045 : ฟ้าผ่า (1) ฟ้าผ่าเกิดจากอะไร?


 

บันทึกนี้เป็นตอนที่ 1 ของบทความต่อเนื่องขนาดยาว
โดยส่วนที่เหลือจะทยอยนำเสนอต่อไปครับ

 



ภัยธรรมชาติอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำก็คือ ฟ้าผ่า

ดังนั้น ทุกคนควรจะเข้าใจพื้นฐานและหลักการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยชนิดนี้

 

1. ฟ้าผ่าเกิดจากอะไร?

ตอบ : ฟ้าผ่าเป็นการปลดปล่อยประจุไฟฟ้าในอากาศ ซึ่งอาจเกิดร่วมกับปรากฏการณ์อื่นๆ เช่น ฝนฟ้าคะนอง พายุฝุ่น และภูเขาไฟระเบิด

อย่างไรก็ดี ฟ้าผ่าที่เกี่ยวข้องกับคนส่วนใหญ่เกิดจากการปลดปล่อยประจุไฟฟ้าออกจาก เมฆฝนฟ้าคะนอง (thundercloud)  หรือที่นักอุตุนิยมวิทยาเรียกว่า เมฆคิวมูโลนิมบัส (cumulonimbus)


เมฆฝนฟ้าคะนอง ถ่ายโดย เฮอร์เบิร์ต แคมป์เบลล์

เมฆฝนฟ้าคะนองมีลักษณะเป็นก้อนขนาดใหญ่มหึมา บริเวณฐานเมฆ (ขอบล่าง) สูงจากพื้นราว 2 กิโลเมตร และส่วนยอดเมฆ (ขอบบน) อาจสูงถึง 20 กิโลเมตร

ภายในก้อนเมฆมีการไหลเวียนของกระแสอากาศอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทำให้หยดน้ำและก้อนน้ำแข็งในเมฆเสียดสีกันจนเกิดประจุไฟฟ้า

จากการศึกษาพบว่าประจุบวกมักจะออกันอยู่บริเวณยอดเมฆ ส่วนประจุลบอยู่บริเวณฐานเมฆ ทั้งนี้ ประจุลบที่ฐานเมฆอาจจะเหนี่ยวนำให้พื้นผิวของโลกที่อยู่ “ใต้เงา” ของมันมีประจุเป็นบวก

 



แผนภาพแสดงการกระจายของประจุภายในเมฆฝนฟ้าคะนอง


คำอธิบายในภาพ

  • Upper levels generally have (+) charges : ระดับบนมักจะเป็นประจุบวก
  • Middle and low levels generallay have (-) charges : ระดับกลางและล่างมักจะเป็นประจุลบ
  • Ground beneath cloud base may be charged (+) by induction : พื้นดินใต้เงาเมฆอาจจะมีประจุเป็นบวกเพราะถูกเหนี่ยวนำโดยประจุลบที่ฐานเมฆ
  • Strongest (-) charges at T = -15 องศาเซลเซียส : ประจุลบเกิดมากที่สุดที่อุณหภูมิ -15 องศาเซลเซียส
  • Often (+) charges in precipitation : หยาดน้ำฟ้ามักจะมีประจุเป็นบวก

 

เมื่อยึดหลักการที่ว่า ฟ้าผ่าจะเชื่อมโยงบริเวณ 2 แห่งที่มีประจุต่างกัน
ก็จะพบว่าฟ้าผ่ามีอย่างน้อย 4 แบบหลัก ได้แก่




1) ฟ้าผ่าภายในก้อนเมฆ  ซึ่งเชื่อมต่อประจุลบด้านล่างกับประจุบวกด้านบนเข้าด้วยกัน ฟ้าผ่าแบบนี้เกิดมากที่สุด
2) ฟ้าผ่าจากเมฆก้อนหนึ่งไปยังเมฆอีกก้อนหนึ่ง เช่น จากประจุลบในเมฆก้อนหนึ่งไปยังประจุบวกในเมฆอีกก้อนหนึ่ง
3) ฟ้าผ่าจากฐานเมฆลงสู่พื้น เป็นการปลดปล่อยประจุลบออกจากก้อนเมฆ จึงเรียกว่า ฟ้าผ่าแบบลบ (negative lightning)
4) ฟ้าผ่าจากยอดเมฆลงสู่พื้น เป็นการปลดปล่อยประจุบวกออกจากก้อนเมฆ จึงเรียกว่า ฟ้าผ่าแบบบวก (positive lightning)



ฟ้าผ่าภายในก้อนเมฆ (แบบที่ 1) และฟ้าผ่าระหว่างก้อนเมฆ (แบบที่ 2)
ทำให้เมฆเปล่งแสงกระพริบที่เราเรียกว่า “ฟ้าแลบ”

ส่วนฟ้าผ่าที่เป็นอันตรายต่อคน สัตว์ และสิ่งต่างๆ ที่อยู่บนพื้น
ได้แก่ ฟ้าผ่าแบบลบ (แบบที่ 3) และฟ้าผ่าแบบบวก (แบบที่ 4)

 

โปรดติดตามตอนที่ 2 (กำลังจัดทำ...)


ประวัติของบทความ

         บันทึกนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทความ '20 แง่มุมที่ควรรู้เกี่ยวกับ ฟ้าผ่า' ในคอลัมน์ คลื่นความคิด นิตยสาร สารคดี, กรกฎาคม 2551
    

หมายเลขบันทึก: 199539เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2008 13:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)
  • เกิดจาก กบมันร้อง
  • ฮ่าๆๆ
  • อ้าวไม่ใช่หรือ
  • ชาวบ้าน ไม่ทราบ ไปหลบใต้ต้นไม้
  • ฟ้าผ่าลงต้นไม้ เรียบร้อยครับ
  • ผมมีลูกศิษย์ เล่นฟุตบอลกัน
  • ใส่สายสร้อย
  • ฟ้าผ่า โดนสร้อย(สงสัยไม่มาก)
  • แต่เด็กไม่ตายครับ
  • ตามมาอ่านเรื่องฟ้าผ่าแล้วค่ะ
  • เพราะบ้านอยู่หน้าเขาใหญ่
  • ฟ้าลงแถวเขาข้างบ้านทุกปี
  • หุหุ เลยไม่กล้าสาบานอะไรกับใคร
  • อ้อที่เขาใหญ่มีเขา ชื่อเขาฟ้าผ่าด้วยนะคะ
  • เหมือนกับที่สมุทรปราการมีตำบล แหลมฟ้าผ่านั่นละคะ
  • แสดงว่าแถวนั้นต้องมีฟ้าผ่าเป็นประจำ นะคะ
  • ธุ อาจารย์ค่ะ..

ฟ้าเกิดจาก..?   เมขลา สิมาล่อแก้ว  รามสูรเห็นแล้ว..ขว้างขวานออกไป... อุ๊บ! ไม่ใช่นะคะ    สาเหตุมาจากที่อาจาย์ว่ามานั่นเอง   ^^

สวัสดีค่ะ ท่านอ.หมอเมฆ

... ย่างเข้าเดือนเก้า ฝนก็ตกพรำ กบมันก็ร้องงึมงำ แล้ว ฟ้าก็เปรี้ยง ๆ ตกใจ   .....

จากเพลงหนึ่ง ที่ป๋าปู ชอบฮัม ค่ะ ...

* รร. ของป๋าปู มีต้นไม้ใหญ่ เมื่อก่อนพอฟ้าผ่า ลง

*ไฟเป็นประกาย แล้ว ต้นไม้ก็เริ่มป่วยและเฉาตายค่ะ

* .... เพิ่งทราบนะคะ ท่านอ. หมอว่าฟ้าผ่า มีแบบ

ประจุ บวก และ ประจุ ลบ ด้วย ... นึกถึงกระแสไฟฟ้า

เลยค่ะ .. แปลกดี  ขอบพระคุณค่ะ เมฆคิวมูลัส นี่

มีทั้ง แบบสวย (สีขาว) และแบบดุ (สีดำ) มาแล้ว

เตรียมตัวหลบได้เลยนะคะ  ...  

  • สวัสดีครับอาจารย์
  • น่าน..คิดก็ต้องคิดบวก
  • ฟ้าผ่าก็ผ่าแบบบวก ๆ
  • (ว่าแต่จะดีจริงไหมนี่..ฮิฮิ)
  • แล้วเวลามีฝนเทียม..ฟ้าผ่าเทียม ๆ ไหมครับอาจารย์

สวัสดีค่ะน้อง (พี่)ชิว

  • ชื่อ เมฆฝนฟ้าคะนอง ชื่อเพราะแต่รูปร่างน่ากลัว เหมือนมนุษยืต่างดาวจะมาก่อเกิดสงครามกับโลกเรา...
  • สมัยเด็กๆ แค่พี่เห็นสายฟ้า... พี่จะรีบหลบ ไม่ก็คลุมโปงในผ้าห่ม และปิดหูไม่ให้ได้ยินเสียงฟ้าร้องที่ตามมาค่ะ
  • แต่พอโตขึ้น เวลาเห็นฟ้าผ่าฟ้าแลบ เออ...สวยดี แต่ยังคงเอานิ้วอุดหูเหมือนเดิมค่ะ
  • ส่วนมากที่เห็นฟ้าผ่า ข้อ 1+2 นะคะ ไม่ค่อยเห็น ข้อ 3-4
  • แล้ว ฟ้าผ่ากับฟ้าแลบ มันเหมือนหรือต่างกันตรงไหนไหมคะ เพราะว่าคำหลังดูไม่ค่อยรุนแรงนะคะ

ส่วนตำนานเมขลา สำหรับคนช่างฝัน ที่นี่ ค่ะ อันนี้เอามาฝากน้องจ๊ะกับน้องปูค่ะ 

สวัสดีครับ อ.แอ๊ด ขจิต ฝอยทอง

           ลูกศิษย์ของอาจารย์โชคดีจังที่ไม่เป็นอะไรมาก

           แต่เกริ่นๆ ไว้ก่อนว่า "สร้อยคอไม่ใช่วัตถุที่ล่อสายฟ้า" ครับ

           ที่คิดว่าฟ้าผ่าสร้อย เนื่องจากมีรอยไหม้ที่คอใต้สร้อยพอดีนั้น เนื่องจากสร้อยโลหะแบ่งกระแสไฟฟ้าไปมากกว่าวัสดุอื่นๆ ก็เลยเกิดความร้อนขึ้นครับ

           เรื่องนี้ไว้พี่จะเล่าโดยละเอียดในอีกบันทึกหนึ่งแล้วกัน ^__^

สวัสดีครับ อ. naree suwan

        เรื่อง เขาฟ้าผ่า & แหลมฟ้าผ่า นี่น่าสนใจจริงๆ ว่ามี "อะไร" อยู่ที่นั่น ทำให้ฟ้าชอบผ่า?

        ผมยังติดใจเรื่องที่อาจารย์เล่าไว้ไม่หาย แต่ตอนนี้กำลังมึนกับเรื่องอื่นๆ อยู่ คงค่อยๆ ขุดค้นหาสาเหตุไปเรื่อยๆ ครับ

        เรื่อง "สาบาน" นี่ วันให้สัมภาษณ์คุณกฤษณะก็พูดถึง คุณกฤษณะถามว่าที่นักการเมืองชอบสาบานให้ฟ้าผ่าถ้าโกหกนี่จริงไหม

        ผมบอกไปว่า "อยากให้เป็นจริง" ครับ แต่น่าเสียดายที่หลักการทางวิทยาศาสตร์ไม่รอบรับ น่าเสียดายๆๆๆ ;-)

สวัสดีครับ น้องต้อม เนปาลี

        ถ้าไปถามคนกรีกโบราณ เขาก็ว่า เทพซุส (Zeus) เป็นผู้ที่ทำให้เกิดฟ้าผ่าครับ

        แต่ถ้าถามชาวนอร์ส (Norse) หรือบรรพบุรุษของชาวไวกิ้ง (Viking) เขาจะตอบว่า เทพทอร์ (Thor) ต่างหากที่เป็นเจ้าแห่งสายฟ้า

       

        นี่ไง เทพทอร์...หล่อไหมครับ น้องต้อม ;-)

สวัสดีครับ คุณ poo

         ฟ้าผ่าแบบบวก (positive lightning) นี่แหละครับที่น่ากลัว

คือ บนท้องฟ้าดูเหมือนโล่งๆ ไม่มีเมฆด้วยซ้ำ แต่มีฟ้าผ่าลงมาได้

เพราะสายฟ้ามาจากยอดเมฆที่อยู่ไกลออกไปหลายสิบกิโลเมตรได้นั่นเอง

        เรื่องนี้จะตามมาในบันทึกหน้า อีกไม่นานครับ

สวัสดีครับ คุณ เกษตร(อยู่)จังหวัด

        แม้จะเป็นฝนเทียม แต่เมฆจริงครับ ดังนั้น ฟ้าผ่าจริงได้นะเออ!

สวัสดีครับ พี่ดาว ดาวลูกไก่ ชื่นชมยินดี

          ดีใจจังได้คุยกันครับ ผมกำลังเหนื่อยมากช่วงนี้ เอาไว้จะเล่าให้ฟังในบล็อกวิทยาศาสตร์ว่าทำไม....

          ผมกลับกับพี่ดาวตรงที่ว่า ชอบดูเมฆฝนฟ้าคะนอง และฟังเสียงฟ้าร้องครับ ชอบดูฟ้าผ่าด้วย (ตราบเท่าที่ยังไม่ผ่าหลังคาบ้านตัวเอง...อิอิ)

         ฟ้าแลบ คือ แสงแปล๊บๆๆ ในก้อนเมฆใช่ไหมครับ ก็คือ ฟ้าผ่าในก้อนเมฆ (แบบที่ 1) โดยไม่เห็นเส้นสายฟ้านั่นเอง หรืออาจจะเป็นฟ้าผ่าระหว่างก้อนเมฆ (แบบที่ 2) โดยเมฆก้อนหนึ่งบังสายฟ้าอยู่ ก็เลยทำให้เห็นแค่แสงแปล๊บๆ ครับ

         เดี๋ยวจะตามไปอ่านตำนานเมขลานะครับพี่ดาว ^__^

พี่ชิวค่ะ

ขอบคุณมากๆ ค่ะ ที่เปิดบันทึกเขียนเกี่ยวกับเรื่องฟ้าผ่า หลายๆ ท่านที่ยังไม่ทราบก็จะได้เรียนรู้ไปพร้อมๆ กันด้วยนะคะ

แล้วจะแวะมาติดตามอ่านต่อค่ะ

ขอบคุณพี่ชิวอีกครั้งค่ะ ที่ได้แบ่งปันความรู้ดีๆ ให้แก่ผู้อ่านค่ะ ^_^

 

สวัสดีครับ มะปราง

        ก่อนหน้านี้เคยนำเรื่องฟ้าผ่ามาบันทึกไว้แล้วครับ แต่ไม่ได้ให้พื้นฐานเอาไว้มากนัก เพราะเป็นการเขียนบทความแบบรวดเดียวจบ

        คุณควรทำตัวอย่างไรเพื่อไม่ให้ถูก 'ฟ้าผ่า' ?

        กรณี 'ยกทรงมรณะ' - ชิ้นส่วนโลหะในตัวคุณเป็นสายล่อฟ้าจริงหรือ?

        คราวนี้เอาใหม่ครับ คิดว่าจะค่อยๆ ไล่เป็นประเด็นๆ ไป จะได้เข้าใจกันจริงๆ นะครับ ^__^

ปล. รูปใหม่เท่ดีครับ

รูปแรกเหมือนระเบิดที่ฮิโรชิมา เคยได้ยินเรื่องเสียงฟ้าร้องฟ้าผ่ากับแสงฟ้าแล่บที่ไม่สัมพันธ์กันเพราะแสงเดินทางเร็วกว่าเสียง ถ้าได้เห็นแสงฟ้าแล่บแปร้บลงมาแล้วตามด้วยเสียงนานกี่วินาทีก็คือศูนย์กลางของพายุมันอยู่ไกลเท่านั้นกิโล ไม่แน่ใจว่าจริงหรือเปล่าค่ะ เช่น เห็นแล้วผ่านไปสองวินาทีค่อยได้ยิน คืออยู่ห่างเราไปสองกิโล

สวัสดีค่ะพี่ชิว

โอ้โห..ตามมาอ่านเรื่องฟ้าผ่า น่ากลัวนะคะ โดยเฉพาะเรื่องที่คุณนารีเล่าให้ฟังด้วยค่ะ อ่านไปมา เหมือนกับว่าประจุไฟฟ้า หาขั้วตรงข้ามลง โดยเราไม่มีทางรู้เลยว่าจะไปจ้ะเอ๋กับขั้วไหน ..อะไรก็สื่อได้ทั้งนั้น อย่างนี้เวลามีฝนฟ้าคะนองควรหยุดตีกอล์ฟ..แล้วไปเข้านั่งแอบในรถกอล์ฟ..ดีกว่าอยู่ข้างนอกบนดิน..ใช่ไม๊คะ ..อึ๋ยยย..ชักหวาดเสียวแล้วสิ..

ขอบคุณค่ะที่มาให้ความรู้ :)

สวัสดีครับ ซูซาน

        ภาพเมฆฝนฟ้าคะนอง (thundercloud) หรือ คิวมูโลนิมบัส (cumulonimbus) ที่ถ่ายโดย เฮอร์เบิร์ต แคมป์เบลล์ แสดงลักษณะของเมฆชนิดนี้เมื่อพัฒนาขึ้นอย่างเต็มรูปแบบครับ

        เรื่อง แสง-เสียง : เสียงเดินทางด้วยอัตราเร็วประมาณ 300+ เมตร/วินาที หรือประมาณได้ว่า ทุกๆ 3 วินาที เสียงเดินทางได้ 1 กิโลเมตร

        ส่วนแสงเร็วกว่ามาก จนแทบไม่ต้องคิดถึงเวลาที่เดินทางจากจุดที่เกิดฟ้าผ่ามาหาเรา

        หลัก : พอเห็นแสงปั๊บ ให้นับจำนวนวินาที ได้เท่าไรเอา 3 หาร จะได้ระยะห่างเป็นกิโลเมตร

        ตัวอย่างเช่น หากนับได้ 12 วินาที แสดงว่า ฟ้าผ่าอยู่ห่างออกไปราว 12/3 = 4 กิโลเมตร

        แต่ระยะนี้อาจเกิดฟ้าผ่าแบบบวก (positive lightning) ทำอันตรายเราได้ เอาไว้จะทยอยเล่าให้ฟังอีกทีครับ

สวัสดีครับ อุ๊

        ใช่แล้วครับ สนามกอล์ฟนี่แหละตัวดีเลย ใน USA สถิติบอกว่า เป็นสถานที่ที่คนได้รับอันตรายจากฟ้าผ่ามากที่สุดแห่งหนึ่งเลยทีเดียว

       ถ้ามีเมฆฝนคะนองคุกคามในระยะ 10 กิโลเมตร ตามกฏการเล่นที่ปลอดภัย ให้หยุดครับ จะเล่าเรื่องนี้อีกทีเวลาพูดถึง

                         กฎ 30/30 (30/30 Rule)

       รถกอล์ฟไม่ปลอดภัยครับ เพราะสามารถเกิดไซด์แฟลช (side flash) ได้!  จะเล่าให้ฟังทีหลังเช่นกันครับ

       ที่ดีที่สุดคือ หลบในอาคารขนาดใหญ่ที่มีประตู-หน้าต่างปิดได้ โดยระวังประเด็นปลีกย่อยอื่นๆ ครับ

       ลองเข้าไปดูเรื่องนี้ก่อนนะครับ

                  คุณควรทำตัวอย่างไรเพื่อไม่ให้ถูก 'ฟ้าผ่า' ?

       ไว้พี่จะแว้บมาเขียนบันทึกเพิ่มเติม..ตอนนี้ขอไปธุระก่อน ;-)

 

สวัสดีนะคะ

  • น้อง(พี่)ชิว มีการบ้านอัตนัยให้ตัวเองทำหลายข้อเลยนะคะ ลูกศิษย์สาวกทั้งหลายจะรออ่านคำตอบกันค่ะ (สงสัยพี่จะได้กลับมาอ่านหลังจาก 22  ส.ค. โน่น)
  • มีข้อสงสัยอยู่ข้อหนึ่งไม่รู้จะเกี่ยวกับฝนฟ้าคะนอง ท้องฟ้าและเมฆหมอกแค่ไหนนะคะ วิทยาศาสตร์คงมีคำตอบว่าทำไมคนเราส่วนมากจะไม่สบายเมื่อเจออากาศแปรปรวน โดยเฉพาะเม็ดฝนหรือละอองฝนแบบเบาๆ จะออกอาการปวดหัว ตัวร้อน เป็นไข้(บางที)
  • น่ากลัวพี่จะเดี้ยงก่อนเดินทางเสียแล้วสิคะ ^^ (แค่เจอละอองนิดหน่อยเอง แหม อุตส่าห์ชมตัวเองว่าสองสามปีมานี้ไม่เคยจะมีใบเสร็จค่ายาไปตั้งเบิกเหมือนใครๆ เขา)
  • ดีใจการยั่วยุได้ผล
  • รอพี่เล่าโดยเร็ว
  • อิอิๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
  • ที่คิดว่าฟ้าผ่าสร้อย เนื่องจากมีรอยไหม้ที่คอใต้สร้อยพอดีนั้น เนื่องจากสร้อยโลหะแบ่งกระแสไฟฟ้าไปมากกว่าวัสดุอื่นๆ ก็เลยเกิดความร้อนขึ้นครับ

               เรื่องนี้ไว้พี่จะเล่าโดยละเอียดในอีกบันทึกหนึ่งแล้วกัน ^__^

สวัสดีครับ พี่ดาว

       คำถามพี่ดาวน่าสนใจจัง คงต้องผนวกความรู้ทางการแพทย์เข้าไปด้วย...เอ้า! ใครพอทราบคำตอบ ลองช่วยตอบหน่อยครับ (ผมก็จะลองไปหาคำตอบเหมือนกัน)

       ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพครับ ^__^

สวัสดีครับ อ.แอ๊ด

         ได้เล่าเรื่องนี้แน่ๆ แต่ของดีต้องอ๊ดใจรอ...ร้อ...รอ...อิอิ ;-)

เมฆ ♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥♥หมอก◄◄◄◄◄◄◄◄◄◄◄◄◄ฝน♫♫♫♫♫♫♫☺♦☺♦↨♣4•♣♣4☺ ž☼☼♪♥♥♥♥♠

จากการเข้าไปดูภาพมวลเมฆมาเจอบทความเรื่องฟ้าผ่าที่นี่ ขอสนุกด้วยคน ผมคิดว่าฟ้าผ่าเกิดจากคนชอบสาบาน โดยเฉพาะนักการพวกที่ชอบสาบานทําให้เกิดฟ้าผ่าบ่อย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท