โรงพยาบาลห้วยคต


ถึงแม้ ถึงอุทัยไม่ต้องอุทธรณ์ แต่ตอนนี้ท้องเริ่มร้องอุทธรณ์ นัดผู้อำนวยการโรงพยาบาล คุณหมอ วิชาญ แป้นทอง ไว้แล้ว คุณสำรอง พขร.มือหนึ่ง จึงพาอ้อมไปด้านหลังโรงพยาบาล แวะโรงอาหารก่อน เรื่องอื่นค่อยว่ากันทีหลัง

วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ 2553 ผู้เขียนยังคงเดินทางต่อเพื่อแวะเยี่ยมโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดอุทัยธานีให้ครบทุกแห่งตามเป้าหมาย แต่มีเหตุให้ต้องแวะที่ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอห้วยคต เนื่องจากท่านสาธารณสุขอำเภอทวีป ต้องการให้แวะดูอาคารสำนักงานโทรมๆ สักหน่อย

เมื่อออกจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอห้วยคตก็รีบเดินทางไป โรงพยาบาลห้วยคต ที่อยู่ไม่ไกลกัน ที่ต้องรีบเพราะเลยเวลาเที่ยงแล้ว ถึงแม้ ถึงอุทัยไม่ต้องอุทธรณ์ แต่ตอนนี้ท้องเริ่มร้องอุทธรณ์ นัดผู้อำนวยการโรงพยาบาล คุณหมอ วิชาญ แป้นทอง ไว้แล้ว คุณสำรอง พขร.มือหนึ่ง จึงพาอ้อมไปด้านหลังโรงพยาบาล แวะโรงอาหารก่อน เรื่องอื่นค่อยว่ากันทีหลัง

ท่านผู้อำนวยการจัดอาหารให้เป็นพิเศษ เป็นเมนู หมูทอด น้ำพริกผักต้ม และต้มยำเห็ด มีทีมงานโรงพยาบาลมาร่วมรับประทานอาหารหลายคน

หลังจากนั้นจึงขึ้นไปเยี่ยมชมโรงพยาบาล ระหว่างทางสังเกต ว่ามีระบบประปาของโรงพยาบาลที่มีถังเก็บน้ำใส ขนาดใหญ่ แต่บริเวณสนามหญ้าทั่วไปดูแห้งแล้ง เข้าใจว่าอยู่ในช่วงที่ต้องประหยัดน้ำไว้ใช้

โรงพยาบาลห้วยคต เป็นโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง มีประชากรในระบบหลักประกันสุขภาพเพียงประมาณ 18000  คน จึงค่อนข้างมีปัญหาในการบริหารจัดการด้านการเงินการคลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคณะกรรมการระดับจังหวัดพิจารณาการจัดสรรงบประมาณแบบ ตามประชากรจริง ด้วยเห็นว่า ช่วยกันเองภายในจังหวัดมานานแล้ว ส่วนกลางก็มองไม่เห็นสักทีว่าเป็นปัญหา ก็เลยทดลองชนิดที่ พอประชุมจัดสรรงบประมาณเสร็จ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลห้วยคตก็เรียกรถ Ambulance มารับกลับโรงพยาบาลทันที

หลังจากนั้น ผู้เขียนได้ติดตามท่านผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์โสภณ เมฆธน ไปเยี่ยมโรงพยาบาลห้วยคตอีกครั้ง เมื่อวันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2553 จึงได้มีเวลาพูดคุย รับทราบปัญหามากขึ้น เช่น การจัดตั้ง กองทุนสุขภาพตำบล ที่ยากเย็นเข็ญใจ ทั้งที่ทั้งอำเภอมีเพียง 3 ตำบล ทำให้งบประมาณโดยรวมที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหาสุขภาพประชาชนก็ยิ่งน้อยลงไปอีก ฯลฯ

 อย่างไรก็ตาม ผู้อำนวยการและทีม ก็ยังมีแรงขับ ที่จะทำงานต่างๆให้เคลื่อนไปได้  แม้จะไม่ค่อยมีเงิน ก็ยังพยายามสนับสนุนสถานีอนามัยต่างๆในเขตรับผิดชอบ เช่น การต่อเติมอาคารชั้นล่างของสถานีอนามัย (ซึ่งผู้เขียนก็ไม่ทราบเหมือนกันว่า คนออกแบบคิดอย่างไร ให้สถานีอนามัยทั่วประเทศไทยแบบ ใต้ถุนสูง จน คนเจ็บ คนไข้ เด็ก คนท้อง คนแก่ ต้องปีนบันไดขึ้นไปหาหมอทุกคน หรือมันจริงที่เขาว่ากันว่า เป็นแผนที่จะให้มาหาเงินต่อเติมเอง)

เอาใจช่วยเต็มที่นะครับ (ส่วนเงินค่อยหาช่วยทีหลัง)


หมายเลขบันทึก: 354489เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2010 16:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เอาใจช่วยครับ การเปลี่ยนชื่ออาจจะช่วยการทำงานคล่องขึ้นครับ

มีคนชื่อ ฤดีมาศ ไม่ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท