(8) การจดรายงานการประชุม


รายงานการประชุม คือ การบันทึกความคิดเห็นของผู้มาประชุม ผู้เข้าร่วมประชุม และมติของที่ประชุมไว้เป็นหลักฐาน

การจดรายงานการประชุม  

          สวัสดีครับ การประชุมเป็นที่สำคัญที่ทุกหน่วยงานให้ความสำคัญ หลาย ๆ ท่านคงมีปัญหาในการพิมพ์รายงานการประชุม วันนี้จะขอนำเสนอวิธีการพิมพ์รายงานการประชุมเพื่อเป็นแนวทางเดียวกันครับ

          รายงานการประชุม คือ การบันทึกความคิดเห็นของผู้มาประชุม ผู้เข้าร่วมประชุม และมติของที่ประชุมไว้เป็นหลักฐาน รายงานการประชุมนี้จัดเป็นหนังสือราชการ ชนิดที่ 6 ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ คือ หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ ดังนั้น การจัดทำรายงานการประชุมต้องจัดทำถูกต้องตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าการงานสารบรรณ พ.ศ. 2526  

          จุดมุ่งหมายของการจดรายงานการประชุม

1.    เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานอ้างอิง

2.    เพื่อยืนยันการปฏิบัติงาน

3.    เพื่อแสดงกิจการที่ดำเนินมาแล้ว

4.    เพื่อแจ้งผลการประชุมให้บุคคลที่เกี่ยวข้องทราบและปฏิบัติต่อไป

ลักษณะของการจดรายงานการประชุม มี 3 ลักษณะ คือ

1.    จดอย่างละเอียดทุกคำพูดของผู้มาประชุม พร้อมมติที่ประชุม วิธีนี้ต้องใช้วิธีการบันทึกเสียงประกอบด้วย เพื่อป้องกันการจดไม่ทัน และไว้ตรวจสอบ

2.    จดย่อคำพูดหรือเรื่องที่เป็นประเด็นสำคัญอันเป็นเหตุผลนำไปสู่มติของที่ประชุมพร้อมด้วยมติ

3.    จดแต่เหตุผลกับมติหรือข้อสรุปของที่ประชุม

        รายงานการประชุม  ตามระเบียบ ข้อที่  25 รายงานการประชุม คือ การบันทึกความคิดเห็นของผู้มาประชุม  ผู้เข้าร่วมประชุม และมติของที่ประชุมไว้เป็นหลักฐาน  ให้จัดทำตามแบบที่  11 ดังตัวอย่าง

การพิมพ์รายละเอียดของรายงานการประชุม

1.    รายงานการประชุมให้ลงชื่อคณะที่ประชุมหรือชื่อการประชุมนั้น

2.    ครั้งที่  ให้ลงครั้งที่ประชุม

3.    เมื่อ  ให้ลงวัน เดือน ปีที่ประชุม

4.    ให้ลงสถานที่การประชุม

5.    ผู้มาประชุม  ให้ลงชื่อและตำตำแหน่งของผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุมซึ่งมาประชุมในกรณีที่มีมีผู้อื่นมาประชุมแทนให้ลงชื่อผู้มาประชุมแทน  และลงว่ามาประชุมแทนผู้ใดหรือตำแหน่งใด

6.    ผู้ไม่มาประชุมให้ลงชื่อและตำแหน่งของผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุม ซึ่งขาดประชุมพร้อมทั้งเหตุผล (ถ้ามี)

7.    ผู้เข้าร่วมประชุมให้ลงชื่อและหรือตำแหน่งของผู้ที่มิได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุม ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องและได้เข้าร่วมประชุม (ถ้ามี)

8.    เริ่มประชุมเวลาให้ลงเวลาที่เริ่มประชุม

9.    ข้อความโดยเริ่มต้นด้วยประธานกล่าวเปิดประชุมและเรื่องที่ประชุม มติหรือข้อสรุปที่ประชุมในแต่ละเรื่อง

10. เลิกประชุมให้ลงเวลาที่เลิกประชุม

11.  ผู้จดรายงานการประชุมให้ลงชื่อผู้จดบันทึกการประชุม   

เอกสารอ้างอิง
        สุภรณ์  ประดับแก้ว.  (2545).  งานสารบรรณฉบับสมบูรณ์.  กรุงเทพฯ.  องค์การค้าคุรุสภา.

          อุดร ชื่นกลิ่นธูป. (2526). หลักเกณฑ์และวิธีการทำหนังสือราชการ. กรุงเทพฯ. ศึกษาพร จำกัด.

หมายเลขบันทึก: 269937เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2009 10:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)
  • ตามมาศึกษา
  • ปกติไม่ได้จดเอง
  • มีเลขาส่วนตัวครับ
  • ฮ่าๆๆ
  • คุณไข่สบายดีนะครับ

สวัสดีครับขจิต ฝอยทอง

  • ขอบคุณมากครับ
  • สบายดีครับ

คืนก่อนเข้ามาแล้ว เห็นดึกไปเลยไม่ได้ตอบ กลัวเจอะกระปุกค่ะ เรื่องนี้ต้องขอบคุณมือนกฮูกที่เขียนรายงานการประชุม(ไม่เอาไหน...^^อุ๊บส์) ใช่ไหมค่ะ

สดร้อนเช่นกัน ฝีมือน้องใหม่ ไปดูเว็บ PRCORNER หน้านี้ค่ะ

  • สวัสดีคะ มาชวนชมรายการคะ
  • วันนี้เวลา 16.35 น.ขอเชิญชมรายการต้นกล้าในป่าใหญ่ทาง NBT ชมกิจกรรมของนักเรียนคะ
  • ขอบคุณมากๆ
  • สวัสดีครับพี่ดาวลูกไก่ ชื่นชมยินดี

    • ได้จัดหน้ารายงานการประชุมบ่อย ๆ
    • เลยเป็นแรงผลักดันให้เขียนบันทึกนี้ครับ
    • ต้องขอขอบคุณนกฮูกทั้งหลายที่มีส่วนให้มีบันทึกนี้ครับ
    • ไปชื่นชมผลงานน้องเติ้ลมาแล้วครับ

    สวัสดัครับคุณmena

    • ขอบคุณครับที่แจ้งล่วงหน้า
    • จะติดตามชมครับ
    • มารับสาระดีดีครับ
    • ขอบคุณครับ
    • สุขกายสบายใจนะครับ

    สวัสดีครับคุณevergreen

    • ขอบคุณที่มาเยือน
    • สุขกายสบายใจดีนะครับ

    พอดีเซิชเข้ามาอ่านค่ะ อยากเป็นเลขานุการ ทราบว่าต้องทำบันทึกการประชุมด้วย เลยอยากเข้ามาอ่านสาระเกี่ยวกับเรื่องนี้ ฟังดูแล้วก็กลัวๆอยู่เหมือนกัน เดี๋ยวนี้เค้าให้จดบบสองภาษาด้วย ไม่รู้ว่าจะทำได้มั้ยหนออ

    สวัสดีค่ะคุณวัชรา

    มีหน้าที่ต้องจดประชุมคณะกรรมการต่างๆ บ่อยค่ะ แต่ก็จดตามที่เคยทำมา บันทึกนี้ทำให้เห็นประโยชน์ของการจดอย่างมีโครงสร้างการจดการประชุมที่ดีค่ะ

    ขอบคุณมากค่ะ

    (^___^)

    สวัสดีค่ะ คุณวัชรา

               ยอดเยี่ยมเลยค่ะ ครูตาก้อเป็นคนหนึ่งที่ต้องทำหน้าที่บันทึกการประชุมเป็นประจำทำถูก ๆ ผิด ๆ แหละค่ะ อ่านแล้วครูตาได้แนวทางที่ถูกต้องค่ะ ขอบคุณมากนะคะ

    • สวัสดีครับคุณ khunying [IP: 125.25.145.172]
    • ถ้าเรามีความมุ่งมั่นแล้ว
    • ต้องทำให้ได้ครับ
    • ขอเอาใจช่วยครับ
    • สวัสดีครับคุณคนไม่มีราก
    • จริง ๆ แล้วมีรายละเอียดมากกว่านี้
    • ไว้ค่อยเพิ่มเติมทีหลังครับ ถ้าไม่ลืม
    • ขอบคุณครับ
    • สวัสดีครับคุณครูตา ลป.
    • ดีใจครับที่มีประโยชน์
    • ปรับได้ตามความเหมาะสมครับ

    สวัสดีค่ะ

    • ขอขอบพระคุณกับแนวทางที่เป็นประโยชน์ค่ะ
    • ขออนุญาตนำไปเผยแพร่นะคะ
    • สวัสดีครับครูคิม
    • เป็นแนวทางในการทำงานจริง ๆ ได้ครับ
    • ปรับตามความเหมาะสมได้ครับ
    • ขอบคุณมากค่ะสำหรับแนวทางมีประโยชน์มากเลยคะ เข้าใจง่าย
    • แต่อยากถามว่ารายงานการประชุมและบันทึกการประชุมมีข้อแตกต่างกันอย่างไรคะ
    • ขอรบกวนหน่อยนะคะ  ขอบคุณมากคะ 

    สวัสดีค่ะ คุณวัชรา

    หนูเป็นคนที่ไม่ชอบจดรายงานการประชุมเอาเสียเลย แต่ตอนนี้ต้องจำใจทำ ก็เลยต้องขอคำแนะนำในการบันทึกว่าต้องทำอย่างไร(ตามขั้นตอน) ถึงจะได้รายงานที่ออกมาอย่างสมบูรณ์ขอบคุณค่ะ

    มีประโยชน์มากครับ พอดีประธานหมู่บ้านให้ผมหาแบบการการประชุมก็ได้จากเวปนี้ละครับ

    และขณะเดียวกันบริษัท โรงงานใด ขาดแคลนแรงงานก็เมล์มาได้นะครับยินดีช่วยครับ หรือใครจะท่องเที่ยวพม่าก็ยินดีให้ความช่วยเหลือครับ เพราะผมคือคนไทยที่พูดพม่าได้ แบบ พม่าไม่เชื่อว่า เป็นคนไทยครับ อ็อคิดลงทุนหรือเปิดตลาดพม่าก็ยินดีรับใช้นะครับ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท