ประสบการณ์การบริหารจัดการโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก


การแก้ปัญหาโรงเรียนที่มีครูไม่ครบชั้นโดยการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น

                ผู้เขียนได้รับคำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านถ้ำเพชร หมู่ 6 ตำบลอ่าวลึกเหนือ  อำเภอ
อ่าวลึก จังหวัดกระบี่  สังกัดเขตพื้นที่การศึกษากระบี่ เมื่อวันที่
15 มิ.ย. 2548 ถึงวันที่ 4 ธันวาคม 2551  ครั้งแรกที่เดินทาง
ไปถึงโรงเรียนพบว่ามีปัญหามากมายที่ส่งผลให้มีจำนวนนักเรียนลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีการศึกษา
2544 – 2547 
คงเหลือนักเรียนชั้น
อนุบาล ป.6 เพียง 49 คน  ชาวบ้านไม่เข้าโรงเรียน  เกิดวิกฤตศรัทธาอย่างรุนแรง  คุณภาพชีวิตของ
นักเรียนต่ำ  มีครูเพียง
4 คน นักการ 1 คน  ครูร้อยละ 50 ไม่ได้รับการยอมรับจากชุมชน  ขาดแคลนงบประมาณ  สวนปาล์ม
หลังโรงเรียนพื้นที่
20 ไร่ถูกทิ้งไว้ให้รกร้างเป็นป่าขึ้นสูงกว่าต้นปาล์มอายุ 4 – 5 ปี  จนไม่ได้ผลผลิตเป็นรายได้ของโรงเรียน
               นั่นเป็นเพียงตัวอย่างของปัญหาที่พบเท่านั้น แต่โดยความรู้สึกส่วนตัวของผู้เขียนในฐานะที่เคยเป็นรองผู้อำนวยการ
โรงเรียนอำมาตย์พานิชนุกูล ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำจังหวัดกระบี่  รำพึงรำพันในวันแรกที่ไปโรงเรียนว่า
ทำไมหนอ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจึงปล่อยให้โรงเรียนบ้านถ้ำเพชรทรุดโทรมได้เพียงนี้  แต่ก็ไม่ย่อท้อครับ งัดเอาความรู้
ประสบการณ์ทั้งหมดที่มีมาใช้ดำเนินการปรับปรุงพัฒนาโรงเรียนบ้านถ้ำเพชร ให้เป็นโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กที่
เข้มแข็งให้จงได้  คิด-ทำทุกอย่างเพื่อนักเรียนโรงเรียนบ้านถ้ำเพชร ซึ่งผู้เขียนจะเรียกว่า
ลูกทุกคน ให้ลูกทุกคนอยู่ใน
โรงเรียนอย่างมีความสุข เป็นคนดี แล้วจะเป็นคนเก่งอย่างแน่นอน
                 ในการบริหารจัดการโรงเรียนบ้านถ้ำเพชร  ผู้เขียนได้ใช้นวัตกรรม
การจัดการเรียนรู้
แบบคละชั้นมาใช้ตั้งแต่
ปีการศึกษา
2548 – 2549 บริหารและจัดการศึกษาโดยใช้วงจรแห่งความสำเร็จ (PDCA)   ดังนี้

                  1.  ขั้นวางแผน (Plan : P)
                       1.1  ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการ
                      
1.2  กำหนดปัญหาที่จะดำเนินการพัฒนา

                       1.3  กำหนดวิธีการที่จะดำเนินการพัฒนา
                 
2.  ขั้นปฏิบัติ (Do : D)

                       บริหารจัดการโรงเรียนบ้านถ้ำเพชรโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น
                        
2.1  กำหนดกลยุทธ์ในการบริหารจัดการ
                              
2.1.1  พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้มีคุณภาพ
                              
2.1.2  เพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน
                              
2.1.3  ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา
                        
2.2  จัดการเรียนรู้แบบคละชั้น
                               
2.2.1  ปรับหลักสูตรสถานศึกษา ระดับปฐมวัย  ระดับประถมศึกษา ช่วงชั้นที่ 1
และระดับประถมศึกษา ช่วงชั้นที่ 2
                              2.2.2  จัดการเรียนรู้
                                       
1)  จัดการเรียนรู้แบบคละชั้น ชั้นอนุบาลปีที่ 1 – 2
                                        2)  จัดการเรียนรู้แบบชั้นเรียนปกติ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

                                        3)  จัดการเรียนรู้แบบคละชั้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 – 3
                                        4)  จัดการเรียนรู้แบบคละชั้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6
                    3.  ขั้นประเมินผล (Check : C)
                         3.1  คุณภาพผู้เรียน
                                
3.1.1  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

                                           ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 โรงเรียนบ้านถ้ำเพชร  ปีการศึกษา
 
2547 – 2549 ที่ได้ระดับผลการเรียน 3 - 4

ปีการศึกษา/ร้อยละของนักเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6

ระดับผลการเรียน

0

1

1.5

2

2.5

3

3.5

4

ปีการศึกษา 2547                      

ร้อยละ

0

13.81

8.67

18.00

16.82

17.54

10.25

14.91

ร้อยละของนักเรียนที่ได้ระดับผลการเรียน 3  - 4   =   42.70

ปีการศึกษา 2548                       

ร้อยละ

0

7.64

3.59

11.77

16.12

19.10

15.45

26.33

ร้อยละของนักเรียนที่ได้ระดับผลการเรียน 3 – 4   =   60.88

ปีการศึกษา 2549                      

ร้อยละ

0

6.25

3.94

11.77

15.07

19.79

14.76

28.42

ร้อยละของนักเรียนที่ได้ระดับผลการเรียน 3 – 4  =  62.97


                                
3.1.2  ผลสำเร็จของนักเรียน
                                            ปีการศึกษา 2547 
ไม่พบข้อมูล หลักฐาน ร่องรอยการส่งนักเรียนไปแข่งขันทักษะทางวิชาการ หรือการประกวด แข่งขันในระดับต่าง ๆ

                                              ปีการศึกษา 2548  ได้รับรางวัลในระดับเครือข่ายอ่าวลึกไตรศึกษา                                                          

                     — รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1  ประเภทการเขียนสกดคำ ภาษาไทย ช่วงชั้นที่ 1                    

                     — รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1  ประเภทการเขียนสกดคำ ภาษาไทย ช่วงชั้นที่ 2  
                     
— รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1   ประเภทการพูดเรื่องที่เตรียมมา ภาษาอังกฤษ ช่วงชั้นที่ 1
   
                  — รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2  ประเภทการแสดงบทบาทสมมุติ ภาษาอังกฤษ  ช่วงชั้นที่ 2 
  
                                            ปีการศึกษา 2549

                                             ได้รับรางวัลในระดับเครือข่ายอ่าวลึกไตรศึกษา  และชนะเลิศเป็นตัวแทนอำเภออ่าวลึกแข่งขัน
ในระดับจังหวัด

                     — ประเภทการแข่งขันเปตองประเภททีม 3 คนเข้าร่วมแข่งขันในระดับจังหวัด ได้อันดับที่ 4 ของจังหวัด

                     ได้รับรางวัลในระดับเครือข่ายอ่าวลึกไตรศึกษา
                     
— ประเภทการเขียนภาพระบายสีชอล์ค   ช่วงชั้นที่ 1                         

                     — ประเภทการพูดเรื่องที่เตรียมมา ภาษาอังกฤษ ช่วงชั้นที่ 1       

                     — ประเภทการพูดเรื่องที่เตรียมมา ภาษาอังกฤษ ช่วงชั้นที่ 2      

                     — ประเภทการแข่งขันคณิตคิดสร้างสรรค์    ช่วงชั้นที่ 2  
                                             ปีการศึกษา 2550
                       นักเรียนร้อยละ 68.18 ได้รับรางวัลในระดับเครือข่ายอ่าวลึกไตรศึกษา ทั้งรางวัลยอดเยี่ยม รางวัลดีเด่น 
รางวัลดี และรางวัลชมเชย
                      3.2  ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชน ต่อการบริหารจัดการโรงเรียนบ้านถ้ำเพชร
โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น
                                             ปีการศึกษา 2547 มีความพึงพอใจในระดับน้อย
                                             ปีการศึกษา 2548-2549  หลังจากที่ผู้เขียนนำนวัตกรรม "รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น"
มาใช้ในการบริหารจัดการโรงเรียน ผลปรากฎว่า นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชนมีความพึงพอใจในระดับมาก

                    เอกสารอ้างอิง 
                    วสันต์  ปัญญา  การบริหารจัดการโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น
                    เอกสารหมายเลข 43/2550  กลุ่มบริหารงานวิชาการ  โรงเรียนบ้านถ้ำเพชร  สังกัดเขตพื้นที่การศึกษากระบี่
                    2550  (อัดสำเนา)

                    หากต้องการศึกษาเอกสารผลงานทางวิชาการ เรื่อง การบริหารจัดการโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กโดยใช้
รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น    ให้ไปที่ http://www.klonggom.com ที่หน้าเว็บ ตรงผลงานครู คลิ๊กที่ ชื่อ
นายวสันต์  ปัญญา นะครับ
                    


             

หมายเลขบันทึก: 271786เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2009 19:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

             

ขอปรบมือให้ ผอ.ผู้ตั้งใจดี  หากกระทรวงศึกษาธิการไม่เหลียวแลท่านลองหันไปขอรับการสนับสนุนจาก  อบต.ใกล้ ๆ  ดูซิ  เขาคงทนเห็นลูกหลานของเขามีชีวิติที่ตกต่ำไม่ได้  อาจจะช่วยเหลือก็ได้

ขอเป็นกำลังใจให้ท่านอีกหนึ่งกำลังใจ

 

ฐิตารีย์ เกิดสมกาล

สวัสดีค่ะ ผอ.วสันต์ ปัญญา วันนี้โชคดีจังที่ได้เปิดหน้า Web มาเจอ blog ของท่าน ผอ. เพราะว่าที่โรงเรียนกำลังทำแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาตามคำแนะนำของ สมศ.กรณีที่ไม่ผ่านการรับรองมาตรฐาน (มฐ.4, มฐ.5 มฐ.8 และ มฐ.9 )จากการประเมินรอบสอง แนวทางการปฏิบัติของโรงเรียนก็คือการจัดการเรียนการสอนแบบคละชั้น และการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ(มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 65 คน และครู 5 คน,ผอ. 1 คน ,พนักงานบริการ 1 คน )

ดิฉัน ในฐานะหัวหน้างานวิชาการมือใหม่ (เพิ่งจะได้รับตำแหน่งในปีการศึกษานี้)ก็ต้องศึกษาแนวทางการดำเนินการตามโครงการ / กิจกรรมที่เสนอไปยัง สพท. ได้ปรึกษากับ ผอ.ในการหาแนวทางที่เป็นรูปธรรม และง่ายต่อการปฏิบัติ เกิดผลเชิงประจักษ์ที่บุคลากรทุกฝ่ายเข้าใจที่มา ที่ไป และสามารถอธิบายได้ โดยไม่จำเป็นต้องให้ ฝ่ายวิชาการตอบคำถามหรืออธิบาย หรือเข้าใจอยู่คนเดียว

ดังนั้น เมื่อมาเจองาน "การจัดการเรียนรู้แบคละชั้นโรงเรียนบ้านถ้ำเพชร" ของท่านผอ.วสันต์ ถือว่าเป็นโชคดีมากสำหรับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับโรงเรียนวัดคงคาเลียบ

ดิฉันจึงถือโอกาสนี้ ขอคำแนะนำจากท่าน ผอ.ในการดำเนินการการเรียนรู้แบบคละชั้นดังกล่าว หวังว่าท่านผอ.คงให้ความอนุเคราะห์เป็นอย่างดี

เกริ่นมาตั้งมากมาย ลืมแนะนำตัวค่ะ ดิฉันชื่อฐิตารีย์ เกิดสมกาล สอนอยู่โรงเรียนวัดคงคาเลียบ ม.5 ต.กุแหระ อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช ก็ไม่ไกลจากโรงเรียนของท่านเท่าไหร่ หากมีโอกาสจะไปขอคำแนะนำและศึกษาดูงานที่โรงเรียนบ้านถ้ำเพชรบ้าง

ท่านผอ.คงไม่รังเกียจนะคะ สำหรับครั้งนี้หากท่านได้อ่าน Mail นีแล้วมีอะไรจะแนะนำก็กรุณาติดต่อมาตาม Mail ดังกล่าวนะคะ ขอขอบพระคุณมาไว้ ณ โอกาสนี้

หากมีอะไรจะให้โรงเรียนขนาดเล็กเมืองคอนช่วยเหลือ กรุณาบอกมานะคะ ยินดีให้ความร่วมมือกับนักพัฒนาอย่างท่าน//. สวัสดีค่ะ

ขอบคุณคุณครูฐิตารีย์นะครับที่ให้เกียรติมาศึกษา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกันครับ

มีรายละเอียดการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น โดยเฉพาะ Model และรายละเอียด

ของกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งผลที่เกิดกับนักเรียนทั้งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ

ความสำเร็จของนักเรียนในการประกวดแข่งขันทั้งในระดับโรงเรียน และระดับที่

สูงกว่า ร.ร. รวมทั้งความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องต่อการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น

ที่ http://www.klonggom.com ที่หน้าเว็บ ตรงผลงานครู ที่ชื่อ นายวสันต์ ปัญญา จะมีผลงานนี้อยู่ เป็นFile Word ครับ เอาไปปรับใช้ได้เลยครับ

ผมเคยร่วมงานกับ ผอ.วิเชียร เกิดสมกาล สมัยที่เป็น ผช.ผอ.ร.ร.

พนมเบญจา อ.เขาพนม จ.กระบี่ ท่านเป็นคนท้ายสำเภา นครศรีฯ ผมเคยไปเที่ยวที่

บ้านท่านด้วย คงจะเป็นญาติกันนะครับ ตอนนี้ท่าน ผอ.วิเชียร อยู่ที่ ร.ร.สินปุนคุณวิชญ์ อ.เขาพนม ครับ.......สวัสดีครับ

ฐิตารีย์ เกิดสมกาล

สวัสดีค่ะ ผอ. ขอบคุณสำหรับการติดต่อกลับ พร้อมคำแนะนำดี ๆ ผลงานของโรงเรียนบ้านถ้ำเพชร ขณะนี้ได้รับการเผยแพร่ในที่ประชุมของโรงเรียนวัดคงคาเลียบแล้วค่ะ สืบเนื่องมาจากการที่ดิฉันได้โหลดจากFile ที่ ผอ.จัดไว้ ไปเสนอให้ ผอ.ที่โรงเรียนดู ผอ.สนใจมาก นำเสนอในที่ประชุมเพื่อศึกษาและปรับใช้กับบริบทของโรงเรียน นอกจากนี้ยังมอบงานให้เพิ่มเติมคือ การศึกษาการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ การจัดโครงสร้างเวลาเรียน ฯลฯ สรุปว่าต้องทำประหนึ่งพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาใหม่ พร้อมทั้งเผยแพร่ให้คณะครูได้รับรู้และเข้าใจในหลักการที่ถูกต้อง ในเรื่องเดียวกัน

วันที่เข้าไปศึกษาข้อมูลเรื่องนี้ เข้าใจว่า ผอ.วสันต์ ยังเป็น ผอ.ที่โรงเรียนบ้านถ้ำเพชร แต่วันนี้เข้าใจแล้ว ท่านเป็นอดีตที่นั่น แต่เป็นผอ.ปัจจุบันที่โรงเรียนบ้านคลองกำ ดิฉันเข้าใจถูกมั้ยคะ เห็นข้อมูลส่วนตัวและเบอร์โทรของท่านแล้ว ที่จริงถ้าโทรไปคุยด้วยท่านคงไม่ขัดข้อง แต่ขอปรึกษาทาง blog แบบนี้ดีกว่า จะได้ฝึกการสื่อสารด้าน IT ให้เป็นบ้าง

สำหรับผอ.วิเชียร เกิดสมกาล เป็นลูกพี่ลูกน้องกันค่ะ บ้านเดิมอยู่ท้ายสำเภาเช่นกัน ผลผลิตจากโรงเรียนวัดคงคาเลียบส่วนใหญ่จะไปเป็นงอกเงยที่สินปุนคุณวิชญ์ (แต่คงไม่ค่อยมีคุณภาพเป็นที่น่าพึงพอใจสำหรับผอ.วิเชียรสักเท่าไหร่ ดังนั้น นี่เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่อยากให้ผู้ใช้ผลผลิตพึงพอใจ จึงต้องปรับปรุงคุณภาพกันหน่อย)

ผอ.คะ บทสรุปของการสนทนาวันนี้ ขอจบด้วยคำถามที่ต้องการคำตอบว่า" นอกเหนือจากเอกสาร"การจัดการเรียนรู้แบบคละชั้นโรงเรียนบ้านถ้ำเพชร"ที่อยู่ในมือดิฉันแล้ว ผอ.มีเอกสารภาคผนวกอื่น ๆ อีกมั้ย เช่น การจัดดำเนินการตามขั้นตอนการออกแบบ, การวิเคราะห์แผน,แผนการจัดการเรียนรู้ในระดับชั้นต่าง ๆ ที่คละชั้นใบงาน,ใบความรู้, หรืออย่างอื่นที่เกี่ยวข้อง หากมี ผอ.กรุณาแนบ File มาให้หน่อยนะคะ [email protected] หรือ Blog ของฐิตารีย์ เกิดสมกาล ก็ได้ ขอบคุณสำหรับความกรุณา และการให้คำปรึกษา

คงจะเข้ามาคุยกับผอ.อีก หลังจากได้รับคำแนะนำเพิ่มเติมนะคะ ...สวสดีค่ะ

สวัสดีครับคุณครูฐิตารีย์

ก่อนที่ผมจะทำผลงานนี้ นอกจากการไปประชุม สัมมนา และศึกษาเอกสารทั้ง

แบบกระดาษและอิเลคทรอนิคแล้ว ยังได้ไปศึกษาดูงานการจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น

หรือจะเรียกว่า แบบยุบรวมชั้นเรียน ก็ได้ ที่นครศรีฯ เขต 2 แต่ขออภัยที่จำ ร.ร.ไม่ได้

เมื่อปี 2549-50 โดย ท่าน ผอ.เขต ท่านเป็นผู้นำคณะไปด้วยตัวท่านเอง

นอกจากนั้นได้ไปศึกษาดูงานที่สุราษฎร์ เขต 2 หรือเขต 3 ซึ่งตั้งอยู่ที่ Co-op

สุราษฎร์ครับ

ผมมีโอกาสได้เป็นที่ปรึกษาด้านวิชาการตามคำสั่ง สพท.กระบี่ ให้กับ ร.ร.

ขนาดเล็กที่จัดการเรียนรู้แบบคละชั้นในกระบี่ จึงมีโอกาสได้ไปประชุม สัมมนาตามที่

สพฐ.จัดอยู่บ้าง ก่อนมาทำที่ ร.ร.บ้านถ้ำเพชร อีกทั้งได้ขอคำปรึกษา แนะนำ จาก

ศน.เขตกระบี่ที่รับผิดชอบ ร.ร.ขนาดเล็ก ศึกษาแผนฯของเขต ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องกับ

ยุทธศาสตร์ที่จะทำให้ ร.ร.ขนาดเล็กเข้มแข็ง

แล้วเข้า search จาก google.com การจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น การยุบชั้นเรียน ฯลฯ มีทั้งเอกสารของ สพท.กำแพงเพชร นครสวรรค์ นครศรีฯ สุราษฎร์ สงขลา รวมทั้งงานวิจัยต่าง ๆ ซึ่งแต่ละแห่งจะมีรูปแบบต่างกันไป แล้วมาสรุปเป็น Model ของ ร.ร.ครับ สำหรับเอกสารต่าง ๆ ผมให้เพื่อนผู้บริหาร ร.ร.ขนาดเล็กอื่น

ไปหมดแล้ว มีแต่ผลงานตอนทำ คศ.3 ครับ

หากต้องการให้ช่วยเหลือในด้านใด ก็ยินดีนะครับจะทาง blog หรือโทรศัพท์

ก็ได้ครับ

เป็นกำลังใจให้ในการพัฒนาต่อไปนะคะ..สู้สู้ค่ะ

ฐิตารีย์ เกิดสมกาล

เรียน ผอ.วสันต์

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำค่ะ เหมือนได้เปิดหน้าต่างบ้าน ได้เข้าไปศึกษาการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กจากข้อมูลใน google และงานวิจัยแล้ว จากที่คิดว่าจะทำแบบง่าย ๆ จึงรู้ว่าไม่ง่ายอย่างที่คิด เห็นทีจะต้องรวบรวมแนวคิดจากที่ศึกษาทำให้เป็นเรื่องเป็นราวและได้ผลจริง ๆให้ได้

ขอบคุณผอ.อีกครั้งนะคะ สำหรับคำแนะนำและตัวอย่างความมุ่งมั่นของผอ.ในการพัฒนาที่ไม่หยุดยั้ง (เมื่อกี้อ่านblogของผอ.บ้านคลองกำแล้ว ขยันจริง ๆ ขอชื่นชม)

สวัสดีคะ

ฐิตารีย์

นับถือท่าน ผอ.จริงๆค่ะ ตอนนี้ที่โรงเรียนก็เจอปัญหาแบบนี้เหมือนกันค่ะ เหนื่อยมากๆเลย แต่ก็พยายามทำเพื่อเด็กๆค่ะ ตอนนี้คละชั้นป.2กับป.3อยากขอคำแนะนตำการเขียนแผนคละชั้นนะค่ะ ขอบคุณค่ะ ส่งข้อมูลไดทาง e-mailได้ตลอดเวลาค่ะ จากครูน้อย จ.ตาก

สวัสดีครับคุณส้ม

ขอบคุณครับที่สนใจในเรื่องการคละชั้น ผมเตรียมข้อมูลจะส่งให้ แต่รอ e-mail ครับ

สวัสดีค่ะ

  • ขอขอบพระคุณกับบันทึกที่แลกเปลี่ยนค่ะ
  • มาแนะนำหนังสือค่ะ
  • http://gotoknow.org/blog/krukim/312494

สวัสดีค่ะ

ที่ ร.ร อยากมาศึกษาดูงาน ร.ร ขนาดเล็กที่สอนคละชั้นที่จังหวัดกระบี่ ไม่ทราบว่า ผอ. มีโรงเรียนไหนแนะนำให้บ้างค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ครูนะ สตูล

ครูนะ สตูล ครับ

ขอบคุณที่มาเยี่ยม และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตอนนี้ผมย้ายไปอยู่ ร.ร.ขยายโอกาส ครูครบชั้น จึงไม่ได้จัดคละชั้นอีก

ที่โรงเรียนบ้านถ้ำเพชร ที่ผมเคยดำเนินการตั้งแต่ปี 2548 นั้น ทราบว่า ท่านผู้บริหารที่ไปแทนผมท่านยกเลิกการจัดคละชั้น

แล้วเมื่อปีการศึกษา 2552 เป็นต้นมา ก็เสียดายผลงานที่ทำไว้ ทำก่อนที่ รัฐบาลจะบรรจุไว้ในแผนไทยเข้มแข็งเสียอีก

ผมจะลองสอบถามที่ สพท.กระบี่อีกครั้ง แล้วจะส่งข่าวทาง e-mail ได้ไหมครับ

1. ตอนที่จัดการเรียนรู้แบบคละชั้นที่ ร.ร.บ้านถ้ำเพชร อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ เพราะเจอปัญหาครูไม่ครบชั้น ในตอนแรกศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง จนสรุปได้ว่า นวัตกรรม "การจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น" นี้เป็นสิ่งใหม่ที่น่าจะมาใช้แก้ปัญหาได้ดี จึงไปปรึกษากับ ศึกษานิเทศก์ (ศน.เพ็ญศรี ทศพร) สพท.กระบี่ ในขณะนั้น ได้รับเอกสารมาศึกษา พร้อมคำแนะนำเพิ่มเติม ดำเนินการจนสำเร็จผลดังที่เขียนไว้ใน blog นี้ แต่พอคัด ผอ.ร.ร.ขนาดเล็กไปศึกษาดูงานประเทศนิวซีแลนด์ ไปกับ ผอ.สพท.กระบี่ ทาง สพท.กระบี่กลับคัดเลือกผู้บริหาร ร.ร.ขนาดเล็กอีกโรงหนึ่งไป แล้วให้ผมไปเป็นคณะกรรมการยกระดับคุณภาพโรงเรียนนั้น โดยเป็นที่ปรึกษาด้านวิชาการ ไหงเป็นเช่นนั้น ความจริง ต้องให้ผู้ไปศึกษาดูงานจากต่างประเทศมาให้คำปรึกษาแนะนำกับผมสินะถึงจะถูกต้อง

2. ตอนผมทำ ร.ร.แบบคละชั้น ไม่มีใครมาให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน ยกเว้นคณะ ศน.สพท.กระบี่ ซึ่งให้การดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี พอผลงานออกมาเชิงประจักษ์ เกิดประโยชน์กับผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็กอื่น ๆ ทั่วไทย รวมทั้ง นศ.ระดับ ป.โท และ ป.เอก ที่นำผลงานไปอ้างอิงครับ ยิ่ง SP2 กำหนดมาตรการชัดเจนว่า ร.ร.ขนาดเล็กต้องจัดการเรียนรู้แบบคละชั้น แถมยังมีงบประมาณมาสนับสนุน และดำเนินการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อขับเคลื่อนนโยบายนี้ นึกแล้วก็อิจฉา ร.ร.ขนาดเล็กในปัจจุบันเหมือนกันที่ได้รับการดูแลเป็นอย่างดีจากรัฐ แต่ผมก็ภูมิใจที่อย่างน้อย กล้าสู้ กล้าเปลี่ยนแปลง ไปสู่สิ่งที่ดีกว่า โดยไม่พล่ามบ่น หรือสักแต่พูดบ่นไปวัน ๆ แต่ที่ผมมาบ่นตอนนี้ก็โปรดให้อภัยด้วยนะครับ ถือว่าเป็นคำพูดที่สร้างสรรค์และขอสื่อไปยังผู้มีอำนาจและมีอิทธิพลทางการศึกษาได้รับรู้รับทราบ และอาจจะได้เป็นกำลังใจให้กับ ผอ.ร.ร.อีกหลายท่านที่กำลังต่อสู้เพื่อเด็กด้อยโอกาสเหมือนผมนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท