คิดให้เกิดปัญญา


คิดให้เกิดปัญญา

วิธีคิดให้เกิดปัญญา

ประการแรก คือการให้ทุกคนคิด พูด ทำด้วยความเมตตา มุ่งดีมุ่งเจริญต่อกัน  ประการที่สอง คือ การที่แต่ละคนต่างช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ประสานงาน ประสานประโยชน์กันให้งานที่ทำสำเร็จผลทั้งแก่คน แก่ผู้อื่นและประเทศชาติ  ประการที่สาม คือ การที่ทุกคนประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสุจริต ในกฎกติกา และในระเบียบแบบแผนโดยเท่าเทียมเสมอกัน  ประการที่สี่ คือ การที่ต่างคนต่างพยายามทำนำความคิด ความเห็นของตนให้ถูกต้องเที่ยงตรงอยู่ในเหตุในผลพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่พสกนิกร เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2549 ณ สีหบัญชรพระที่นั่งอนันตสมาคม เนื่องในวโรกาศทรงครองราชย์สมบัติครบ 60 ปีการคิดเป็นกระบวนการทางสมองของมนุษย์ซึ่งมีศักยภาพสูงมาก และเป็นส่วนที่ทำให้มนุษย์แตกต่างไปจากสัตว์โลกอื่น ๆ มนุษย์มีความสามารถในการคิด เป็นศาสตร์ เป็นความรู้มากมายหลายประการ  ในอดีตการศึกษาแนวคิดนอกจากจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สามารถช่วยให้เกิดความเข้าใจในแนวคิดใหม่แล้ว  ยังเป็นการทบทวนภูมิปัญญาของนักคิดในอดีต  การคิดเป็นการคิดที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไป ตัวอย่าง เช่น เมื่อมีความขัดแย้งในด้านความคิด ในด้านการเมือง ก็คิดทำการแก้ไข เปลี่ยนแปลงปัญหา  ถ้าไม่ได้สุดท้าย ก็คิดทำการรัฐประหาร เพื่อเปลี่ยนแปลงทั้งหมดการคิดเป็นกระบวนการทางสมองของมนุษย์ซึ่งมีศักยภาพสูงมาก และเป็นส่วนที่ทำให้มนุษย์แตกต่างไปจากสัตว์โลกอื่น ๆ มนุษย์มีความสามารถในการคิด เป็นศาสตร์ เป็นความรู้มากมายหลายประการ  ในอดีตการศึกษาแนวคิดนอกจากจะเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สามารถช่วยให้เกิดความเข้าใจในแนวคิดใหม่แล้ว  ยังเป็นการทบทวนภูมิปัญญาของนักคิดในอดีต  การคิดเป็นการคิดที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไป ตัวอย่าง เช่น เมื่อมีความขัดแย้งในด้านความคิด ในด้านการเมือง ก็คิดทำการแก้ไข เปลี่ยนแปลงปัญหา  ถ้าไม่ได้สุดท้าย ก็คิดทำการรัฐประหาร เพื่อเปลี่ยนแปลงทั้งหมด   

ความคิดคืออะไร 

ความคิดก็คือ  ต้นกำเนิดของการกระทำ 

การคิด หมายถึง กระบวนการทำงานของจิตใจมนุษย์ในขณะที่กำลังพยายามหาคำตอบ หรือทางออกเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  ความคิด หมายถึง ผลของกระบวนการคิด (สุมนา จรณะสมบูรณ์ (2549).เอกสารประกอบการสอนเรื่องการพัฒนาการคิดเชิงระบบ.)

มนุษย์มีความคิดที่เป็นธรรมชาติ  หลาย ๆ สิ่ง หลาย ๆ อย่าง เราสามารถจำแนกออกได้เป็นดังนี้

1.      การคิดเป็นกระบวนการทำงานของสมอง

2.      การคิดเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้  แต่สนองให้ผู้อื่นรับรู้ได้ด้วยวิธีการต่าง ๆ

3.      การคิดเป็นกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการพัฒนาสมอง

4.      การคิดเปรียบเสมือนสายโลหิตที่แทรกอยู่ในทุก ๆ กิจกรรมของมนุษย์

5.      การคิดเป็นปฏิกิริยาภายในสมองที่โต้ตอบต่อสิ่งเร้า

6.      การคิดมีความหลากหลาย ทั้งวิธีการคิด และเป้าหมายในการคิด 

7.      การคิดเป็นทักษะที่พัฒนาได้ และจำเป็นต้องพัฒนาโดยเร่งด่วน(อรพรรณนา  พรสีมา. 2543. การคิด. กรุงเทพมหานคร : สถาบันการพัฒนาทักษะการคิด : 3-4) 

ดร.เกรียงศักดิ์  เจริญวงศ์ศักดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา ได้ให้ดำเนินการ การคิด (Thinking) คือการที่คนคนหนึ่งพยายามใช้พลังทางสมอง ของตน ในการนำเอาข้อมูลข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ มาจัดวางอย่างเหมาะสม เพื่อให้ได้มา ซึ่งผลลัพธ์ เช่น การตัดสินใจเลือกในสิ่งที่ดีที่สุด (http://advisor.anamai.moph.go.th/download/think 02.html) ดร.เกรียงศักดิ์  เจริญวงศ์-ศักดิ์ ได้เสนอแนะแนวทางในการคิดเป็นนั้น

ต้องคิดให้ครบ 10 มิติ คือ                       

ประการแรก การคิดเชิงวิพากย์ (Critical Thinking) หมายถึง ความตั้งใจที่จะพิจารณาตัดสินเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยการไม่เห็นคล้อยตามข้อเสนออย่างง่ายๆตั้งแต่คำถามท้าทายหรือโต้แย้งสมมุติฐาน และข้อสมมุติฐานที่อยู่เบื้องหลังและพยายามเปิดแนวทางความคิด ออกสู่ทางต่างๆที่แตกต่างจากข้อเสนอแนะนั้น เพื่อให้สามารถได้คำตอบที่สมเหตุสมผลมากกว่าข้อเสนอเดิม                       

ประการที่สอง การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking) หมายถึง การจำแนกแจกแจงอง๕ประกอบต่างๆของสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้น เพื่อค้นหาสาเหตุระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้น เพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของสิ่งที่เกิดขึ้น                       

ประการที่สาม การคิดเชิงสังเคราะห์ (Synthesis-Type Thinking) หมายถึง ความสามารถในการดึงองค์ประกอบต่างๆ มาผสมผสานเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้สิ่งใหม่ ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ                         

ประการที่สี่ การคิดเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Thinking) หมายถึง การพิจารณาเทียบเคียงความเหมือนและ/หรือ ความแตกต่างระหว่างสิ่งนั้น กับสิ่งอื่นๆเพื่อให้เกิดความเข้าใจ สามารถอธิบายเรื่องนั้นได้อย่างชัดเจน เพื่อประโยชน?ในการคิด การแก้ปัญหาหรือการหาทางเลือกเรื่องใดเรื่องหนึ่ง                       

ประการที่ห้า การคิดเชิงมโนทัศน์(Conceptual Thinking) หมายถึง ความสามารถในการประสานข้อมูลทั้งหมด ที่มีอยู่เกี่ยวกับเรื่องหนึ่งเรื่องใด ได้อย่างไม่ขัดแย้ง แล้วนำมาสร้างเป็นความคิดรวบยอด หรือกรอบความคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้น                       

ประการที่หก การคิดเชิงสร้างสรรค์(Creative Thinking) หมายถึงการขยายขอบเขตความคิดออกไป จากกรอบความคิดเดิมที่มีอยู่สู่ความคิดใหม่ๆที่ไม่เคยมีมาก่อน เพื่อค้นหาคำตอบที่ดีที่สุดให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น                       

ประการที่เจ็ด การคิดเชิงประยุกต์(Applicative Thinking) หมายถึงความสามารถในการนำเอาสิ่งที่มีอยู่เดิม ไปปรับใช้ประโยชน์ในบริบทใหม่ ได้อย่างเหมาะสม โดยยังคงหลักการของสิ่งเดิมไว้                         

ประการที่แปด การคิดเชิงกลยุทธ์(Strategic  Thinking) หมายถึงความสามารถในการกำหนดแนวทางที่ดีที่สุด ภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้าหาแก่นหลักได้อย่างเหมาะสม เพื่ออธิบายหรือหาให้เหตุผลสนับสนุนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง                       

ประการที่เก้า การคิดเชิงบูรณาการ(Integrative Thinking) หมายถึงความสามารถในการเชื่อมโยงความคิด หรือองค์ประกอบต่างๆที่เกี่ยวข้อง เข้าหาแกนหลักได้อย่างเหมาะสมเพื่ออธิบาย หรือให้เหตุผลสนับสนุนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

ประการที่สิบ การคิดเชิงอนาคต(Futuristic   Thinking) หมายถึงความสามารถในการคาดการณ์สิ่งที่อาจเกิดขึ้น ในอนาคตอย่างมีหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมซึ่งดร.เกรียงศักดิ์  เจริญวงศ์ศักดิ์ เชื่อว่าหากคนไทยสามารถคิดได้ตามมิติทั้ง 10 ที่กล่าวข้างต้นจะทำให้คนไทยชนะในศตวรรษที่ 21 ได้

ในด้านจิตวิทยาซึ่งศึกษาเกี่ยวกับจิตสมอง เขามีความเชื่อว่าสมองของคนเราสามารถแบ่งออกได้ 4 ส่วน แต่ละส่วนทำหน้าที่แตกต่างกันออกไปเพราะสามารถพัฒนาสมองแต่ละส่วนได้ สมองสามารถจัดแบ่งออกเป็น 4 ซีกใหญ่ ๆ ดังนี้

 ซีกที่หนึ่ง อยู่บริเวณซีกซ้ายด้านหน้าของสมองอันเป็นส่วนที่เป็นความนึกคิดที่เป็นเหตุผล  เป็นตรรกะ

ซีกที่สอง อยู่บริเวณ ซีกซ้ายด้านหลัง อันเป็นส่วนของความนึกคิดที่เป็นเรื่องของความนึกคิดที่เป็นเรื่องของรายละเอียดปลีกย่อย เป็นระบบ เป็นขั้นตอน

ซีกที่สาม อยู่บริเวณ ด้านขวาหลังสมอง ซึ่งลึกลงไปถึงระดับบริเวณสายตา เป็นส่วนของอารมณ์ความรู้สึก ความสัมพันธ์ผูกพัน

ซีกที่สี่ อยู่แถบบริเวณสมองซีกขวาด้านหน้าเป็นส่วนของการรับรู้สิ่งใหม่ ๆ เป็นองค์รวม เป็นจินตนาการ (วัลลภ  ปิยะมโนธรรม และปรัชญา ปิยะมโนธรรม, 2548.           จิตสมอง.กรุงเทพมหานคร : ฐานการพิมพ์. 9 - 11) 

เราจะพบว่าในสมองซีกที่ 1 ซึ่งอยู่บริเวณ ซีกด้านหน้าของสมองนั้นเป็นส่วนที่ทำหน้าที่คิด ซึ่งเชื่อว่าเป็นส่วนที่รู้จักวิเคราะห์  รู้จักคิดหาเหตุผล รู้จักติ รู้จักก่อ   รู้จักค้นหา ความเป็นจริง รู้จักคำนวณเป็นตัวเลข รู้จักหลักการของเศรษฐศาสตร์   รู้จักปรับปรุงแก้ไข ซึ่งเหล่านี้สมองซีกที่ 1 ก็คือทำหน้าที่คิดฉะนั้นหากต้องพัฒนาสมองส่วนนี้ต้องรู้จักฝึกคิด ศาสตราจารย์ประจำรังสรรค์  แสงสุข อธิการบดี มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้บรรยายในวิชา RU 900 แก่นักศึกษาสาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ระดับปริญญาเอก ในวันที่  16  กันยายน 2549 ไว้ว่าการคิดต้องคิดให้เป็นประโยชน์  ท่านบอกว่าตัวท่านเองเป็นคนบ้านนอกเข้ามากรุงเทพมหานครเพื่อเรียนหนังสือ ท่านได้เห็นเครื่องบินรบของกองทัพอากาศ ซึ่งเป็นเครื่องรบรุ่น F-5E ท่านคิดว่าเครื่องบินใช้ชื่อ F-5E นี้ ชื่อต้องเป็นประโยชน์เพราะผู้สร้างต้องสร้างให้มีศักยภาพสูงมากๆท่านจึงคิดนำเอาคำว่า   F-5E  มาคิดให้เป็น ดังนี้ คือ           

F แรกคือ คำว่า First ต้องทำก่อนใครๆ           

F ที่สองคือคำว่า Fast เมื่อคิดได้ต้องทำอย่างรวดเร็ว           

F ที่สามคือคำว่า Foundation เริ่มก่อนใครทำอย่างรวดเร็วแล้วต้องตั้งมั่นเตรียม                ทุกสิ่งทุกอย่างให้มั่นคง           

F ที่สี่คือ คำว่า Fair ต้องมีความยุตะกรรมแก่ผู้คนและสังคม           

F ที่ห้าคือ คำว่า Fly

เมื่อมีทุก ๆ F แล้วก็พร้อมที่จะก้าวเดินไปข้างหน้า            ซึ่งท่านอธิการบดี ได้นำเอาความคิดที่ท่านพบกับเครื่องบินรบ F-5E มาพัฒนามหาวิทยาลัยรามคำแหงในปัจจุบันถือได้ว่ามหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้ก้าวนำ ทุกๆด้านของการศึกษา ความคิด เช่นนี้ เราเรียกว่าคิดในแง่บวก ในทางตรงกันข้ามถ้าคิดไปในทางลบ การพัฒนามหาวิทยาลัยก็คงจะไม่เกิดดังเช่นปัจจุบัน            ในการคิดมีวิธีการคิดอย่างมากมาย ซึ่งความคิดเหล่านี้ย่อมมีการฝึกหัด มีแนวคิดหลายๆทฤษฎี ที่เข้ามาเกี่ยวข้องความคิดเป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำมาให้เกิดการกระทำขึ้น

เราสามารถแบ่งความคิดและการกระทำของคนในองค์กรได้ 4 ประการด้วยกันคือ (http://www.moe.go.th/wijai/thinking.htm)    

ประเภทที่ 1 คิดและทำ            ผู้เป็นนักคิด คือ ผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์  คิดวิเคราะห์ปัญหาเป็น มีหลักการ มีอุดมการณ์ และมีความเป็นนักวิชาการอยู่ในตนเอง            ผู้ที่เป็นนักปฏิบัติ คือ ผู้ที่มีความพร้อมในการทำงานหรือลงมือ กระทำตามความรับผิดชอบอย่างเต็มที่บุคคลทั่วไปเป็นทั้งนักคิดและนักปฏิบัติ ต้องมีความคิดและการกระทำอย่างผู้รู้ซึ่งมีลักษณะที่ไม่ยึดมั่นในความรู้ พยายามหลีกหนีความคิดและการกระทำอย่างผู้รู้ซึ่งมีลักษณะที่ไม่ยึดมั่นในความรู้ พยายามหลีกหนีความเคยชินและต้องใฝ่กระทำเป็นกิจนิสัย เพื่อให้เกิดความสำเร็จในตนเองและงานในหน้าที่

ประเภทที่  2  คิดแต่ไม่ทำบุคคลประเภทนี้ จะเป็นนักคิดแต่ไม่ลงมือปฏิบัติ เหตุผลของการไม่ปฏิบัติของแต่ละบุคคลแตกต่างกันออกไป บางคนไม่กระทกเพราะไม่มีบทบาทหน้าที่ บางคนไม่ทำเพราะไม่มีหน้าที่ บางคนไม่ทำเพราะไม่เห็นด้วยกับแนวคิดบางคนคิดไม่กระทำเพราะไม่มีกำลังใจ ท้อแท้ ไม่เห็นความสำคัญของงานเป็นต้น

ประเภทที่  3 ทำแต่ไม่คิดบุคคลประเภทนี้เป็นนักปฏิบัติแต่ไม่มีโอกาสได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น เสนอแนะ กำหนดนโยบาย และแนวทางการปฏิบัติงานแต่อย่างใด หรืออาจจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ

ประเภทที่  4 ไม่คิดไม่ทำบุคคลประเภทนี้ ไม่เป็นทั้งนักคิดและนักปฏิบัติ อยู่ไปวันๆหมดกำลังใจ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอันใดก็ตามความคิดของมนุษย์นั้นสามารถคิดได้หลายแบบ โดยที่แต่ละแบบก็เป็นคิดที่เอาความสามารถทางใจออกมาให้ได้ ดังเช่นคิดค้น  หมายถึง           คิดค้นเอาข้อมูลต่าง ๆ ที่ยังอยู่ในจิตไร้สำนึกออกมาคิดเหตุ หมายถึง           เมื่อเห็นผลแล้ว ค้นหาเหตุอันแท้จริงคิดผล  หมายถึง           เมื่อเห็นเหตุแล้วคิดคาดคะเนผลว่าอะไรจะเกิดขึ้นซึ่งความคิดเหล่านี้เป็นการแยกความคิดออกไปเป็นอย่าง ๆ และก็จมอยู่ในแต่ละเรื่อง ปัจจุบันการพัฒนาความคิดได้มีผู้คิดค้นให้เน้นระบบเพื่อเป็นการพัฒนาความคิดให้เป็นกระบวนการพัฒนาความคิด อาทิเช่น Peter M. Senge ได้คิดทฤษฎีองค์กรแห่งกรเรียนรู้ (Learning Organization) พระพุทธเจ้าได้คิดหลักไตรสิกขาในการพัฒนาและฝึกฝนมนุษย์ นั่นเน้นการที่เสนอแนวคิดเน้นระบบ (System)ในด้านการคิดนั้น เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนา การคิดต้องมีกรอบแนวคิด เพื่อเป็นหลักหรือประเด็นใหญ่ ๆ ให้มีการพัฒนาการคิดดังนี้

1.   ข้อมูลหรือเนื้อหาที่ใช้ในการคิด (Contents for thinking) หมายถึง ข้อมูลที่มนุษย์ใช้ในการคิดพิจารณาแก้ปัญหา ได้แก่ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง ข้อมูลเกี่ยวกับสังคมและสิ่งแวดล้อมและข้อมูลวิชาการ

2.   คุณสมบัติที่เอื้ออำนวยในการคิด (Dispositions for thinking) หมายถึง ข้อมูลต่าง ๆ คุณสมบัติส่วนตัวบางประการมีผลต่อการคิดและคุณภาพของการคิด ได้แก่ ความเป็นผู้มีใจกว้างเป็นธรรม ใฝ่รู้ กระตือรือร้น ช่างวิเคราะห์ผสมผสาน ขยัน กล้าเสี่ยง อดทน มีความมั่นใจในตนเอง และมีมนุษยสัมพันธ์ดี

3.   ทักษะการคิด (Thinking skills) เป็นคำที่แสดงถึงพฤติกรรมการคิดที่มีลักษณะเป็นรูปธรรมเพียงพอที่ให้มองเห็นพฤติกรรม / กระทำที่ชัดเจนของการคิดนั้น ๆ เช่น การสังเกต เมื่อพูดถึงการสังเกตคนทั่วไปพอจะรู้ได้ว่า หมายถึง การมองดู สัมผัสด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 การเปรียบเทียบ หมายถึง ต้องเอาของตั้งแต่สองอย่างขึ้นไปมาเปรียบเทียบกัน การจัดหมวดหมู่ คือ การนำรายการต่าง  ๆ ที่มีลักษณะเหมือน ๆ กันไว้ด้วยกัน การขยายความ คือการอธิบายให้มากขึ้น            การสรุปความ คือ การย่นย่อให้สั้นลงเช่นนี้ เป็นต้น คำที่มีลักษณะเช่นนี้ หนังสือ ตำรา และนักวิชาการต่าง ๆ นิยมเรียกกันว่า ทักษะการคิด (Thinking skills) ซึ่งทักษะการคิดแต่ละทักษะอาจมีความเป็นรูปธรรมมากน้อยแตกต่างกันได้ ทักษะการคิดมีเป็นจำนวนมาก

โดยทั่วไปสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ           

ระดับที่ 1 ทักษะที่เป็นพื้นฐาน (Basis thinking skills) ซึ่งเป็นทักษะทั่วไป เช่น การฟัง พูด อ่าน เขียน การสื่อสาร ฯลฯ           

ระดับที่ 2 ทักษะที่เป็นแกนสำคัญ (Core thinking skills) เป็นทักษะการคิดที่ใช้มาก เช่น ทักษะการสังเกต การเปรียบเทียบ การตีความ ขยายความ การสรุป การอ้างอิง เป็นต้น           

ระดับที่ 3 ทักษะการคิดระดับสูง (Higher order thinking skills) เป็นทักษะการคิดที่ซับซ้อนและยากขึ้นกว่าทักษะแกน เช่น ทักษะการตั้งสมมติฐาน ทักษะการทำนาย ทักษะการนิยาม ทักษะการวิเคราะห์ ทักษะการสังเคราะห์ ทักษะการจัดระบบ จัดโครงสร้าง การหาแบบแผน การหาความเชื่อพื้นฐาน เป็นต้น

4.   กระบวนการคิด (thinking process) หมายถึง การคิดที่ต้องดำเนินไปตามลำดับขั้นตอนที่จะช่วยให้การคิดนั้นประสบผลสำเร็จตามความมุ่งหมายของการคิดนั้น ๆ เช่น กระบวนการคิดแก้ปัญหา จะประกอบไปด้วยขั้นตอนที่สำคัญที่จะช่วยให้คิดแก้ปัญหาได้สำเร็จ เช่น เริ่มต้นโดยการ (1) ระบุประเด็นปัญหา (2) หาสาเหตุของปัญหา (3) คิดทางเลือกในการแก้ปัญหา (4) เลือกทางเลือก (5) ลงมือแก้ไขปัญหาตามทางเลือกที่ได้เลือกไว้ (6) ประเมินผลการปฏิบัติ ขั้นตอนต่าง ๆ ซึ่งจะต้องทำตามลำดับ และต้องทำอย่างครบครัน

5.   การควบคุมและประเมินการคิดของตนเอง (metacognition) หมายถึง การคิดเกี่ยวกับกับการคิดของตนเอง หรือการรู้ตัวถึงความคิดของตนเองในการกระทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือการประเมินการคิดของตนเอง และใช้ความรู้นั้นในการควบคุมหรือปรับการกระทำของตนเอง

การคิดในลักษณะนี้มีผู้เรียกกว่า การคิดอย่างมียุทธศาสตร์ หรือ “Strategic thinking” ซึ่งครอบคลุม การวางแผน การควบคุมกำกับการกระทำของตนเอง การตรวจสอบ ความก้าวหน้าและการประเมินผล (ทิศนา แขมมณี, นวลวัตต์ เชาวกีรติพงศ์ และศรินธร วิทยะสิรินันท์ (2544). มิติของการคิด : กรอบแนวคิดเพื่อพัฒนาการคิดของเด็กและเยาวชนไทย. วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพมหานคร. สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ  (พว.)

 

คำสำคัญ (Tags): #การคิด#ปัญญา
หมายเลขบันทึก: 73633เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2007 18:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ขอบคุณค่ะ สำหรับข้อคิดดีๆ

สาระเยอะมาก แต่ บอกตามตรงครับ

 

คือ

 

ไม่น่าอ่าน

ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่นำมาให้อ่านนะคะ

กำลังจะสอบเรื่องนี้พอดี

ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท