เก็บตกเจ้าบ่าวเมืองกรุงเก่า


การแต่งงานเป็นการเริ่มต้นครอบครัว เลือกสรรแต่สิ่งดีงามต่างๆ ล้วนเป็นมงคลแก่ชีวิตทั้งสิ้น

 

   

 เดือนสี่ เป็นเดือนที่รอคอยของหนุ่มสาวส่วนใหญ่ ที่ตกลงปลงใจจะใช้ชีวิตร่วมกัน

 และได้จัดพิธีมงคลสมรสขึ้น ซึ่งถือเป็นประเพณีไทยที่กระทำสืบต่อๆกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ

 การจัดพิธีต่างๆนั้นส่วนใหญ่มักจะทำขึ้นที่บ้านเจ้าสาว

 ส่วนที่เจ้าบ่าวต้องเตรียม ก็คือ  เตรียมตัวเตรียมใจไว้ให้เจ้าสาว สินสอดทองหมั้นและขันหมาก

 ผู้บันทึกเคยเป็นแต่เจ้าสาวและญาติฝ่ายเจ้าสาว  เพิ่งจะได้เป็นฝ่ายจัดขันหมากให้เจ้าบ่าวครั้งแรก 

 จึงขอนำประเพณีแต่งงานของคนกรุงเก่า อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 มาฝากผู้ที่จะเตรียมตัวเป็นเจ้าบ่าวและเจ้าสาวกันค่ะ (พิธีขอ  หมั้น แต่ง ทำในวันเดียวกันค่ะ )

                  

                              

                                 พิธีหมั้นตอนเช้ามืด

                       ในพานเชิญขันหมาก มีหมาก  พลู ดอกดาวเรือง แสดงถึงให้มีความเจริญรุ่งเรือง

                       พานที่ห่อด้วยผ้าสีขาว  ภายในมีทอง และ แหวนหมั้น พร้อมทั้งใบเงิน ใบทอง ใบนาค

                       ส่วนพานที่ห่อด้วยผ้าสีเขียว  ภายในประกอบด้วย หมากเป็นลูกๆ ขันหนึ่ง 4 ลูกอีกขันหนึ่ง 3 ลูก รวมกันได้7 ลูก หรือ

                       พานหนึ่ง 5 ลูก อีกพานหนึ่ง 4 ลูก  รวมเป็น 9 ลูก ก็ได้ ขอให้เป็นเลขคี่ เพื่อที่จะไปหาคู่ข้างหน้า

      เถ้าแก่ฝ่ายเจ้าบ่าว ก็จะกล่าวคำที่จะมาขอหมั้นเจ้าสาวให้เจ้าบ่าว(บอกชื่อบ่าว สาว มีของอะไรบ้าง จำนวนเท่าไรบอกกล่าวให้หมด)

                       พ่อแม่ของเจ้าสาวก็ตอบตกลงยกให้ค่ะ

 

 

                           

                            

                            

                                                 เมื่อเจ้าบ่าวสวมแหวน ทองหมั้น เสร็จแล้ว เจ้าสาวจะกราบขอบคุณ

 

 

                           

                                                                             พิธีสงฆ์ (เมื่อยมากๆค่ะ)

 

                            

               ในช่วงที่พระฉันภัตราหาร   พ่อแม่จะสวมมงคล เจิมหน้าผาก เพื่อให้แขกผู้มีเกียรติทำพิธีหลั่งน้ำสังข์ และ ประสาทพรให้คู่บ่าวสาว

                                     

                           

    

       

                              

                                     หลังจากนั้น คู่ บ่าวสาว ก็จะมารับพรพระ กรวดน้ำให้กับผู้ที่ได้ล่วงลับไปแล้ว  เป็นอันเสร็จพิธีสงฆ์

 

                                                                          

                                                                           แห่ขันหมาก

 

                                         

                                                                                    ขันหมาก 20 คู่

                                                  คู่หน้า พานเชิญขันหมาก  ขันใส่เงินสินสอด(ยังไม่ได้ห่อด้วยผ้า)  

                                            คู่อื่นๆ ก็จะมีขนม กล้วย มะพร้าวอ่อน ส้มโอ ขนมถั่ว ขนมงา ขนมเปี๊ยะ  ขนมกง ฯลฯ

                                     ปักธงไว้ด้วย ซึ่งแต่ละอย่างมีความหมายให้เจริญรุ่งเรือง  โชคดีมีชัย   งอกงาม แตกดอกออกผล

                                    ส่วนคนที่จะถือขั้นหมากเอกสองคู่(สีขาวและสีเขียว) ให้เป็นสามีภรรยาที่ครองรักอยู่ร่วมกันเป็คนถือ

 

                                                                

                                                     หนูน้อยผู้บริสุทธิ์ถือขันใส่เงินสินสอดค่ะ (ได้ค่าถอนสินสอดตั้ง 3000 บาทค่ะ)

                                                                   ส่วนพานเชิญขันหมากให้เถ้าแก่ฝ่ายเจ้าบ่าวเป็นผู้ถือ

 

 

                                           

                         ต้นกล้วย ต้นอ้อย(เจ้าบ่าวขุดต้นอ้อยเองค่ะ ต้นยาวๆใหญ่ๆ ตรงๆ กว่าจะถูกใจเจ้าสาว ต้นอ้อยหมดไป 8 ต้น อิอิ)

 

 

                         

                                                       จะเข้าบ้านเจ้าสาวก็มีการกั้นประตูนาค ประตูเงิน ประตูทอง

                   ก่อนเดินเข้าไปในบ้านเจ้าสาว เจ้าบ่าวจะต้องเหยียบบนก้อนหินและหญ้าแพรก เพื่อให้ใจคอหนักแน่น  มีความอดทนค่ะ

                                                 และล้างเท้าให้เจ้าบ่าว  ( งานนี้เจ้าบ่าวแจกไปตั้ง  16  ซองค่ะ )

                    

                       

                                               เถ้าแก่ฝ่ายเจ้าบ่าวจะแจ้งยอดสินสอดที่นำมาให้ว่า เป็นเงินเท่าไร

                                ตอนนับสินสอด จะโรยด้วยข้าวตอกดอกไม้  เรียงธนบัตรเป็นวงกลม และวางทับกันเป็นปึกๆ

                                                 มีความหมายว่าให้รักกันกลมเกลียวและ ครอบครัวเป็นปึกแผ่นค่ะ

                   จากนั้นเจ้าบ่าวและเจ้าสาวจะต้องมอบสินสอดให้พ่อแม่ของเจ้าสาว โดยหักให้หนูน้อยที่ถือมาให้ แสนละ 1000 บาทค่ะ

                                              ขันหมากคู่อื่นๆก็แลกเป็นเป็น ผ้าเช็ดตัว หรือสบู่ ให้กับฝ่ายเจ้าบ่าวทั้ง 20 คู่

 

                                                

                                              แม่เจ้าสาวแบกเงินที่ได้รับ  ต้องทำเหมือนว่าหนักมากแบกโซซัดโซเซเข้าห้อง

                                                   ต่อจากนั้นก็ทำพิธีเซ่นผี จัดเครื่องเซ่นไหว้สองชุด ร้องเป็นทำนองกลอน

                                                                 สั่งสอนคู่บ่าวสาวและ ผูกแขน เป็นอันเสร็จพิธี

 

         การแต่งงานเป็นการเริ่มต้นครอบครัว  และเลือกสรรแต่สิ่งดีงามต่างๆ ล้วนเป็นมงคลแก่ชีวิตทั้งสิ้น

         เมื่อได้อยู่ร่วมกันแล้วหนักนิดเบาหน่อย ต้องมีการอภัยให้แก่กันและกัน

         ชีวิตครอบครัวจะได้อยู่เย็นเป็นสุข อยู่กันจนแก่จนเฒ่า ถือไม้เท้ายอดทอง กระบองยอดเพชร

         ดังคำกล่าวที่ผู้ใหญ่อวยพรให้เราเสมอๆ  ขอให้ทุกๆท่านมีชีวิตคู่ที่พบกับความสุขนะคะ

       

         ขอบคุณทุกๆท่านที่เข้ามาอ่านด้วยความสุข

         โดยเฉพาะคู่ที่กำลังรักกันหวานชื่น รอวันวิวาห์ค่ะ

                           

                                                                               

 

หมายเลขบันทึก: 247114เขียนเมื่อ 8 มีนาคม 2009 18:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (29)

การแต่งงานแบบไทยๆ เป็นบรรยากาศที่แฝงวิธีคิด และ คติธรรม หลายๆอย่างครับ

เข้าตามตรอก ออกทางประตู เป็นประเพณีอันดีงามที่ควรถือปฏิบัติต่อไป เพราะมันมิใช่แค่พิธีการเท่านั้น ในพิธีการมันแฝงไว้ด้วยหลักธรรมคำสอน ที่จะนำพาชีวิตคู่ให้ก้าวไปด้วยกันอย่างเป็นสุข

ตามมาอ่านและชมภาพพิธีมงคลครับ...

วันนี้ข้างบ้านผมก็มีงานแต่งครับ เห็นพีธีกรรมตั้งแต่เช้าครับผม...

ขอบคุณมากครับ...

อ่านตามบรรยากาศแล้ว ผมคุ้นเคยบรรยากาศนี้หมาดๆ จากงานของเพื่อนผมที่เรียนด้วยกันมาสมัยปริญญาตรี มาแต่งที่นครนายก ก็เห็นรายละเอียดทุกขั้นตอนแบบนี้  ...แตกต่างจากเมืองเหนือบ้านผมพอสมควร แต่ชื่นมื่นเหมือนกัน

ผมเป็น ตากล้อง ให้เพื่อนเลยจับเรื่องราวได้แบบละเอียดครับ

ทั้งคุณทหาร และ ตำรวจ ทั้งสองท่าน หน้าตาสำเนาถูกต้อง กับพี่นกเลยครับ :)

 

จริงๆน่าจะมี ภาพเถ้าแก่ยังสวย ยังสาว  มาให้ชมบ้างนะครับ :)

ภาพตัวอย่าง...

  • สวัสดีค่ะ
  • ประเพณีไทย เป็นอะไรที่น่าชื่นชมเสมอๆๆค่ะ

ท่านรองฯสพท.small man~natadee

วันแต่งงานเป็นวันที่รอคอยของคู่รักหลายๆคู่ รวมทั้งพ่อแม่ที่จะเห็นลูกๆเป็นฝั่งเป็นฝา

เมื่อได้ทำถูกต้องตามประเพณี  บรรยากาศอบอุ่น  อบอวลไปด้วยความสุขค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ NU1

มาดูการแต่งงานตามประเพณี ที่ครบเครื่องกำลังจะหาดูยากขึ้น

"ต่อจากนั้นก็ทำพิธีเซ่นผี ร้องเป็นกลอน สั่งสอนคู่บ่าวสาวและผูกแขน"

บ้านผมถึงตอนนี้ หมอก็จะขึ้นด้วย "ดับทุกข์ ดับโศฏ ดับโรคโรคา..........,,

 krutoi

คนโบราณมีชีวิตที่เรียบง่าย สงบร่มเย็น อยู่กันจนแก่เฒ่า

สามีภรรยาให้ความเคารพซึ่งกันและกัน

ประเพณีโบราณจึงควรยึดถือปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง เป็นมงคลชีวิตค่ะ

ขอบคุณค่ะ

คุณดิเรก Mr.Direct

ขอให้ชีวิตคู่เป็นสีชมพู หวานชื่นตลอดไปนะคะ

ขอบคุณค่ะ

 

น้องชายจตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

สำเนากูกต้องทุกประการ ทั้ง 5 คนเลยค่ะ

ภาพเถ้าแก่ ต้องรอตากล้องมืออาชีพ

ตอนนี้ดูภาพเก็บตกไปพลางๆก่อนค่ะ

แจกการ์ดสีชมพูเร็วๆนะคะ พี่จะไปช่วยจัดขันหมาก

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ pa_daeng [มณีแดง คนสวย แซ่เฮ]


 ประเพณีไทยเป็นสิ่งที่มีคุณค่าทางจิตใจ 

 เป็นต้นแบบที่ทำตามแล้ว  ได้รับความสุขค่ะ

 ขอบคุณค่ะ

 วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei

คำสั่งสอนของคนโบราณ ถ้าทุกคู่ปฏิบัติตามได้  ครอบครัวจะมีความสุขมากๆ

เหมือนมีมนต์ขลังค่ะ

ขอบคุณที่เข้ามาทักทายและแลกเปลี่ยนกันค่ะ

การแต่งงานแบบไทย น่าชื่นชมค่ะ

พิธีเซ่นผี หมายถึงเอาของไปไหว้ทำพิธีใช่ไหมค่ะ

เอ้า.....ฮิ้ว ววว ....

 

ซ้อมแห่ขันหมากผมครับ  :)

ประเพณีโบราณ ควรอนุรักษ์ไว้ค่ะ

คุณberger0123

การแต่งงานเป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจของครอบครัวเจ้าบ่าวและเจ้าสาวค่ะ

พิธีเซ่นผี จัดเป็นเครื่องไหว้สองพาน

ขอบคุณค่ะ

คุณน้อยหน่า

สมัยโบราณลูกสาวบ้านไหนได้เข้าสู่ประตูวิวาห์  เป็นงานใหญ่ของพ่อแม่เลยค่ะ

ตระเตรียมงาน 3วัน3คืน

มีวันสุขดิบ วันทำของ วันเข้าพิธีแต่งงาน

มีความสุขกันถ้วนหน้า ทั้งบ้านเจ้าบ่าวและเจ้าสาวค่ะ ที่จะได้เป็นทองเป็นเดียวกัน

ขอบคุณค่ะ

" บ่าว " คือผู้รับใช้นะคะคุณเอก

 ตัดสินใจให้ดีค่ะ อิอิ )))))

  • ประเพณีดั้งเดิมแบบไทย ๆ ไม่ค่อยเห็นแล้วนะคะ หรือว่าไม่ค่อยมีคนเชิญ (อิอิอิ)
  • งดงามมากค่ะ เห็นแล้วประทับใจ ดูมีเสน่ห์และขลังมากค่ะ
  • เจ้าบ่าวเจ้าสาวมีเรื่องไม่เข้าใจกัน ย้อนกลับมานึกถึงพิธีการศักดิ์สิทธิ์นี้ก็คงคิดหนัก ต้องรักกันให้มาก ๆ นาน ๆ จริงไหมคะ

ขอบคุณยามดึกค่ะ  KRUPOM  P

 

 

สวัสดีค่ะ

แวะมาร่วมยินดีกับคู่บ่าวสาว....

ประเพณีไทยเป็นประเพณีที่งดงามนะคะ

(^___^)

คุณ. Sila Phu-Chaya

P

 

อาจารย์ คนไม่มีราก

P

 

ประเพณีแบบไทยงดงามและมีมนต์ขลัง

เป็นมงคลสำหรับคู่บ่าวสาวที่เริ่มครอบครัวใหม่ค่ะ

รับแต่สิ่งดีๆค่ะ

ว้าว ๆ ไม่เคยแต่งงาน อิ อิ พาหนีอย่างเดียว :)

ขอบคุณครับ ... ถอดความรู้เลยครับ

อีกรอบก็ได้นะคะอาจารย์

จะจัดขันหมากให้ค่ะ

  • แวะเข้ามาดูด้วยนะครับ บันทึกและถ่ายทอดได้อย่างพิถีพิถันดีจัง
  • แต่ละกิจกรรม-แต่ละขั้นตอน นอกจากงดงาม สื่อการให้จิตใจที่ประณีตบรรจง สืบทอดประเพณีและวัฒนธรรมที่งดงามแล้ว ยังเต็มไปด้วยกุศโลบายต่อการดำเนินชีวิต การสร้างครอบครัว และการครองตน-ชีวิตคู่ให้มีความสุข มีความดีงาม จึงเป็นกิจกรรมของการใช้ความรู้ที่เก็บไว้กับผู้คนในสังคม อย่างมากมายหลายแง่มุมเลย
  • ตามบ้านนอก จะให้ความสำคัญอีกอย่างหนึ่งว่า งานบวช งานแต่งงาน และงานศพ เป็นงานของการนับญาติกัน ไม่ใช่กิจกรรมที่ทำไปตามประเพณีแบบทั่วๆไป
  • คนที่ไป ก็จะไปด้วยความสำนึกอีกแบบ ไม่เหมือนงานอื่น คือ งานเหล่านี้มักไม่เกี่ยวกับการเชิญหรือไม่เชิญ เพราะคนที่ไป จะต้องไปด้วยความรู้สึกว่าไปแสดงความเป็นญาติพี่น้องกัน หากถูกเชิญก็จะต้องทำหน้าที่บอกกล่าวต่อ และใครที่ไม่ได้รับการบอกกล่าว ก็มักจะเคืองว่าทำไมไม่บอกกล่าว ไม่นับญาติกันหรืออย่างไร 
  • ไม่เหมือนกับงานอื่นๆและไม่เหมือนกับการจัดงานเหล่านี้ของคนสมัยใหม่ เพราะคนถูกเชิญจะรู้สึกเป็นกิจกรรมสังคมที่เป็รนภาระ อีกทั้งฝ่ายที่เชิญ บางทีก็สักแต่เชิญให้ไปเป็นหน้าเป็นตาเฉยๆ ไม่ใช่การแสดงความเคารพนับถือและนับญาติกัน ซึ่งเป็นการแสดงความผูกพันที่สุดและให้ความสำคัญเสมือนดังญาติ อย่างวิถีชาวบ้าน
  • ดีใจและชื่นชมกับน้องๆด้วยนะครับ 

P นาย วิรัตน์ คำศรีจันทร์

 

  • การไปงานต่างๆในสังคมชนบท ถ้าเจ้าภาพไม่บอกกล่าวเราจะมีความรู้สึกน้อยใจจริงๆค่ะ  เหมือนกับเราเป็นคนอื่น ไม่นับถือกัน
  • พิธีแต่งงาน ในตอนเช้ามักจะมีแต่ญาติพี่น้องซึ่งมาเป็นสักขีพยานว่า ทั้งคู่ได้ทำถูกต้องตามประเพณี เข้าตามตรอกออกตามประตูแล้ว ไม่ให้เป็นที่ติฉินนินทา และทำให้พ่อแม่อับอาย
  • ส่วนพิธีตอนค่ำ จัดเลี้ยงฉลองมงคลสมรส ก็จะให้แขกผู้มีเกียรติร่วมแสดงความยินดี รูปแบบของสังคมเมืองค่ะ
  • ขอบคุณพี่ชายที่ทำให้เห็นวัฒนธรรมของคนไทยชัดเจนมากขึ้น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท