การให้เหตุผล


การเหตุเหตุผลแบบอุปนัย

จุดประสงค์   เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับการให้เหตุผลแบบอุปนัยและ การให้เหตุผลแบบนิรนัย
การให้เหตุผลแบบอุปนัย  เป็นการให้เหตุผลโดยยึดความจริงจากส่วนย่อยที่พบเห็นไปสู่ความจริงที่เป็นส่วนรวม

(1.)  (1 x 9) + 2          =     11
              (12 x 9) + 3            =     111            
     (123 x 9) + 4         =     1,111


(2.)   1               =     1
         1 + 2         =     3
         1 + 2 + 3    =    6 
    1 + 2+ 3 + 4   =  10

จงหาว่า ผลคูณของจำนวนนับสองจำนวนที่เป็นจำนวนคี่จะเป็นจำนวนคู่หรือจำนวนคี่โดยให้การให้เหตุผลแบบอุปนัย
วิธีทำ พิจารณาผลคูณของจำนวนนับที่เป็นจำนวนคี่หลายๆ จำนวน
1  x  3   =   3
1  x  5   =  5
1  x  7   =   7
1  x  9   =   9

3  x  5   =   15
3  x  7   =   21
3  x  9   =   27
3  x  11   =  33
 

5  x  7   =    35
5   x   9    = 45
 5  x  11   =  55
5  x  13   =   65


จากการหาผลคูณของจำนวนนับที่เป็นจำนวนคี่ข้างต้น และใช้วิธีการสังเกตุ จะพบว่า ผลคูณที่ได้จะเป็น จำนวนคี่
สรุปว่า ผลคูณของจำนวนนับสองจำนวนที่เป็นจำนวนคี่ จะเป็นจำนวนคี่ โดยการใช้การให้เหตุผลแบบอุปนัย

การให้เหตุผลแบบนิรนัย เป็นการนำความรู้พื้นฐานซึ่งอาจเป็นความเชื่อ ข้อตกลง
หรือ บทนิยาม ซึ่งเป็นสิ่งที่รู้มาก่อนและยอมรับว่าเป็นจริง เพื่อหาเหตุผลนำไปสู่ข้อสรุป
และเรียกวิธีการสรุปข้อเท็จจริงซึ่งเป็นผลมาจาก เหตุซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานว่า การให้เหตุผลแบบนิรนัย


เหตุ    1) จำนวนคู่หมายถึงจำนวนที่หารด้วย 2 ลงตัว
2.) 10 หารด้วย 2 ลงตัว
ผล          10 เป็นจำนวนคู่



เหตุ 1.) นักกีฬากลางแจ้งทุกคนจะต้องมีสุขภาพดี
    2.) เกียรติศักดิ์เป็นนักฟุตบอลทีมชาติไทย
ผล  เกียรติศักดิ์มีสุขภาพดี

เหตุ 1.)  นายธนาคารทุกคนเป็นคนรวย
2.) นาย ก เป็นนายธนาคาร
ผล  นาย ก เป็นคนรวย


เหตุ 1.) นักฟุตบอลทุกคนเป็นคนที่มีสุขภาพดี
2.) นาย ข เป็นคนที่มีสุขภาพดี
ผล  นาย ข เป็นนักฟุตบอล
ให้     H แทนเซตของคนที่มีมีสุขภาพดี
F แทนเซตของนักฟุตบอล

1.) เขียนแผนภาพแทนนักฟุตบอลทุกคนที่มีสุขภาพดีได้ดังนี้




 

 

 


 
คำสำคัญ (Tags): #คณิตมีเหตุผล
หมายเลขบันทึก: 290027เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2009 15:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

การให้เหตุผลแบ่งได้ 2 แบบดังนี้

1. การให้เหตุผลแบบอุปนัย

2. การให้เหตุผลแบบนิรนัย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท