บันทึกไว้เมื่อใกล้รุ่ง : ประเทศที่มั่นคงต้องมีภาคประชาสังคมที่เข้มแข็ง


ความเข้มแข็งของภาคประชาสังคม ท้องถิ่น คือความเข้มแข็งของประเทศไทย

วันนี้ครบรอบหนึ่งเดือนจากเหตุกรณณ์รุนแรงเมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓  ชีวิตเหมือนจะกลับไปปกติอีกครั้ง เพราะไม่ต้องนั่งผวาตื่นมาเช็คข่าวคราว เกือบ ๒๔ ชั่วโมงเพราะเราอยู่สก็อตแลนด์

 สิ่งที่อยากเขียนในวันนี้ ไม่ได้อยากจะจุดประเด็นเรื่องของเหตุการณ์ที่ผ่านไปให้ใครรู้สึกโกรธ หรือแบ่งแยกขึ้นมาอีก แต่สิ่งที่อยากเขียน คือ ในอนาคตประเทศของต้องมีการปรับตัวขนานใหญ่ 

ผมจำได้ว่าเคยอ่านงานเขียนของ เฮอนันโด เดอ โซโต นักเศรษฐศาสตร์ชาวเปรู(ถ้าจำผิดขออภัย) เขียนไว้ใน เปรูบนเส้นทางเศรษฐกิจนอกระบบ: การปฏิวัติที่มองไม่เห็นในโลกที่สาม [กดLink เพื่ออ่าน เรื่องย่อที่มีผู้สรุปถอดความไว้] ซึ่งทำให้ผมเข้าใจว่าในกรณีที่กลไกภาครัฐง่อยเปลี้ยทำงานไม่ได้เช่นในอเมริกาใต้เพราะการคอรัปชั่นนั้น สิ่งที่จะเกิดตามมาคือ ภาคประชาสังคม โดยจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตามก็จะมีการแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองมา เช่น รถสาธารณะไม่เพียงพอ ก็จะมีรถรับจ้างนอกกฎหมายมาวิ่ง   สิ่งที่รัฐควรจะทำ คือ เข้าไปยอมรับระบบการแก้ไขปัญหาภาคประชาชน และสนับสนุนให้ทำเป็นระบบถูกกฎหมาย โดยคงไว้ซึ่งการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ผมเห็นด้วยกับความเห็นนี้เพราะจากประวัติศาสตร์การพัฒนาที่ผ่านมาของไทย เราพยายามรวมศูนย์การจัดการมาไว้ที่รัฐบาล เมื่อปัญหารวมศูนย์ ศูนย์จึงกลายเป็นแหล่งปัญหา หลายปัญหาจากการลงพื้นที่เมื่อยังอยู่ในประเทศไทย ผมพบว่า หลายครั้งที่ประชาชน ชาวบ้านมีความพยายามแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง แต่เมื่อประสบความสำเร็จภาครัฐจะเข้ามาแทรกแซง และเอาไปเป็นผลงานของตัวเอง ตลอดจน นำเอาระบบการจัดการที่เทอะทะ เข้ามาใช้กับระบบการแก้ไขปัญหาแบบชาวบ้าน และกันชาวบ้านออกไปจากการแก้ไขปัญหาดังกล่าว  สิ่งที่ตามมาคือ การจัดการที่ล้มเหลว เช่น ถ้าจำไม่ผิดมีปัญหาเรื่องการอนุรักษ์ พันธ์สัตว์ชนิดหนึ่งที่จ. อุบลราชธานี ซึ่งชาวบ้านทำแล้วประสบความสำเร็จ  แต่ต่อมาปรากฏว่ากรมป่าไม่ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาดูแล และจัดการแทนชาวบ้าน นัยว่าได้หน้าตา แต่ผลคือ จากการร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านที่เคยเป็นมากลับหายไป เพราะชาวบ้านไม่รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาอีกต่อไป

บางอย่าง เช่น กลุ่มออมทรัยพ์ ของชาวบ้าน เคยคุยกับอาจารย์ท่านหนึ่งที่ท่านลงไปเก็บข้อมูลที่ภาคใต้ ท่านเล่าให้ฟังว่า กลุ่มออมทรัพย์ของชาวบ้านมีประสิทธิภาพมาก ทำได้ไงไม่ทราบ มีเงินหมุนเวียนในระบบ ในจังหวัดเดียวกัน ยี่สิบล้านบาทต่อเดือน  และคนที่เป็นผู้จัดการกลุ่ม คือ นักการภารโรงท่านหนึ่ง  ชาวบ้านจะทำธุรกรรม และหักบัญชีกันทุกวันที่ ที่มีการกำหนดแน่นอนไว้ในหนึ่งเดือน  โดยนอกจากกจะมีการยืมในหมู่บ้านแล้ว กลุ่มต่างๆ ยังมีการทำธุรกรรมระหว่างกลุ่มต่างๆ ในแต่ละตำบลและอำเภอด้วยและระบบการควบคุมการใช้เงินในหมู่สมาชิก ทำโดยชาวบ้านเอง ซึ่งไม่มีคนกล้าโกง เพราะชาวบ้านในหมู่บ้านและตำบลเดียวกันช่วยกันควบคุม  ต่อมมาทางราชการทราบเรื่อง เลยบังคับให้จัดเป็นสหกรณ์ออมทรัพย์ ทำให้กลุ่มออมทรัพย์ทั้งระบบล้มลง ไม่เป็นท่า เพราะ ความไม่เคยชินของชาวบ้าน และค่าใช้จ่ายในการจ้างนักบัญชีมาทำบัญชี และควบคุมบัญชี ที่ชาวบ้าน ไม่มีควมรู้... บางครั้ง น่าจะปล่อยให้ภาคสังคมเติบโตเอง โดยรัฐให้การสนับสนุน ไม่ใช่เข้าไปแทรกแซง

 

วันนี้คนไทยทั้งหลายขอพวกเราโปรดมาช่วยกันแก้ปัญหาของบ้านเราด้วยตัวเราเอง สร้างความเข้มแข็งให้ภาคประชาสังคม เพื่อสร้างประเทศที่มั่นคง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของทุกคนเถอะครับ

หมายเลขบันทึก: 367907เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2010 06:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 03:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอแลกเปลี่ยนเรื่องกลุ่มออมทรัพย์สัจจะ เท่ารู้ในหมู่บ้านปกติน่าจะมีเกือบทุกหมู่บ้าน แต่ความสำเร็จจะมากหรือน้อย ถ้าวัดจากจำนวนเงิน ก็ขึ้นกับความเข้มแข็งของคณะกรรมการและชุมชนในการรวมตัวกัน ข้อดีคือ ชาวบ้านรู้จักกัน มีการจัดตั้งกลุ่มติดตามหนี้สิน ตรวจสอบกันเอง ตอนที่มีโอกาสได้ลงพื้นที่ พี่ยังไม่เคยได้ยินเรื่องการจัดให้เข้าสู่ระบบสหกรณ์ เลยไม่รู้ว่ามีปัญหาการนำแนวทางสหกรณ์ไปใช้ กลุ่มอีกกลุ่มในระดับหมู่บ้าน ที่พี่คิดว่ามีความเข้มแข็งมาก คือ กลุ่ม อสม แต่เดิม การทำงานเป็นงานอาสามัครจริงๆ ผลประโยชน์ที่ได้รับก็อาจจะเป็นประโยชน์ในด้านความรู้ทางสุขภาพ ปัจจุบันถ้าจำไม่ผิดมีการให้เงิน อสม เป็นค่าตอบแทน (500 บาทหรือเปล่า) ซึ่งจะโทษรัฐก็ไม่ถูก เพราะก็น่าจะเกิดการเรียกร้องของคนบางกลุ่มที่ทำงานตรงนั้น ที่มองว่าควรให้ผลประโยชน์เป็นตัวเงิน เพราะจำได้ว่า คนที่ทำงาน อสม เองก็บอกตรงนี้มา สำหรับพี่ อันนี้ ก็สองจิตสองใจว่า ควรมีเงิน หรือไม่มีเงินดี เพราะการให้เงิน ความเป็นอาสามัครก็จะหายไปหรือเปล่า

ที่เล่าให้ฟัง บางครั้งพี่ก็รู้สึกว่าจะโทษรัฐก็ไม่ถูก บางครั้งมันก็เกิดคนต้นเรื่องได้เหมือนกัน แต่ก็ยอมรับว่า หลายครั้งเจ้าหน้าที่รัฐก็ทำให้ในลักษณะสวมงานที่ว่าไว้เหมือนกัน....ถ้าอ่านแล้วสับสนก็ขออภัยนะคะ

ขอบพระคุณที่มาแบ่งปันความรู้ครับผม ผมเองก็เป็นนักวิชาการที่อ่านหนังสือมา คุยกับท่านผู้มีประสบการณ์อื่นๆ บ้าง ลงภาคสนามน้อย ได้มีโอกาสมาฟังความเห็นท่านอื่นๆ ถือเป็นกำไร และเป็นวิทยาทานกับผมอย่างมากครับ

ที่สก็อตแลนด์ที่ผมอยู่นี้ ผมพบข้อดีอย่างหนึ่งครับ ทุกคนตั้งแต่เด็ก ถูกฝึกเรื่องของการทำงานให้สังคมและการเป็นอาสาสมัครครับ ในหลักสูตรการศึกษาจะมีวิชาให้เด็กไปบำเพ็ญประโยชน์ให้สังคม ตามมูลนิธิต่างๆ แล้วให้ทางมูลนิธิ ลงนามรับรองว่ามีการไปช่วยงานจริงๆ ส่วนคนที่เกษียรแล้ว ก็จะพากันมาช่วยงานตามมูลนิธิต่างๆ ครับ นัยว่าเพื่อแก้เหงา และป้องกันการเป็นโรคซึมเศร้า และอัลไซเมอร์ด้วยครับ นี่เอง เป็นภาพดีๆ ของภาคประชาสังคมที่ผมเห็นจากที่ผมอยู่ครับ อยากเห็นภาพนี้เกิดในเมืองไทยด้วยครับ ผมว่าชุมชนเค้าก็เข้มแข็งพอสมควรแม้จะมีความเป็นปัจเจกสูงมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท