โรงพยาบาลสว่างอารมณ์


การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Participatory) ที่มีค่านิยมร่วมในการมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Result Based Management Value) และการบูรณาการ (Integration) กระบวนการบริหาร วิชาการ ตลอดจนเทคโนโลยีสารสนเทศ บนพื้นฐานของการจัดการระบบที่ดี (Systemic Management) และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน (Style of Life) บนความต่อเนื่องของเวลา(Continuity) [PRISS+C]

ออกจากโรงพยาบาลทัพทัน ถึงโรงพยาบาลสว่างอารมณ์ เหมือนสับสวิตช์ ผู้อำนวยการ นพ.สุชิน คันศร ดูจะเป็นคนพูดน้อย (แต่มีคนกระซิบว่า ต่อยหนัก)

โรงพยาบาลสว่างอารมณ์ ชื่อดีเหมือนอำเภอ น่าจะนำมาเป็นชื่อโครงการด้านสุขภาพจิตเด่นๆได้ เป็นโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง

วิสัยทัศน์โรงพยาบาล เป็นสถานบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพ ให้บริการด้วยความเสมอภาค โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชน เป็นวิสัยทัศน์ที่ผู้เขียนรู้สึกได้ถึงโอกาสของความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชน เพราะโดยส่วนตัวผู้เขียนมีความเชื่อว่า ปัญหาสุขภาพหลายอย่างของประเทศเราเป็นปัญหาเรื้อรัง ก็เพราะข้าราชการประเภท พี่มีแต่ให้ เหมือนเนื้อเพลง พี่มีแต่ให้...

...พี่คนนี้ นั้นมีแต่ให้  เจ้าใช่ไหม ไม่เคยให้พี่ อยากได้อะไรหาให้ทันที ให้เจ้ามากขนาดนี้ ไม่ดีอีกหรือแม่คุณ…
ผู้เขียนยืนยันว่าการแก้ไขปัญหาสุขภาพประชาชนต้องอาศัยแนวทาง 6 ประการคือ

การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Participatory) ที่มีค่านิยมร่วมในการมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Result Based Management Value) และการบูรณาการ (Integration)  กระบวนการบริหาร   วิชาการ   ตลอดจนเทคโนโลยีสารสนเทศ บนพื้นฐานของการจัดการระบบที่ดี (Systemic Management) และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชน (Style of Life)  บนความต่อเนื่องของเวลา(Continuity) [PRISS+C] (อ่าน PRISS และ ใจเย็นไว้โยม

เพราะไม่เช่นนั้นก็ต้องร้องท่อนจบของเพลงด้วยความรู้สึกช้ำใจเหมือนทุกวันนี้ว่า

...พี่วันนี้ พี่ก็ยังให้ เจ้าวันไหน เจ้าจะให้พี่ ให้ความจริงใจ ให้ความรักพี่บ้างซิ ให้เจ้ามากอย่างนี้ ให้พี่ไม่ได้เชียวหรือ...

สภาพโดยทั่วไปโรงพยาบาลสว่างอารมณ์ เป็นโรงพยาบาลที่สะอาด ดูดี เรียบง่าย มีจุดที่ผู้เขียน ประทับใจ แม้เดินดูด้วยความเร่งรีบ (เนื่องจากใช้เวลาส่วนใหญ่นั่งคุยกันในห้องประชุมร่วมกับท่านสาธารณสุขอำเภอ วิมล แสงอุทัย และทีมจากสถานีอนามัยบางส่วน) ได้แก่

ห้องจ่ายยา ลักษณะคล้ายกับที่โรงพยาบาลทัพทัน คือตั้งเคาน์เตอร์ออกมาหน้าห้องยา เพื่อการจ่ายยาผู้ป่วยที่มีคุณภาพ

มุมเรียนรู้ต่างๆ เป็นมุมการเรียนรู้ที่ไม่ค่อยได้เห็น เช่น มุมเรียนรู้ธรรมะ มุมเรียนรู้ มุมพัฒนาการเด็ก มุมห้องสมุด น่าจะพัฒนาให้เข้ากับนโยบายปลัดกระทรวง นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ( 3S + SLE  Smile  Smell  Surrounding  Sympathy  Library  Exercise) ได้แบบไม่ต้องปรับตัวมากนัก

หมายเลขบันทึก: 336581เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2010 22:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

พยาบาลในห้องฉุกเฉินทำ กริยาไม่สุภาพ ดูถูกชาวนาที่จะมารับการรักษาอาการบาดเจ็บที่ ตา ซึ่งน้ำมันเบนซินเข้าตาที่นาจึงรีบมาหาหมอ ซึ่งเป็นอันตรายอย่างมาก เพราะคนไข้เพิ่งได้รับการผ่าตัดตามาเมื่อไม่กี่สัปดาห์ จึงต้องมาหาหมอเพื่อที่จะได้รับการรักษาอย่างทันทีแต่พยาบาลในห้องฉุกเฉินกลับไม่ทำอะไรเลยแม้แต่น้อย กลับบอกว่า ไม่เป็นอะไร แล้วยัง "ไล่"ให้ไปหาหมอตาที่อุทัย ถ้าเป็นเช่นนั้นผมคงไม่พาคนไข้หาหาหมอหรอกคงไปที่อุทัยแล้ว เพราะพยาบาลนั้นมัวแต่ จับกลุ่มคุยกัน ไม่สนใจคนไข้เลย ต่อไปนี้คงจะมีคนเข้า ร.พ.สว่างอารมณ์ น้อยมากหรืออาจจะจำเป็นจริงๆถึงจะเข้าไปรับการรักษา เพราะตอนนี้มีแต่คนเข้า ร.พ.ทัพทัน หรือ ร.พ.อุทัยธานี กันหมดแล้ว กระผมคิดว่าควรจะ พิจารณาบุคลากรในห้องฉุกเฉิน ไว้ด้วยนะที่นี้ หรือควรดำเดินการ เพื่อชื่อเสียงของโรงพยาบาล "โดยเฉพาะพยาบาลคนที่ผมสั้นๆ "

"ลูกชาวนา"

หมอที่ชื่อชัช  ไม่สมควรเป็นหมอ คุณเรียนจบจากหมอมาจริงๆหรือว่าซื้อวุฒิมากันแน่ การตรวจรักษาคนไข้ไม่เคยแม้แต่จะสอบถามอาการหรือดูแล พูดยังไม่มองหน้าคนไข้ เล่นเกมส์ อ่านหนังสือ พูดจาไม่ดี จรรยาบรรณแพทย์มีบ้างไหม 

เด็กกำลังจะช็อกตายเพราะไข้เลือดออกลงกระเพาะ ไข้ขึ้นสูงมาก แต่หมอให้กลับบ้านอย่างนี้หมายความว่าไรค่ะ เด็กตายขึ้นมาทำไงล่ะ ภาพลักษณืเสียหมดเลยนะค่ะ จรรยาบรรณรักษากันหน่อยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท