การสร้างความเสถียรให้กับระบบ VoIP


เทคโนโลยี Voice Over Internet Protocol

การสร้างความเสถียรให้กับระบบ VoIP

1.แยกซับเน็ตของเสียงและข้อมูลออกจากกัน

   โดยการใช้ Virtual LAN (VLAN) เพื่อแยกทราฟฟิกของเสียงและข้อมูลออกจากกัน เป็นสิ่งสำคัญที่สุดเพราะเมื่อทำการแยกอุปกรณ์ด้านเสียง เช่น โทรศัพท์, เกตเวย์ ออกจากอุปกรณ์ข้อมูล เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์, เครื่องเซิร์ฟเวอร์ ออกจากกันได้ จะช่วยเพิ่มความเสถียรและความปลอดภัยได้อีกมาก โดยการจัดวางอุปกรณ์เสียงและข้อมูลไว้บน VLAN คนละวงกัน และยังสามารถกำหนดระดับการให้บริการ (QoS) และนโยบายความปลอดภัยให้แก่เสียงกับข้อมูลแตกต่างกันได้

2.กำหนดคุณภาพการให้บริการ (QoS: Quality of Service)

   การออกแบบเน็ตเวิกส์ยุคแรกๆเน้นการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเป็นหลัก โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพการให้บริการบางประการ โดยเฉพาะการกำหนด IP Address ให้เป็นดาต้าแกรม คือ การจ่าหน้า address ปลายทางให้กับแพ็กเก็ต แล้วส่งออกไปโดยไม่คำนึงว่าจะถึงปลายทางเมื่อไหร่ การให้บริการแบบนี้เหมาะสำหรับการบริการบางประเภท เช่น การส่งอีเมลล์หากถึงปลายทางล่าช้าก็ไม่เป็นไร แต่การบริการของ VoIP ต้องการคุณภาพมากกว่าปกติ ถ้าหากไม่มีการประกันคุณภาพในการส่งแพ็กเก็ต สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เสียงที่สนทนากัน ขาดๆหายๆ รีเลย์บ้าง คือพูดแล้วแต่อีกฝั่งยังไม่ได้ยินเป็นต้นดังนั้นควรเลือกอุปกรณ์ที่สามารถกำหนดคุณภาพการบริการได้ ซึ่งปัจจุบันมีอุปกรณ์สวิตช์บางยี่ห้อได้เพิ่ม port QoS มาให้ด้วยแล้วเพื่อรองรับเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นทุกวัน

3.แหล่งจ่ายไฟสำรอง

   โดยปกติเราอาจจะมี UPS เพื่อป้องกันให้กับเซิร์ฟเวอร์อยู่แล้ว แต่ระบบ IP Phone ต้องใช้ไฟฟ้าหากไฟฟ้าดับเครื่องโทรศัพท์แบบ IP Phone จะใช้งานไม่ได้ คงเป็นเรื่องยากหากต้องตั้ง UPS ให้กับ IP Phone ทุกเครื่อง ทางเลือกที่ดีอีกทางคือ ใช้สวิตช์ที่เป็น POE (Power Over Internet) คือการจ่ายไฟจากสวิตช์ไปยังอุปกรณ์ผ่านสายแลน ซึ่งจะช่วยให้ควบคุมไฟฟ้าที่สวิตช์เป็นหลัก ซึ่งอุปกรณ์ที่สำคัญอื่นๆที่ไม่กล่าวถึงก็ต้องมี UPS ด้วย เช่น Gatekeeper, Gateway, Access Point ซึ่งอุปกรณ์พวกนี้มีราคาแพงดังนั้นไม่คุ้มกันหากเกิดไฟฟ้าลัดวงจร จึงต้องมี UPS เป็นกำแพงป้องกันให้กับอุปกรณ์ ดังนั้นก่อนทำการออกแบบควรคำนึงถึงข้อนี้เป็นสำคัญ

4.ทำแผนการหมุนเบอร์เบอร์โทรให้ง่ายต่อผู้ใช้งาน

   องค์กรต่างๆมักจะเปลี่ยนหมายเลขโทรศัพท์เมื่อมีการใช้ IP Phone ดังนั้นหากคุณต้องทำเช่นนั้น ควรจัดกลุ่มหมายเลขสำหรับผู้ใช้งานให้เข้าใจง่าย แผนการหมุนโทรศัพท์ต้องสามารถหมุนไปยังเบอร์โทรระบบโทรศัพท์ปกติ (PSTN) ได้ทุกครั้ง และแผนการจัดเส้นทางสัญญาณการโทรไปยัง Gateway อื่นกรณี Gateway ที่ใช้งานขององค์เกิดขัดข้อง แม้ว่าต้องเสียค่าบริการโทรทางไกลก็ต้องยอม ดีกว่าปล่อยให้ระบบโทรศัพท์ใช้งานไม่ได้เมื่อส่วนหนึ่งของระบบล่ม ซึ่งข้อดีของการจัดทำแผนสรุปได้ 2 ประการคือ เข้าใจง่าย และแก้ไขปัญหาได้ง่าย

5.จัดทำคู่มือเกี่ยวกับเครือข่ายและระบบ IP Phone

   ป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดแต่มีประสิทธิภาพที่สุดในการสร้างความเสถียรและการทำงานที่ต่อเนื่องของระบบ ต้องมีการจัดเก็บ บันทึกข้อมูลระบบที่ดี ความเสถียรไม่ใช่ต้องการแค่อุปกรณ์สำรองเท่านั้น แต่เมื่อเกิดเหตุขัดข้องต้องสามารถซ่อมแซมและเข้าถึงปัญหาถูกจุดอย่างรวดเร็ว หากมีการบันทึกข้อมูลจัดทำคู่มือที่ดี เมื่อเกิดปัญหาขึ้นเราสามารถวิเคราะห์หาสาเหตุได้ง่ายมากขึ้นเท่านนั้น

คำสำคัญ (Tags): #voip
หมายเลขบันทึก: 300847เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2009 21:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 09:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท