สัญชาตญาณในการป้องกันตัวของ "ฅน"


สัญชาตญาณในการป้องกันตัวของ "ฅน"

     สัญชาตญาณในการป้องกันตัวของ"ฅน"

         มีคนถามว่า มืออาชีพ คืออะไร?  เค้ากล่าวถึง  "มืออาชีพในการเอาตัวรอด" ?????

นุชก็จะขอยก คำว่า  "สัญชาตญาณในการป้องกันตัวของฅน"  ที่นุชใช้ในการทำงานอยู่บ่อย ๆ

         เค้าบอกว่าคำว่า  "สัญชาตญาณ" นั้น มาจากคำ 2 คำคือคำว่า "สัญชาต" แปลว่า "เกิดเอง" กับคำว่า "ญาณ" แปลว่า "ความรู้" เอามารวมเข้ากัน (สมาส=ชนกัน ไม่มีอะไรหายไป (ศัพท์พื้นบ้าน)) และอ่านว่า "สัน-ชาด-ตะ-ยาน" ตามรูปคำก็ต้องแปลว่า " ความรู้ที่เกิดเอง "

         แสดงว่า "สัญชาตญาณในการป้องกันตัวของฅน"  นั่นก็คือ  "ความรู้ที่เกิดเองในการป้องกันตัวของฅน (เกิดเองโดยไม่ต้องให้ สมอง สั่งการเลยนะคะ) หากนุชมอง นุชจะมองว่า คำว่า "ความรู้ที่เกิดขึ้น" ต้องมีการแบ่งแยกกันอย่างแน่นอน ด้านบวก และด้านลบ 2 ด้าน นี้คือ ต้องเกิดประโยชน์ แต่ประโยชน์นั้นต้องเกิดกับ "ตัวเองเท่านั้น" โดยไม่ได้คิดถึงสิ่งแวดล้อม อื่นๆ เลย

         ทุกคนมี"สัญชาตญาณในการป้องกันตัวของฅน"  มันแตกต่างกันในส่วนที่ว่า "ใครจะดึงมาใช้ มาก น้อยเพียงใด เอามาใช้ให้เกิดประโยชน์กับใคร เป็นการทำร้ายคนอื่นไหม๊ หรือมันจะกลับมาทำลายตัวเองทีหลังหรือไม่" / แต่ส่วนมาก ฅน ไม่ค่อยคิดถึงกันหรอกค่ะ

         สงสัยเค้าใช้ ทฤษฎี  Structural Model (โครงสร้างบุคลิกภาพ)  ซึ่งได้แก่  Id,  Ego,  Superego  แต่เค้าดันเลือกเอา Id มาใช้ ถือว่า เค้าเก่งนะคะ เค้าใช้ทฤษฎีเข้ามาช่วยสนับสนุน "สัญชาตญาณในการป้องกันตัวของฅน" ของเค้าเลยนะคะ

    Id     เป็นความต้องการพื้นฐาน พัฒนาอย่างมากในช่วงแรกเกิด
        ฟรอยด์เชื่อว่า id ขึ้นอยู่กับความพอใจของบุคคล, หรือในอีกความหมายหนึ่งคือ id ต้องการอะไรก็ได้ที่ทำให้ช่วงเวลานั้นรู้สึกดีขึ้น โดยไม่คำนึงถึงสถานการณ์ขณะนั้น ไม่คำนึงถึงคนรอบข้าง ไม่คำนึงถึงความจริง****


หมายเลขบันทึก: 280921เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2009 11:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

สวัสดีครับ

แวะมาเรียนรู้ครับ

สำหรับคนที่ฝึกฝนบ่อยๆ น่าจะการดึงสัญชาตญาณออกมาได้ง่ายกว่าผู้ที่ไม่ฝึกฝน หรือสำหรับบางคน เมื่อเจอภาวะบีบคั้นมากๆ การดึงสัญชาตญาณอาจออกมารวดเร็ว ใช่หรือไม่? ครับ

เรียน ท่าน ผศ. เพชรากร หาญพานิชย์

นุชขออนุญาต แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับท่านอาจารย์ในฐานะที่ด้อยปประสบการณ์ และขอเรียนว่า นุชมองว่าเป็นมุมมองอีกมุมมองหนึ่ง (คำว่าฝึกฝนของท่านอาจารย์ หมายถึงฝึกการดึงสัญชาตญาณ ที่ดีดี หรือเปล่าคะ) แต่ความเป็น "ฅน" ที่มีอยู่ซึ่งเป็นพื้นฐานใน "ตัวฅน" นั้น มันยากที่จะฝึกฝน หากคน ๆ นั้นไม่พยายามจริงๆ นะคะ อีกอย่างที่สำคัญนุชลองสังเกตดู ไม่เคยเห็นใคร ที่มองตัวเอง ส่วนมากจะมองตัวเองซะส่วนใหญ่ นุชไม่ทราบว่าท่านอาจารย์ คิดอย่างไร นะคะ

สวัสดีครับ

ผมก็ไม่ค่อยทราบเรื่องนี้เหมือนกันครับ

เพียงแต่คิดว่า สัญชาตญาณฝึกฝนได้หรือไม่ เช่น นักรบ สายลับ ต้องผ่านการฝึกฝนที่หนัก เพื่อทำภาระกิจต่างๆ อาจจะต้องถูกจับทรมาน ดังนั้นการผ่านการฝึกฝนแบบนี้ อาจเป็นการสร้างสัญชาตญาณ เป็นต้น ครับ การฝึกสมาธิการการฝึกควบคุมจิตใจ ตามดูจิตใจ อาจเป็นการควบคุมสัญชาตญาณ ได้หรือเปล่าหนอ?แต่ไม่ต้องคิดมากครับ ค่อยเรียนรู้ไป หากสนใจจริง คงต้องหาข้อมูลมากกว่านี้ ถามผู้รู้ ครับ

เรียน ท่าน ผศ. เพชรากร หาญพานิชย์

นุชชักจะไม่แน่ใจว่าสัญชาตญาณจะฝึกฝนกันได้สิคะ ยกตัวอย่าง นุชเกลียด และกลัว สัตว์ประเภทหนึ่งมาก ถึงขนาดที่เห็นภาพก็ไม่ได้ นุชจะไม่ไปอยู่ในที่ทื่สัตว์ตัวนั้นมันน่าจะอาศัยอยู่ แล้วเวลาที่มีอะไรที่สัมผัสแล้วแค่ใกล้เคียง สัญชาตญาณของการป้องกันตัวมันจะแสดงออกมาโดยอัตโนมัติ มันรู้สึกแหยงๆๆ เกลียดๆ กลัวๆจริงๆๆ นะคะ นี่แหละนุชว่าสัญชาตญาณที่แท้จริง (โหนุชว่าจะฝึก จะฝนสักแค่ไหน แค่คิดก็จะแย่แล้วค่ะ)

สวัสดีครับ

คุณนุช มีเรื่องเล่าให้ฟังครับ เกี่ยวกับสารคดีหนึ่งจำไม่ได้ว่าที่ไหน

1.ผู้หญิงหลายคนกลัวงู เกลียดงู มีนักจิตวิทยา มาบำบัด การให้สัมผัสงู ฝึกสมาธิ จนหายกลัวงู

2.ชาวญี่ปุ่นฝึกการยิงธนู ต่อมาเค้าทดสอบด้วยเครื่องจับเกี่ยวกับประสาท พบว่าคนๆนี้สามารถควบคุมให้สมาธิอยู่ในระดับเดียวกัน คล้ายเส้นตรง ต่อมาให้ยิงธนูในที่มืด ปรากฏว่าเค้าสามารถยิงธนูเข้าเป้า แต่ไม่ตรงจุดกึ่งกลางเหมือนกับยิงในขณะที่มีแสงสว่าง เค้าบอกว่า เป้าหมาย อยู่ที่ใจ คือเค้าสามารถฝึกฝนควบคุมการรับรู้โดยการใช้สัญชาตญาณฝึกสร้างจินตนากรกับประสาทสัมผัส(หรือเปล่าไม่ทราบ) ครับ

3.ส่วนสัญชาตญาณการป้องกันตัว การเอาตัวรอด เอาเกิดจากทักษะหรือประสบการณ์ที่อยู่ในตัวเรา แต่ผมว่าคนที่ผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านความทุกข์ยากลำบากมาก่อน จะมีความอดทน มากกว่าคนที่สุขหรือสนุกไปวันๆ (สำนวนไทย เหยียบขี้ไก่ ไม่ฟ่อ)แต่ก็อาจะไม่เสมอไปนะครับ

4.ทางด้านสรีรวิทยาแล้ว ผู้หญิงอ่อนแอกว่าผู้ชาย แต่ทางจิตใจเข้มแข็งกว่า ดังนั้นภาระการตั้งท้อง จึงตกเป็นภาระสำหรับผู้หญิง ด้วยประการนี้มั๊ง ครับ

ไม่ทราบว่าช่วยเพิ่มเติมหรือไม่ครับ เรื่องจิตวิทยา เป็นเรื่องน่าสนใจ คงต้องเก็บข้อมูล ค้นคว้าเพิ่มเติมนะครับ

เยี่ยมยอดมากน้องสาวพี่คนนี้

เรียน ท่าน ผศ. เพชรากร หาญพานิชย์

      ตอบข้อที่ 1 หากการกลัวเป็นการกลัวแบบผู้หญิงกลัวมันอาจจะแก้ไขโดยใช้สมาธิได้ นุชยอมรับ แต่ถ้าหากการกลัวนั้นเกิดจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในตอนที่เราพึ่งจำความได้ และโดยที่ไม่ไม่ได้ตั้งตัวเลย ความรู้สึกนั้นมันจะฝังใจ อาจจะฝังใจไปจนตายเลยก็ว่าได้ และหวาดกลัวสิ่งนั้นอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะอยู่ในสิ่งแวดล้อมแบบไหนก็ตามแต่ (กับคนอื่นไม่ทราบว่าจริงหรือเปล่านะคะ) แต่สำหรับนุชจริงแท้ และแน่นอนที่สุดค่ะ

      ตอบข้อที่ 2 เค้าใช้สัญชาตญาณที่เค้ามีให้เกิดประโยชน์ เหมือนคนตาบอดที่ใช้สัญชาตญาณในการฟัง การรับรู้ เพราะเค้าเป็นแบบนั้นมาตั้งแต่กำเนิด(หรือเปล่า)คะ

     ข้อที่ 3 ตอบรู้สึกงง ระหว่างสัญชาตญาณของการป้องกันตัว กับ สำนวน (นุชเป็นผู้ด้วยปัญญาต้อง อธิบายเพิ่มแล้วล่ะ)

     ข้อที่ 4 ต้องให้ความโง่ทำงานเลยล่ะค่ะ (ไม่เข้าใจตรงที่สัญชาติญาณเกี่ยวข้องกันกับความอ่อนแอ และแข็งแรง น่ะค่ะ)

      **** แต่นุชมีตัวอย่าง นะคะ  ***

ถ้าเกิดว่ามีครอบครัวหนึ่งรักกันมาก  ก็อย่างที่รู้ๆ กันดีว่า พ่อแม่สามารถตายแทนลูกได้  แต่เผอิญไฟไหม้ทั้งบ้าน เลยนะคะ  แ้ล้วมีวัตถุ อะไรก็ไม่รู้ซักอย่าง ติดไฟ แล้วดันตกลงมาถูกแม่ และลูกพร้อมกัน ก่อนที่แม่จะไปช่วยลูก ท่านอาจารย์ว่า แม่ต้องเอาไฟออกจากตัวเองก่อน (หรือเปล่าคะ)

ขอบคุณมากค่ะพี่ชาย ที่ให้กำลังใจน้องทุกเรื่องเลย

ถึง น้องนุช

ทอดบทเรียนเจ้าของแบบนี้ดีมากแล้ว

เป็นการself refect ที่ดี ฝึกคิด และ พัฒนางานต่อไป

พี่แจ๊ค

ขอบคุณอีกรอบค่ะ คุณพี่สำหรับคำแนะนำดีดี แต่น้องไม่ได้คิดว่า เป็นการถอดบทเรียน น้องคิดว่ามันไม่ใช่ น้องก็เลยหาเหตุผลมาอ้างอิงเฉยๆๆ นี่แหละค่ะนิสัยที่แท้จริงของน้องเลยล่ะ

เรียนทุกๆ ท่าน

นุชไปเจอหนังสือเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์ เค้าพูดถึงสมอง เค้าบอกว่า สมองมี 3 ส่วน 1 ส่วนแกนกลาง 2. ส่วนลิมบิก (Limbic)และไฮโปทาลามัส(Hypothalamus) 3.สมองใหญ่

เค้าบอกว่า ส่วนที่เรียกว่า "ส่วนลิมบิก (Limbic)และไฮโปทาลามัส(Hypothalamus)" ทำหน้าที่เกี่ยวกับ "สัญชาตญาณพื้นฐาน" ทำให้เกิดพฤติกรรมที่เป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ ได้แก่

1. ความต้องการอาหาร เช่น อิ่ม / เบื่ออาหาร

2. ความต้องการความปลอดภัย เช่น ต่อสู้หรือถอยหนี

3. ความต้องการทางด้านการสืบพันธ์ เช่น ความต้องการทางเพศ หรือการควบคุมยับยั้งความต้องการทางเพศ และมีหน้าที่เกี่ยวกับความจำและการแสดงออกทางอารมณ์ ทางอวัยวะภายใน เช่น ใจสั่น หน้าแดง ขณะมีอารมณ์ การแสดงอาการณ์ทางอวัยวะภายนอก เช่น โกรธ เกลียด รัก ชอบ ฯลฯ

จากข้อความข้างบน คงพอจะเป็นข้อมูล เพื่อประกอบแนวคิด และสรุปคำว่า "สัญชาตญาณของการป้องกันตัว" นะคะ

สวัสดีครับ

ขอบคุณครับสำหรับข้อมูล

ส่วนเรื่องจำฝังใจ เป็นไปได้ครับ ยากรักษา

ส่วนระบบประสาทอัตโนมัติ พวก Refect action อาจเป็นส่วนหนึ่งของสัญชาตญาณ

ส่วนพวกสารเคมีจากสมองที่หลั่งออกมา เช่น จากต่อมไพเนียล สารเมลาโตนิน หรือซีโรโตนิน หรือนอกสมอง เช่น อะดรีนาลีน พวกนี้มีหลายคนศึกษาเกี่ยวกับว่ามีผลต่อการดำรงชีวิต การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แต่จะเกี่ยวกับสัญชาตญาณ หรืเปล่าไม่ทราบ ครับ

ไม่ทราบว่าจะเป็นการสร้างปัญหา ความยุ่งยาก เพิ่มเติมหรือไม่

ขออภัยด้วยนะครับ

ค้นคว้า+ค้นพบ

นุชขอเรียนตามความรู้สึก และความหมายของ คำว่า "สัญชาตญาณ" นะคะ ว่าสัญชาตญาณ มันน่าจะหมายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นมา โดยไม่มีการปรุงแต่งใดๆ นะคะ (หรือปล่าวคะ)

ผมว่าสัญชาตญาณ เกิดขึ้นโดยไม่ปรุงแต่ง มีแต่เดิมติดตัวมาจริงครับ แต่ผมว่าก้อน่าสามารถสร้างสัญชาตญาณ ที่มีมาให้ดีและเฉียบคมขึ้นได้นะครับ เหมือนพวกนักสู้ หรือนักมวย ที่แต่เดิมเปนคนธรรมดา ที่แค่มีสัญชาตญาณ เอาตัวรอด ธรรมดา แต่พอได้รับการฝึกฝน บ่อยๆนานๆ เวลาถูกโจมตี จากคู่ต้อสู้ ก้อเกิด สัญชาตญาณในการป้องกันตัวตามที่ได้เคยฝึกฝนจนไม่ต้องนึกคิดเรย หรืออาจถูกจู่โจมแบบไม่ทันระวังตัว บางคนที่ฝึกมาอย่างจำนานสามารถโต้ตอบไปโดยธรรมชาติแบบไม่ต้องคิดเรย อันนี้ผมก้อคิดว่าเป็นสัญชาตญาณเหมือนกันนะครับ ในความเห็นส่วนตัวนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท