การใช้ใบปริญญาเพื่อยกฐานะทางสังคมให้เหนือกว่า "คนตัดหญ้า"


ผมเชื่อว่า "การศึกษาไม่ได้ทำให้คน (บางคน) เป็นคนดี"

ผู้ที่มีโอกาสเข้ามาเรียนในระดับอุดมศึกษาตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ย่อมมีความภาคภูมิใจในตนเองที่สามารถเข้ามาเรียนในสถาบันของตนได้

ซึ่งวิธีการเข้ามานั้น ย่อมแตกต่างกันไป เช่น En't สะท้านเข้ามา สอบโควต้าเข้ามา หรือสอบเข้าในสถาบันเอกชน โดยการสนับสนุของพ่อแม่ตนเองที่มีทุนให้ลูก

ดังนั้น "ใบปริญญา" จึงเป็นเป้าหมายหลักที่เป็นเด็กเหล่านั้นได้เข้ามาเรียนหนังสือ

โดยปรัชญาการศึกษาไม่ได้คาดหวังให้เด็กเหล่านั้น หวังมุ่งแค่ "ใบปริญญา" แต่หากเป็นความรู้ ประสบการณ์ในวิชาชีพนั้น ๆ ต่างหาก "ใบปริญญา" เป็นแค่เครื่องหมายตอบแทนการร่ำเรียนเมื่อจบหลักสูตร

เด็ก ๆ คาดหวังเพียงว่า "ใบปริญญา" ของเขาจะนำเขาเหล่านั้นไปสู่การมีงานทำที่ดี มีเงินเดือนสูง ๆ มีหน้ามีตาในสังคม ไม่อายใคร

ดังนั้น จึงเกิดวิธีการโกงสารพัดวิธีขึ้นอยู่กับยุคสมัย สภาพแวดล้อมของยุคนั้น ๆ เช่น

  • การลอกรายงานเพื่อน ลอกข้อสอบ แอบเอาโพยคำตอบเข้าห้องสอบ
  • การคัดลอกจากเครือข่ายสากลอินเทอร์เน็ตที่หลาย ๆ ท่านได้เขียนเอาไว้ คือ COPY แล้ว PASTE
  • การใช้คุณครู GOOGLE สืบค้น แล้วจึงคัดลอกมาส่งอาจารย์อีกที
  • การยอมเป็นเด็กซื้อกาแฟให้กับ "อาจารย์ประจำวิชา" เป็นลูกน้อง อาจารย์ใช้ทำอะไรทำหมด (อันนี้แล้วแต่ความเหมาะสมนะครับ บางคนใช้เพื่อให้เค้าได้ประสบการณ์วิชาชีพ แต่บางคนไม่ใช่นะครับ เท่าที่ผมเห็น)
  • การทำงานให้เสร็จ แต่ไม่ได้คุณภาพก็มีเยอะ ประมาณตูขอ C ก็พอ เพราะหลักสูตรบอกว่า GPA ไม่ต่ำกว่า 2.00 ก็จบแล้ว
  • ฯลฯ

ยังมีวิธีการที่ไม่นำพามาซึ่งความภาคภูมิใจของ "ปัญญาชน" อีกมากมายครับ (แสดงความคิดเห็นได้นะครับ มีวิธีแปลก ๆ อีกไหมครับ)

"ความง่ายไร้ซึ่งคุณค่า ความยากนำมาซึ่งความภาคภูมิใจ" แต่เด็กสมัยที่ผมได้มีโอกาสสอน ชอบ "ความง่าย" มากกว่าครับ ถ้าพบว่า "ยาก" จะหนี DROP หมดครับ ซึ่งตอนผมเรียน ผมก็ไม่เคยเจอกรณีแบบนี้

หลังจากจบการศึกษาไปแล้ว เมื่อเข้าสู่พิธีพระราชทานปริญญาบัตร

นี่ไงครับ "ใบปริญญา" ที่พวกเขาแสวงหา และอยากได้มัน

แต่นี่เป็นก้าวแรกของชีวิตการทำงาน พวกเธอยังต้องเจออะไรอีกเยอะ สำหรับคนที่ชอบอะไรง่าย ๆ สบาย ๆ

บางคนหางานทำ ... (คนที่ชอบอะไรง่าย ๆ คงลำบากหน่อย ก็จะได้งานที่เหมาะสมกับความง่าย ๆ ของตัวเอง)

บางคนขอเรียนต่อ ... เพราะรู้สึกว่า ปริญญาตรีใบเดียวมันไม่พอ (อันนี้เห็นเด็กเค้าคิดกัน คนในสังคมคิดกัน)

เวลามาเรียนเมื่อสอบได้ ก็ดีใจ .... เริ่มเรียน Course Work แล้วตามด้วยการทำ Thesis ... ตรงนี้ครับวัดหัวใจกันเลย

คนที่ชอบอะไรง่าย ๆ ยังคงใช้วิธีการเดิมคือ สารพัดวิธีที่ทำให้ได้ "ใบปริญญา" ใบนี้

แต่เป้าหมายของคนเรียนระดับปริญญาโท มันไม่ใช่เหมือนปริญญาตรีที่ต้องการให้มาทำงานในวิชาชีพของตน แต่เรียนปริญญาโทมันเป็นเรื่องของการสร้างเหตุผล ค้นหาองค์ความรู้ เรียกว่า เรียนให้เป็นมันสมองของประเทศ เพื่อให้ขับเคลื่อนประเทศไปก้าวไปข้างหน้าด้วยมั่นคง

แต่ที่ไหนได้ ... เรียนก็ไม่ค่อยเข้าใจ ทำวิทยานิพนธ์ก็เลือกทำแบบง่าย แบบที่ไม่ค่อยสร้างสรรค์กับวิชาชีพของตนเท่าไหร่นัก ยิ่งเป็นวิทยานิพนธ์ที่ใช้เวลาทำน้อย ๆ ยิ่งเลือกใช้ แล้วประเทศจะเหลืออะไร ถ้าให้เด็กแบบนี้จบออกไป

ยิ่งไปกว่านั้น ผมคิดว่าหลายท่านเคยเห็นนะครับ วิทยานิพนธ์มีการมั่วภายใน เช่น หลักการผิด สูตรผิด Make ตัวเลข สร้างสรรค์ตัวเลขแก่นความรู้กันเอาเอง แล้วเวลานำเสนอจบ ก็ว่า เป็นแบบโน้นแบบนี้ ตายล่ะ ประเทศชาติของเรากำลังผลิตคนขี้โกงออกไปรับใช้สังคมไทยหรือนี่

เมื่อเรียนจบ ยืดยิ่งกว่าเดิม ... ยกตัวอย่างอย่างไรดี เอาใกล้ ๆ ตัวผมก็แล้วกันนะครับ

เรียนจบปริญญาโท มีหลายคนได้มีโอกาสก้าวเข้ามาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย สอนหนังสือระดับอุดมศึกษา แต่ท่านทั้งหลายครับ บุคคลเหล่านี้ อายุน้อยมากนะครับ 23 - 25 ปี

แต่ผมไม่เข้าใจจริง ๆ ว่า มือเขาหนักมาก สงสัยเอาหินไปถ่วงเอาไว้ ไหว้ใครไม่เป็น นอกจากคนที่จะมีผลประโยชน์กับเขา เช่น คณบดี ผู้บริหาร ฯลฯ ตลกดี

นี่ถ้าย้อนกลับไปใคร ๆ ก็จะต้องถามว่า ไอ้นี่จบที่ไหนมา อาจารย์มันไม่ได้สั่งสอนหรือไง ถึงไม่รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตนบ้าง

ขอโทษทีครับ ... ผมน่ะ เห็นลุงคนงานที่ตัดหญ้าอยู่หน้าตึก ถ้าเจอผมเป็นต้องไหว้ ผมเคารพคนที่ "วัยวุฒิ" ครับ ไม่ใช่ "คุณวุฒิ"

ลุงมักถามผมว่า อาจารย์ อาจารย์เป็นอาจารย์นะ อาจารย์จะมาไหว้ผมไปทำไม ผมแค่คนงานตัดหญ้า

ผมก็ไม่ได้ตอบอะไรไปมา ได้แต่ยิ้ม แต่อยากจะตะโกนออกไปว่า ผมมีความสุขที่ได้ทำแบบนั้นครับลุง

ผมถึงขัดหูขัดตาที่เห็นอาจารย์รุ่นใหม่ไหว้ใครไม่เป็น ... หรือผมมีอคติกับอาจารย์เหล่านั้นก็ไม่ทราบนะ แล้วแต่ท่านจะคิดเถอะ

ผมเชื่อว่า "การศึกษาไม่ได้ทำให้คน (บางคน) เป็นคนดี"

ผมจึงคิดว่าเขาเหล่านั้น "ต้องการใช้แค่ใบปริญญาเพื่อยกฐานะทางสังคมให้เหนือกว่าคนตัดหญ้าเท่านั้นเองหรือ" ???

หมายเลขบันทึก: 141206เขียนเมื่อ 23 ตุลาคม 2007 19:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 22:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

ฝากข้อคิดด้วยคนค่ะ

   มีมหาบัณฑิตอยู่ 2 คน  เดินมาพบกันถึงทางแคบซึ่งไม่สามารถเดินสวนทางกันได้ ต้องเดินผ่านไปทีละคน

- บัณฑิตคนที่ 1 เอ่ยว่า... เจ้าควายโง่เจ้าจงหลีกทางให้ข้าเดินผ่านไปก่อนเดี๋ยวนี้

- บัณฑิตคนที่ 2ได้ยินดังนั้น จึงเอ่ยบ้าง.. พ่อข้าเคยสอนว่า ถ้าเห็นสุนัขบ้าให้หลีกหนีไปไกลๆ

  เราจะยอมเป็นมหาบัณฑิตคนไหนดีเอ่ย/......ในสองคนนี้

การเป็นมหาบัณฑิตไม่ใช่ว่าตัวเองมีอำนาจบารมีและอยู่สูงมากกว่าผู้อื่น  จงใช้ความรู้/ปัญญาที่สะสมมาด้วยการมีสติและมีเหตุผล (อย่ายึดติดกับใบปริญญา )

ขอบคุณมากครับ ... คุณครูจุฑารัตน์

แต่ที่เราพบเจอกันมา บัณฑิตคนที่ 1 เยอะเหมือนกันนะครับ แม้แต่อาจารย์มหาวิทยาลัยเองก็ตาม

ขอบคุณสำหรับเรื่องราวดี ๆ ครับ

  • มาขอบคุณอาจารย์ครับ
  • ตอนนี้อยู่ที่ไหนครับ
  • ผมกำลังอยู่ใน มช. อาจารย์อยู่ตรงไหน
  • อยากพบครับ
  • 0871574342
  • ผมอยู่ที่เภสัชครับ
  • ถึงมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุนารีแล้วครับ
  • อยากให้อาจารย์รู้จักพ่อครูบาสทธินันท์จังเลยครับ

สวัสดีครับ ... อาจารย์ขจิต

  • อาจารย์นี่ "อึด" ใช้ได้นะครับ เดินทางไป เดินทางมา
  • สงสัยอาจารย์จะมีความสุขดีนะครับ
  • เมื่อมีโอกาส ผมคงรู้จัก ท่านครูบาสุทธินันท์ นะครับ

โชคดีครับ อาจารย์

  • สวัสดีค่ะคุณ  P

  ขอต่ออีกนิดค่ะ ...ถ้าคนมีโอกาสได้รับการศึกษาแล้วไม่สามารถปรุงแต่งจิตใจของตัวเองให้สูงขึ้น หรือเป็นคนดีได้   ก็อย่าไปโทษการศึกษาเลยค่ะ มันอยู่ที่(............ฝังลึก)ในตัวคนค่ะ

สวัสดีค่ะ 7. Wasawat Deemar ต้าขออนุญาต นำบันทึกเข้าแพลนเน็ตค่ะ ยินดีและดีใจที่เจอบล็อกนี้นะคะ แล้วจะแวะมาเยี่ยมบ่อยๆนะคะคุณครู
  • ความรู้เป็นแค่เครื่องมือให้คนดีและคนชั่วเอาไปใช้เท่านั้น
  • หากคนดีเอาไปใช้ ก่อเกิดผลดี ประโยชน์มากมาย
  • แต่หากคนชั่วเอาไปใช้ หายนะแน่นอน
  • คุณธรรมและความรู้ ต้องคู่กัน

ขอบคุณด้วยความจริงใจสำหรับ ...

คุณครู anita ... ขอบคุณที่ให้เกียรติครับ

พี่องุ่นคนสวย ... กล่าวได้ตรงใจ

บรรณารักษ์ หมู - ใจยา ... สุดยอดการเปรียบเปรย

:)

สวัสดีค่ะ

ถ้าพุดถึง สังคมไทยทั้งประเทศ    เราจะเป็นสังคมที่มีค่านิยม ในการให้ความสำคัญกับบุคคลที่มีการศึกษาสูง เพราะเชื่อว่าผู้ที่มีการศึกษาสูงเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ตลอดจนเป็นผู้ที่ได้รับการอบรม ขัดเกลานิสัย ตลอดจนมีการบ่มเพาะจริยธรรมมาเป็นอย่างดี

 แม่บ้านดิฉันเคยขอลากลับบ้าน 3 วัน ไปจัดงานฉลองปริญญาให้ลูกที่บ้านต่างจังหวัด ดิฉันถามว่า จะต้องไปฉลองกันให้เปลืองเงิน ใหญ่โตทำไม แค่กินข้ากันในครอบครัวก็พอแล้ว เขาบอกว่า ต้องเลี้ยงกันค่ะ เพราะในหมู่บ้าน มีลูกสาวเขาคนเดียว ที่ได้ปริญญา

โดยความเชื่อดังกล่าวสะท้อนอย่างชัดเจนในรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 ที่กำหนดให้ผู้ที่มีสิทธิสมัครผู้แทนทั้งในระดับสมาชิกสภาผู้แทน และวุฒิสมาชิกต้องจบปริญญาตรี

และในรัฐวิสาหกิจ คนที่ไม่จบปริญญา เงินเดือนจะตัน ณ ระดับหนึ่ง จนกว่าจะไปเพิ่มวุฒิมาก่อน ไม่ทราบว่า ราชการเป็นอย่างนี้ไหม เพราะไม่เคยอยู่ค่ะ

แต่อีกมุมหนึ่ง การเรียนจนได้ปริญญา แบบมีความรู้จริงๆ ไม่ได้ไปซื้อมา ก็สำคัญค่ะ

เช่น ดิฉันเคยมีช่างชำนาญการอยู่ คนหนึ่ง เขามีประสบการณ์ในด้านเครื่องกลมาก เรียกว่า เก่งทีเดียว แต่จะไปตันอยู่ระดับหนึ่งค่ะ  คือจะคำนวณไม่ได้ ถ้าเป็นช่างธรรมดา o.k  เพดานบินเขามีแค่นั้น  จะออกแบบพร้อมคำนวณไม่ได้

อีกคนหนึ่ง จบปวส.เครื่องกล เก่งด้านช่างเช่นเดียวกัน แต่อายุน้อย เขาเป็นหัวหน้าแผนก แต่เขาอยากเป็นมากกว่านั้น เลยต้องไปขวนขวายเรียนต่อที่ม.เกษตร สาขาการบริหารจัดการ  และกลับมาเป็นตำแหน่งที่สูงขึ้นสมใจ แต่เขามีวิชาจริงๆค่ะ 

ที่เล่านี่ก็คือ ปริญญาก็สำคัญ ถ้าเล่าเรียน มีความรู้ติดตัว มาจริงๆค่ะ

ส่วนเรื่องที่  บางมหาวิทยาลัยถูกสังคม ตั้งคำถามมาก เมื่อมีข่าวลือว่ามีการรับจ้างทำวิทยานิพนธ์ให้กับนักศึกษาในระดับปริญญาโทและเอก   ซึ่งเราก็ทราบกันดี

เรื่องการรับจ้างทำวิทยานิพนธ์ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นแต่อย่างใด มีมานานแล้ว

 ดังนั้น สถาบันที่มีชื่อเสียงจึงพยายามสร้างกลไกและมาตรการอย่างเข้มงวด เพื่อให้นักศึกษาเหล่านี้มีความรู้จริงๆ  นอกจากปริญญาบัตร 

 บางมหาวิทยาลัย ปล่อยให้นักศึกษาบางคนเซ็นชื่อเข้าเรียนแล้วก็ไปทำอย่างอื่นไม่ได้เข้าเรียนจริง ก็มี

ความเห็นของดิฉัน    จึงมีความจำเป็นที่ประเทศเรา จะต้องเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิตค่ะ  ไม่มีปริญญาให้ แต่สามารถจะนำความรู้ไปเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศอย่างมากค่ะ

ขอขอบพระคุณ คุณพี่  sasinanda ด้วยความจริงใจครับ ... ความคิดเห็นมีคุณค่ายิ่งครับ

:)

  • ธุค่ะ ..

อ่านบันทึกนี้แล้วก็ย้อนกลับมาดูที่ตัวเองค่ะ ^_^

ไม่มีใบปริญญาหรอกค่ะ  บางครั้งก็นึกสะท้อนใจอยู่เหมือนกันที่ทำไมสังคมวัดคุณค่าของอะไรหลายๆ อย่างด้วยเจ้าใบกระดาษแห่งศักดิ์และสิทธิ์นี้

แต่ต้อมก็มีความภาคภูมิใจในตัวเองเหมือนกัน  ที่แม้จะไม่มีใบปริญญาเหมือนใครอื่น  ก็ คิดดี  พูดดี  ทำดี เป็น

ต้อมว่าแก่นแท้ในตัวตนของเรา  มันไม่ได้อยู่ที่ "ใบปริญญา" นะคะ   ต่อให้ได้ใบปริญญามามากใบ  แต่จิตใจไม่งามสมกับเป็นผู้ที่ได้รับการศึกษา  บุคคลเหล่านี้ก็ไม่มีคุณค่า

นานาจิตตังค่ะ  ^_^  ขอบคุณนะคะ

สาธุเช่นกัน น้องต้อม  เนปาลี

คนอยากมีคุณค่าในตน แต่จะทำตนให้มีคุณค่าจริงหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่ตน

แต่สังคมทุนนิยม รัก และ บูชาวัตถุ ... ก็ย่อมเคารพนับถือวัตถุมากกว่าหัวใจดี ๆ ของคนดี ๆ แบบนั้นแล

ขอบคุณครับสำหรับการลงความคิดเห็นนะจ๊ะ :)

บุญรักษา ครับ

  • มาพรวนบันทึกใหม่ค่ะ
  • อยากให้คนรุ่นใหม่คำนึงถึงการให้เกียรติกัน
  • วัยวุฒิ..กับคุณวุฒิค่ะ
  • อาจารย์สบายดีนะคะ

อึม....เห็นด้วยกับความคิดที่ว่า

... เคารพคนที่คุณวุฒิ... ความคิด มากว่าวัยวุฒิ

ทำให้เราจะสามารถที่จะยกมือไหว้ ทำได้ทั้ง คนแก่ คนหนุ่มและเด็ก

เคยมีครั้งหนึ่งค่ะ...ที่อาย เมื่อถูกผู้ใหญ่ยกมือไหว้

จากนั้น....ต้องรีบไหว้ก่อนที่ผู้ใหญ่จะไหว้เรา อิอิ

สวัสดีครับ คุณครูจุฑารัตน์ NU 11 :)

ขอบพระคุณสำหรับการพรวนบันทึกให้ ครับ ยินดีมาก ๆ

นักศึกษา่เดี๋ยวนี้ การให้เกียรติกันไม่ค่อยมีครับ ยิ่งรู้ว่า ตัวเองอยู่ในฐานะทางสังคมที่คิดว่า เหนือกว่าคนอื่น ก็ไปเหยียบย่ำเขาซ้ำ

สบายดีนิดหน่อยครับ

ขอบคุณมาก ๆ ครับ

สวัสดีครับ คุณ ครูเอ :)

กรณีศึกษาของครูเอนี่ เป็นไปได้ไหมครับว่า ครูเอหน้าไปก่อนอายุครับ

ผู้ใหญ่เลยนึกว่า ท่านผู้อำนวยการโรงเรียน แหง ๆ 

ขอบคุณนะครับ

ผมซื้อหนังสือให้หนึ่งเล่ม จะนำไปให้ที่เชียงใหม่ครับ

มีข้อแม้ว่า ไปรับหนังสือที่สนามบินนะครับ  : ) พร้อมเลี้ยงกาแฟ ไอซ์บูมค๊อฟฟี่

เอาอย่างนั้นเลยหรือครับ คุณเอก จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร ... แบบนี้ต้องหาหนังสือมาแลกแล้วล่ะครับ 

ขอบคุณนะครับ

ขอบคุณครับ คุณครูจุฑารัตน์ NU 11 ที่ได้ให้เกียรติ :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท