางจำลอง" ขึ้น และนำ "พระฝางจำลอง" กลับคืนสู่วัดพระฝาง

วัดท่าถนน

      เป็นวัดที่มีพระบรมรูปหล่อ ของ ร.5 ประดิษฐานอยู่บริเวณหน้าวัด ซึ่งวัดนี้มี "หลวงพ่อเพ็ชร" เป็นพระประธาน และ ร.5 ได้อัญเชิญกลับพระนครในปี พ.ศ. 2444 ด้วย แต่ในปี พ.ศ. 2453 ได้เชิญกลับคืนสู่วัด นับแต่นั้นมา


(ขอบคุณข้อมูลจาก TPBS)


 

ตอนที่ ๑ (๑๐ นาที)

รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสเมืองอุตรดิตถ์ พุทธศักราช ๒๔๔๔

http://gotoknow.org/file/tevaprapas/kingchulaUtt-page49.jpg

(ภาพถ่ายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงฉายพระบรมฉายาลักษณ์ร่วมกับ
พระบรมวงศานุวงศ์และเจ้าเมืองประเทศราชและข้าราชการเมืองอุตรดิฐ
หน้าพลับพลารับเสด็จหน้าวัดวังเตาหม้อ (วัดท่าถนน) จังหวัดอุตรดิตถ์ พ.ศ. ๒๔๔๔
เมื่อคราวเสด็จมณฑลฝ่ายเหนือ - ภาพจากหน้า ๔๙ หนังสือพระราชหัตถเลขา
คราวเสด็จมณฑลฝ่ายเหนือ ในรัชกาลที่ 5 นับในหนังสือเรื่องเที่ยวที่ต่าง ๆเปนภาคที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๖๕)

http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/3/3a/%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%94.jpg

(ท่าอิดในสมัยรัชกาลที่ ๕ หน้าพลับพลารับเสด็จหน้าวัดวังเตาหม้อ (วัดท่าถนน) จังหวัดอุตรดิตถ์ 
เมื่อคราวเสด็จมณฑลฝ่ายเหนือ - ภาพจากหนังสือพระราชหัตถเลขา 
คราวเสด็จมณฑลฝ่ายเหนือ ในรัชกาลที่ 5 นับในหนังสือเรื่องเที่ยวที่ต่าง ๆเปนภาคที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๖๕)

http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/8/88/Nan_river_in_Uttaradit.jpg/800px-Nan_river_in_Uttaradit.jpg

(ท่าอิฐมุมเดียวกับภาพบนในปัจจุบัน)


- ปฐมบท ความเป็นมาเมืองอุตรดิตถ์ -
ความเป็นมาเมืองอุตรดิตถ์

เมืองแห่งท่าน้ำเหนือ

ย้ายเมืองพิชัยมาท่าอิฐ

- ศูนย์กลางการค้าแห่งภาคเหนือในอดีต -
ท่าเชื่อมต่อการค้า=เมืองเหนือ->ท่าอิฐ->พิษณุโลก->ปากน้ำโพ->กรุงเทพ

 

Cquote1.svg

"อนึ่ง เมืองพิชัยนั้นโดยภูมิฐานที่ตั้งไม่ดี มีแต่ร่วงโรยลง ที่เมืองอุตรดิตถ์นี้ความเจริญขึ้นรวดเร็ว มีการค้าขายแลผู้คนมากจนเป็นอำเภอก็จะไม่ค่อยพอที่จะปกครองรักษา ฉันจึงสั่งให้ย้ายที่ว่าการเมืองขึ้นมาตั้งที่พลับพลานี้ แต่อำเภออุตรดิตถ์ก็คงเป็นอำเภออุตรดิตถ์อยู่ อำเภอพิชัยก็คงเป็นอำเภอเมืองพิชัย ย้ายแต่ที่ว่าการเมืองแลศาลเมืองขึ้นมาตั้งที่นี่ แลพลับพลาที่สร้างขึ้นนี้จะใช้ได้ต่อไปอีกหลายปี กว่าการที่ปลูกสร้างใหม่จะแล้วสำเร็จ"

Cquote2.svg
พระราชหัตถเลขา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ คราวเสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือ พุทธศักราช ๒๔๔๔

 

Cquote1.png

"การที่ตลาดติดได้ใหญ่โต เพราะพวกเมืองแพร่ มาลงที่ท่าเสา เหนือท่าอิดขึ้นไปคุ้งหนึ่ง พวกเมืองน่าน ลงมาข้างลำน้ำ พวกเหนือแลตะวันออกลงข้างฝากตะวันออก แต่มาประชุมกัน ค้าขายแลกเปลี่ยนกันอยู่ที่หาดนั้น แต่ก่อนสินค้าข้างล่างขึ้นมายังไม่สะดวกดังเช่นทุกวันนี้ แต่บัดนี้ ลูกค้ารับช่วงกันเป็นตอน ๆ พวกที่นี่ลงไปเพียงปากน้ำโพ พวกปากน้ำโพ รับสินค้าจากกรุงเทพเป็นการสะดวกดีขึ้น"

Cquote2.png
พระราชหัตถเลขา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ คราวเสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือ พุทธศักราช ๒๔๔๔



 

-----------------------------------------------------------------------

ตอนที่ ๒ (๑๐ นาที)

 

ด่านภูดู่ ประตูสู่เมืองหลวงพระบาง
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/4/40/Dan-pu-du.jpg/150px-Dan-pu-du.jpg

- ทรัพยากรสำคัญเมืองอุตรดิตถ์ -
แหล่งแร่เหล็กน้ำพี้
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/2/2a/Bo_Lek_Nam_Phi_%28Nam_Pi_iron_mines%29_03.jpg/150px-Bo_Lek_Nam_Phi_%28Nam_Pi_iron_mines%29_03.jpg

- เมืองตรอนตรีสินธ์ -
เมืองแห่งแม่น้ำสามสาย
 (แม่น้ำพี้, แม่น้ำตรอน แม่น้ำน่าน มาบรรจบกัน)
http://www.thaipbs.or.th/s1000_obj/content_obj/html/573086/Obj/Untitled-6.jpg

- ประพาสเมืองลับแล -
เมืองชวาแห่งสยามประเทศ
(พระราชหัตถเลขา)

Cquote1.png

"ต้นข้าวในท้องนาอ้วนล่ำแลใหญ่งามสพรั่ง สุดสายตา ดีกว่าที่ชวาเป็นอันมาก เมื่อสุดที่นาก็ถึงหมู่บ้าน ซึ่งล้วนเป็นสวนต้นผลไม้มีหมากเป็นต้นปลูกเยียดยัดกันเต็มแน่นไป ในหมู่บ้านฉะนี้ก็คล้ายกันกับที่ชวา แต่ของเราดีกว่าที่ล้วนเป็นต้นไม้มีผลทั้งสิ้น"

Cquote2.png
พระราชหัตถเลขา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ คราวเสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือ พุทธศักราช ๒๔๔๔


http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/f/fa/%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%A5.jpg/200px-%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%A5.jpg

- พุทธสถานสำคัญของเมืองลับแล -
ประพาสวัดพระแท่่นศิลาอาสน์
(พระราชหัตถเลขา)

Cquote1.png

"ถึงเนินศิลาแลง ที่เป็นที่ตั้งวิหารพระแท่น ที่พระแท่นนั้นมีกำแพงแก้วล้อมรอบ เป็นกำแพงหนาอย่างวัดโบราณ มีวิหารใหญ่หลังหนึ่ง โตกว่าวิหารพระแท่นดงรัง ข้างในตรงกลางวิหารมีมณฑป ในมณฑปนั้น มีแท่นก่ออิฐถือปูน ที่กลางเป็นชองสำหรับผู้นมัสการบรรจุเงินและเข็ม ดานริมผนังหลังวิหาร มีพระพุทธรูปกองโต ต้นพุทราอยู่ในกำแพงข้างขวาวิหาร ข้างซ้ายวิหารมีมุขยื่นออกไปเป็นที่บ้วนพระโอษฐ์แลประตูยักษ์อยู่ตรงนั้น"

Cquote2.png
พระราชหัตถเลขา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ คราวเสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือ พุทธศักราช ๒๔๔๔


http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/9/97/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%99..jpeg

 

-----------------------------------------------------------------------

ตอนที่ ๓ (๑๐ นาที)


ประพาสวัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง
(พระราชหัตถเลขา)

Cquote1.png

"มาจากพระแท่น ๓๐ เส้น ถึงเมืองทุ่งยั้ง เป็นเมืองเก่า มีกำแพงเชิงเทิน วัดมหาธาตุตั้งอยุ่จะกึ่งกลางกำแพงเมือง ได้แวะในที่นั้น พระวิหารหลวงยังคงรูปอยู่ตามเดิม มีเครื่องไม้สลักพอดูได้ เป็นของเก่าที่บานประตู องค์พระมหาธาตุนั้น สร้างขึ้นใหม่ รูปนั้นเป็นแว่นฟ้าสามชั้น แต่ไปเอาพระเจดีย์มอญมาตั้งขึ้นข้างบน ถ้าดูไม่นึกว่ากระไร ก็พอดูได้"

Cquote2.png
พระราชหัตถเลขา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ คราวเสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือ พุทธศักราช ๒๔๔๔

 

http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/5/54/Barom-tungyang.jpg/246px-Barom-tungyang.jpg

 

- พุทธสถานสำคัญของเมืองอุตรดิตถ์ -
ประพาสวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ
(พระราชหัตถเลขา)

เหนือสุดแห่งการเสด็จประพาสหัวเมืองแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

Cquote1.png

"ที่ซึ่งตั้งวัดนั้นเป็นเนินสูงขึ้นไป หน่อย มีกำแพง ๔ ด้านอย่างเดียวกันกับพระมหาธาตุทุ่งยั้ง แต่มุมข้างหนึ่งย่อออกไปสำหรับพระอุโบสถ วัดข้างเหนือนี้ใช้พระอุโบสถเล็ก แลพระวิหารหลวงใหญ่ พระอุโบสถที่กล่าวมาแล้วนั้น คือที่ไว้พระฝาง ซึ่งเชิญลงไปไว้วัดเบญจมบพิตร ฐานยังคงอยู่ที่นี่ เพราะฉะนั้นพระฝางจึงได้ขาดฐาน ฐานที่ทำขึ้นไปใช้ไปพลางเดี๋ยวนี้เลวกว่าของเดิมมากนัก"

Cquote2.png
พระราชหัตถเลขา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ คราวเสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือ พุทธศักราช ๒๔๔๔

http://gotoknow.org/file/tevaprapas/watphrafang-page52.jpg

(ภาพถ่ายหาดน้ำน่านหน้าวัดพระฝาง พ.ศ. ๒๔๔๔ 
เมื่อคราวเสด็จมณฑลฝ่ายเหนือ - ภาพจากหน้า ๕๒ จากหนังสือพระราชหัตถเลขา
คราวเสด็จมณฑลฝ่ายเหนือ ในรัชกาลที่ 5 นับในหนังสือเรื่องเที่ยวที่ต่าง ๆเปนภาคที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๖๕)

http://gotoknow.org/file/tevaprapas/hat_wat_phrafang.jpg
(ภาพถ่ายหาดน้ำน่านหน้าวัดพระฝาง พ.ศ. ๒๕๕๒ ในมุมเดียวกับภาพถ่ายในปี พ.ศ. ๒๔๔๔ จะเห็นว่าหาดทรายกว้างได้หายไปหมดแล้ว)

http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/e/e2/Stupa_of_Wat_Phra_Fang_1.jpg/180px-Stupa_of_Wat_Phra_Fang_1.jpg

ตำนานพระพุทธรูปพระฝาง
(พระราชหัตถเลขา)

http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/8/86/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9D%E0%B8%B2%E0%B8%87.gif 

 

- เกร็ด -
วััดท่าถนน (วัดวังเตาหม้อ)
หลวงพ่อเพ็ชรวัดท่าถนน พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอุตรดิตถ์
(พระราชหัตถเลขา)
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/7/73/Luang_Pho_Phet_%28Wat_Tha_Thanon%29.jpg

พระบรมรูปรัชกาลที่ ๕ (ริมน้ำน่าน)
http://upload.wikimedia.org/wikipedia/th/thumb/c/c4/%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88_5_%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%96%E0%B9%8C.jpg/150px-%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88_5_%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%96%E0%B9%8C.jpg

 

 

 

-----------------------------------------------------------------------------------------

ข้อมูลและภาพจาก-
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ.  (2465).  พระราชหัตถเลขา คราวเสด็จมณฑลฝ่ายเหนือ ในรัชกาลที่ 5 นับในหนังสือเรื่องเที่ยวที่ต่าง ๆเปนภาคที่ 5.  กรุงเทพ : โรงพิมพ์ไทย.

เสด็จประพาสต้น ตอนที่ 46 : ประพาสมณฑลฝ่ายเหนือ (อุตรดิตถ์).  (2552).  องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย.  [ออน-ไลน์]. แหล่งข้อมูล : http://www.thaipbs.or.th/

จังหวัดอุตรดิตถ์, บ่อเหล็กน้ำพี้, เทสบาลเมืองอุตรดิตถ์, วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง, วัดพระแท่นศิลาอาสน์, วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ, หลวงพ่อเพ็ชร (วัดท่าถนน). พระพุทธรูปพระฝาง, อำเภอลับแล.  (2552).  วิกิพีเดียภาษาไทย.  [ออน-ไลน์]. แหล่งข้อมูล : http://th.wikipedia.org/

 

เพลงประกอบรายการ : ฟังเพลง เพลงเขมรไทรโยค (Tale of Saiyok) อำนวยเพลงโดย : รศ. ดร. สุกรี เจริญสุข ผู้อำนวยการวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Webstats4U - Free web site statistics

หมายเลขบันทึก: 306999เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2009 21:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

วิธีเก็บไว้ดู

copy ลิงก์

http://www.youtube.com/watch?v=52KVFpf1DGo

http://www.youtube.com/watch?v=PAmuJf9yodw

http://www.youtube.com/watch?v=EvzFRcRk2lU

ไปใส่ใน

http://keepvid.com/

คลิก Download

จะขึ้นหน้าใหม่

คลิกที่

›› Download ‹‹ (video.mp4 - High Quality 480x360)

จะได้ไฟล์ .mp4 เก็บไว้ในคอมให้ลูก ๆ หลาน ๆ ดู หรือดูในโทรศัพท์มือถือก็ได้ครับ

ขอบคุณครับ

คนอุตรดิตถ์เหมือนกันครับ อิอิ

ขอถามว่ามีcdเพลงประกอบรายการเส็จประพาสต้นไหมค่ะ

เพลงเขมรไทรโยคอะค่ะ อยากซื้อค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท