(2) การพิมพ์หนังสือราชการไม่ยากอย่างที่คิด


การใช้คอมพิวเตอร์พิมพ์หนังสือราชการ ทำให้สะดวก และสามารถเก็บไฟล์ไว้ใช้ได้ในโอกาสต่อไป

              สวัสดีครับเพื่อนสมาชิก g2k ทุกท่าน หลังจากที่รู้จักประเภทของหนังสือราชการแล้ว  มาวันนี้มาเรียนรู้ร่วมกันในการใช้คอมพิวเตอร์พิมพ์หนังสือราชการ เริ่มเลยครับ

                   วิธีการพิมพ์หนังสือราชการด้วยคอมพิวเตอร์

เนื่องจากปัจจุบันได้มีการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ มาใช้ในการพิมพ์หนังสือราชการแทนเครื่องพิมพ์ดีดธรรมดามากขึ้น เนื่องจากสามารถเก็บข้อมูลและแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความได้รวดเร็ว ทำให้หนังสือราชการมีความสะอาดสวยงามและสิ้นเปลืองเวลาน้อย แต่ปัญหาที่พบอยู่เสมอว่า หนังสือที่พิมพ์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์มีปัญหาเกี่ยวกับการตั้งระยะบรรทัดในการพิมพ์ ซึ่งตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 ได้กำหนดระยะบรรทัดในการพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ดีดธรรมดา และผู้พิมพ์มักเข้าใจผิดว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถปรับระยะบรรทัดพิมพ์ได้เหมือนกับเครื่องพิมพ์ดีดธรรมดา

1.  เริ่มต้นด้วยการเปิดโปรแกรม Microsoft Word

2.  การตั้งค่าหน้ากระดาษ  ไปที่เมนูแฟ้ม>เลือกตั้งค่าหน้ากระดาษ > เลือกกระดาษ โดยกำหนดเป็น A4 > ตกลง (จากประสบการณ์ที่ผ่านมา เพื่อน ๆ พิมพ์หนังสือโดยไม่ได้ตั้งค่าหน้ากระดาษเป็น A4 เวลาพิมพ์ออกมาจะไม่สวย เพราะตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณฯ กำหนดให้ใช้กระดาษ A4)

การตั้งระยะขอบ

ไปที่เมนูแฟ้ม>เลือกตั้งค่าหน้ากระดาษ > เลือกระยะขอบ โดยการกำหนดกำหนดระยะขอบ คือ บน 3-5 ซม.  ซ้าย 2  ซม. ล่าง  2  ซม. ขวา  3  ซม. (ระยะขอบนี้สามารถปรับได้ตามความเหมาะสมของข้อความ)  จากนั้น > เลือกแนวตั้ง (กรณีที่พิมพ์เป็นแนวตั้ง หรือเลือกแนวนอนกรณีที่ต้องการพิมพ์เป็นแนวนอน) > ตกลง

การใช้ตัวอักษร

นิยมใช้ตัวอักษร Angsana New หรือ Angsana UPC ขนาดตัวอักษร 16

              3.  ดำเนินการพิมพ์ ระหว่างที่พิมพ์ก็ทำการบันทึกเป็นระยะ ๆ  โดยใช้เมาส์คลิกที่รูปแผ่นดิสก์  ขณะที่พิมพ์หมดบรรทัดแล้วจะขึ้นบรรทัดใหม่  ไม่ต้อง Enter เพราะว่าถ้าเรา Enter จะทำให้ข้อความเป็นคนละส่วนกัน

 

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณฯ ได้กำหนดระยะบรรทัดในการพิมพ์หนังสือราชการด้วยเครื่องพิมพ์ดีดธรรมดาไว้ ๓ ระยะด้วยกัน ดังนี้

1.  ระยะ ก  =    ระยะ ปัด 1                      =  1  บรรทัด

2.  ระยะ ข  =    ระยะ ปัด 1 บิดขึ้น 2          =  1.5  บรรทัด

3.  ระยะ ค  =    ระยะ ปัด 2                      =  2  บรรทัด

จากระยะบรรทัดข้างต้น สามารถนำมาเทียบเคียงเพื่อกำหนดระยะบรรทัดสำหรับใช้ในการพิมพ์หนังสือราชการด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ดังนี้

1. วิธีที่หนึ่ง เคาะปุ่ม Enter 1  ครั้ง  = ระยะ ก  เคาะปุ่ม Enter 2  ครั้ง  เมื่อเคาะ Enter ครั้งที่  2 แล้ว กลับไปปรับขนาดตัวอักษร 16 ก็ปรับลดเหลือ   8 ระยะบรรทัดจะปรับเป็นระยะ ข เคาะปุ่ม Enter 2  ครั้ง  จะเป็นระยะ ค 

2. วิธีที่สอง คลิกที่เมนู >รูปแบบ > เลือก ย่อหน้า  เลือก > ระยะห่าง โดยกำหนดค่าก่อนหน้า เป็น 12 พ. > ตกลง ซึ่งเท่ากับ ระยะ ก กำหนดค่าเป็น  18  พ. จะเท่ากับ ระยะ ข   ถ้ากำหนดค่าเป็น  24  พ. จะเท่ากับ ระยะ ค 

3. วิธีที่ 3 คลิกที่เมนู > รูปแบบ > เลือก ระยะห่างระหว่างบรรทัด   เลือกใช้รายการ คือ  หนึ่งเท่า = ระยะ ก  1.5 บรรทัด = ระยะ ข สองเท่า = ระยะ ค โดย เคอร์เซอร์จะต้องที่บรรทัดก่อนหน้าที่จะตั้งระยะบรรทัด

เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นโปรดดูตัวอย่างหนังสือราชการประกอบนะครับ

หมายเลขบันทึก: 206681เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2008 20:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (34)

แวะมาอ่านประดับความรู้

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณคุณสายธารที่แวะมาทักทาย

ทดลองใช้ดูนะครับ

ขอบคุณสำหรับความรู้ ครับ คงจะมีมาเรื่อยๆนะครับ

ขอบคุณครับคุณหมอน้อย

ตั้งใจไว้อย่างนั้น แต่บางครั้งความตั้งใจก็อาจล้มเหลวได้

แต่ก็จะพยายามครับ

  • มาเป็นกำลังใจให้ค่ะ
  • ระวัง! งานกำลังเข้า เห็นทีต้องขยันเปิดเมลที่ทำงานบ่อยขึ้นแล้วนะคะ

+ สวัสดีค่ะพี่ไข่....

+ ของเดินทางแล้วค่ะ...ท่านไปรษณีย์บอกว่า..วันจันทร์น่าจะถึงค่ะ....

+ มีอีกหนึ่งวิธีสำหรับระยะ ข คือ กด ctrl + ปุ่ม ๗ (กดพร้อมกันทั้ง 2 ปุ่มค่ะ)ก็จะกลายเป็น 1.5 บรรทัดค่ะ

+ เวลาจะยกเลิกก็กด ctrl + ปุ่ม ๗ ซ้ำอีกครั้งค่ะ...

+ อิ อิ...บายดีมายท่านพี่....

  • โห
  • หนังสือราชการ
  • ต้องรายละเอียดเยอะนะครับ
  • คนพิมพ์ต้องใจเย็นมากๆ
  • จึงจะพิมพ์ได้
  • ตามมอ่านครับ
  • ได้ความรู้
  • บอกต่อ
  • เผยแพร่
  • นำไปใช้
  • ยอดเยี่ยม
  • ขอบคุณครับ

 

สวัสดีครับพี่ดาวฯ

งานเริ่มเข้า

ขอบคุณมากครับที่เป็นกำลังใจ

เมลที่ทำงานเปิดเกือบทุกวัน เพราะพี่ ๆ น้อง ๆ ชอบส่งงานมาให้แก้อยู่เรื่อยเลย

จะพยายามเปิดวันละ 3 เวลาหลังอาหารครับ

สวัสดีครับครูอ๋อย

ของคุณครับช่วยแนะนำเทคนิคใหม่ ๆ

จะลองนำไปใช้ดู

บายดีครับคุณน้อง

สวัสดีครับครูโย่ง หัวหน้าแก๊งค์ คนหน้าตาดี

ขอบคุณครับที่แวะมาเยี่ยม

คนพิมพ์หนังสือราชการต้องเป็นคนใจเย็นมาก ๆ

สมาธิเป็นสิ่งสำคัญด้วย

การใช้ภาษาไทยก็เป็นสิ่งที่ต้องใช้มากเหมือนกัน

สวัสดีค่ะ

แวะมาทักทายและให้กำลังใจค่ะ

การใช้ภาษราชการต้องระวังอย่างมากจริงๆค่ะ

ขอบคุณครับคุณนุ้ย

ภาษาในหนังสือราชการต้องกระทัดรัด อ่านแล้วเข้าใจง่าย ไม่วกวน วอกแวก เออ เกี่ยวกันไหม๊เนี่ย

การพิมพ์หนังสือราชการยากเหมือนกันคะ ยังมือใหม่เลยงงๆ

สวัสดีค่ะ เคยหาดูอยู่เกมือนกันค่ะ สำหรับวิธีการพิมพ์จม.ราชการ จำได้ว่าเคยเรียนเมื่อสมัยเด็กๆ ตอนนี้ลืมหมดแล้วค่ะ ขอบคุณนะคะ

สวัสดีค่ะคุณวัชรา

 

ไม่ค่อยได้พิมพ์หนังสือราชการเองค่ะ แต่ก็ทำให้ได้รับความรู้...ด้วย

สบายดีนะคะ

คิดถึงค่ะ...^__^...

 

ขอบคุณคุณมือใหม่

จริง ๆ แล้วการพิมพืหนังสือราชการไม่ยากอย่างที่คิด

เพียงแต่เราศึกษาและฝึกหัดพิมพ์บ่อย ๆ

แล้วก็จะเกิดความชำนาญครับ

ขอบคุณครับคุณเก๋น้อย

เอาคืนอาจารย์หมดแล้วหรือครับ

ไม่เป็นไรครับ ลองอ่านในบล็อกนี้ดู

ทดลองทำดูครับ

ถ้าไม่เข้าใจติดต่อหลังไมค์ได้ครับ

สวัสดีครับคุณคนไม่มีราก

 แรก ๆ ผมก็ไม่ได้สนใจเรื่องนี้หรอกครับ

พอดีที่สำนักหอสมุดขาดแคลนบุคลากรทางด้านนี้ ผมจึงสนใจศึกษาเรื่องนี้โดยเฉพาะครับ

และก็ทำได้ด้วย ก็มีเพื่อน ๆ ในสำนักหอสมุดขอให้ช่วยฝีกหัดให้หลายหน่วยงานเหมือนกัน ศุกร์นี้ก็จะเดินสายไปที่งานห้องสมุดคณะมนุษยศาสตร์ไปสาธิตและให้ความรู้เท่าที่เรารู้และทำได้ครับ

ขอบคุณครับ

สุขสันต์วันคริสต์มาสครับครูปู~natadee t'ซู๊ด

ขอให้มีความสุขทุกวันครับ

ขอคุนมากสำหรับเนื้อหาที่เข้าใจง่ายทำให้ผมทำข้อสอบง่ายขึ้น ผมมาเปิดของคุนดูแล้วก้อทำตาม

มันง่ายมากเลยคับ

ขอบคุนคับ

ขอบคุนจิง ๆ

ผมทำไม่เปนเลย ไอเรื่องพิมเอกสารราชการเนี้ย

ขอบคุนอีกรอบ ไม่ได้คุนนะผมแย่แน่ ๆ

55 5+

สวัสดีครับคุณ โจรล้างจาน [IP: 203.158.211.80]

  • ขอบคุณครับที่สนใจ
  • ที่ยังมีประโยชน์อยู่บ้าง

ขอขอบคุณมากค่ะ แวะมาอ่านแล้วได้ความรู้มากมาย

สามารถนำไปเสริมการปฏิบัติงานด้านธุรการ

ขอบคุณอีกครั้งค่ะ คุณวัชรา ทองหยอด

คุณชีวิต "ลูกจ้าง" [IP: 125.26.92.74]ครับ

ขอบคุณครับที่ยังมีประโยชน์อยู่บ้าง

คุณJanet [IP: 118.172.118.96]ครับ

มาติดตามบ่อย ๆ นะครับ จะเขียนเรื่องใหม่ ๆ อีกครับ

เด็กจบใหม่น่ะมีไฟ พวกแกรู้มั้ย

แต๊งยูค่ะ ทำตั้งนานไอ้บรรทัดระยะ ข เนี่ย รู้งี้เปิดด฿ตั้งนานแระ

อีกอย่างเราไม่สนับสนุนการสอบเข้าโดยใช้การพิมพ์หนังสือราชการมาเป็นหนึ่งวิธีในการตัดสิน ไม่ยุติธรรมสำหรับคนจบใหม่และไม่มีประสบการณ์ ของแบบนี้มันสอนกันได้ ทำครั้ง สองครั้งก็เป็นแล้ว ไม่ควรเอามาบรรจุในการสอบ ก็สอบพิมพ์ไปสิ ไม่ก็ถามถึงทัศนคติ เจตคติในการทำงาน การตอบคำถามก็ได้ แล้วก็ต้องมีประสบการณ์ๆ ชั้นเพิ่งจบแกไม่ให้งานชั้นทำ แล้วจะมีประสบการณ์จากไหนยะ ปัญญาอ่อนป่าว

ขอบคุณครับที่แนะนำความรู้ให้น้อง ๆ ได้ศึกษา จะไปสอบสัสดีครับ ก็เลยอยากศึกษาตัวอย่างหนังสือราชการไว้ครับ

ขอเรียนถามว่าถ้าหากเราต้องการจะล็อคข้อความบางส่วนในรูปแบบหนังสือราชการ ยกตัวอย่างเช่น การตั้งค่าหน้ากระดาษ หรือหัวบันทึก หัวท้ายหนังสือราชการ แต่ให้แก้ไขไ้ด้เฉพาะข้อความในหนังสือเท่านั้น อะไรประมาณนี้ค่ะ คือที่ทำงานไม่มีใครทำได้แต่มีความจำเป็นต้องใช้ค่ะ รบกวนตอบมาทางเมลส่วนตัวเลยก็ได้นะคะ ขอบพระคุณอย่างยิ่งค่ะ

มีประโยชน์มากคับ จะเอาไปสอบทำงาน ขอบคุณมากคับ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ

ขอบคุณสำหรับความรู้ที่มีให้นะคะป็นประโยชน์มากกับการทำงานใหม่ที่ต้องได้ติดต่อกับทางราชการบ้างบางครั้งทำให้มีความรู้เพิ่มขึ้นค่ะ

ซ้ายน่าจะ 3 ซม. นะครับ เพราะเผื่อเจาะรู เข้าแฟ้ม  ส่วนขวา 2 ซม. ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท