อีกหนึ่งประสบการณ์ ช่วยกันอย่างไรในกรณีจี้จับตัวประกัน


ประสบการณ์ การเตรียมพร้อม การประสานงาน

   เมื่อหลายปีก่อน ที่หน่วยงานที่ผมทำงานอยู่เกิดกรณีมีคนจี้จับตัวประกันที่เป็นนักศึกษา และขังตนเองและตัวประกันไว้ในห้องน้ำชาย ชั้นที่1 ของอาคาร5ชั้น และผมเป็นบุคลากรในหน่วยงานนั้นที่ได้เห็นเหตุการณ์และขั้นตอนการช่วยเหลือตัวประกันได้อย่างปลอดภัย และสิ่งที่อยากจะถ่ายทอดให้รับทราบก็คือเราจะมีส่วนช่วยเหลือหน่วยงานเราอย่างไร  

   1.เมื่อเกิดเหตุการณ์และหน่วยงานแจ้งผู้บังคับบัญชาสูงสุดทราบ และแจ้งตำรวจและแจ้งขอรถพยาบาล   เราต้องส่งคนของหน่วยงานเราไปคอยรับหรือชี้ทางที่ตั้งของหน่วยงานเรา ถ้าไม่มีตำรวจและหน่วยงานช่วยเหลือต่างๆจะเสียเวลาหาที่เกิดเหตุทำให้ล่าช้าเสียเวลา และคนที่คอยรับนำรถตำรวจ และรถพยาบาลเข้าจอดเตรียมพร้อมที่ทางออกที่ตกลงไว้

   2.บัตรประจำตัวบุคลากรที่เราคล้องคอมีความสำคัญมาก ถ้าเจ้าหน้าที่ตำรวจเห็นและรู้ว่าเราเป็นคนของหน่วยงานที่เกิดเหตุก็จะขอให้เราช่วยประสานงานงานในสิ่งที่เจ้าหน้าที่ต้องการเช่นนำหัวหน้าหน่วยงานอื่นๆที่มาช่วยเหลือมาพบตำรวจผู้บัญชาการเหตุการณ์

   3.หลังแจ้งเหตุ และส่งคนของหน่วยงานไปรอรับเจ้าหน้าที่ตำรวจแล้ว ต้องกันคนออกจากพื้นที่เกิดเหตุโดยทันที และหาโต๊ะมาตั้งสำหรับทำเป็นศูนย์บัญชาการชั่วคราว สิ่งที่ต้องเตรียมไว้เลยก็คือ แบบแปลนอาคารทั้งหมด  แม่กุญแจทั้งหมดในอาคาร โทรศัพท์ และที่สำคัญหัวหน้าพนักงานทำความสะอาด และตัวพนักงานทำความสะอาดที่รับผิดชอบในพื้นที่ที่เกิดเหตุ (ตำรวจจะดูแบบแปลนห้องนำชาย และสอบถามพนักงานทำความสะอาดในเรื่องที่สงสัย

   4.บุคลากรในหน่วยงานต้องอยู่ในความสงบ ไม่ตื่นเต้นมากจนเกินไป คนที่ควรอยู่กับคณะผู้บริหารหน่วยงาน และคณะตำรวจที่มาช่วยเหลือตัวประกัน ก็คือ หัวหน้าอาคารสถานที่  หัวหน้าช่าง หัวหน้าพนักงานทำความสะอาด พนักงานทำความสะอาดในจุดเกิดเหตุ และบุคลกรชายที่ยินดีช่วยเหลือในการปฎิบัติการ (บุคลกรที่ยินดีช่วยเหลือให้ไปรายงานตัวกับตำรวจและจะได้รับมอบหมายให้ช่วยในสิ่งที่ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจเห็นสมควร)

   5.การช่วยเหลือตัวประกันที่เป็นนักศึกษาประสบความสำเร็จเนื่องจากตำรวจที่มาดำเนินการช่วยเหลือมีการวางแผนการอย่างเป็นระบบ มีการแจ้งประสานให้หน่วยงานต่างๆที่เข้ามาช่วยว่าทางตำรวจจะเป็นผู้บัญชาการและตัดสินใจในปฎิบัติการครั้งนี้แต่เพียงหน่วยเดียว หน่วยงานอื่นๆหากจะให้ช่วยจะแจ้งให้ทราบ ในวันนั้นหน่วยงานที่มาช่วยที่ผมได้นำไปพบกับทางตำรวจประกอบด้วย  ตำรวจสายสืบนอกเครื่องแบบ พยาบาลหน่วยจิตวิทยา  หน่วยคอมมานโด มูลนิธิร่วมกตัญญู ผู้สื่อข่าว นักข่าว เจ้าหน้าที่ รปภของส่วนราชการและอื่นๆ

       เหตุการณ์จบลงด้วยดีสามารถช่วยเหลือตัวประกันได้อย่างปลอดภัย และดีใจที่ได้มีส่วนช่วยเหลือหน่วยงานของตนเอง เท่าที่ตนเองจะช่วยได้ในยามมีเหตุร้ายจนประสบความสำเร็จ ครับ

        

หมายเลขบันทึก: 235920เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2009 15:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 10:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เรียนท่าน ฅ ฅนโสต

  • ทำงานเป็นระบบ
  • ด้วย PDCA น่าจะทำให้งานสำเร็จ ครับ
  • สุขสันต์วันอาทิตย์ครับ

วันที่เกิดเหตุเป็นวันที่มีการยุบสภาพอดีค่ะ ถือว่าโชคดีที่ไม่เป็นข่าวใหญ่ในหน้าหนึ่ง (แต่ก็เป็นข่าวเหมือนกัน)

และพบว่าบุคลากรมีการทำงานเป็นทีม ไม่ตระหนกตกใจจนเกินไป ที่สำคัญประสบการณ์จากการซ้อมอพยพผู้ใช้บริการกรณีเกิดเหตุ ซึ่งกระทำเป็นประจำทุกปี ได้ถูกนำมาปรับใช้ค่ะ

  • ธุค่ะ..

ทำงานเป็นทีมได้ดีจังเลยค่ะ  ^^  ดีใจที่สามารถช่วยเหลือตัวประกันได้นะคะ

 สวัสดีครับอาจารย์JJ

ถ้าทำงานเป็นทีมก็จะประสบความสำเร็จ แต่ต้องมีการรับฟังและเชื่อฟังซึ่งกันและกันครับ

 สวัสดีครับคุณเนปาลี

การประสานงานที่ดี และการตัดสินใจที่รอบคอบเป็นที่มาของความสำเร็จครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท