การวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 รายวิชาศิลปะ


พัฒนาผู้เรียนให้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีจินตนาการทางศิลปะ ชื่นชมความงาม มีสุนทรียภาพ อนุรักษ์สืบสานศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น

การวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานในกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครนครปฐม สำนักการศึกษาเทศบาลนครนครปฐมได้จัดประชุมมอบหมายให้แต่ละโรงเรียนเลือกหัวหน้ากลุ่มสาระระดับเทศบาลและเป็นแกนกลางในการประสานตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้และอีก 1 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเป็นผู้จัดทำหลักสูตรโดยทั้งนี้ทั้งนั้นต้องอยู่ภายใต้กรอบของหลักสูตรท้องถิ่นของสำนักการศึกษาเทศบาลนครนครปฐมด้วย...โรงเรียนเทศบาล ๔ (เชาวนปรีชาอุทิศ)ได้รับมอบหมายให้จัดทำหลักสูตรแกนกลาง 2 กลุ่มสาระด้วยกันคือ..กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และศิลปะ โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะผู้เขียนได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ โดยมีประธาน คณะกรรมการ และเลขานุการดังนี้..

หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระและอีก 1 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเข้ารับการอบรมร่วมกับผอ.โรงเรียน รองฝ่ายวิชาการ โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดอบรม เพื่อให้ครูได้มาจัดทำหลักสูตรเพื่อใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนต่อไป..

เมื่อได้คณะทำงานดังกล่าวแล้วการประชุมจัดทำหลักสูตรในกลุ่มสาระการเรียนรู้โดยมีขั้นตอนตามที่ดร.ธีรพงษ์ ศรีโพธิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ 2551. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551  กรุงเทพฯ 
โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย  จำกัด

ท่านได้ให้แนวทางไว้ในส่วนของสถานศึกษาดังนี้...

การจัดรายวิชาเพิ่มเติมตามความต้องการของโรงเรียน
1. การจัดทำคำอธิบายรายวิชา  (รหัสวิชา  ชื่อรายวิชา  กลุ่มสาระการเรียนรู้ระดับชั้น  เวลาเรียน  รายละเอียดคำอธิบายรายวิชา
    1.1  ศึกษามาตรฐานการเรียนรู้
    1.2  ศึกษาตัวชี้วัดชั้นปี  (ป.1 – ม.3)
    1.3  ศึกษาตัวชี้วัดช่วงชั้น  (ม.4 – ม.6)
    1.4  ศึกษาสาระการเรียนรู้แกนกลาง
    1.5 ศึกษากรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นเพิ่มเติมของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม  เขต  2  และโรงเรียน
   1.6  ศึกษาการลงรหัสรายวิชาทั้งพื้นฐาน  และเพิ่มเติม
ประมวลจัดทำคำอธิบายรายวิชา  แยกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้  อันประกอบไปด้วย  ส่วนของสาระการเรียนรู้  กระบวนการจัดการเรียนรู้และคุณลักษณะที่เกิด  (คุณภาพผู้เรียนตามหลักสูตร)
2. เกณฑ์การจบหลักสูตร
3. การจัดทำหน่วยการเรียนรู้
    3.1 โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา
    3.2  มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด
    3.3  สาระการเรียนรู้
ดำเนินการจัดหน่วยการเรียนรู้ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ครอบคลุมหลักสูตรแกนกลางและสาระการเรียนรู้ท้องถิ่นเพิ่มเติม
4. การออกแบบการเรียนรู้ที่อิงมาตรฐาน
    4.1  ตัวชี้วัด
    4.2  สาระการเรียนรู้ทั้งแกนกลางและท้องถิ่น
    4.3  ชิ้นงาน / ภาระงาน
    4.4  เกณฑ์การประเมิน
    4.5  ชื่อหน่วยการเรียนรู้
    4.6  เวลาเรียน
ดำเนินการออกแบบการเรียนรู้ที่อิงมาตรฐานการเรียนรู้ (แผนการจัดการเรียนรู้)  ประกอบไปด้วย  มาตรฐานการเรียนรู้  ตัวชี้วัด  สาระสำคัญ  สาระการเรียนรู้ (ความรู้  ทักษะ/กระบวนการ  คุณลักษณะอันพึงประสงค์)  ชิ้นงาน/ภาระงาน  เกณฑ์การประเมินชิ้นงาน  กิจกรรมการเรียนรู้ (นำเข้าสู่บทเรียน  ช่วยพัฒนาผู้เรียน  รวบยอด  สื่อการเรียนรู้  การวัดและประเมินผล  บันทึกผลหลังสอน)
5. คู่มือการวัดและประเมินผลระดับสถานศึกษา
    5.1  การประเมินในระดับชั้นเรียน  ประเมินความก้าวหน้าโดยใช้วิธีการอย่างหลากหลาย
    5.2  การประเมินในระดับสถานศึกษา  ตัดสินผลการเรียนรู้รายปี / รายภาค  การอ่าน   คิดวิเคราะห์และเขียนตลอดจนคุณลักษณะอันพึงประสงค์และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
การดำเนินการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551  ซึ่งโรงเรียนนำร่องและพร้อมใช้ใช้ในปีการศึกษา  2552  โรงเรียนทั่วไปใช้ในปีการศึกษา 2553  จะเห็นได้ว่า  เป็นการทบทวนหลักสูตรสถานศึกษาเดิม  โดยจัดทำโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา  จัดทำคำอธิบายรายวิชา  โดยประมวลจากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551  กรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่น  และสถานศึกษาพิจารณาเพิ่มเติมในส่วนที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน / ท้องถิ่นที่ต้องการพัฒนาเป็นพิเศษ
กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ โดย ให้โรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตรและโรงเรียนที่มีความพร้อม ใช้หลักสูตร ปีการศึกษา ๒๕๕๒ และโรงเรียนทั่วไปใช้หลักสูตรปีการศึกษา ๒๕๕๓ 

ความแตกต่างระหว่างหลักสูตร44และหลักสูตรแกนกลาง 51

ที่มา เรื่องน่ารู้..สู่การใช้หลักสูตรแกนกลางฯ2551 สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์

หมายเลขบันทึก: 317004เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2009 14:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะ น้องรัก

  • มีความสำเร็จกับเรื่องที่ทำเสมอนะคะ

รักและคิดถึงค่ะ

อยากเห็นการวิเคราะห์ที่บอกถึงสาเหตุที่จัดทำหลักสูตร เช่นการนำวิสัยทัศน์สู่หลักสูตรสถานศึกษา

แต่คงไม่ยุ่งเหมือนที่ผ่านมา เพราะแกนกลางกำหนดชัดเจนแล้วครับ

P...การจัดทำวิสัยทัศน์ของรายวิชาแต่ละหน่วยงานจะต้องดูวิสัยทัศน์ของหน่วยงานนั้นๆค่ะท่านผอ.เช่น เทศบาลนครนครปฐมได้ประชุมกำหนดวิสัยทัศน์ของเทศบาลไว้อย่างครอบคลุมทุกด้านแล้ว นำวิสัยทัศน์ที่ได้ตกลงร่วมกันนั้นเสนอต่อโรงเรียนในส่วนของการศึกษา..โรงเรียนก็จะจัดทำวิสัยทัศน์อ้างอิงไปกับหน่วยงานต้นสังกัดเป็นวิสัยของโรงเรียน และในวิสัยทัศน์ของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ก็ต้องกำหนดวิสัยทัศน์ของรายวิชาให้สอดคล้องเพื่อพันธกิจคืองานที่จะต้องทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของหลักสูตรค่ะ...

P..ค่ะพี่ครูอ้อย..ขอเพียงเราช่วยกันคนละมือละไม้การศึกษาไทยคงไม่ด้อยกว่าชาติอื่นใดค่ะ..

คำอธิบายรายวิชาศิลปะ ม.4

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท