บันทึกการสนทนางานวิชาการเรื่อง"กองกำลังรักษาสันติภาพ"ระหว่างอาจารย์จตุภูมิ ภูมิบุญชู และ อาจารย์ชนันภรณ์ บุญเกิดทรัพย์


ขงจื่อกล่าวว่า "ผู้มีความรู้ คือคนที่รู้ว่าตัวเองยังไม่รู้"

สืบเนื่องจากการสอนในรายวิชาองค์การระหว่างประเทศ ซึ่งผมได้ให้นิสิตอ่านเอกสารประกอบการสอนเรื่องการปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติ (1948-1995) ของท่านอาจารย์ สมพงศ์  ชูมาก  ซึ่งนิสิตได้มีคำถามกลับมายังผู้สอนคือ

1.การรักษาสันติภาพ (Peace Keeping)คืออะไร

2.การสร้างสันติภาพ (Peace - Making)คืออะไร

3.การบีบบังคับเพื่อสันติภาพ ( Peace - Enforcement)คืออะไร 

  ซึ่งในเอกสารฉบับดังกล่าวไม่ได้กล่าวถึงไว้

อย่างไรก็ตามเนื่องจากผมเองไม่ได้มีความรู้ในทางปฏิบัติเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวนี้ ผมจึงได้สอบถามไปยัง ท่านอาจารย์ชนันภรณ์  บุญเกิดทรัพย์ แห่งสำนักวิชานิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ซึ่งท่านได้ศึกษาเรื่องนี้โดยตรงในขณะทำวิทยานิพนธ์  ซึ่งท่านก็ได้ให้คำตอบไว้ดังนี้

-กองกำลังสหประชาชาติในการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ (United Nations Peace Keeping Force) เป็นหน่วยงานย่อยที่จัดตั้งขึ้นภายใต้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ(Security Council)  โดยมีหน้าที่ตามกฎบัติสหประชาชาติภายใต้

หมวด 6(การระงับกรณีพิพาทโดยสันติ)และ

หมวด 7(การดำเนินการเกี่ยวกับการคุกคามต่อสันติภาพ การละเมิดสันติภาพ และการกระทำการรุกราน)

 โดยกองกำลังสหประชาชาติในการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพนั้นมีหน้าที่ โดยตรง คือการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ (ในส่วนหน้าที่นี้ภายอังกฤษ ซึ่งถูกใช้โดย คณะกรรมการกาชาดสากลใช้คำว่า "Peace Support Operations" ส่วนประเทศสหรัฐอเมริกาใช้คำว่า " Peace Operations")  ซึ่งหน้าที่ดังกล่าวนี้ แยกได้สองประการคือ

1. หากเป็นหน้าที่ของกองกำลังสหประชาชาติในการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ ในการปฏิบัติการตามมติของคณะมนตรีความมั่นคงที่ออกตามกฎบัตรสหประชาชาติภายใต้หมวด 6 จะเรียกว่า เป็น "การปฏิบัติการรักษาสันติภาพ" หรือที่เรียกว่า "Peace Keeping"  ส่วนถ้าเป็นการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพตามมติของคณะมนตรีความมั่นคงที่ออกตามกฎบัตรสหประชาชาติภายใต้หมวด 7 จะเรียกว่า "การบังคับเพื่อให้เกิดสันติภาพ" หรือ"Peace Enforcement"

2. "การปฏิบัติการรักษาสันติภาพ" หรือที่เรียกว่า "Peace Keeping" นั้นเป็นการจัดกองกำลังสหประชาชาติเข้าไปในดินแดนที่มีข้อพิพาทด้วยความยินยอมของทุกฝ่าย เพื่อป้องกันความขัดแย้งและสร้างสันติภาพให้มีมากขึ้น โดยไม่มีการใช้อาวุธ หรือใช้อาวุธให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น โดยกองกำลังจะประกอบไปด้วย กองกำลังทหาร กองกำลังตำรวจ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน ซึ่งการใช้กำลังในกรณีนี้ จะมีมติของคณะมนตรีความมั่นคงกำหนดขอบอำนาจหน้าที่ เช่นหน้าที่ในการจัดควบคุมการเลือกตั้ง การส่งผู้หนีภัยคืนถิ่น การบูรณประเทศที่เสียหายจากสงคราม ฯลฯ 

3."การบังคับเพื่อให้เกิดสันติภาพ" หรือ"Peace Enforcement" นั้นเป็นการปฏิบัติการภายใต้หมวด 7แห่งกฎบัตรสหประชาชาติด้วยการใช้กำลังทหารเข้าไปในพื้นที่พิพาทเพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ โดยปฏิบัติการดังกล่าวจะเป็นไปตามคำชี้ขาดของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ โดยไม่ต้องอาศัยความยินยอมจารัฐที่เข้าไปปฏิบัติการแต่อย่างไร ซึ่งในกรณีนี้การจะส่งกองกำลังเข้าไปได้นั้นจะต้องมีเงื่อนไขครบตามกฎบัตรสหประชาชาติข้อ 39 ก่อน จึงจะสามารถใช้กำลังได้ ซึ่งการใช้กำลังในกรณีนี้ จะมีมติของคณะมนตรีความมั่นคงกำหนดขอบอำนาจหน้าที่ไว้เช่นกัน

4.ในการส่งกองกำลังเข้าไปตาม หมวด 6 ที่เรียกว่า"การปฏิบัติการรักษาสันติภาพ" หรือที่เรียกว่า "Peace Keeping" นี้ สหประชาชาติจะมีการดำเนินการจัดทำความตกลงในเรื่องของสถานะและความคุ้มกันของ เจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าๆง ก่อนที่จะส่งเข้าไปในดินแดนพิพาท ความตกลงดังกล่าวนี้ เรียกว่า Status Force Agreement

...........................................................................

ปล. ระหว่างคุย ผมลืมถามว่า การสร้างสันติภาพ คืออะไร ไว้เดี๋ยวจะขอคำอธิบายมาให้ใหม่ครับ

ขอขอบคุณท่านอาจารย์ชนันภรณ์  บุญเกิดทรัพย์ มา ณ โอกาสนี้

หมายเลขบันทึก: 241630เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2009 16:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 18:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สวัสดีครับ อ.จตุภูมิ ผมเอก(ธรรมศาสตร์)จาก ม.แม่ฟ้าหลวง(อดีต)ฝ่ายงานโสตทัศนวัสดุ อ.คงจะจำผมได้นะครับตัวสูงๆใส่แว่น ฮ่าๆๆ ที่อ.ชอบไปยืมวีดีโอที่ห้องสมุด ม.แม่ฟ้าหลวงบ่อยๆ

ผมลาออกจาก มฟล.แล้วครับ มารับตำแหน่งบรรณารักษ์ของสำนักวิชาพยาบาลศาสตร์

ม.นเรศวร พะเยา มารับงานช้างเลยครับอาจารย์ สร้างห้องสมุดของสำนัก ถึงงานจะเหนื่อยแต่ก็มีความสุขดีครับ งานกำลังเข้าที่เข้าทางครับ ไว้ผมมีโอกาสได้ไปอบรมที่พิษณุโลก จะแวะไปหาอาจารย์นะครับ สวัสดีครับผม

สวัสดีครับคถุณเอก ดีใจด่วยที่ได้พบกันอีก  ไว้ป่ะกันแฮมเน่อครับ ดีใจด้วยครับสำหรับงาน งานทุกงานมีคุณค่าอย่างยิ่ง อยู่ที่นี่ยังไม่ค่อยมีโอกาสไปนั่งดูVDO ที่ห้องสมุดเหมือนเดิม เพราะสอนภาคค่ำด้วย แต่ที่นี่ก็มีVDO สารคดีน่าสนใจเยอะเหมือนกัน  ไว้เจอกันนะครับ  ต้องขอบคุณคุณเอกที่มาช่วยสร้างห้องสมุดของสำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ เพราะมหาวิทยาลัยของเรากำลังมุ่งไปสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัย ดังนั้นห้องสมุดจึงเป็นสิ่งสำคัญมากๆ เพราะเป็นคลังความรู้ของมหาวิทยาลัย งานนี้เป็นงานปิดทองหลังพระที่ยิ่งใหญ่จริงๆ เอาใจช่วยนะครับ

ที่คณะของผมก็กำลังทำห้องอ่านหนังสืออยู่ครับ และกำลังยกฐานะให้เป็นห้องสมุดต่อไป 

สวัสดีคะอาจารย์วิว

อาจารย์สบายดีไหมคะ

สวัสดีครับ ครูจำเราได้ ครูสบายดี ขอบใจมาก แล้วเพื่อนๆของเราเป็นยังไงบ้าง ไว้ครูกลับไปแล้วคงได้เจอกัน โชคดีครับ

 

รักและปรารถณาดี

ครูของพวกเธอ 

สวัสดีคะ หนูเป็นนิสิตเก่าระดับป.ตรีที่ม.นเรศวรนะคะ พอดีหนูกำลังหาข้อมูลเรื่องความรับผิดของรัฐแล้วเจอชื่ออาจารทางกูเกิล โชคดีจังหนูคงจบก่อนที่จะได้เรียนกับอาจาร ตอนนี้หนูมีปัญหาในข้อกฎหมาย ระหว่างประเทศ ว่า "ความรับผิดของรัฐกับอำนาจอธิปไตยสัมพันธ์กันอย่างไร" โดยอาจารที่สอนหนูให้เอ้าไลท์ตอบคำถมข้อนี้ว่า ความรับผิดของรัฐตั้งบนพื้นฐานการใช้อำนาจอธิปไตยอย่างไร และ ความรับผิดจำกัดการใช้อำนาจอธิปไตยอย่างไร รบกวนอาจารด้วยนะคะ ขอบคุณมากคะ

เรื่องความรับผิดของรัฐสัมพันธ์กับ การใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐดังนี้ครับ การที่รัฐจะต้องรับผิดต่อรัฐอื่นๆ ก็ต่อเมื่อมีข้อเท็จจริงปรากฏ / ส่วน คือ

๑. มีการกระทำหรือละเว้นการกระทำของรัฐ

๒. การกระทำนั้นเป็นการฝ่าฝืนพันธกรณ๊หรือหน้าที่ตามกฎหมายระหว่างประเทศครับ

และในส่วนที่หนึ่ง การกระทำที่ถือว่าเป็นการกระทำของรัฐนั้น โดยหลักรัฐเป็นบุคคลสมมุติตามกฎหมายกระทำอะไรด้วยตนเองไม่ได้ ดังนั้น การกระทำของรัฐจึงต้องเป็นการกระทำที่ผ่านบุคคลผู้ใช้อำนาจแทนรัฐ ไม่ว่าจะเป็นการกระทำของบุคคลผู้ใช้อำนาจทางนิติบัญญัติ บริหาร หรือตุลาการ  โดยนัยอย่างนี้เองที่ทำให้ความรับผิดของรัฐมีส่วนสัมพันธกับการใช้อำนาจอธิปไตยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ว่าที่จริงลองอ่านดูในหนังสือท่านอาจารย์ นพนิธิ สุริยะ หรือที่อาจารย์ จุมพต สายสุนทรดูนะครับ จะได้ภาพชัดขึ้น  

คำตอบที่สองลองคิดในมุมกับกัน แล้วลองมาเฉลยดูสิว่าจะตรงกับที่ผมคิดไหม ผมอยากให้นิสิตหัดคิดดูก่อนนะครับ จะได้งอกงามทางความคิด ไม่งั้นถึงเรียนโทก็จะคิดไม่เป็น และผลเสียจะตกที่นิสิตเอง

รักและปรารถนาดี

 

ขอบคุณสำหรับคำตอบนะคะอาจาร

แต่ว่าถ้าหนูจะตอบคำถาทมในเรื่องนี้ เริ่มแรกหนูเกิ่นถึงอำนาจอธิปไตยในรัฐ และกล่าวถึงอำนาจเหนือดินแดนว่ารัฐใช้เขตอำนาจอย่างไร ไล่มาจนถึงความคุ้มกันว่า เหตุแห่งการหลุดพ้นอำนาจศาลอย่างไรบ้าง พอจะเกี่ยว ในการตอบคำถามข้อนี้ไหมคะ เรื่องความคุ้มกัน หรือไม่เลย คือหนูคิดว่า นรัฐมีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดน เด็ดขาดแยกจากรัฐอื่น เป็นเหตุให้รัฐมีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดน และความผิดที่เกิดขึ้นในรัฐนั้น โดยอำนาจอธิไปตยเป็นอำนาจที่สมบูรณ์ของรัฐที่จำทการใดๆก็ได้แต่ทั้งว่าในทางระหว่างประเทศรัฐเล็กใหญ่มีอำนาจเท่ากัน จึงไม่สามารถก้าวล่วงอำนาจอธิไปตยรัฐอื่นได้ โดยหากมีการละเมืดพันธกรณีซึ้งเป็นการกระทำผิดของรัฐภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศจึงเป็นเหตุก่อให้เกความรับผิดของรัฐ โดยทว่ารัฐต้องเคารพในอำนาจอธิไปตยซึ้งกันและกัน และเมื่อเกิดการละเมิดรัฐอื่นจึงก่อให้เกิดความรับผิดของรัฐตามมา ความรับผิดจึงเป็นกสารจำกัดอำนาจอธิปไตยไม่ให้รัฐใช้อำนาจเกินส่วน ประมาณนี้หรือป่าวคะ หรือต้องเพิ่ใตมตรงไหนอีกคะ

มาถูกทางแล้วครับ ดีครับ การกระทำของรัฐ=การใช้อำนาจอธิปไตย

การใช้อำนาจอธิปไตย=ต้องไม่ละเมิดพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ

การใช้อำนาจอธิปไตย=การกระทำการที่ฝ่าฝืนกฎหมายระหว่างประเทศ / การละเว้นการกระทำเมื่อมีหน้าที่ตามกฎหมายระหว่างประเทศที่จะต้องทำ

 ความรับผิดของรัฐ =จำกัดการใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐ / จำกัดการกระทำของรัฐ

เค้าโครงทั้งหลายทั้งปวง
ต้องดูว่าหัวข้อที่จะเขียนนั้นตอบคำถามหรือไม่อย่างไรครับ

ถ้ามันตอบคำถามของเราก็ต้องใส่เข้าไปครับ

ความคุ้มกันเกี่ยวกับประเด็นที่นิสิตต้องตอบคำถามหรือไม่ครับ ถ้าเกี่ยวก็ต้องใส่และอธิบายความเชื่อมโยง แต่ถ้าไม่เกี่ยวกับคำถาม ก็มีคำถามว่าจะใส่ไปเพื่ออะไร

อาจารย์ผู้ใหญ่ท่านสอนผมมาอย่างนี้นะครับ

 

โชคดีครับ ในความเห็นผม ผมว่ามาถูกทางแล้ว สู้ๆ ครับ

อีกอย่างครับ

ใช้ภาษาไทยให้ถูกนะครับ

บางทีคะแนนอาจจะอยู่ที่การใช้ภาษาไทยด้วยนะครับ โดยเฉพาะถ้าเป็นนักกฎหมาย ถ้ายังใช้ภาษาไม่ถูกก็แย่ครับ เช่น

อาจาร ต้องเขียน อาจารย์ นะครับ

อธิไปตย ต้องเขียน อธิปไตยนะครับ

โชคดีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท