เค้าว่า "การเขียน" รักษาโรคได้ ... เรามาเขียนบันทึกใน Gotoknow กันดีไหมครับ :)


"ภาษาเขียน" เป็นอารยธรรมของมนุษย์ที่เกิดขึ้นมาเมื่อหลายล้านปีก่อน เป็นพัฒนาการที่สามารถรักษาอารยธรรมของเผ่าพันธ์นั้นได้ยาวนานกว่าเผ่าพันธุ์มนุษย์ที่มีแต่ "ภาษาพูด" แต่ไม่มี "ภาษาเขียน"

เราจะเห็นได้จากร่องรอยของภาพเขียนสีต่าง ๆ ตามผนังถ้ำโบราณ เช่น รอยทาบฝ่ามือสี ภาพเขียนสีรูปเรือ คน สิงสาราสัตว์ต่าง ๆ ที่มนุษย์คุ้นเคย ... ภาษาภาพอย่างอักษรรูปลิ่มของอียิปต์ อักษรภาพอย่างภาษาจีน เกาหลี ญี่ปุ่น เป็นต้น

 

นอกจากมนุษย์ใช้ภาษาเขียนลงกระดาษด้วยปากกา หรือ ดินสอ มนุษย์ยังเปลี่ยนพฤติกรรมการเขียนเหล่านั้นโดยผ่านเทคโนโลยี เช่น การพิมพ์ตัวอักษรด้วยโปรแกรมพิมพ์เอกสาร ฯลฯ

เมื่อมีระบบเครือข่ายสากลอินเทอร์เน็ต ก็มีการพิมพ์ลงในโปรแกรมต่าง ๆ เช่น พิมพ์งานผ่าน Browser, พิมพ์จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ถึงเพื่อน, เขียนไดอารี่ออนไลน์, แสดงความคิดเห็นบนเว็บบอร์ด, คุยด้วยตัวอักษรผ่านโปรแกรม Chat หรือ Instant Messanging ต่าง ๆ เช่น MSN, Google Talk เป็นต้น

 

คนหลายคนชอบคิด ชอบฝัน ชอบนึกเรื่องราวต่าง ๆ อยู่ในใจ สิ่งที่ผ่านไปในแต่ละวัน อยากเก็บประสบการณ์ ความรู้สึกนั้นไว้เป็นร่องรอย ก็เลือกที่จะเขียน "สมุดบันทึก" หรือ "Diary"

โลกเปลี่ยนไป เทคโนโลยีเข้ามา ... เกิดโลก "สมุดบันทึกออนไลน์" หรือ "Diary Online" เกิดขึ้น

คนเปลี่ยนพฤติกรรมจากวิธี "การเขียน" มาเป็นวิธี "การพิมพ์" แทน

"การเขียน Diary Online" เป็นที่นิยมในทุก ๆ ระดับอายุ เพราะผู้เขียนจะเลือกได้ว่า เขียนแล้วอยากให้คนอื่นอ่านได้ หรือเขียนแล้วอยากเก็บไว้อ่านคนเดียว ก็ได้ ทำให้เกิดสังคมหรือชุมชนเกิดขึ้น เป็นชุมชนย่อย ๆ หากแต่ "Diary Online" มุ่งเน้นการเขียนบันทึกประจำวันเป็นหลัก

 

ต่อมาเกิด "WEBLOG" มีการกร่อนคำลง เหลือแต่คำว่า "BLOG" แทน ที่เรา ๆ ท่านรู้จักกันจากการให้บริการใน Gotoknow.org นี่แหละครับ

"BLOG" หรือ "สมุดบันทึก" ในสายตาผม

เป็นพัฒนาการแบบผสมผสานกัน ระหว่าง Web Board และ Diary Online ...

Web Board ... เน้นการตั้งคำถาม เพื่อหาผู้รู้มาตอบ หรือ แสดงความคิดเห็น

Diary Online ... เน้นการเขียนเรื่องราวส่วนตัว แต่บางทีก็อยากให้เพื่อน ๆ ได้ทราบด้วย จึงมีตอบความเห็น กำลังใจกันอยู่ด้วย

 

แต่ภาพลักษณ์ของ BLOG ... กลับไม่ใช่เรื่องราวส่วนตัวซะทีเดียว หากแต่เป็นการเลือกเขียนประเด็นอื่น ๆ ในทุกประเด็นความสนใจ มีทุกรูปแบบ การให้ความรู้ การแสดงความคิดเห็นส่วนตัว การให้กำลังใจ การพาเที่ยว การนำสภาพแวดล้อมของตนเองมาแสดงด้วยรูปภาพ ฯลฯ สารพัดมากมายวิธีการ

ทำให้เกิดคำว่า "การจัดการความรู้" เกิดขึ้นในการเขียนสมุดบันทึกเหล่านี้ กว้างขวางและมากมาย เรียกว่า ครอบจักรวาล ก็ยังพอจะพูดได้

 

เขียนไปเขียนมาไหงยาวจัง :)

 

เข้าประเด็นที่ว่า ... เชื่อหรือไม่ครับว่า "การเขียน" รักษาโรคได้ ?

ผลวิจัยทางการแพทย์กว่าสองทศวรรษยืนยันว่า การเขียนสามารถช่วยให้ สุขภาพกายและจิต ดีขึ้นได้ โดยเฉพาะการเขียนเพื่อระบายประสบการณ์ที่เลวร้าย เครียด หรือกระทบจิตใจมาก ๆ

การเขียนความรู้สึกเชิงลึกต่อเหตุการณ์ที่กระทบอารมณ์ ความรู้สึก และจิตใจอย่างแท้จริง เพื่อปลดปล่อยอารมณ์ความรู้สึกวันละ 15 - 20 นาทีเป็นประจำนั้น ได้รับการทดสอบทางการแพทย์แล้วว่า ส่งผลดีต่อร่างกายของผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ อย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ทางด้านจิตใจก็ช่วยให้หายเครียดและช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาเรื่องการนอนหลับหลับได้สนิทขึ้น ฯลฯ ซึ่งเป็นผลที่ดีพอ ๆ กับผลลัพธ์ที่ได้จากการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ ทางการแพทย์ที่ยุ่งยาก ใช้เวลาและค่าใช้จ่ายสูงกว่านี้

เดนนิส สโลน นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเทมเพิล ในเมืองฟิลาเดลเฟีย สหรัฐอเมริกา วิจัยพบว่า หลังการเขียนบันทึก กลุ่มตัวอย่างจะมีระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลทีเกี่ยวเนื่องกับความเครียดต่ำลง ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น

ผลระยะยาวต่อสุขภาพใจ

  • ช่วยลดอัตราการพบแพทย์เพราะปัญหาสุขภาพที่สืบเนื่องมาจากความเครียด
  • ช่วยย่นระยะเวลาในการรักษาตัวในโรงพยาบาล เนื่องจากผู้ป่วยมีสภาพจิตดีขึ้น ทำให้ฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว
  • ช่วยให้อารมณ์ความรู้สึกและสุขภาพจิตโดยรวมดีขึ้น
  • ช่วยลดอาการซึมเศร้า
  • ช่วยลดอาการก้าวร้าวและเก็บตัว

การเขียนเป็นยาคลายเครียดขนานดีที่ช่วยเยียวยาร่างกายและจิตใจของมนุษย์ได้ เพราะการได้นั่งลงเผชิญหน้ากับอารมณ์ความรู้สึกและทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างซื่อตรง เป็นการเปิดโอกาสให้เราได้จัดการกับอารมณ์ความรู้สึกที่ตกค้าง และจัดระเบียบความทรงจำของตนเอง อีกทั้งยังทำให้มองเห็นปัญหาต่าง ๆ ชัดเจนขึ้น ทำให้สามารถยอมรับ จัดการ และปล่อยวางปัญหาได้ง่ายขึ้น

 

ดังนั้น "การเขียน" ไม่ว่าจะเป็นการจับปากกาแล้วเขียนลงสมุด หรือจับคีย์บอร์ดแล้วพิมพ์ลงหน้าจอคอมพิวเตอร์ ล้วนแต่ให้ประโยชน์สำหรับสุขภาพของผู้เขียน ดังผลงานวิจัยที่ได้ออกมาสนับสนุน

นอกจาก "การจัดการความรู้" ในเรื่องราวมากมายแล้วนั้น Gotoknow ยังคงมีประโยชน์เกี่ยวกับสุขภาพอีกด้วย อิ อิ

ดังนั้น พวกเรามาเขียน เขียน เขียน กันเถอะครับ เพื่อสุขภาพ

สสส. คงชอบใจไม่น้อย

 

สุดท้ายนี้ บันทึกนี้ถ้อยความทั้งหมดเป็นความคิดเห็นส่วนตัวที่ประมวลความรู้ความเข้าใจของตัวผู้บันทึกเอง โปรดอย่าได้นำไปอ้างอิงในหลักวิชาการใด ๆ เกี่ยวกับเรื่องเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เขียนมา ผิดบ้าง ถูกบ้าง คงจะได้มีกัลยาณมิตรได้แสดงคิดเห็นอันเป็นประโยชน์ต่อมูลค่าของสมองผู้เขียนต่อไป

แต่...งานวิจัยเป็นของจริง

เรื่องราวที่เขียนอาจจะดูสับสน เป็นการเขียนไปตามความเคยชิน ไม่มีการวางแผนการเขียนมาก่อน ระบายความรู้สึกที่คิดว่าใช่ลงไป ขออภัยในความสับสนมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ

สงสัยสุขภาพจิตต้องปรับปรุง

ขอบคุณจังที่ทนอ่าน ครับ :)

 

 

แหล่งอ้างอิง สำหรับ "งานวิจัย"

ฐิติขวัญ เหลี่ยมศิริวัฒนา.  "สมุดชีวิต การเขียนเพื่อพัฒนาชีวิตและปลดปล่อยจิตวิญญาณ", Secret.  1, 13 (10 มกราคม 2552) : 44 - 47.

 

หมายเลขบันทึก: 235206เขียนเมื่อ 14 มกราคม 2009 17:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (30)

ซาหวาดดีค่ะอาจารย์Wasawat Deemarn

  • ya..tonaanjonjob...อิ อิ
  • ชอบจังค่ะ..ตรงนี้
  • ผลระยะยาวต่อสุขภาพใจ ช่วยลดอัตราการพบแพทย์เพราะปัญหาสุขภาพที่สืบเนื่องมาจากความเครียด ช่วยย่นระยะเวลาในการรักษาตัวในโรงพยาบาล เนื่องจากผู้ป่วยมีสภาพจิตดีขึ้น ทำให้ฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้อารมณ์ความรู้สึกและสุขภาพจิตโดยรวมดีขึ้น ช่วยลดอาการซึมเศร้า ช่วยลดอาการก้าวร้าวและเก็บตัว
  • วิเคราะห์ได้ดีค่ะ ..ดีกว่าหมอซะอีก..ฮา
  • ตอนนี้ขอเข้ามาอ่าน ..ก่อนนะค่ะ..อิ อิ
  • ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณครับ คุณพยาบาล สีตะวัน ที่ไม่ได้สับสนมากนัก ผมยังงง ๆ เลยครับ :)

  • ธุ  อาจารย์วสวัตดีมารค่ะ..

เชื่อไหมว่า..ต้อมชอบที่จะเขียนเอามากๆๆ เพราะสำหรับต้อมแล้ว   คิดว่า..การเขียนเนี่ยเหมือนผ่านกระบวนการคิด..นิ้วขยับ..ตาดู..เลยได้พิจารณา    แต่การพูดเหมือนมันไม่ได้ผ่านกระบวนการคิดหรือตรองดูมาก

เคยได้ยินมาว่า การเขียนของบางคนก็เป็นเหมือนการระบายความอัดอั้นตันใจ   แบบว่าโมโหๆๆ เขียนๆๆ ระบายออกมาเสียบ้างก็เหมือนได้ระบายล่ะมั้งคะ

ดีจ้า หนูต้อม เนปาลี :)

การเขียนผ่านกระบวนการคิดมาอย่างซับซ้อน หากแต่เรารู้สึกว่า เร็วจัง เขียนออกมาได้แล้ว แต่ ... บางคนก็ไม่เร็วนะครับ กว่าจะเขียนออกมาได้สักย่อหน้า คิดอยู่หลายตลบ ... ต้องใช้การฝึกฝนอยู่หลายปีทีเดียว

การเขียนน่าจะเป็นการบำบัดอารมณ์ความรุนแรงและก้าวร้าวของมนุษย์ได้ดีอย่างคาดไม่ถึงนะครับ

งั้นพวกเราต้องช่วยกัน เขียน เขียน เขียน ไม่เลิกรา เมากันหัวราคาเมาส์กันไปเลย อิ อิ

ขอบคุณครับ ... นึกว่าจะไม่มีใครสนใจบันทึกอันสับสนอันนี้ซะแล้ว :)

  • อาจารย์วสวัตดีมารคะ..

ชอบจัง  ที่ว่า "เมากันหัวรา..คาเม้าส์" เนี่ย  ^^  ต้อมว่าบล็อกเกอร์แถวๆ นี้ก็เป็นกันหลายคนนะคะ  อุ๊บ!   ชนเม้าส์กันหน่อย..ย..ย

วันๆ หนึ่ง ต้อมแทบจะไม่พูดเลย   แต่เขียนไปเยอะค่ะ (ในบันทึก  ทั้งของตัวเองและพี่ๆ  ตลอดจนไม่พลาดกับการได้เขียนจริงๆ ในไดอารี่)    เขียนแล้วก็รู้สึกดี..

นั่นสิ หนูต้อม เนปาลี คิดไปได้ยังไหงหว่า "เมากันหัวรา ... คาเมาส์" เนี่ย ...

ยังนี้เรียกว่า เขียนกันสด ๆ มาจากหัวสมองที่ไม่ได้ไตร่ตรองเอาไว้ก่อน

อ้าว ชน น น เมาส์ กระจาย :)

เมากันหัวจ้น ๆ ...

  • อาจารย์วสวัตดีมารคะ..

เคยไหม ที่บางที-บางครั้งการเขียนสดๆ กลับดีกว่าการที่เรานำมาเทียบคิด พินิจพิจารณาตั้งมากมายก่ายกองแน่ะ  ^^  แบบว่า "ได้อารมณ์"

ชน..น..น เม้าส์กันกระจาย  พรุ่งนี้จะแฮ้งค์ไหมอ่ะ อาจารย์?

 

  • สวัสดีค่ะอาจารย์
  • มาเขียน  เขียน  (พิม พิม )  ค่ะ 
  • ชอบขีดๆเขียนๆค่ะ
  • ชอบวาดรูป(แบบเล่น ไม่มีหลักการค่ะ )
  • เมื่อก่อนเขียนไดอารี่ อ่านคนเดียว  อิอิ (แบบคนช่างฝัน...)
  • มาเขียนบล๊อกแล้วรู้สึกดีค่ะ  ระบาย
  • ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้เราได้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ
  • ได้ฝึกคิดวิเคราะห์ (เพิ่มรอยหยักในสมอง หรือเปล่า นะคะ  หุหุ) ในการแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆที่สนใจ 
  • ได้มิตรภาพ น้ำใจ จากชาว บล๊อกด้วยค่ะ  ฯลฯ
  • และรักษาโรคเครียดได้จริงๆด้วย ค่ะ  อิอิ
  • และ สงสัยจะ  "เมากันหัวรา ... คาเมาส์"   จริงๆด้วยค่ะ 
  • เห็นด้วยครับ
  • การเขียนทำให้เเห็นตัวตนที่แท้จริงของตนเอง มีอิสระภาพปลอดจากการรบกวน เป็นโรคส่วนตัว
  • คนชอบเขียนไม่เป็นโรคประสาท แต่จะเป็นโรคง่าย ทุกข์ยาก
  • ทุกข์ขึ้นยามใด เขียน เขียน เขียน สุขก็มา
  • ขอให้มีความสุขครับ

สวัสดีค่ะ อาจารย์

การเขียนทำให้ได้มอง ได้ทบทวนตัวเอง ทำให้ได้เอาประสบการณ์ของตัวเองมอบเป็นประโยชน์ให้กับผู้อื่นด้วยค่ะ

หลายๆ ครั้ง จะเขียนอะไรก็คิดแล้วคิดอีก คิดและทบทวน ตกผลึกดีๆ แล้วเขียนออกมา ทำให้รู้จักตัวตน รู้จักตัวเองมากขึ้นค่ะ

แถมเขียนแล้วได้แลกเปลี่ยน ยิ่งเป็นความสนุกที่ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกัน ได้กำลังใจเพิ่มเติมจากผู้อ่าน ทำให้มีความสุขไปอีกแบบค่ะ ^_^

คิดว่าน่าจะมีส่วนครับ กับการเขียนสามารถรักษาโรคได้ และอีกอย่างที่เคยได้ยินมาว่า การระบายความรู้สึกคือยาขนานเอก

สวัสดียามดึกครับ หนูต้อม เนปาลี :)

"มุขสด" คู่กับ "เมาส์สด" ชนกระจาย ย ย :)

แฮงค์แหง๋มแหง๋ม ... พรุ่งนี้ต้องถ อ น คร้าบ

ขอบคุณครับ

ดีครับ น้องคุณครู  เทียนน้อย :)

ลองกลับไปเขียนบันทึกสิครับว่า "เขียนบันทึก รู้จักบล็อก แล้วได้อะไร" ให้การบ้านคุณครูในวันครูที่ 16 มกราคม 2552 ดีม่ะ :)

ทุกอย่างก็เหมือนดาบสองคมครับ เลือกใช้ เลือกพบแต่สิ่งดี ๆ เราก็มีความสุข เขียนระบายทุกข์ เล่าประสบการณ์ ทำให้ได้ฝึกฝนการเขียนได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะการเรียนระดับสูง ๆ ต้องการคนประเภทนั้น :)

เมา..แป้นพิมพ์กันอีกด้วย ... งานนี้ หุ หุ

ขอบคุณ ท่าน ผอ.ศรีกมล ครับ ... เป็นโรคส่วนตัวเลยหรือครับ :)

แซวท่านเล่น ... การเขียนเป็นการฝึกฝนในหลาย ๆ ด้านจริง ๆ ครับ

ขอบพระคุณครับ

บันทึกนี้ต้องบันทึกอีกครั้ง เมื่อน้อง มะปรางเปรี้ยว แวะมาเยือนครับ :)

แหม นานแล้วนะครับ ไม่ได้มีโอกาสต้อนรับผ่านบันทึกโดยตรง

แสนจะดีใจที่แวะเอาประสบการณ์มาเล่าให้ BLOGGER ท่านอื่น ๆ ได้ฟังกัน และเรียนรู้ไปพร้อมกัน

มีหลายสิ่งหลายอย่าง แฝงอยู่ในการเขียน "บันทึก" ครับ ... ใครสนใจทำวิจัยหาคำตอบบ้าง ยกมือขึ้น ...

ขอบคุณนะครับ :)

ขอบคุณครับ คุณ Peace Aoo  ... ยินดีต้อนรับสู่ GOTOKNOW ครับ

การเขียนเป็นศิลปะที่ยาก แต่ไม่ยาก หากฝึกฝน ครับ :)

แถมยังรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอีกต่างหาก

เขียนเยอะๆ กลัวจะเป็นโรคติดบล็อกนะสิ อิอิ ตามมาป่วนเล่นๆ

ป่วนด้วยความสุภาพ ... อิ อิ ... ยินดีครับท่าน อัยการชาวเกาะ :)

เค้าว่า "การเขียน" รักษาโรคได้ ... เรามาเขียนบันทึกใน Gotoknow กันดีไหมครับ :)

ดีค่ะ

 

ว่าแต่ เขียนจนติดบล็อก นี่ รักษายังไงดีคะ

ปิ๊ง

                 เหอ..เหอ.

 

อยู่ที่ "หน้าตา" นี่คงไม่ใช่น่ะครับ คุณ ครูปู :)

เห็นเอาหน้าตามาต่อท้ายชื่อกันเยอะแยะเลย

หน้าตาคงไม่ใช่สีเสื้อนะครับ :) หุ หุ

 

^_^ สวัสดีค่ะ

             มารับการบ้านวันครูค่ะ  "เขียนบันทึก รู้จักบล็อก แล้วได้อะไร"

            ขอไปนั่งคิด นอนคิด  ตีลังกาคิดก่อนนะคะ    :)

คิดโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ครับ น้องคุณครู เทียนน้อย :)

แล้วอาจารย์จะรอตรวจการบ้านของหนูนะ อิ อิ

ไม่ได้ทนอ่านหรอกค่ะ

แต่อ่านเพราะอยากรูว่ามันรักษาโรคได้อย่างไร

ก็คนขี้โรคอ่านนี่ อ่านอะไร ก็นึกถึงตัวเอง เผื่อจะเจอสวรรค์โปรดบ้าง

ขอบคุณค่ะ

อ่านอีกรอบค่ะ

เดนนิส สโลน นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเทมเพิล ในเมืองฟิลาเดลเฟีย สหรัฐอเมริกา วิจัยพบว่า หลังการเขียนบันทึก กลุ่มตัวอย่างจะมีระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลทีเกี่ยวเนื่องกับความเครียดต่ำลง ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น

ครูต้อยเป็นไทรอยด์ไฮเปอร์ คุณหมอบอกว่าเกิดจากความเครียด ทำงานหนัก พักผ่อนน้อย ไม่รู้เป็นสูตรหรือเปล่านะ ทำให้ระบบการทำงานของฮอร์โมนทำงานผิดปกติ มากเกินไป

คิดว่า ..การเขียนคงจะลดความเครียดได้ น่าจะส่งผลให้ไทรอยด์ทำงานได้ปกติ อิอิ

งั้นต้องรีบไปเขียนที่ค้างไว้แล้วค่ะ

ขอบคุณค่ะ

คุณ krutoi ... ครับ ดูแลสุขภาพนะครับ

การเขียน รักษา สุขภาพ ... คุณ krutoi ตลุยเลยนะครับ :)

สวัสดีครับ

ยามมีเวลาก็แวะมาอ่านหลายบันทึกของอาจารย์ จากหลาย Blog แต่ไม่ค่อยได้ Post ความเห็นไว้ .. อ่านเพลินแล้วก็ออกไป .. นิสัยไม่ค่อยดี .. เลยมาสารภาพบาปครับ

อาจารย์ Handy ครับ ... มิเป็นไร มิเป็นไร ครับ ...

ขอบคุณอาจารย์ครับที่แวะมาสม่ำเสมอ ให้ผมได้ชื่นใจ :)

เข้าใจแล้วค่ะว่าทำไมรู้สึกดีขึ้นมากเลย สิบสี่วันกับการเขียนทุกวัน

เป็นอีกบันทึกที่อ่านแล้วมีความรู้สึกชอบถึงชอบที่สุด

สิ่งดีจงยอ้นกลับคืนคุณ wasawat ขอบคุณค่ะ

การเขียนเป็นยาคลายเครียด

ที่ช่วยเยียวยาร่างกายและจิตใจของมนุษย์ได้

เพราะการได้นั่งลงเผชิญหน้ากับอารมณ์ความรู้สึก

และทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้น อย่างซื่อตรง

เป็นการเปิดโอกาสให้เราได้จัดการกับความรู้สึก ที่ตกค้าง

และจัดระเบียบ ควาามทรงจำ ของตนเอง

อีกทั้งยังทำให้มองเห็น ปัญหาต่างๆชัดเจนขึ้น

ทำให้สามารถ ยอมรับ จัดการและปล่อยวางปัญหาได้ง่ายขึ้น

เข้ามาอ่านอีกครั้งก็ยังคงได้รับประโยชน์เพิ่ม

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท